คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 85

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าเพิ่มเติมและการผูกพันตามการยินยอมของหุ้นส่วนผู้จัดการ
แม้เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 จะไม่มีอำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำประจำเดือนของโจทก์ล่วงหน้าตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2525 เป็นต้นไป เพราะโจทก์ยังมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือปฏิบัติขัดต่อประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ก็ตาม แต่ได้ความว่าเมื่อโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีการค้าในปี พ.ศ.2525 ไว้แล้ว ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ตรวจสอบพบว่า โจทก์ได้แสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีต่ำกว่าที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 กำหนดไว้ จึงแจ้งให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มสำหรับเดือนกุมภาพันธ์ 2525 ถึงเดือนธันวาคม 2525 และเดือนมกราคม 2526 ถึงเดือนเมษายน 2526 โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 87, 87 ทวิ (7) นั้นเป็นการแจ้งการประเมินภาษีการค้าที่ชอบแล้ว
หลังจากที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ชำระภาษีการค้าเพิ่มแล้ว การที่ น.หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ยอมรับว่าเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้เรียกเก็บภาษีการค้าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มถูกต้องแล้วรวมทั้งสละสิทธิในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จะโต้เถียงว่าเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ประเมินให้โจทก์ชำระภาษีการค้าเพิ่มรวมตลอดถึงคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5ว่าไม่ชอบนั้นไม่ได้ การกระทำของ น.ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์มีผลผูกพันโจทก์ให้ต้องเสียภาษีการค้าเบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม ตามที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 เรียกเก็บเพิ่มขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าเพิ่มเติมและการผูกพันตามการยอมรับของหุ้นส่วนผู้จัดการ
แม้เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 จะไม่มีอำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำประจำเดือนของโจทก์ล่วงหน้าตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2525เป็นต้นไป เพราะโจทก์ยังมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือปฏิบัติขัดต่อประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ก็ตาม แต่ได้ความว่าเมื่อโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีการค้าในปี พ.ศ.2525 ไว้แล้ว ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ตรวจสอบพบว่า โจทก์ได้แสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีต่ำกว่าที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 กำหนดไว้ จึงแจ้งให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มสำหรับเดือนกุมภาพันธ์ 2525 ถึงเดือนธันวาคม 2525 และเดือนมกราคม 2526 ถึงเดือนเมษายน 2526 โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา87,87 ทวิ (7) นั้นเป็นการแจ้งการประเมินภาษีการค้าที่ชอบแล้ว
หลังจากที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ชำระภาษีการค้าเพิ่มแล้ว การที่ น.หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ยอมรับว่าเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้เรียกเก็บภาษีการค้าเพิ่มเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มถูกต้องแล้วรวมทั้งสละสิทธิในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จะโต้เถียงว่าเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ประเมินให้โจทก์ชำระภาษีการค้าเพิ่มรวมตลอดถึงคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5ว่าไม่ชอบนั้นไม่ได้ การกระทำของ น.ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์มีผลผูกพันโจทก์ให้ต้องเสียภาษีการค้าเบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม ตามที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 เรียกเก็บเพิ่มขึ้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3037/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีการค้า: การแจ้งประเมินและการบังคับชำระหนี้ ทำให้ระยะเวลาอายุความสะดุดหยุดลง
ในเรื่องภาษีการค้านั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 84,85 บัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้าเป็นรายเดือน โดยนำเงินค่าภาษีการค้าไปชำระพร้อมกับยื่นแบบแสดงรายการการค้าเงินได้พึงประเมินภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปซึ่งถือได้ว่ามูลหนี้ค่าภาษีการค้าได้เกิดขึ้นแล้ว ทุกเดือนภาษีที่โจทก์มีรายรับโดยถือเอาวันที่ 15 ของเดือนถัดไปเป็นวันที่ครบกำหนดชำระหนี้ภาษีของเดือนนั้น ๆ และเจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีการค้านับแต่วันถัดจากวันที่กำหนดชำระเป็นต้นไป สำหรับกรณีของโจทก์เมื่อหนี้ค่าภาษีการค้าที่โจทก์เสียขาดไปถึงกำหนดชำระภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2506 และทุก ๆ วันที่ 15 ของแต่ละเดือนถัดไปเจ้าพนักงานประเมินจึงมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีการค้าดังกล่าวเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2506 เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินภาษีการค้าที่ขาดให้โจทก์นำไปชำระตามประมวลรัษฎากร มาตรา 86ทวิ ซึ่งโจทก์ทราบการประเมินเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2514 ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับให้ชำระหนี้ภาษีที่ค้างแล้วภายในกำหนด 10 ปีตามมาตรา 88ทวิ(2) ซึ่งมีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้องอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เพราะหากโจทก์ไม่นำเงินไปชำระ กรมสรรพากรจำเลยก็มีอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 อันเป็นกฎหมายพิเศษที่จะดำเนินการบังคับเอากับทรัพย์สินของผู้ค้างชำระค่าภาษีโดยมิต้องนำคดีมาฟ้องร้องต่อศาลเช่นกรณีเจ้าหนี้อื่น ๆและต่อมาโจทก์ได้อุทธรณ์ตลอดจนนำคดีนี้มาฟ้องสืบเนื่องกันมา จึงเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีอากรรายนี้จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3037/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีการค้า: การแจ้งประเมินและสิทธิเรียกร้องของกรมสรรพากรทำให้ระยะเวลาอายุความสะดุดหยุดลง
ในเรื่องภาษีการค้านั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 84,85 บัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้าเป็นรายเดือน โดยนำเงินค่าภาษีการค้าไปชำระพร้อมกับยื่นแบบแสดงรายการการค้าเงินได้พึงประเมินภายในวันที่ 15 ของเดือน ถัดไปซึ่งถือได้ว่ามูลหนี้ค่าภาษีการค้าได้เกิดขึ้นแล้ว ทุกเดือนภาษีที่โจทก์มีรายรับโดยถือเอาวันที่ 15 ของเดือนถัดไปเป็นวันที่ครบกำหนดชำระหนี้ภาษีของเดือนนั้นๆ และเจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีการค้านับแต่วันถัดจากวันที่กำหนดชำระ เป็นต้นไป สำหรับกรณีของโจทก์เมื่อหนี้ค่าภาษีการค้าที่โจทก์เสียขาดไปถึงกำหนดชำระภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2506 และทุก ๆ วันที่ 15 ของแต่ละเดือนถัดไป เจ้าพนักงานประเมินจึงมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีการค้าดังกล่าวเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2506 เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินภาษีการค้าที่ขาดให้โจทก์นำไปชำระตามประมวลรัษฎากร มาตรา 86 ทวิ ซึ่งโจทก์ทราบการประเมินเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2514 ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับให้ชำระหนี้ภาษีที่ค้างแล้วภายในกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 88 ทวิ (2) ซึ่งมีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้องอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เพราะหากโจทก์ไม่นำเงินไปชำระ กรมสรรพากรจำเลยก็มีอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 อันเป็นกฎหมายพิเศษที่จะดำเนินการบังคับเอากับทรัพย์สินของผู้ค้างชำระค่าภาษีโดยมิต้องนำคดีมาฟ้องร้องต่อศาลเช่นกรณีเจ้าหนี้อื่นๆ และต่อมาโจทก์ได้อุทธรณ์ตลอดจนนำคดีนี้มาฟ้องสืบเนื่องกันมา จึงเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีอากรรายนี้จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีเงินได้และภาษีการค้า: การประเมินและแจ้งการประเมินภายใน 10 ปี
โจทก์มีเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในระหว่างปีภาษี พ.ศ.2500 ถึง 2506 แต่โจทก์ยื่นรายการเงินได้ไม่ถูกต้องต่ำกว่าความจริงและลงรายการไม่ครบถ้วนทำให้จำนวนเงินภาษีเงินได้ขาดไป เจ้าพนักงานประเมินได้ไต่สวนแล้วมีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้รวมทั้งเงินเพิ่มของปีดังกล่าวให้โจทก์ชำระ ดังนี้ หนี้ค่าภาษีเงินได้ที่ขาดไปนั้นได้ถึงกำหนดชำระแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 56,57 จัตวา คือภายในเดือนกุมภาพันธ์ทุก ๆ ปี ที่มีเงินได้พึงประเมินในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมา และเจ้าพนักงานประเมินมี สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีเงินได้ถัดจากวันที่ครบกำหนดชำระเป็นต้นไปคือเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2501
สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ.2500 และวันที่ 1 มีนาคม ในปีถัดไป สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ.2501 ถึง 2506 ของแต่ละปีตามลำดับเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีเงินได้ปี พ.ศ.2500,2501 ให้โจทก์ชำระเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2510 และภาษีเงินได้ปี พ.ศ.2502 ถึง2506 เมื่อวันที่ 19กุมภาพันธ์ 2511 ซึ่งนับอายุความตั้งแต่วันที่ เจ้าพนักงานประเมินอาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้ถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินแล้วยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องค่าภาษีเงินได้จึงไม่ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167
สำหรับภาษีการค้านั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าสำหรับรายรับเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2502 เดือนธันวาคม 2502 และกันยายน 2503 ภายในเวลาตามที่กำหนดไว้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 84,85 ดังนี้มูลหนี้ค่าภาษีการค้าได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษีที่โจทก์มีรายรับโดยถือเอาวันที่ 15 ของเดือนถัดไปเป็นวันที่ครบกำหนดชำระภาษีเดือนนั้น ๆ และเจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีการค้าถัดจากวันที่ครบกำหนดชำระเป็นต้นไป เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีการค้าให้โจทก์ชำระในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2511 อันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าภาษีการค้าภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินอาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีเงินได้และภาษีการค้า: การประเมินและแจ้งประเมินภายใน 10 ปี
โจทก์มีเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในระหว่างปีภาษี พ.ศ. 2500 ถึง 2506 แต่โจทก์ยื่นรายการเงินได้ไม่ถูกต้องต่ำกว่าความจริงและลงรายการไม่ครบถ้วนทำให้จำนวนเงินภาษีเงินได้ขาดไป เจ้าพนักงานประเมินได้ไต่สวนแล้วมีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้รวมทั้งเงินเพิ่มของปีดังกล่าวให้โจทก์ชำระ ดังนี้ หนี้ค่าภาษีเงินได้ที่ขาดไปนั้นได้ถึงกำหนดชำระแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 56, 57 จัตวา คือภายในเดือนกุมภาพันธ์ทุก ๆ ปี ที่มีเงินได้พึงประเมินในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมา และเจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีเงินได้ถัดจากวันที่ครบกำหนดชำระเป็นต้นไป คือเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2501
สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ. 2500 และวันที่ 1 มีนาคมในปีถัดไป สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ. 2501 ถึง 2506 ของแต่ละปีตามลำดับ เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีเงินได้ปี พ.ศ. 2500, 2501 ให้โจทก์ชำระเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2510 และภาษีเงินได้ปี พ.ศ. 2502 ถึง 2506 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2501 ซึ่งนับอายุความตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินอาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้ถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินแล้วยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องค่าภาษีเงินได้จึงไม่ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 167
สำหรับภาษีการค้านั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าสำหรับรายรับเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2502 เดือนธันวาคม 2502 และกันยายน 2503 ภายในเวลาตามที่กำหนดไว้ตามประมวลรัษฎากร ตาม 84, 85 ดังนี้ มูลหนี้ค่าภาษีการค้าได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษีที่โจทก์มีรายรับโดยถือเอาวันที่ 15 ของเดือนถัดไปเป็นวันที่ครบกำหนดชำระภาษีเดือนนั้น ๆ และเจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีการค้าถัดจากวันที่ครบกำหนดชำระเป็นต้นไป เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีการค้าให้โจทก์ชำระในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2511 อันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าภาษีการค้าภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินอาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 771/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีการค้าและอากรแสตมป์ของผู้ทำการแทนผู้ประกอบการค้าในสัญญาจ้างทำของ
บริษัท ค. เป็นบริษัทในต่างประเทศได้ร่วมกับอีกบริษัทหนึ่งทำสัญญารับเหมาก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันกับกระทรวงกลาโหมโจทก์เป็นผู้ลงนามในสัญญากับกระทรวงกลาโหมแทนบริษัท ค. บริษัท ค. ได้มอบให้โจทก์เป็นผู้มีอำนาจเต็มและมีสิทธิทำการทุกอย่างในขอบเขตเรื่องการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมัน โจทก์ได้มีหนังสือถึงกระทรวงกลาโหมชี้แจงข้อความเกี่ยวกับการก่อสร้าง ได้ลงนามกู้เงินจากธนาคารมาใช้ในการก่อสร้างโดยเปิดบัญชีไว้ 4 บัญชี ทุกบัญชีโจทก์มีอำนาจสั่งจ่ายครั้นก่อสร้างเสร็จกระทรวงกลาโหมจ่ายเงินค่าจ้างแก่ธนาคารที่โจทก์เปิดบัญชีไว้แล้วธนาคารจึงจ่ายต่อไปให้แก่ผู้รับเหมาเมื่อมีเงินเหลือธนาคารก็จ่ายให้โจทก์และโอนเข้าบัญชีอื่นๆ ที่โจทก์มีอำนาจสั่งจ่าย แม้บริษัท ค. จะมีสำนักงานไว้ ณ สถานที่ก่อสร้างก็เพื่อติดต่อเกี่ยวกับคนงานที่มาก่อสร้างเท่านั้น มิใช่บริษัท ค. ใช้สถานที่นั้นเป็นสาขาประกอบการค้าในประเทศไทย โจทก์จึงเป็นผู้ทำการแทนบริษัท ค. เป็นผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและเสียภาษีการค้าตามรายรับเงินค่าจ้างของบริษัท ค.
ธนาคารที่โจทก์เปิดบัญชีไว้เป็นผู้รับเงินค่าจ้างของบริษัท ค. จากกระทรวงกลาโหมมาจ่ายให้บริษัท ค. ผู้รับจ้าง เงินที่รับมานั้นจึงเป็นค่าจ้างทำของซึ่งจะต้องเสียค่าอากรแสตมป์ตามจำนวนเงินแบ่งสินจ้างเมื่อโจทก์เป็นผู้กระทำการแทนบริษัท ค. ในประเทศไทย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้โจทก์เสียค่าอากรแสตมป์ในเงินค่าจ้างซึ่งเสมือนเสียจากผู้รับจ้างนั่นเองโจทก์ต้องเป็นผู้เสียค่าอากรแสตมป์นี้
of 2