คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชาติ ธัญญาวินิชกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 114 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10694/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลยุติธรรมและศาลทหาร: ศาลยุติธรรมไม่มีอำนาจเหนือศาลทหารหากไม่มีกฎหมายชัดเจน
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 218 บัญญัติว่า "ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจศาลอื่น" และมาตรา 228 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารและคดีอื่น ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ" ดังนี้ ศาลยุติธรรมและศาลทหารต่างเป็นศาลตามบทบัญญัติดังกล่าว และต่างมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจเหนือศาลทหารนอกจากจะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า ผู้ร้องถูกจำคุกโดยผลของคำพิพากษาของศาลทหารสูงสุด แม้ผู้ร้องอ้างว่าการจำคุกดังกล่าวเป็นการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องจะมายื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมให้ปล่อยผู้ร้องไม่ได้เพราะไม่มีบทบัญญัติกฎหมายให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจเหนือศาลทหารในกรณีเช่นนี้ได้ ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6891/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งอายัดชั่วคราวสิ้นผลเมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้อง และโจทก์ไม่ยื่นคำขอให้คุ้มครองชั่วคราวต่อไป
ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดพันธบัตรของจำเลยไว้ชั่วคราว ก่อนพิพากษา ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชนะคดี โดยมิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาหากโจทก์ประสงค์ให้คำสั่งวิธีการชั่วคราวนั้นมีผลใช้บังคับต่อไป โจทก์จะต้องยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่าโจทก์ประสงค์จะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษานั้นและมีเหตุอันสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้วิธีการชั่วคราวเช่นว่านั้นยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป เพื่อให้ศาลชั้นต้นพิจารณาอีกครั้งหนึ่งว่ามีเหตุอันสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้วิธีการชั่วคราวเช่นว่านั้นยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปหรือไม่ เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา แต่โจทก์มิได้ยื่นคำขอดังที่กล่าวข้างต้น คำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวจึงเป็นอันยกเลิกเมื่อพ้นกำหนดเวลา 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6544/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิด & การประเมินราคาที่ดิน: การพิสูจน์ความเสียหายและที่ดินติดถนน
บันทึกที่ อ. เจ้าหน้าที่ของโจทก์รายงานเกี่ยวกับการประเมินราคาที่ดินโดยมิได้ระบุว่าผู้ใดต้องรับผิดในทางละเมิด และบุคคลที่ปรากฎชื่อในบันทึกรายงานดังกล่าวก็เป็นเพียงผู้อยู่ในข่ายที่จะต้องถูกตักเตือนให้ปฏิบัติหน้าที่โดยเคร่งครัดมิใช่ผู้ที่จะต้องรับผิดในทางละเมิดต่อโจทก์ แม้อธิบดีผู้แทนของโจทก์จะทราบรายงานดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2539 ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทราบถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนอันจะทำให้ต้องเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันดังกล่าว
ซอยทองหล่อ 12 เป็นทางส่วนบุคคลซึ่งตั้งบนที่ดินโฉนดเลขที่ 122317 และไม่ปรากฏว่า เจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 122316 มีสิทธิผ่านซอยทองหล่อ 12 ออกสู่ทางสาธารณะได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ก็ย่อมถือไม่ได้ว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 122316 อยู่ติดถนนซอยทองหล่อ 12 เพราะคำว่าที่ดินติดถนนซอยนั้นย่อมต้องหมายถึงที่ดินที่เจ้าของสามารถใช้ประโยชน์จากถนนซอยได้โดยชอบซึ่งจะมีผลทำให้ที่ดินมีมูลค่าในทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6543/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาที่ดินเพื่อจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม หากประเมินถูกต้องตามสภาพที่ดิน ไม่ถือเป็นการละเมิด
ที่ดินโฉนดเลขที่ 122321 ไม่ติดทางสาธารณะประโยชน์ซอยทองหล่อ 12 เมื่อไม่เป็นที่ดินติดทางสาธารณประโยชน์ กรณีจึงไม่ใช่ที่ดินที่อยู่ในหน่วยที่ 3 ตามบัญชีราคาประเมินที่ดินที่มีราคาประเมินตารางวาละ 40,000 บาท แต่เป็นที่ดินที่อยู่ในหน่วยที่ 7 ซึ่งคือ ที่ดินนอกเหนือจากหน่วยที่ 1 ถึงที่ 6 มีราคาประเมินตารางวาละ 15,000 บาท การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งได้รับคำสั่งจากจำเลยที่ 1 ให้ดำเนินการตามขั้นตอนการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อไป ได้ประเมินราคาที่ดินโฉนดเลขที่ 122321 ตารางวาละ 15,000 บาท เป็นราคาประเมินทั้งสิ้น 13,590,000 บาท และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมจากผู้ซื้อและผู้ขายตามราคาประเมินในอัตราร้อยละ 2 เป็นค่าธรรมเนียม 271,800 บาท โดยไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการกำหนดจำนวนทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน พ.ศ.2530 จึงไม่ใช่เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5602-5604/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาท: ศาลต้องพิจารณาความเชื่อโดยสุจริตของผู้ถูกกล่าวหา แม้ข้อความไม่เป็นความจริง
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยแต่เพียงว่าข้อเท็จจริงรับฟังยุติว่าโจทก์ร่วมไม่ได้เรียกเงินจากครูที่สอบบรรจุและไม่ได้ไล่ลูกจ้างเก่าออกแล้วเรียกเงินจากผู้สมัครสอบเป็นลูกจ้างใหม่ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 กับพวกใส่ความโจทก์ร่วมในเรื่องดังกล่าวโดยไม่เป็นความจริง จึงมิใช่การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตอันจะทำให้ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท และการที่จำเลยที่ 1 กับพวกใส่ความโจทก์ร่วมเฉพาะในเรื่องดังกล่าวโดยไม่เป็นความจริงก็สามารถทำให้โจทก์ร่วมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชังได้ในตัวอยู่แล้ว โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 กับพวกมีความเชื่ออย่างไรนั้นไม่ถูกต้อง เนื่องจากหากจำเลยที่ 1 กับพวก เชื่อโดยสุจริตว่าพฤติการณ์ของโจทก์ร่วมส่อไปในทางทุจริต แม้จะเป็นการเข้าใจผิด จำเลยที่ 1 กับพวก ย่อมได้รับความคุ้มครองตาม ป.อ. มาตรา 329 (3) ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงชอบที่จะวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวด้วย ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่ได้วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 กับพวก จึงเป็นการไม่ชอบ เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยที่ 1 กับพวก เป็นไปตามลำดับศาล ทั้งนี้เพราะคดีอาจถูกจำกัดสิทธิในการฎีกาได้ จึงเห็นสมควรให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5571/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายหลังฟ้องคดี และอำนาจการร้องทุกข์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจในคดีทุจริต
เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว มี พ.ร.ฎ.กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2545 มาใช้บังคับ โดยให้มีผลเป็นอันยกเลิก พ.ร.บ.องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2497 ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2545 เป็นต้นไป และกำหนดให้นำ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 มาใช้บังคับแทน และมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2497 ที่ถูกยกเลิกบัญญัติให้พนักงานขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา แต่ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 ที่ใช้บังคับแทนมิได้บัญญัติให้พนักงานขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 147 จึงเป็นการไม่ชอบ การกระทำของจำเลยคงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก เพียงบทเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5019/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการรวมพิจารณาคดีอาญา และอำนาจศาลอุทธรณ์ในการแก้ไขคำพิพากษาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความผิด
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสามมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 266 (3), 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 266 (3), 341 ประกอบมาตรา 83 เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 266 (3) ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุกจำเลยทั้งสามคนละ 3 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดฐานฉ้อโกง จ. โดยไม่ได้แก้โทษจำเลยที่ 1 จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ส่วนกรณีของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดโทษให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 266 (3) คงจำคุกคนละ 1 ปี 3 เดือน จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์แก้โทษความผิดในบทที่มีโทษหนักที่สุดอันเป็นบทที่ศาลชั้นต้นลงโทษแม้จะยกฟ้องความผิดในบทที่เบากว่า ก็ต้องถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อย เมื่อศาลอุทธรณ์คงลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า พนักงานสอบสวนสอบคำให้การ จ. ไว้ในฐานะพยานในคดีความผิดฐานปลอม ใช้เอกสารปลอม และฉ้อโกง ที่โจทก์ร่วม ร. และ ส. แจ้งความร้องทุกข์ไว้เท่านั้น แต่ จ. ไม่ได้แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสาม ข้อที่โจทก์ฎีกาว่า จ. ให้การต่อพนักงานสอบสวนประสงค์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 และบุคคลที่เกี่ยวข้องตามบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนแนบท้ายฎีกา ถือว่าคำให้การของ จ. เป็นการร้องทุกข์ในคำให้การภายในกำหนดอายุความตามกฎหมายแล้ว และโจทก์บรรยายฟ้องว่า ในความผิดอันยอมความได้ ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ตามกฎหมายภายในอายุความโดยชอบแล้ว เมื่อจำเลยทั้งสามไม่ต่อสู้คดี โจกท์จึงไม่ต้องนำสืบว่ามีการร้องทุกข์ภายในกำหนดอายุความอีก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง จ. นั้น ฎีกาโจทก์ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ทั้งข้อเท็จจริงที่ว่า จ. ได้ร้องทุกข์ตามบันทึกคำให้การที่แนบท้ายฎีกานั้น ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลสั่งรวมพิจารณาพิพากษาคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าด้วยกัน แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ให้การรับสารภาพไปก่อนที่จะพิพากษาคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 อีกสำนวนหนึ่งก็ตาม แต่ความผิดในคดีทั้งสองสำนวนนั้นเป็นความผิดที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามได้ร่วมกันกระทำความผิด และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันแล้ว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นสำหรับความผิดในส่วนของจำเลยที่ 1 ที่เป็นอันยุติไปแล้วนั้นให้ถูกต้องได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เฉพาะในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง จ. เพราะ เหตุที่ไม่มีการร้องทุกข์ตามระเบียบโดยชอบ และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง จ. อันเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง จ. ให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ไม่ได้อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4497/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาคดีเยาวชน ต้องมีเหตุเปลี่ยนแปลงพฤติการณ์และเหตุสมควร
การที่ศาลจะใช้อำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยวกับการลงโทษหรือวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2539 มาตรา 99 ได้นั้น จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงแก่ศาลว่ามีพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปเกี่ยวกับ ตัวเด็กหรือเยาวชน ซึ่งอยู่ในระหว่างการรับโทษหรือถูกควบคุมอยู่ตามคำพิพากษากับต้องมีเหตุ อันสมควรที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นด้วย เมื่อคดีนี้จำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราวตลอดมา จนกระทั่งศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟัง กรณียังไม่ปรากฏพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปเกี่ยวกับตัวจำเลยอันจะเป็นเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลฎีกาให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่า: คำเสนอซื้อที่ไม่มีรายละเอียดชัดเจนไม่ถือเป็นคำมั่นสัญญา ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
สัญญาเช่ามีคำมั่นว่าก่อนครบสัญญาเช่า โจทก์และจำเลยจะปรับเปลี่ยนค่าเช่าหรือระยะเวลาเช่าในอัตราที่เป็นธรรม ดังที่ปฏิบัติมาเป็นปกติประเพณี ข้อความดังกล่าวไม่มีรายละเอียดชัดเจนเกี่ยวกับค่าเช่าหรือระยะเวลาเช่าที่แน่นอนอันเป็นสาระสำคัญของสัญญาเช่า จึงยังไม่เข้าลักษณะคำมั่นจะให้เช่า ซึ่งเมื่อจำเลยเพิกเฉยไม่สนองรับคำเสนอที่โจทก์แจ้งไป ถือว่าคำเสนอของโจทก์ตกไป สัญญาเช่าจึงไม่เกิดขึ้น กรณีถือได้ว่าจำเลยไม่ได้กระทำการอันเป็นการโต้แย้งสิทธิหน้าที่ของโจทก์ ที่โจทก์จะบังคับให้จำเลยทำสัญญาเช่าฉบับใหม่กับโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
ในชั้นตรวจคำฟ้อง ศาลต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคท้าย ที่บัญญัติว่า "ให้ศาลตรวจคำฟ้องนั้นแล้วสั่งรับไว้ หรือให้ยกเสีย หรือให้คืนไป ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18" คำว่าให้ยกเสีย ตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นการยกฟ้องของโจทก์ ศาลจึงมีอำนาจยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องได้โดยไม่จำต้องสั่งรับฟ้องไว้ก่อน เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ปรากฏว่ามีการโต้แย้งสิทธิเนื่องจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชอบที่จะยกฟ้องโจทก์เสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3514/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โทษปรับรายวันตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: ศาลต้องลงโทษตามกฎหมาย แต่ปรับลดโทษตามพฤติการณ์
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 66 ทวิ วรรคสอง บัญญัติว่า นอกจากผู้ฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 42 ต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งของบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกินสามหมื่นบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น อันเป็นบทบังคับให้ศาลต้องลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันด้วย ศาลไม่อาจงดโทษปรับรายวันสำหรับผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวได้
of 12