คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชาติ ธัญญาวินิชกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 114 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13389/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานไม่เพียงพอในการพิสูจน์ความผิดฐานพยายามฆ่าและมีอาวุธปืน ศาลยกประโยชน์แห่งความสงสัย
การที่ ช. เคยถูกดำเนินคดีว่าร่วมกับจำเลยทั้งสองในคดีนี้พยายามฆ่าผู้เสียหาย แม้ขณะเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีนี้ ศาลพิพากษายกฟ้อง ช. แล้วก็ตาม คำเบิกความของ ช. ก็ยังมีลักษณะเป็นคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดจึงมีน้ำหนักน้อย ส่วนผู้เสียหายโจทก์ไม่สามารถนำมาเบิกความ คงอ้างส่งคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายที่ครั้งแรกให้การว่าคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายคือจำเลยที่ 1 ต่อมาให้การอีกครั้งว่าคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิงคือจำเลยที่ 2 โดยอ้างว่าจำหน้าคนร้ายสับสน ทำให้การที่ผู้เสียหายยืนยันว่าคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายคือจำเลยที่ 2 ไม่มีน้ำหนัก ส่วน ส. ซึ่งอยู่ร่วมกับผู้เสียหายในคืนเกิดเหตุก็เบิกความยืนยันเฉพาะว่าเห็นจำเลยที่ 1 นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่ ช. ขับมาเท่านั้น ส่วนคนร้ายคนอื่นพยานไม่เห็นหน้าและมองไม่ทัน พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบจึงยังมีเหตุสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12265-12266/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิ้นสุดสัญญาเช่า - การใช้สิทธิโดยชอบตามสัญญา - ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก/ลักทรัพย์
สัญญาเช่าระหว่างโจทก์ร่วมที่ 1 กับจำเลยที่ 1 มีข้อความระบุชัดเจนว่ามีกำหนดอายุของสัญญาเช่าเป็นเวลา 15 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2529 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2544 ซึ่งเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 538 บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าสัญญาเช่าทุกฉบับมีข้อตกลงในข้อ 7.9 ว่า เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยสาเหตุประการใดก็ตาม ผู้เช่าจะต้องออกจากสถานที่เช่าทันที ผู้ให้เช่ามีสิทธิเข้าครอบครองสถานที่เช่า ขนย้ายทรัพย์สินของผู้เช่าออกจากสถานที่เช่าได้โดยปราศจากความรับผิดใด ๆ ข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมใช้บังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น สัญญาเช่าระหว่างโจทก์ร่วมที่ 1 กับจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลงในวันที่ 30 กันยายน 2544 ตามที่ระบุไว้ในสัญญา เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีการต่อสัญญาเช่าหรือทำสัญญาเช่ากันใหม่ การที่จำเลยที่ 1 กับพวกกลับเข้าครอบครองพื้นที่เช่าโดยใช้ไม้กระดานปิดกั้นและขนย้ายทรัพย์สินของโจทก์ร่วมที่ 1 ออกจากพื้นที่เช่าไปเก็บไว้ในที่อื่นและพร้อมกับปิดประกาศ ณ บริเวณพื้นที่เช่าชั้นที่ 1 และชั้นที่ 3 ว่า สัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้วให้ผู้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของนำหลักฐานไปรับทรัพย์สินคืน จึงเป็นการใช้สิทธิโดยชอบตามข้อตกลงแห่งสัญญาเช่า การกระทำของจำเลยที่ 1 กับพวกจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก และฐานทำให้เสียทรัพย์ สำหรับข้อหาลักทรัพย์ ได้ความจากพยานโจทก์และโจทก์ร่วมที่ 1 ว่ามีการรื้อถอนและขนย้ายทรัพย์สินของโจทก์ร่วมที่ 1 ออกจากพื้นที่เช่าไปเก็บไว้ที่ลานจอดรถชั้นที่ 3 และโกดังชั้นที่ 6 บางส่วนนำไปไว้ที่ทิ้งขยะชั้นล่าง แต่ไม่มีพยานหลักฐานใดยืนยันว่าจำเลยทั้งหกเอาไปซึ่งทรัพย์สินของโจทก์ร่วมที่ 1 ทั้งการที่จำเลยที่ 1 กับพวกรื้อถอนและขนย้ายทรัพย์สินออกจากพื้นที่เช่าก็เพื่อนำไปเก็บรักษาไว้เพื่อให้ผู้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของนำหลักฐานไปรับทรัพย์สินคืน และยังอ้างด้วยว่าทรัพย์สินนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ตามข้อตกลงในสัญญาถือว่าจำเลยทั้งหกขาดเจตนาทุจริต จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
