คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 88

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 627 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7432/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานเบิกความยืนยันเหตุการณ์ต่างกันได้ หากคำเบิกความสอดคล้องกับพยานหลักฐานอื่น จึงรับฟังได้
แม้ ล.ประจักษ์พยานได้นั่งอยู่ในห้องพิจารณาด้วยในขณะที่ผู้เสียหายทั้งสองเบิกความต่อศาลก็ตาม แต่ผู้เสียหายทั้งสองเบิกความว่า เห็นเหตุการณ์ตอนไฟไหม้บ้านแล้ว ไม่เห็นว่าใครเป็นคนจุดไฟ ส่วน ล.เบิกความยืนยันว่าเห็นจำเลยเป็นคนใช้ไฟแช็กจุดไฟเผาบ้านผู้เสียหายที่ 1 แล้วไฟลุกลามไปไหม้บ้านผู้เสียหายที่ 2 บางส่วนด้วย คำเบิกความของ ล.จึงมิได้เบิกความตามที่ได้ยินผู้เสียหายทั้งสองเบิกความแต่อย่างใด ทั้งโจทก์ยังมี ค.ประจักษ์พยานอีกปากหนึ่งเบิกความยืนยันว่าจำเลยเป็นคนจุดไฟเผาบ้านผู้เสียหายที่ 1 แล้วไฟลุกลามไหม้บ้านผู้เสียหายที่ 2 สอดคล้องกัน คำเบิกความของ ล.จึงรับฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6671/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกความพยานนอกบัญชีรายชื่อพยานไม่มีผลต่อการวินิจฉัยคดีหากมีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุน
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายคิดเป็นเงิน 5,300 บาท พิพากษาให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จ การวินิจฉัยคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นรับฟังจากพยานหลักฐานทั้งปวงที่โจทก์นำสืบ มิได้รับฟังจากเฉพาะคำเบิกความของ ค. เพียงปากเดียวและแม้โจทก์จะไม่มี ค. เข้าเบิกความ ก็ไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีของศาลชั้นต้นเปลี่ยนแปลงไปดังนั้น แม้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ค. พยานโจทก์เข้าเบิกความโดยไม่มีชื่อในบัญชีพยานโจทก์ อันเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88และมาตรา 106 ก็ไม่ทำให้พยานโจทก์อื่น ๆ เสียไป หรือหาก ค. ไม่เข้าเบิกความแล้วผลของคดีจะเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาข้อกฎหมายในเรื่องดังกล่าวของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6319/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารและการใช้เอกสารปลอม: ประเด็นแตกต่างจากคดีก่อนหน้าไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยนำสืบพยาน ของตนจนเสร็จสิ้นและแถลงหมดพยานจำเลย อันเป็นการเสร็จการพิจารณาในศาลชั้นต้นแล้ว การที่จำเลยฎีกาขอให้ศาลฎีกาจัดส่งคำร้องขอถอนฟ้องซึ่งพิพาทกันไปตรวจพิสูจน์ว่ามีการกรอกข้อความในแบบคำร้องดังกล่าวก่อนหรือภายหลัง ที่ผู้เสียหายลงลายมือชื่อนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องขอ อนุญาตระบุพยานเพิ่มเติมในชั้นฎีกาให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาเสียก่อน เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา จึงไม่อาจดำเนินการให้ได้ คดีเดิมโจทก์ (ผู้เสียหายในคดีนี้) ยื่นคำร้องขอให้ยกคดี ขึ้นพิจารณาใหม่อ้างเหตุจำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ในคำร้องขอถอนฟ้อง ซึ่งผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญของศาลปรากฏว่า เป็นลายมือชื่อของโจทก์ ศาลจึง มีคำสั่งยกคำร้อง แต่คดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยว่าจำเลยนำแบบพิมพ์คำร้องของศาลไปให้ผู้เสียหายลงลายมือชื่อโดยที่ยังไม่ได้กรอกข้อความ แล้วจำเลยกรอกข้อความในแบบพิมพ์ คำร้องดังกล่าวว่าผู้เสียหายประสงค์ขอถอนฟ้องอันเป็นเท็จ ต่อมาจำเลยนำคำร้องดังกล่าวไปยื่นแสดงต่อศาล ทำให้ศาลหลงเชื่อว่าเป็นความจริงการกระทำของจำเลยเป็นการปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญา กรณีเห็นได้ว่า ศาลในคดี เดิมได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในประเด็นที่ว่ามีเหตุให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่เพราะจำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ในคำร้องขอถอนฟ้องหรือไม่ แต่คดีนี้เป็นเรื่องความรับผิด ในทางอาญาว่าจำเลยได้กระทำความผิดโดยกรอก ข้อความลงในแบบคำร้องซึ่งมีลายมือชื่อของผู้เสียหายว่าผู้เสียหายประสงค์ขอถอนฟ้องโดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้เสียหาย แล้วนำคำร้องดังกล่าวไปยื่นต่อศาลอันเป็นการปลอมเอกสาร และใช้เอกสารปลอมตามฟ้องหรือไม่ประเด็นแห่งคดีจึงแตกต่างกันฟ้องของโจทก์คดีนี้จึง ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6319/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินการทางอาญาต่างจากกระบวนการพิจารณาคดีเดิม แม้ประเด็นเกี่ยวข้องกับเอกสารเดียวกัน
ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยนำสืบพยานของตนจนเสร็จสิ้นและแถลงหมดพยานจำเลย อันเป็นการเสร็จการพิจารณาในศาลชั้นต้นแล้ว การที่จำเลยฎีกาขอให้ศาลฎีกาจัดส่งคำร้องขอถอนฟ้องซึ่งพิพาทกันไปตรวจพิสูจน์ว่ามีการกรอกข้อความในแบบคำร้องดังกล่าวก่อนหรือภายหลังที่ผู้เสียหายลงลายมือชื่อนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องขออนุญาตระบุพยานเพิ่มเติมในชั้นฎีกาให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาเสียก่อน เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา จึงไม่อาจดำเนินการให้ได้
คดีเดิมโจทก์ (ผู้เสียหายในคดีนี้) ยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่อ้างเหตุจำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ในคำร้องขอถอนฟ้อง ซึ่งผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญของศาลปรากฏว่า เป็นลายมือชื่อของโจทก์ ศาลจึงมีคำสั่งยกคำร้อง แต่คดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยนำแบบพิมพ์คำร้องของศาลไปให้ผู้เสียหายลงลายมือชื่อ โดยที่ยังไม่ได้กรอกข้อความ แล้วจำเลยกรอกข้อความในแบบพิมพ์คำร้องดังกล่าวว่าผู้เสียหายประสงค์ขอถอนฟ้องอันเป็นเท็จ ต่อมาจำเลยนำคำร้องดังกล่าวไปยื่นแสดงต่อศาล ทำให้ศาลหลงเชื่อว่าเป็นความจริงการกระทำของจำเลยเป็นการปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญา กรณีเห็นได้ว่า ศาลในคดีเดิมได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในประเด็นที่ว่ามีเหตุให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่เพราะจำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ในคำร้องขอถอนฟ้องหรือไม่ แต่คดีนี้เป็นเรื่องความรับผิดในทางอาญาว่าจำเลยได้กระทำความผิดโดยกรอกข้อความลงในแบบคำร้องซึ่งมีลายมือชื่อของผู้เสียหายว่าผู้เสียหายประสงค์ขอถอนฟ้องโดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้เสียหาย แล้วนำคำร้องดังกล่าวไปยื่นต่อศาลอันเป็นการปลอมเอกสาร และใช้เอกสารปลอมตามฟ้องหรือไม่ ประเด็นแห่งคดีจึงแตกต่างกันฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ที่ดินร่วมกัน และการยื่นบัญชีระบุพยานที่ไม่ทันกำหนด
จำเลยไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 15 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขอยื่นบัญชี ระบุพยานขณะที่โจทก์ได้สืบพยานไปจนจบแล้ว โดยอ้างว่า ระยะเวลายื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกได้สิ้นสุดไปก่อนหน้า ที่ทนายจำเลยคนปัจจุบันเข้ามารับหน้าที่ ซึ่งมิได้เป็นเหตุ สุดวิสัย หากอนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบย่อมจะทำให้ โจทก์เสียเปรียบ ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยนำพยาน เข้าสืบจึงชอบแล้ว แม้จำเลยจะได้ให้การโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเป็นประเด็นไว้ แต่ในวันชี้สองสถานซึ่งศาลชั้นต้นได้ทำการชี้สองสถานกำหนดประเด็น ข้อพิพาทเพียงประเด็นเดียวว่า โจทก์และจำเลยได้แบ่งแยกกันครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทเป็นส่วนสัดแล้วหรือไม่เท่านั้นโดยจำเลยมิได้คัดค้านอันเป็นการสละประเด็นข้อต่อสู้ดังกล่าว เท่ากับจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทั้งห้ามีอำนาจฟ้องโจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบถึงประเด็นดังกล่าว และจำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อที่ดิน ป.ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในคดีก่อนเป็นที่ดินที่ไม่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ที่โจทก์และจำเลย ครอบครองอยู่ การที่โจทก์และจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทของตนในคดีนี้เป็นส่วนสัดโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่วันที่โจทก์จำเลยได้รับการยกให้จากเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดต่อกันมาเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้ว โดยไม่มีใครรบกวน โจทก์และจำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินในส่วน ที่ตนครอบครองนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกการครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัด การฟ้องรังวัด และประเด็นอำนาจฟ้องที่จำเลยสละประเด็น
จำเลยไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 15 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขอยื่นบัญชี ระบุพยานขณะที่โจทก์ได้สืบพยานไปจนจบแล้ว โดยอ้างว่า ระยะเวลายื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกได้สิ้นสุดไปก่อนหน้า ที่ทนายจำเลยคนปัจจุบันเข้ามารับหน้าที่ ซึ่งมิได้เป็นเหตุ สุดวิสัย หากอนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบย่อมจะทำให้ โจทก์เสียเปรียบ ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยนำพยาน เข้าสืบจึงชอบแล้ว แม้จำเลยจะได้ให้การโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเป็นประเด็นไว้ แต่ในวันชี้สองสถานซึ่งศาลชั้นต้นได้ทำการชี้สองสถานกำหนดประเด็น ข้อพิพาทเพียงประเด็นเดียวว่า โจทก์และจำเลยได้แบ่งแยกกันครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทเป็นส่วนสัดแล้วหรือไม่เท่านั้นโดยจำเลยมิได้คัดค้านอันเป็นการสละประเด็นข้อต่อสู้ดังกล่าว เท่ากับจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทั้งห้ามีอำนาจฟ้องโจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบถึงประเด็นดังกล่าว และจำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อที่ดิน ป.ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในคดีก่อนเป็นที่ดินที่ไม่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ที่โจทก์และจำเลย ครอบครองอยู่ การที่โจทก์และจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทของตนในคดีนี้เป็นส่วนสัดโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่วันที่โจทก์จำเลยได้รับการยกให้จากเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดต่อกันมาเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้ว โดยไม่มีใครรบกวน โจทก์และจำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินในส่วน ที่ตนครอบครองนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยื่นบัญชีรายชื่อพยานตามกำหนด และประเด็นอำนาจฟ้องที่สละสิทธิ์ การได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์
จำเลยไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า15 วัน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานขณะที่โจทก์ได้สืบพยานไปจนจบแล้ว โดยอ้างว่าระยะเวลายื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกได้สิ้นสุดไปก่อนหน้าที่ทนายจำเลยคนปัจจุบันเข้ามารับหน้าที่ ซึ่งมิได้เป็นเหตุสุดวิสัย หากอนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบย่อมจะทำให้โจทก์เสียเปรียบ ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบจึงชอบแล้ว
แม้จำเลยจะได้ให้การโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเป็นประเด็นไว้ แต่ในวันชี้สองสถานซึ่งศาลชั้นต้นได้ทำการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงประเด็นเดียวว่า โจทก์และจำเลยได้แบ่งแยกกันครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทเป็นส่วนสัดแล้วหรือไม่เท่านั้น โดยจำเลยมิได้คัดค้านอันเป็นการสละประเด็นข้อต่อสู้ดังกล่าว เท่ากับจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทั้งห้ามีอำนาจฟ้อง โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบถึงประเด็นดังกล่าว และจำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อที่ดินที่ ป.ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในคดีก่อนเป็นที่ดินที่ไม่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ที่โจทก์และจำเลยครอบครองอยู่ การที่โจทก์และจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทของตนในคดีนี้เป็นส่วนสัดโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่วันที่โจทก์จำเลยได้รับการยกให้จากเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดต่อกันมาเป็นเวลาเกิน 10 ปี แล้ว โดยไม่มีใครรบกวน โจทก์และจำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินในส่วนที่ตนครอบครองนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4188/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริง และการฎีกาในประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาลอุทธรณ์
โจทก์ทั้งหกฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าท. ได้ทำพินัยกรรมยกที่พิพาทให้โจทก์ทั้งหกคนละส่วนเท่า ๆ กันคิดราคารวม 205,500 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษา ยกฟ้อง โจทก์ทั้งหก อุทธรณ์ขอให้บังคับตามคำขอท้ายฟ้อง ฉะนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาท ในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์แต่ละคนต้องคิดตามส่วนแบ่งของโจทก์ แต่ละคน ไม่ใช่ทุนทรัพย์ที่อุทธรณ์รวมกันมา เมื่อทุนทรัพย์พิพาท ในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์แต่ละคนไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้าม โจทก์ทั้งหกมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์ทั้งหกอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของ โจทก์ทั้งหกที่ขอให้ส่งพินัยกรรมไปตรวจพิสูจน์อีกครั้งไม่ชอบ และ พินัยกรรมฉบับที่โจทก์ทั้งหกนำมาฟ้องไม่ใช่พินัยกรรมปลอมโจทก์ทั้งหกจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งในปัญหาที่ศาลชั้นต้นสั่งยก คำร้อง ของ โจทก์เพราะได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้แล้วนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจที่ว่าศาลชั้นต้นเห็นควรส่งพินัยกรรม ไปตรวจพิสูจน์อีกครั้งหรือไม่ จึงเป็นข้อเท็จจริงซึ่งนำไปสู่ การพิจารณาในข้อกฎหมายว่าโจทก์ทั้งหกมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่ง ของศาลชั้นต้นได้หรือไม่ เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แม้โจทก์ทั้งหก จะได้โต้แย้งคำสั่งไว้ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่โจทก์ทั้งหก จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์ทั้งหกในปัญหาที่ว่า พินัยกรรมที่โจทก์ทั้งหกนำมาฟ้องไม่ใช่พินัยกรรมปลอมเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ที่ต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของ โจทก์ทั้งหกและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ ดังนั้นฎีกาของโจทก์ทั้งหกที่ว่าโจทก์ทั้งหกโต้แย้งคำสั่ง ศาลชั้นต้นไว้แล้วและพินัยกรรมที่โจทก์ทั้งหกนำมาฟ้องไม่เป็นพินัยกรรมปลอมจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานค้ำประกัน: รวมเอกสารหลายฉบับได้, ศาลรับฟังเอกสารเพิ่มเติมเพื่อความยุติธรรม
คำว่าหลักฐานเป็นหนังสือที่จะรับฟังเป็นหลักฐานแห่งการค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 วรรคสอง กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องมีข้อความบรรจุอยู่ในเอกสารฉบับเดียวกัน อาจเป็นข้อความที่รวบรวมจากเอกสารหลายฉบับที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกันก็ได้
เอกสารหมาย จ.17 มีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และในเอกสารหมาย จ.11 มีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระหนี้ของลูกหนี้ต่อโจทก์ เอกสารทั้งสองฉบับนี้ย่อมรับฟังประกอบกันเป็นหลักฐานแห่งการค้ำประกันได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ กรณีมิใช่ศาลรับฟังพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่าเอกสารหมาย จ.11 ยังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การรับว่าได้ลงลายมือชื่อในเอกสารหมาย จ.11แต่ไม่ได้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงต้องนำเอกสารหมาย จ.17 มาฟังประกอบกับเอกสารหมาย จ.11 ว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระหนี้ของลูกหนี้รายใดต่อโจทก์ เอกสารหมาย จ.17 จึงเป็นหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้ระบุอ้างเอกสารหมาย จ.17 เป็นพยานไว้ในบัญชีพยานโจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา 88 แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานเอกสารดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารหมาย จ.17 ได้ตามมาตรา87 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานค้ำประกัน: รวมเอกสารหลายฉบับใช้ได้ แม้ไม่ได้ระบุในบัญชีพยาน
คำว่าหลักฐานเป็นหนังสือที่จะรับฟังเป็นหลักฐานแห่งการ ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคสอง กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องมีข้อความบรรจุอยู่ในเอกสาร ฉบับเดียวกัน อาจเป็นข้อความที่รวบรวมจากเอกสารหลายฉบับ ที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกันก็ได้ เอกสารหมาย จ.17 มีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมเป็น ผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และในเอกสาร หมาย จ.11 มีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระหนี้ ของลูกหนี้ต่อโจทก์ เอกสารทั้งสองฉบับนี้ย่อมรับฟังประกอบกันเป็นหลักฐานแห่งการค้ำประกันได้ว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์กรณีมิใช่ศาลรับฟังพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่าเอกสารหมาย จ.11 ยังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การรับว่าได้ลงลายมือชื่อ ในเอกสารหมาย จ.11 แต่ไม่ได้ค้ำประกันการชำระหนี้ ของจำเลยที่ 1 จึงต้องนำเอกสารหมาย จ.17 มาฟังประกอบกับ เอกสารหมาย จ.11 ว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระหนี้ ของลูกหนี้รายใดต่อโจทก์ เอกสารหมาย จ.17 จึงเป็นหลักฐาน อันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้ระบุอ้างเอกสารหมาย จ.17 เป็นพยานไว้ในบัญชีพยานโจทก์อันเป็นการ ฝ่าฝืนต่อมาตรา 88 แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานเอกสารดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจรับฟัง เอกสารหมาย จ.17 ได้ตามมาตรา 87(2)
of 63