พบผลลัพธ์ทั้งหมด 114 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18624/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนเงินลาภมิควรได้: สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้ และผลกระทบของคำพิพากษาเดิม
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท ท. ต่อมาเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2536 จดทะเบียนเลิกบริษัทโดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ชำระบัญชี ในระหว่างการชำระบัญชี โจทก์ตรวจสอบแล้วพบว่า บริษัทเป็นหนี้ค่าภาษีอากรค้างชำระ จึงแจ้งให้ชำระ ขณะนั้น จำเลยที่ 1 ก็รวบรวมทรัพย์สินของบริษัทแล้วแบ่งคืนเป็นเงินให้แก่จำเลยที่ 2 โจทก์จึงยื่นฟ้องบริษัทต่อศาลภาษีอากรกลางและยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เพื่อเรียกเงินคืน จนกระทั่งศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีดังกล่าวว่า จำเลยที่ 2 รับเงินไว้โดยปราศจากมูลจะอ้างด้วยกฎหมาย จึงเป็นลาภมิควรได้ที่จะต้องคืนให้แก่บริษัท แต่เนื่องจากโจทก์มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องในนามของตนแทนลูกหนี้รวมทั้งไม่ได้เรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีด้วย จึงให้ยกฟ้องแต่ไม่ตัดสิทธิที่โจทก์จะฟ้องใหม่ คำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โจทก์จะกล่าวอ้างว่าเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์หาได้ไม่ เมื่อสิทธิของโจทก์เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 233 แล้ว โจทก์จะต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่รู้หรือ 10 ปี นับแต่เวลาที่สิทธินั้นมีขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 การที่โจทก์ได้ฟ้องคดีก่อนภายในอายุความแล้ว แม้ระหว่างนั้นไม่ว่าจำเลยที่ 2 จะนำเงินบางส่วนไปชำระให้แก่โจทก์หรือไม่ก็ตาม ย่อมถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคหนึ่ง และต่อมาเมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีนั้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2546 ซึ่งอายคุวามครบกำหนดสิบปีไปแล้วโจทก์จึงต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ภายใน 60 วัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2548 คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ สำหรับจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16408/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราเงินรางวัลทนายความที่ศาลตั้ง: คดีรับสารภาพไม่ต้องอ้างอิงตารางอัตราขั้นต่ำ
การสั่งจ่ายเงินรางวัลทนายความที่ศาลตั้งให้จำเลยคดีนี้เป็นกรณีจำเลยให้การรับสารภาพซึ่งมีระเบียบกำหนดไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงต้องเป็นไปตามอัตราที่กำหนดไว้ในข้อดังกล่าว โดยไม่จำต้องอ้างอิงอัตราเงินรางวัลทนายความที่ศาลตั้งให้แก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 ท้ายระเบียบ เมื่ออัตราเงินรางวัลทนายความตามข้อ 7 มิได้กำหนดอัตราขั้นต่ำไว้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งจ่ายเงินรางวัลทนายความให้แก่ผู้ร้อง 2,000 บาท จึงชอบแล้ว
อำนาจในการกำหนดเงินรางวัลให้ทนายความเป็นอำนาจเฉพาะของศาลชั้นต้นตามที่ระบุไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสาม ประกอบระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่ศาลตั้งผู้ต้องหาหรือจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 พ.ศ.2548 ข้อ 5 ผู้ร้องไม่มีอำนาจฎีกาให้ศาลฎีกากำหนดเงินรางวัลทนายความใหม่ได้
อำนาจในการกำหนดเงินรางวัลให้ทนายความเป็นอำนาจเฉพาะของศาลชั้นต้นตามที่ระบุไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสาม ประกอบระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่ศาลตั้งผู้ต้องหาหรือจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 พ.ศ.2548 ข้อ 5 ผู้ร้องไม่มีอำนาจฎีกาให้ศาลฎีกากำหนดเงินรางวัลทนายความใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14528/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารสิทธิปลอมเพื่อเบิกถอนเงินธนาคาร: การนับจำนวนกรรมความผิด
จำเลยนำใบถอนเงินซึ่งเป็นเอกสารสิทธิปลอมรวม 17 ฉบับ ไปแสดงขอถอนเงินต่อพนักงานธนาคาร ก. สาขาอุทัยธานี ในใบถอนเงินดังกล่าวระบุวันที่จำเลยนำไปใช้ถอนเงินเป็นวันที่ 14 และ 18 มกราคม 2545 วันที่ 23 เมษายน 2545 วันที่ 9, 16 และ 23 พฤษภาคม 2545 โดยนำใบถอนเงินฉบับลงวันที่ เดือน ปีเดียวกันหลายฉบับไปยื่นต่อธนาคารพร้อมกัน แยกเป็น 6 วัน จึงถือได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมรวม 6 กรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13955/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถยนต์: การซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแม้ยังไม่ได้จดทะเบียน และการเพิกถอนการจดทะเบียนที่ไม่ชอบ
แม้โจทก์จะมิได้กล่าวในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน ค. ในการขายรถยนต์พิพาท โจทก์ก็นำสืบเรื่องดังกล่าวได้เพราะเป็นการสืบข้อเท็จจริงในรายละเอียด เนื่องจากในการติดต่อทำสัญญาซื้อขายกันอาจทำได้โดยตนเองหรือมีตัวแทนติดต่อทำสัญญาซื้อขายแทนกันก็ได้
ข้อความในสัญญาเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดที่ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อผ่อนชำระราคาได้ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทย่อมโอนไปยังผู้ซื้อทันทีแม้ยังไม่ได้จดทะเบียนรถยนต์พิพาทเป็นชื่อของโจทก์ก็ตาม การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนเปลี่ยนชื่อจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทเป็นการไม่ชอบ โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนโอนรถยนต์พิพาทตามฟ้องได้
ข้อความในสัญญาเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดที่ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อผ่อนชำระราคาได้ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทย่อมโอนไปยังผู้ซื้อทันทีแม้ยังไม่ได้จดทะเบียนรถยนต์พิพาทเป็นชื่อของโจทก์ก็ตาม การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนเปลี่ยนชื่อจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทเป็นการไม่ชอบ โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนโอนรถยนต์พิพาทตามฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13657/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาฐานเบิกความเท็จต้องระบุรายละเอียดให้ชัดเจนว่าคำเบิกความนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร
ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์เพียงแต่กล่าวว่าจำเลยเบิกความในคดีอาญาหมายเลขใด ระหว่างผู้ใดโจทก์ ผู้ใดจำเลย และข้อความที่จำเลยเบิกความกับว่าความจริงเป็นอย่างไร ซึ่งแม้จะเข้าใจได้ว่าคดีที่จำเลยเบิกความได้กระทำในการพิจารณาคดีอาญาและโจทก์ได้กล่าวมาในฟ้องว่า ข้อความที่จำเลยเบิกความเป็นข้อสำคัญในคดีก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องว่า คำเบิกความของจำเลยเป็นข้อสำคัญในคดีอาญาอย่างไร แม้โจทก์ทั้งสองแนบสำเนาคำฟ้องคดีอาญาดังกล่าวมาท้ายฟ้อง แต่เมื่อพิจารณารายละเอียดที่ปรากฏในสำเนาคำฟ้องดังกล่าว ซึ่งได้ความว่าเป็นคดีที่มีการกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามในคดีดังกล่าวแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่า รายงานการประชุมของบริษัท พ. เป็นเอกสารที่แท้จริง ซึ่งความจริงเป็นเอกสารปลอม และกล่าวหาว่าโจทก์ในคดีดังกล่าวร่วมกับพวกลักทรัพย์หรือรับของโจรแล้ว ก็ยังไม่ได้ความว่า คำเบิกความของจำเลยตามที่โจทก์กล่าวในฟ้องเป็นข้อสำคัญในคดีดังกล่าวแต่อย่างใด ถือว่าฟ้องโจทก์ทั้งสองมิได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดมาโดยครบถ้วนไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) และยังเป็นฟ้องที่บรรยายไม่ครบองค์ประกอบของความผิดตามบทมาตราในกฎหมายที่ขอให้ลงโทษจำเลยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13605/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อยาเสพติดเพื่อเสพร่วมกัน ไม่ถือเป็น 'จำหน่าย' ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
การที่จำเลยนำเงินจาก ว. แล้วไปซื้อเมทแอมเฟตามีนมาให้ ว. เป็นกรณีที่จำเลยช่วยซื้อเมทแอมเฟตามีนให้ ว. เพื่อนำมาเสพด้วยกันเหมือนเช่นเคย หาใช่เป็นการขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน หรือให้ ตามบทนิยามศัพท์ คำว่า "จำหน่าย" ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13466/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: นิติบุคคลต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดการลงลายมือชื่อตามกฎหมาย หากไม่เป็นไปตามนั้น ไม่ต้องรับผิด
แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่า ส. ซึ่งเป็นพี่ชายคนโตได้รับมอบหมายจากบิดาให้บริหารกิจการของจำเลยแต่เพียงผู้เดียว โดย ช. และ ม. มิได้เกี่ยวข้องกับกิจการของจำเลยก็ตาม แต่จำเลยเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแยกต่างหากจากบุคคลธรรมดา ซึ่งการกระทำการแทนจำเลยต้องมีกรรมการอย่างน้อย 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันพร้อมประทับตราสำคัญของจำเลยจึงผูกพันจำเลยตามเงื่อนไขที่ได้มีการจดทะเบียนนิติบุคคลไว้ การที่ ส. ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทแต่เพียงผู้เดียวจึงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่จดทะเบียนนิติบุคคลไว้ดังกล่าว กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการสั่งจ่ายในนามของจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่า ช. หรือ ม. ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ส่อให้เห็นว่าเป็นการเชิดหรือยินยอมให้ ส. นำเช็คพิพาทซึ่งมีลายมือชื่อปลอมของผู้ร่วมสั่งจ่ายไปแลกเงินสดจากโจทก์ได้ เมื่อจำเลยมิใช่ผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเนื้อความในเช็คพิพาทในฐานะผู้สั่งจ่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13254/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษยักยอกทรัพย์หลายกรรม ศาลต้องพิจารณาตามประสงค์โจทก์ในฟ้อง
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยได้รับเงินจากการจำหน่ายคูปองบริการให้แก่สมาชิกของโจทก์ร่วม หลายรายการ รวมเป็นเงิน 1,737,032,30 บาท อันเป็นเงินของโจทก์ร่วมไว้ในครอบครองของจำเลยแล้วเบียดบังเอาเงินจำนวนดังกล่าวของโจทก์ร่วมไปเป็นประโยชน์ส่วนตนหรือของบุคคลที่สามโดยทุจริต ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 352 และให้จำเลยคืนหรือใช้เงิน 1,737,032,30 บาท แก่โจทก์ร่วม โดยไม่ได้บรรยายรายละเอียดการกระทำของจำเลยให้ปรากฏว่าเป็นความผิดหลายกรรม ทั้งตามคำขอท้ายฟ้องก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ต้องการให้ลงโทษจำเลยหลายกรรม ดังนี้แม้จะพิจารณาได้ความว่าจำเลยยักยอกเงินของโจทก์ร่วมหลายครั้งต่างกรรมต่างวาระกัน ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยเป็นหลายกรรม ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยหลายกระทงได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11863/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง, การกำหนดดอกเบี้ย และค่าเสียหาย
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 504,309.19 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 20 มีนาคม 2547 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โดยมิได้พิพากษารวมค่ายกรถจำนวน 11,000 บาท เข้าไปด้วย ซึ่งค่าเสียหายในส่วนนี้ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วเพราะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์โต้แย้ง ทำให้คำพิพากษาและคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในส่วนนี้ไร้ผล และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 20 มีนาคม 2547 อันเป็นวันทำละเมิด ซึ่งเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องของโจทก์ที่ขอบังคับนับแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2547 เป็นต้นไป จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10847/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีขัดแย้งกันเองและไม่สุจริต ทำให้ขาดอำนาจฟ้อง
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ โดยอ้างว่าจำเลยปลอมหนังสือมอบอำนาจไปจดทะเบียนว่าโจทก์ให้ทรัพย์สินที่พิพาทแก่จำเลย และมาฟ้องคดีนี้ที่ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ อ้างว่าโจทก์ทำสัญญาให้ทรัพย์สินที่พิพาทแก่จำเลยซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่ได้ปลอมหนังสือมอบอำนาจ การกระทำของโจทก์ตามข้ออ้างในคดีทั้งสองเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่แตกต่างและขัดกัน ซึ่งหากศาลจังหวัดเชียงใหม่เห็นว่าเป็นการปลอมหนังสือมอบอำนาจ ไม่ใช่การให้ทรัพย์สินพิพาทแก่จำเลย โจทก์ก็ชนะคดีที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ แต่หากศาลจังหวัดเชียงใหม่เห็นว่าไม่เป็นการปลอมเอกสาร ย่อมมีผลโดยปริยายว่าเป็นการให้อันเป็นประโยชน์แก่คดีนี้ จึงเป็นการดำเนินคดีที่โจทก์มุ่งประสงค์ต่อผลให้โจทก์ชนะคดีแน่นอนไม่ว่าศาลใดศาลหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงข้อความจริงซึ่งโจทก์ย่อมรู้ดี และเมื่อพิจารณาถึงคดีที่โจทก์ฟ้องต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่อ้างเหตุว่าจำเลยปลอมเอกสารอันอาจเป็นมูลเหตุให้จำเลยถูกดำเนินคดีอาญาข้อหาปลอมแปลงเอกสารด้วยแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง