พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจสอบสวน-ฟ้องคดีอาญาต่อเนื่อง-ความผิดรับของโจร
แม้จำเลยจะส่งมอบนาฬิกาของกลางที่ประเทศกัมพูชา แต่จำเลยแจ้งหมายเลขบัญชีธนาคาร ก. ที่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ให้ ว. โอนเงินค่านาฬิกาเข้าบัญชีดังกล่าว ถือว่าจำเลยในฐานะตัวการได้กระทำผิดในราชอาณาจักรไทย ตาม ป.อ. มาตรา 5 และมาตรา 6
เมื่อการกระทำของจำเลยกับพวกเป็นกรณีความผิดส่วนหนึ่งกระทำในท้องที่หนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งในอีกท้องที่หนึ่ง เป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 (2) และ (3) พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองนครราชสีมาซึ่งเป็นท้องที่ที่จับจำเลยได้อยู่ในเขตอำนาจเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ มิใช่กรณีความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทยได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรไทยอย่างเดียวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 20 เมื่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองนครราชสีมาทำการสอบสวน การสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดนครราชสีมา
เมื่อการกระทำของจำเลยกับพวกเป็นกรณีความผิดส่วนหนึ่งกระทำในท้องที่หนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งในอีกท้องที่หนึ่ง เป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 (2) และ (3) พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองนครราชสีมาซึ่งเป็นท้องที่ที่จับจำเลยได้อยู่ในเขตอำนาจเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ มิใช่กรณีความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทยได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรไทยอย่างเดียวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 20 เมื่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองนครราชสีมาทำการสอบสวน การสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดนครราชสีมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จต่อศาล – อำนาจสอบสวน – แก้ไขโทษ – กฎหมายใหม่ไม่เป็นคุณ
โจทก์บรรยายฟ้องถึงเนื้อหารายละเอียดทั้งหมดแห่งคำเบิกความของจำเลยที่แตกต่างจากที่จำเลยเคยให้การไว้ในชั้นสอบสวนว่าคำเบิกความเป็นเท็จ การที่จำเลยไม่ได้เบิกความระบุชื่อคนร้ายเป็นการเบิกความเท็จในข้อสำคัญ เป็นการช่วยเหลือจำเลยในคดีดังกล่าวมิให้ต้องรับโทษอาญา ถือว่าฟ้องโจทก์บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
พฤติการณ์แห่งคดีที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรป่าพะยอม กับการเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาลจังหวัดพัทลุง ซึ่งอยู่ในท้องที่สถานีตำรวจภูธรเมืองพัทลุง ถือว่าเป็นการไม่แน่ว่าการกระทำของจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จและเบิกความเท็จได้กระทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 (1) พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรป่าพะยอมจึงมีอำนาจสอบสวน
พฤติการณ์แห่งคดีที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรป่าพะยอม กับการเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาลจังหวัดพัทลุง ซึ่งอยู่ในท้องที่สถานีตำรวจภูธรเมืองพัทลุง ถือว่าเป็นการไม่แน่ว่าการกระทำของจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จและเบิกความเท็จได้กระทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 (1) พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรป่าพะยอมจึงมีอำนาจสอบสวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8545/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์ของลูกจ้างและการปรับบทลงโทษ - การครอบครองทรัพย์ของนายจ้างชั่วคราว
เหตุเกิดขึ้นระหว่างตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง และเขตราษฎร์บูรณะกรุงเทพมหานคร เกี่ยวพันกัน จำเลยทั้งสองถูกจับกุมในท้องที่อำเภอสิเกา จึงเป็นกรณีเป็นการไม่แน่ว่าการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์และฐานทำให้เสียทรัพย์กระทำในท้องที่ใด พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสิเกา ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนท้องที่ที่จับจำเลยทั้งสองได้ย่อมเป็นผู้รับผิดชอบและมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 (1) และวรรคสอง (ก)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักน้ำมันปาล์มของโจทก์ร่วมผู้เป็นนายจ้าง และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์คือน้ำมันปาล์มของโจทก์ร่วม โดยจำเลยทั้งสองเอาน้ำผสมลงในน้ำมันปาล์ม ทำให้ได้รับความเสียหาย เหตุเกิดระหว่างเส้นทางตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง และเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร เกี่ยวพันกัน เป็นการบรรยายฟ้องให้จำเลยเข้าใจได้แล้วว่าเหตุลักทรัพย์และทำให้เสียทรัพย์เกิดขึ้นระหว่างเส้นทางจากตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ถึงเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร ท้องที่ใดท้องที่หนึ่งซึ่งอยู่ระหว่างเส้นทางดังกล่าว ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
จำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วม ทำหน้าที่ขับรถยนต์บรรทุกน้ำมันปาล์มของโจทก์ร่วมจากอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ไปส่งแก่ลูกค้าที่เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร ที่จำเลยทั้งสองครอบครองน้ำมันปาล์มของโจทก์ร่วมขณะเดินทางเป็นเพียงการครอบครองแทนโจทก์ร่วมไว้ชั่วคราวชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น การครอบครองน้ำมันปาล์มโดยแท้จริงยังอยู่ที่โจทก์ร่วม เมื่อจำเลยทั้งสองเอาน้ำมันปาล์มของโจทก์ร่วมไป จึงเป็นการร่วมกันกระทำความผิดฐานลักทรัพย์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักน้ำมันปาล์มของโจทก์ร่วมผู้เป็นนายจ้าง และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์คือน้ำมันปาล์มของโจทก์ร่วม โดยจำเลยทั้งสองเอาน้ำผสมลงในน้ำมันปาล์ม ทำให้ได้รับความเสียหาย เหตุเกิดระหว่างเส้นทางตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง และเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร เกี่ยวพันกัน เป็นการบรรยายฟ้องให้จำเลยเข้าใจได้แล้วว่าเหตุลักทรัพย์และทำให้เสียทรัพย์เกิดขึ้นระหว่างเส้นทางจากตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ถึงเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร ท้องที่ใดท้องที่หนึ่งซึ่งอยู่ระหว่างเส้นทางดังกล่าว ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
จำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วม ทำหน้าที่ขับรถยนต์บรรทุกน้ำมันปาล์มของโจทก์ร่วมจากอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ไปส่งแก่ลูกค้าที่เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร ที่จำเลยทั้งสองครอบครองน้ำมันปาล์มของโจทก์ร่วมขณะเดินทางเป็นเพียงการครอบครองแทนโจทก์ร่วมไว้ชั่วคราวชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น การครอบครองน้ำมันปาล์มโดยแท้จริงยังอยู่ที่โจทก์ร่วม เมื่อจำเลยทั้งสองเอาน้ำมันปาล์มของโจทก์ร่วมไป จึงเป็นการร่วมกันกระทำความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4679/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเรื่องข้อเท็จจริง, อำนาจสอบสวนคดีปลอมเอกสาร, และการฟ้องคดีอาญาความผิดต่อแผ่นดิน
แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในฎีกาของจำเลยเพียงว่า "รับเฉพาะฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ส่วนฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงในข้อ 3 ให้รอไว้สั่งเมื่อผู้พิพากษาศาลชั้นต้นและผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาคำร้องขอให้อนุญาตให้ฎีกาเสร็จแล้ว" แต่เมื่อผู้พิพากษาศาลชั้นต้นและผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่อนุญาตให้ฎีกา ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับฎีกาของจำเลยอีก กลับส่งสำนวนมาศาลฎีกาโดยไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบ แต่เมื่อจำเลยฎีกาในข้อ 3 ว่า พยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องและขอให้รอการลงโทษจำเลยไว้ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เพื่อมิให้คดีล่าช้า ศาลฎีกาเห็นควรสั่งไม่รับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในข้อ 3 โดยไม่จำต้องย้อนสำนวน
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นความผิดต่อศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณาและรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาล เป็นเรื่องต่างหากจากความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นปลอมในคดีนี้ แม้ศาลฎีกายกฟ้องความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล เนื่องจากฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยไม่ได้กระทำในศาล ไม่ได้วินิจฉัยว่าจำเลยปลอมหรือใช้คำสั่งศาลปลอมหรือไม่ จำเลยจะนำคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวมาเป็นเหตุอ้างว่าไม่มีความผิดในคดีนี้หาได้ไม่
จำเลยปลอมเอกสารสำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นที่ตั้ง ท. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย เมื่อ ท. นำสำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นปลอมดังกล่าวไปอ้างส่งต่อศาลชั้นต้นในการไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล จึงถือว่ามีการใช้เอกสารสำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นปลอมในท้องที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองขอนแก่นซึ่งศาลชั้นต้นตั้งอยู่ในเขตอำนาจสอบสวน เมื่อขณะนั้นยังไม่แน่ว่าบุคคลใดเป็นผู้ปลอมคำสั่งศาลดังกล่าว และการกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารได้กระทำในท้องที่ใด ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 (1) และเหตุที่จำเลยปลอมคำสั่งศาลชั้นต้นและ ท. นำสำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นปลอมไปอ้างส่งต่อศาลชั้นต้นเป็นความผิดหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่างๆ กัน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 (4) ด้วยแล้ว พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองขอนแก่นจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ได้
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นปลอมเป็นคดีอาญาความผิดต่อแผ่นดิน มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวที่ต้องมีการร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคหนึ่ง โดยไม่ต้องมีการร้องทุกข์ กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นเป็นผู้เสียหายที่สามารถร้องทุกข์หรือไม่
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นความผิดต่อศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณาและรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาล เป็นเรื่องต่างหากจากความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นปลอมในคดีนี้ แม้ศาลฎีกายกฟ้องความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล เนื่องจากฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยไม่ได้กระทำในศาล ไม่ได้วินิจฉัยว่าจำเลยปลอมหรือใช้คำสั่งศาลปลอมหรือไม่ จำเลยจะนำคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวมาเป็นเหตุอ้างว่าไม่มีความผิดในคดีนี้หาได้ไม่
จำเลยปลอมเอกสารสำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นที่ตั้ง ท. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย เมื่อ ท. นำสำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นปลอมดังกล่าวไปอ้างส่งต่อศาลชั้นต้นในการไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล จึงถือว่ามีการใช้เอกสารสำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นปลอมในท้องที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองขอนแก่นซึ่งศาลชั้นต้นตั้งอยู่ในเขตอำนาจสอบสวน เมื่อขณะนั้นยังไม่แน่ว่าบุคคลใดเป็นผู้ปลอมคำสั่งศาลดังกล่าว และการกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารได้กระทำในท้องที่ใด ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 (1) และเหตุที่จำเลยปลอมคำสั่งศาลชั้นต้นและ ท. นำสำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นปลอมไปอ้างส่งต่อศาลชั้นต้นเป็นความผิดหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่างๆ กัน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 (4) ด้วยแล้ว พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองขอนแก่นจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ได้
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นปลอมเป็นคดีอาญาความผิดต่อแผ่นดิน มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวที่ต้องมีการร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคหนึ่ง โดยไม่ต้องมีการร้องทุกข์ กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นเป็นผู้เสียหายที่สามารถร้องทุกข์หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3494/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีอาญาข้ามเขต – รับของโจร - การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายเมื่อยังไม่ทราบแน่ว่าเป็นการกระทำความผิดฐานใด
คดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย หากข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมายังไม่พอแก่การวินิจฉัย ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงต่อไปได้
ขณะพนักงานสอบสวนจังหวัดนครสวรรค์เริ่มทำการสอบสวน ยังไม่ทราบแน่ว่าจำเลยร่วมกับ พ. ทำการลักทรัพย์ หรือจำเลยเพียงกระทำผิดฐานรับของโจร หากเป็นการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ย่อมไม่แน่ว่าได้กระทำผิดในท้องที่ใดตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์จนถึงจังหวัดสิงห์บุรี แม้ต่อมาได้ความตามทางสอบสวนว่าจำเลยกระทำผิดฐานรับของโจรในท้องที่จังหวัดสิงห์บุรีและได้มีการฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้ก็ถือว่าพนักงานสอบสวนจังหวัดนครสวรรค์ได้ทำการสอบสวนโดยชอบแล้ว
ขณะพนักงานสอบสวนจังหวัดนครสวรรค์เริ่มทำการสอบสวน ยังไม่ทราบแน่ว่าจำเลยร่วมกับ พ. ทำการลักทรัพย์ หรือจำเลยเพียงกระทำผิดฐานรับของโจร หากเป็นการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ย่อมไม่แน่ว่าได้กระทำผิดในท้องที่ใดตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์จนถึงจังหวัดสิงห์บุรี แม้ต่อมาได้ความตามทางสอบสวนว่าจำเลยกระทำผิดฐานรับของโจรในท้องที่จังหวัดสิงห์บุรีและได้มีการฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้ก็ถือว่าพนักงานสอบสวนจังหวัดนครสวรรค์ได้ทำการสอบสวนโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีอาญาเมื่อสถานที่เกิดเหตุไม่ชัดเจน
ที่เกิดเหตุไม่แน่ว่าอยู่ในท้องที่ใดระหว่าง 2 ท้องที่พนักงานสอบสวนท้องที่หนึ่งในสองท้องที่นั้นมีอำนาจสอบสวนได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา19(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามฆ่าในทะเล: อำนาจสอบสวนและพิจารณาคดีเมื่อเกิดเหตุในทะเลหลวง
จำเลยใช้ปืนลูกซองยาวยิงจากเรือลำหนึ่งไปยังเรือผู้เสียหายกับพวกซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ 1 เส้น ถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยเจตนา (ฆ่า) แต่ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บไม่ถึงตาย การกระทำของจำเลยจึงไม่บรรลุผล จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า
ในกรณีเหตุเกิดในท้องทะเล เมื่อไม่แน่ชัดว่าเกิดขึ้นในเขตท้องที่ใดแน่ พนักงานสอบสวนท้องที่ที่ผู้เสียหายมาแจ้งย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 (1) และศาลที่ท้องที่สอบสวนนั้นอยู่ในเขตอำนาจ มีอำนาจพิจารณาคดีได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22 (1) (2)
ในกรณีเหตุเกิดในท้องทะเล เมื่อไม่แน่ชัดว่าเกิดขึ้นในเขตท้องที่ใดแน่ พนักงานสอบสวนท้องที่ที่ผู้เสียหายมาแจ้งย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 (1) และศาลที่ท้องที่สอบสวนนั้นอยู่ในเขตอำนาจ มีอำนาจพิจารณาคดีได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22 (1) (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่าในทะเล: เจตนาเล็งเห็นผล แม้ไม่สำเร็จโทษ, อำนาจสอบสวน-พิจารณาคดีในทะเล
จำเลยใช้ปืนลูกซองยาวยิงจากเรือลำหนึ่งไปยังเรือผู้เสียหายกับพวกซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ 1 เส้น ถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยเจตนา (ฆ่า)แต่ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บไม่ถึงตาย การกระทำของจำเลยจึงไม่บรรลุผลจำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า
ในกรณีเหตุเกิดในท้องทะเล เมื่อไม่แน่ชัดว่าเกิดขึ้นในเขตท้องที่ใดแน่พนักงานสอบสวนท้องที่ที่ผู้เสียหายมาแจ้งย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19(1) และศาลที่ท้องที่สอบสวนนั้นอยู่ในเขตอำนาจ มีอำนาจพิจารณาคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22(1)(2)
ในกรณีเหตุเกิดในท้องทะเล เมื่อไม่แน่ชัดว่าเกิดขึ้นในเขตท้องที่ใดแน่พนักงานสอบสวนท้องที่ที่ผู้เสียหายมาแจ้งย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19(1) และศาลที่ท้องที่สอบสวนนั้นอยู่ในเขตอำนาจ มีอำนาจพิจารณาคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22(1)(2)