อนึ่ง ตามฟ้องโจทก์ขอคืนของกลางตามบัญชีทรัพย์ที่ตรวจพบแก่โจทก์ร่วมที่ 1 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ได้มีคำสั่งเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าทรัพย์ของกลางตามบัญชีทรัพย์เป็นของโจทก์ร่วมที่ 1 จึงให้คืนแก่เจ้าของตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 และ 186 (9) ส่วนการคืนหรือใช้ราคาทรัพย์อื่น ๆ เมื่อจำเลยทั้งหกไม่ได้กระทำผิด จึงไม่มีหน้าที่ต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11925/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานใช้บัตรปลอม, ปลอมและใช้เอกสารราชการ, การริบทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด
หลังจากเจ้าพนักงานจับจำเลยที่ 3 ได้พร้อมใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีรถยนต์ปลอมของรถยนต์หมายเลขทะเบียน 1ฬ - 2678 กรุงเทพมหานคร แล้ว จึงให้จำเลยที่ 3 โทรศัพท์ไปหาจำเลยที่ 4 เพื่อนัดรับใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ปลอมของรถยนต์หมายเลขทะเบียน 7ฮ - 9961 กรุงเทพมหานคร การที่จำเลยที่ 4 นำใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ปลอมของรถยนต์หมายเลขทะเบียน 7ฮ - 9961 กรุงเทพมหานคร มาส่งให้แก่จำเลยที่ 3 ตามที่จำเลยที่ 3 สั่งทำนั้น ถือว่าเป็นการใช้เอกสารราชการใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ปลอมของรถยนต์หมายเลขทะเบียน 7ฮ - 9961 กรุงเทพมหานคร แล้ว
ในวันรุ่งขึ้นหลังการจับกุมจำเลยที่ 4 พนักงานสอบสวนได้สอบคำให้การจำเลยที่ 4 และในชั้นพิจารณาที่จำเลยที่ 4 เบิกความต่อศาล จำเลยที่ 4 ไม่เคยกล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 4 รับราชการทหาร ทั้งขณะฟ้องคดีนี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่า จำเลยที่ 4 รับราชการทหาร ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้
การที่จำเลยที่ 4 ปลอมหนังสือแสดงการจดทะเบียนของรถบรรทุกส่วนบุคคลหมายเลขทะเบียน 81 - 0409 กรุงเทพมหานคร กับปลอมแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีของรถบรรทุกส่วนบุคคลดังกล่าวนั้น จำเลยที่ 4 มีเจตนาอย่างเดียวกันคือ เพื่อนำไปใช้หรือแสดงต่อผู้พบเห็นว่ารถยนต์คันดังกล่าวเป็นรถยนต์ที่จดทะเบียนและเสียภาษีถูกต้องเพื่อจะได้ใช้รถยนต์คันดังกล่าวโดยชอบ การกระทำของจำเลยที่ 4 ในส่วนนี้จึงเป็นความผิดกรรมเดียว
แม้ตรายางที่ยึดได้ภายในรถยนต์ของจำเลยที่ 4 บางอันจะไม่ใช่ตรายางที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ใช้ในการกระทำความผิดคดีนี้ แต่ตรายางที่ยึดได้นั้น เห็นได้ชัดว่า เป็นอุปกรณ์ที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารราชการของกรมการขนส่งทางบกโดยเฉพาะ จึงต้องริบตรายางทั้ง 25 อัน ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10238/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีต้องมีเหตุตามกฎหมาย การตกลงนอกศาลไม่ผูกพันเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
การร้องขอให้ถอนการบังคับคดีต้องมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 295 แต่ตามคำร้องของจำเลยที่ 6 ซึ่งมีเนื้อหาเป็นทำนองขอให้ศาลชั้นต้นถอนการบังคับคดีนั้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 6 ได้อ้างเหตุตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 จำเลยที่ 6 จึงไม่อาจร้องขอให้ถอนการบังคับคดีได้ ส่วนที่จำเลยที่ 6 อ้างว่า ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา โจทก์กับจำเลยที่ 6 ได้ทำบันทึกข้อตกลงยินยอมชำระหนี้ และจำเลยที่ 6 ได้ชำระหนี้ตามบันทึกดังกล่าวให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงไม่อาจมาบังคับคดีแก่จำเลยที่ 6 ได้อีกนั้น เห็นว่า บันทึกข้อตกลงยินยอมชำระหนี้ทำขึ้นนอกศาลโดยศาลมิได้รับรู้ด้วย โจทก์เองก็ยื่นคำคัดค้านว่า บันทึกดังกล่าว ทนายโจทก์คนเดิมทำขึ้นโดยไม่ตรงตามความประสงค์ของโจทก์ และทนายมีพฤติการณ์ร่วมมือกับฝ่ายจำเลยฉ้อฉลโจทก์ บันทึกดังกล่าวหากสามารถบังคับกันได้ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 6 จะต้องว่ากล่าวแก่โจทก์เป็นอีกส่วนหนึ่ง กรณีจึงไม่ถือเป็นเหตุตามกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8753/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของกลุ่มออมทรัพย์ที่ไม่เป็นบุคคลตามกฎหมาย และการมีอำนาจฟ้องแทนกัน
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีโดยเป็นโจทก์ยื่นคำฟ้องหรือเป็นจำเลยที่ถูกฟ้องต่อศาลได้นั้น จะต้องเป็นบุคคลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) ซึ่งบัญญัติว่า "คู่ความ หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล ฯลฯ" และคำว่า บุคคล นั้น ตาม ป.พ.พ. ได้แก่ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านหัวเขาสมอคร้า ที่เป็นโจทก์นั้นมิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล โจทก์เป็นเพียงคณะบุคคลมิใช่บุคคลตามกฎหมายจึงไม่อาจเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ และการรวมกันก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์โจทก์เป็นการตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกันโดยไม่ปรากฏจากการนำสืบของโจทก์ว่ามีวัตถุประสงค์จะแบ่งปันผลกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำจึงไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 ประกอบมาตรา 1025 อีกทั้งการรวมกลุ่มโจทก์มิได้มีการจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลตาม ป.พ.พ. มาตรา 1015 โจทก์จึงไม่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย นอกจากนี้ ส. ก็มิได้ฟ้องคดีในฐานะบุคคลธรรมดา หรือได้รับมอบอำนาจจากสมาชิกทั้งกลุ่มของกลุ่มออมทรัพย์โจทก์ให้ฟ้องคดีนี้ เมื่อโจทก์ไม่ใช่บุคคลตามกฎหมาย จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8752/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดถือใบจอง (น.ส.2) เพื่อประกันหนี้กู้เงิน แม้ไม่เกิดสิทธิยึดหน่วง แต่จำเลยมีสิทธิยึดถือได้จนกว่าจะชำระหนี้ครบ
การที่ผู้ตายมอบใบจอง (น.ส.2) ให้จำเลยยึดถือไว้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงิน แม้ไม่ก่อให้เกิดสิทธิยึดหน่วงแก่จำเลยเพราะหนี้ที่จำเลยมีเป็นเพียงหนี้เงินกู้ที่จำเลยจะได้รับชำระหนี้คืนจากผู้ตายเท่านั้น หาได้มีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวด้วยที่ดินใบจอง (น.ส.2) ซึ่งครอบครองไว้นั้นจึงไม่เป็นสิทธิยึดหน่วงดังที่โจทก์ฎีกากล่าวอ้างก็ตาม แต่อย่างไรก็ดีเมื่อผู้ตายมอบใบจอง (น.ส.2) ให้แก่จำเลยเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามสำเนาหนังสือสัญญากู้เงิน ซึ่งจำเลยมีสิทธิฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ ดังนั้นตราบใดที่จำเลยยังไม่ได้รับชำระหนี้คืนจนเสร็จสิ้นเชิง จำเลยย่อมมีสิทธิยึดถือใบจอง (น.ส.2) ดังกล่าวไว้
โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องเรียกใบจอง (น.ส.2) ที่พิพาทซึ่งมีชื่อผู้ตายเป็นผู้ขอเข้าครอบครองที่ดินคืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือ หาใช่ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลย แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทเนื่องจากผู้ตายขายที่พิพาทให้จำเลยแล้ว ก็ถือว่าจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องคืนต้นฉบับใบจอง (น.ส.2) เท่านั้น ทั้งผลของคดีไม่ทำให้สิทธิครอบครองในที่ดินเปลี่ยนแปลงไปแต่ประการใดจึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้ศาลชั้นต้นให้คู่ความตีราคาที่ดินตามใบจอง (น.ส.2) ที่พิพาทไว้ด้วย ก็ไม่ทำให้กลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเพียง 200 บาท ที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นต้นเพิ่มอย่างคดีมีทุนทรัพย์เป็นเงิน 8,600 บาท จึงไม่ถูกต้อง ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมา 8,600 บาทให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8402/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีละเมิด กรณีการกีดขวางทางเข้าออกที่ดิน
การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสองขอให้ศาลมีคำสั่งเนื่องจากจำเลยได้กระทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายและเดือดร้อนระหว่างการพิจารณาคดี คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำละเมิด อ้างว่าจำเลยทั้งสองใช้สิทธิของตนเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เสียหายและเดือดร้อนเกินสมควร เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองไม่สามารถใช้ที่สาธารณะเพื่อเป็นทางเชื่อมออกสู่ถนนสายอยุธยา-วังน้อยได้ตามที่โจทก์ทั้งสองได้รับอนุญาตแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 ดังนั้น ตราบใดที่ไม้เสาเข็มที่จำเลยทั้งสองนำมาปลูกเป็นเพิงพักบนที่ดินพิพาทยังคงมีอยู่ ย่อมถือได้ว่ายังมีการกระทำซ้ำ หรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิดตามที่จำเลยทั้งสองถูกฟ้อง จึงรับฟังได้ว่าคำฟ้องมีมูลและมีเหตุผลเพียงพอที่โจทก์ทั้งสองจะขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8360/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. ม.216 วรรคหนึ่ง เหตุจำเลยอ้างอุทธรณ์แทนการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จำเลยฎีกาว่าจำเลยขออ้างอุทธรณ์จำเลยเป็นส่วนหนึ่งของฎีกาจำเลย เท่ากับฎีกาของจำเลยที่อ้างอุทธรณ์เป็นการโต้แย้งคัดค้านเฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ชอบอย่างไร และจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพราะเหตุใด ทั้ง ๆ ที่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 อ้างเหตุคนละอย่างกับเหตุที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7411/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาของผู้ติดยาเสพติดระหว่างการฟื้นฟู: อำนาจฟ้องและการนำตัวจำเลยมาศาล
พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 33 วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีที่ผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดผู้ใดแม้จะได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจนครบกำหนดตามมาตรา 25 แล้ว แต่ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดยังไม่เป็นที่พอใจ ให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินคดีผู้นั้นต่อไปและให้นำมาตรา 22 วรรคสี่ ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการมารับตัวผู้ต้องหาไปในทันทีที่สามารถกระทำได้ มาบังคับใช้โดยอนุโลม คดีนี้พนักงานสอบสวนนำตัวจำเลยไปศาลตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2555 ศาลมีคำสั่งให้ส่งตัวจำเลยไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด ต่อมาวันที่ 2 มีนาคม 2555 สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดน่านมีหนังสือรายงานผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดและแจ้งคำวินิจฉัยคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดน่านว่า การฟื้นฟูดังกล่าวไม่น่าจะใช้ได้และไม่เป็นประโยชน์สำหรับจำเลย กรณีถือว่าการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดยังไม่เป็นที่พอใจ ทั้งปรากฏจากรายงานการผัดฟ้องจำเลยครั้งที่ 1 ซึ่งพันตำรวจโท ท. บันทึกว่า ในวันที่ 12 เมษายน 2555 จะนำตัวจำเลยมาศาลเพื่อผัดฟ้องต่อไป แสดงให้เห็นว่า ในระยะเวลาดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการสอบสวน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยโดยไม่นำตัวจำเลยมาศาล ดังนั้น เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2555 โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้โดยไม่มีตัวจำเลยมาศาล จึงขัดต่อบทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 165 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัว ฯ มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7390/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุจำเลยขณะกระทำผิดกระทบต่อการลงโทษฐานกระทำอนาจาร ศาลฎีกายกอายุเป็นเหตุให้ไม่ลงโทษ
จำเลยเกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2537 จำเลยกระทำความผิดฐานกระทำอนาจาร 2 กระทงในปี 2549 ดังนั้นจำเลยจึงมีอายุกว่าสิบปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษ ตาม ป.อ. มาตรา 74 แต่ศาลมีอำนาจที่จะดำเนินการตาม ป.อ. มาตรา 74 (1) ถึง (5) ได้ ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอายุของจำเลยผิดจากพยานหลักฐานในสำนวน และลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยในความผิดฐานดังกล่าวตาม ป.อ. มาตรา 75 แล้วลงโทษจำเลยโดยเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปรับการฝึกอบรม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลล่างทั้งสองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (3) (ก) ประกอบมาตรา 247 และ ป.วิ.อ. มาตรา 15
of 12