คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 95 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2107/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดพยายามฆ่า, พยานหลักฐาน, และการสอบสวนโดยไม่จัดหาทนายความ
ป.วิ.อ. มาตรา 134/1 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มถามคำให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและผู้ต้องหาต้องการทนายความ ให้รัฐจัดหาทนายความให้" ปรากฏตามบันทึกคำให้การในชั้นสอบสวนของผู้ต้องหาว่า พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาและแจ้งสิทธิของผู้ต้องหาให้จำเลยทราบ และสอบถามเรื่องทนายความหรือผู้ที่ไว้วางใจเข้ารับฟังการสอบสวนแล้ว จำเลยให้การว่าไม่มีและไม่ต้องการทนายความหรือผู้ที่ไว้วางใจเข้ารับฟังการสอบสวน การที่พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนจำเลยโดยไม่ได้จัดหาทนายความให้ตามคำให้การดังกล่าว จึงเป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ส่วนมาตรา 134/4 วรรคท้าย บัญญัติไว้เพียงว่า ถ้อยคำใด ๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือก่อนที่จะดำเนินการตามมาตรา 134/1 จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้ ฉะนั้น แม้พนักงานสอบสวนจะจัดหาหรือไม่จัดหาทนายความให้จำเลยก็ไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบ เมื่อมีการสอบสวนแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9955/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีทุจริต: การตีความบทบัญญัติขยายอายุความโดยเคร่งครัด และผลกระทบต่อคดีที่เกิดขึ้นก่อนมีผลบังคับใช้
ขณะเกิดเหตุ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 ที่ให้เพิ่มความตามมาตรา 98 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ซึ่งให้นำมาตรา 74/1 มาใช้บังคับโดยอนุโลมยังไม่มีผลใช้บังคับ เมื่อมาตรา 98 ประกอบมาตรา 74/1 เป็นบทบัญญัติที่มิให้นับระยะเวลาที่ผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีรวมเป็นส่วนหนึ่งของอายุความด้วย ประกอบกับ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 มิได้มีบทเฉพาะกาลให้นำมาตรา 98 ประกอบมาตรา 74/1 มาใช้บังคับแก่คดีที่เกิดขึ้นก่อน พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ การตีความกฎหมายจึงต้องตีความโดยเคร่งครัด จะขยายความไปถึงคดีที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวใช้บังคับโดยที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดอันจะเป็นผลร้ายแก่จำเลยหาได้ไม่ เพราะจะขัดต่อความรับผิดของบุคคลในการรับโทษทางอาญา ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคหนึ่ง กรณีจึงนำมาตรา 98 ประกอบมาตรา 74/1 มาใช้ย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่จำเลยมิได้ อายุความการฟ้องคดีอาญาแก่จำเลยที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไต่สวนแล้วมีมติแจ้งข้อกล่าวหาแก่จำเลย จึงต้องพิจารณาตามความใน ป.อ. มาตรา 95 เมื่อความผิดตาม ป.อ. มาตรา 148 ประกอบมาตรา 83 และ 86 ที่โจทก์ฟ้องมีอายุความยี่สิบปีนับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 95 (1) การที่โจทก์ฟ้องและได้ตัวจำเลยมาดำเนินคดีนี้เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2556 เกินกว่ายี่สิบปีนับแต่วันกระทำความผิดแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9268/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีอาญาฆ่าผู้อื่น: การจับกุมและส่งตัวผู้ต้องหาต่อศาลทำให้เกิดผลต่ออายุความ
จำเลยต้องหาว่ากระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาเหตุเกิดเมื่อวันที่15มีนาคม2518เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้เมื่อวันที่6มีนาคม2538และส่งมอบจำเลยให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อมาวันที่10มีนาคม2538ศาลชั้นต้นออกหมายขังจำเลยไว้ในระหว่างสอบสวนมีกำหนด7วันตามที่พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอจึงถือได้ว่าได้ตัวจำเลยมาอยู่ในอำนาจศาลหรือได้ตัวจำเลยมายังศาลแล้วฉะนั้นเมื่อต่อมาวันที่13มีนาคม2538ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวในระหว่างสอบสวนตามคำร้องของจำเลยและโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในวันเดียวกันนั้นซึ่งยังไม่พ้นกำหนดยี่สิบปีนับแต่วันที่15มีนาคม2518จึงถือได้ว่าโจทก์ได้ฟ้องและได้ตัวจำเลยมายังศาลภายในกำหนดยี่สิบปีนับแต่วันกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา95(1)แล้วฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9268/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีอาญา: การได้ตัวจำเลยมายังศาล
จำเลยต้องหาว่ากระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา เหตุเกิดเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2518 เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้เมื่อวันที่ 6 มีนาคม2538 และส่งมอบจำเลยให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี ต่อมาวันที่ 10 มีนาคม2538 ศาลชั้นต้นออกหมายขังจำเลยไว้ในระหว่างสอบสวนมีกำหนด 7 วัน ตามที่พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอ จึงถือได้ว่าได้ตัวจำเลยมาอยู่ในอำนาจศาลหรือได้ตัวจำเลยมายังศาลแล้ว ฉะนั้น เมื่อต่อมาวันที่ 13 มีนาคม 2538 ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวในระหว่างสอบสวนตามคำร้องของจำเลย และโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในวันเดียวกันนั้น ซึ่งยังไม่พ้นกำหนดยี่สิบปีนับแต่วันที่ 15 มีนาคม 2518จึงถือได้ว่าโจทก์ได้ฟ้องและได้ตัวจำเลยมายังศาลภายในกำหนดยี่สิบปี นับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 95 (1) แล้ว ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดอายุความฟ้องอาญา ต้องพิจารณาจากอัตราโทษตามบทมาตราที่โจทก์ฟ้อง ไม่ใช่โทษที่ศาลตัดสิน
อัตราโทษที่จะนำมาพิจารณากำหนดอายุความฟ้องผู้กระทำผิดตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 นั้น ถืออัตราโทษสูงสุดสำหรับความผิดที่บัญญัติไว้ในบทมาตราที่โจทก์ฟ้องเป็นหลักมิใช่ถือตามโทษที่ศาลกำหนดในคำพิพากษาลงแก่จำเลย แม้ศาลฟังว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ซึ่งวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีจะต้องฟ้องภายในอายุความสิบปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3)แต่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80ซึ่งมีอัตราโทษสูงสุดจำคุกตลอดชีวิตกำหนดอายุความยี่สิบปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(1) และคดีนี้เหตุเกิดวันที่ 6ธันวาคม 2517 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2532 จึงไม่ขาดอายุความ