พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6905/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนโดยใช้อาวุธ: การวางอาวุธใกล้มือถือเป็นการข่มขู่ ทำให้ผู้เสียหายไม่กล้าขัดขืน
จำเลยพกพาอาวุธมีดขนาดใหญ่บุกรุกเข้าไปข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ในห้องนอน โดยขณะกระทำชำเราจำเลยวางอาวุธมีดไว้ข้างตัวใกล้มือจำเลย ซึ่งพร้อมจะหยิบฉวยได้ทันที พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นเด็กหญิงเกิดความกลัวว่าจะถูกทำร้ายด้วยอาวุธมีดนั้นจึงไม่กล้าขัดขืน ถือได้ว่าเป็นการใช้อาวุธมีดข่มขู่ผู้เสียหายที่ 2 เป็นความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 โดยใช้อาวุธตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5634/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีอำนาจเป็นคู่ความ การให้ใช้ค่าทนายความแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่ชอบ
เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเจ้าพนักงานที่ต้องปฏิบัติในการที่จะบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลเท่านั้น ไม่มีอำนาจเข้ามาเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือเป็นคู่ความในคดี ศาลจึงกำหนดให้คู่ความใช้ค่าทนายความให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิดฐานบุกรุกพื้นที่สาธารณะเพื่อปลูกอ้อย ตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาลงโทษ อ. และ ส. กับพวก ฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน เนื้อที่กว่า 3,000 ไร่ การที่ อ. นำที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินส่วนหนึ่งกว่า 1,000 ไร่ ให้ผู้คัดค้านที่ 2 เช่า และ ส. สามีกับผู้คัดค้านที่ 2 ภริยาได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินเนื้อที่กว่า 1,000 ไร่ นั้น โดยการปลูกอ้อยและส่งขายให้แก่โรงงานน้ำตาล พฤติการณ์จึงเป็นการใช้ ยึดถือ หรือครอบครองทรัพยากรธรรมชาติ หรือกระบวนการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติโดยมิชอบด้วยกฎหมายอันมีลักษณะเป็นการค้า การกระทำของ อ. และ ส. จึงเข้าลักษณะเป็นผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมอันเป็นความผิดมูลฐานตาม มาตรา 3 (15) ของ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2813/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของกรรมการนิติบุคคลต้องมีเจตนาในการกระทำผิด การอุทธรณ์ต้องแสดงเหตุผลว่ากรรมการมีเจตนา
แม้จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลซึ่งเป็นเพียงบุคคลสมมติโดยอำนาจของกฎหมายต้องดำเนินหรือปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ของบริษัทผู้แทนนิติบุคคลก็ตาม แต่ความรับผิดทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคลยังคงต้องพิจารณาตามหลักทั่วไปโดยต้องปรากฏว่าผู้แทนนิติบุคคลนั้นได้กระทำผิดโดยเจตนาตาม ป.อ. มาตรา 59 เป็นองค์ประกอบสำคัญ คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ประกาศเลิกกิจการและเลิกจ้างก่อนที่จำเลยที่ 2 มีชื่อเป็นกรรมการ ทั้งจำเลยที่ 2 ไม่เคยแสดงตัวและเจตนาเข้าดำเนินงานจัดการแทนจำเลยที่ 1 เชื่อว่าจำเลยที่ 2 ถูกใช้ชื่อจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้เป็นกรรมการแทน ก. กรรมการคนก่อนระหว่างรอให้การเลิกกิจการและเลิกจ้างมีผลในวันที่ 1 เมษายน 2557 เท่านั้น พยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 และร่วมกับจำเลยที่ 1 ไม่จ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่มีการเลิกจ้างให้ลูกจ้าง ฝ่าฝืนคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน โจทก์จึงต้องอุทธรณ์ว่า มีข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์อย่างไรที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจและมีเจตนาร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้อง การที่โจทก์อุทธรณ์เพียงว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้อง ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำความผิดด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 7 นั้น ยังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาเป็นกรรมการผู้มีอำนาจและร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้องอย่างไร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องที่ผู้ฟ้องลงลายมือชื่อเอง แม้ไม่มีชื่อผู้เรียงฟ้อง ก็ถือเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ ไม่กระทบต่อความสงบเรียบร้อย
ขณะโจทก์ฟ้องคดีไม่ได้แต่งตั้งทนายความช่วยดำเนินคดี โจทก์ลงชื่อเป็นโจทก์ด้วยตนเอง และมีชื่อโจทก์กับลายมือชื่อโจทก์เป็นผู้เขียนหรือพิมพ์ด้วย จึงพอฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้เรียงฟ้องดังกล่าว แม้โจทก์ไม่ได้ลงชื่อในช่องผู้เรียง ก็ยังไม่ถึงกับกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนจนต้องยกฟ้องโจทก์
คดีมีประเด็นพิพาทในชั้นฎีกาเพียงว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่พึงรับพิจารณาให้หรือไม่ ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200 บาท
คดีมีประเด็นพิพาทในชั้นฎีกาเพียงว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่พึงรับพิจารณาให้หรือไม่ ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8636/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษในคดียาเสพติด ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษได้แต่ต้องไม่เกินโทษเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 62 วรรคหนึ่ง, 106 ทวิ วรรคหนึ่ง ลงโทษจำเลยทั้งสองก่อนเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 จำคุกคนละ 5 ปี ซึ่งเป็นโทษขั้นต่ำของมาตรา 106 ทวิ วรรคหนึ่ง ที่มีระวางโทษตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท เมื่อศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2559 มาตรา 88 วรรคหนึ่ง ที่มีระวางโทษตามมาตรา 140 วรรคหนึ่ง จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โทษที่ศาลอุทธรณ์จะกำหนดได้ คือ จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 140 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์โดยแท้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่าโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษจำเลยทั้งสองจำคุกคนละ 5 ปี ซึ่งไม่เกินกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 140 วรรคหนึ่ง และไม่สูงกว่าโทษตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่กำหนดโทษจำเลยทั้งสองจำคุกคนละ 5 ปี เช่นนี้ จึงไม่ได้ผิดหลงในการกำหนดโทษ กรณีจึงไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสองโดยมิชอบ