คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 88

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 627 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2265/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย: การชำระหนี้ไม่ครบถ้วน การเลิกสัญญา และการคืนเงินที่ชำระไปแล้ว
ศาลชั้นต้นได้ชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทให้จำเลยนำสืบก่อนแล้วให้โจทก์สืบแก้ก่อนสืบพยานจำเลยก็อ้างเหตุว่าเนื่องจากจำเลยได้นำส่งหมายเรียกพยานเอกสารให้แก่ธนาคารที่จำเลยอ้างในคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมว่าจำเลยไม่สามารถทราบได้ว่าจะต้องนำเอกสารดังกล่าวมาสืบพยานต่อศาลโดยเข้าใจว่าเอกสารดังกล่าวได้ถูกธนาคารทำลายและจำเลยได้ปิดบัญชีแล้วซึ่งขัดต่อความเป็นจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยไม่สามารถทราบได้ว่าจะต้องนำหลักฐานบางอย่างมาสืบเพื่อประโยชน์ของตนหรือไม่สามารถทราบว่าพยานหลักฐานบางอย่างได้มีอยู่และไม่ใช่เป็นประเด็นโดยตรงในคดีซึ่งแม้จะอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมและนำสืบฟังได้ก็หาได้มีผลให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมแต่อย่างใดกรณีจึงไม่มีเหตุจำเป็นจะต้องสืบพยานดังกล่าวนั้น จำเลยผิดสัญญาและค้างชำระค่าที่ดินและบ้านพิพาทจำนวนแก่โจทก์ตามฟ้องจำเลยจึงต้องชำระเงินส่วนนี้ให้โจทก์ส่วนคำขอของโจทก์ที่ว่าถ้าจำเลยไม่ชำระให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทคืนโจทก์โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆนั้นพอแปลได้ว่าเป็นการใช้สิทธิเลิกสัญญาเมื่อกรณีเป็นสัญญาต่างตอบแทนและตามสัญญาซื้อขายก็ไม่ได้กำหนดว่าเงินที่จำเลยชำระแล้วให้ริบดังนั้นคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจึงต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมโจทก์จึงต้องคืนเงินที่ได้รับไว้ให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2265/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานเพิ่มเติม การเลิกสัญญาซื้อขาย และการคืนเงินที่ชำระแล้ว
ศาลชั้นต้นได้ชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทให้จำเลยนำสืบก่อนแล้วให้โจทก์สืบแก้ ก่อนสืบพยานจำเลยก็อ้างเหตุว่าเนื่องจากจำเลยได้นำส่งหมายเรียกพยานเอกสารให้แก่ธนาคารที่จำเลยอ้างในคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมว่าจำเลยไม่สามารถทราบได้ว่าจะต้องนำเอกสารดังกล่าวมาสืบพยานต่อศาลโดยเข้าใจว่าเอกสารดังกล่าวได้ถูกธนาคารทำลายและจำเลยได้ปิดบัญชีแล้วซึ่งขัดต่อความเป็นจริง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยไม่สามารถทราบได้ว่าจะต้องนำหลักฐานบางอย่างมาสืบเพื่อประโยชน์ของตน หรือไม่สามารถทราบว่าพยานหลักฐานบางอย่างได้มีอยู่ และไม่ใช่เป็นประเด็นโดยตรงในคดี ซึ่งแม้จะอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมและนำสืบฟังได้ ก็หาได้มีผลให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมแต่อย่างใด กรณีจึงไม่มีเหตุจำเป็นจะต้องสืบพยานดังกล่าวนั้น
จำเลยผิดสัญญาและค้างชำระค่าที่ดินและบ้านพิพาทจำนวนแก่โจทก์ตามฟ้อง จำเลยจึงต้องชำระเงินส่วนนี้ให้โจทก์ ส่วนคำขอของโจทก์ที่ว่าถ้าจำเลยไม่ชำระให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทคืนโจทก์ โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ นั้น พอแปลได้ว่าเป็นการใช้สิทธิเลิกสัญญา เมื่อกรณีเป็นสัญญาต่างตอบแทนและตามสัญญาซื้อขายก็ไม่ได้กำหนดว่าเงินที่จำเลยชำระแล้วให้ริบดังนั้น คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจึงต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมโจทก์จึงต้องคืนเงินที่ได้รับไว้ให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่โต้แย้งคำสั่งศาลระหว่างพิจารณาทำให้หมดสิทธิอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วก็ไม่อาจยกขึ้นในชั้นฎีกาได้
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับบัญชีระบุพยานของจำเลยเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาหลังจากมีคำสั่ง3เดือนเศษศาลชั้นต้นจึงมีคำพิพากษาจำเลยมีโอกาสและสามารถยกปัญหาดังกล่าวขึ้นโต้แย้งได้แต่จำเลยมิได้โต้แย้งจึงหมดสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวปัญหานี้แม้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ได้รับวินิจฉัยไว้ก็ตามก็ยังคงเป็นปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นในระหว่างพิจารณาคดีทำให้หมดสิทธิอุทธรณ์ แม้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับบัญชีระบุพยานของจำเลยเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หลังจากมีคำสั่ง 3 เดือนเศษ ศาลชั้นต้นจึงมีคำพิพากษา จำเลยมีโอกาสและสามารถยกปัญหาดังกล่าวขึ้นโต้แย้งได้ แต่จำเลยมิได้โต้แย้ง จึงหมดสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว ปัญหานี้แม้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1ได้รับวินิจฉัยไว้ก็ตาม ก็ยังคงเป็นปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7823/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: ศาลต้องพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
การที่ศาลจะมีคำสั่งหรือพิพากษาให้บุคคลใดล้มละลายย่อมกระทบถึงสิทธิและความสามารถตลอดจนสถานะบุคคลและทรัพย์สินของบุคคลนั้นเป็นเอนกประการซึ่งยังผลให้บุคคลภายนอกสามารถยกขึ้นอ้างและใช้ยันแก่บุคคลผู้นั้นได้ฉะนั้นก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวโจทก์ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา14จึงบัญญัติให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา9และมาตรา10ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้เด็ดขาดแต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายให้ศาลยกฟ้อง จำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมโดยอ้างว่าจำเลยมีสิทธิเรียกร้องจากค่าจ้างว่าความจากบุคคลตามที่ระบุในหนังสือสัญญาจ้างว่าความรวมประมาณ2,850,000บาทและหนังสือรับรองเงินเดือนอีกเดือนละ28,000บาทกับอ้างพยานบุคคลอีกหลายปากภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วเพื่อแสดงให้เห็นถึงฐานะและความสามารถในการชำระหนี้ของจำเลยแต่ศาลชั้นต้นไม่รับบัญชีพยานเพิ่มเติมของจำเลยแล้วมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเป็นการไม่ให้โอกาสจำเลยนำพยานเข้าสืบเพื่อพิจารณาความจริงตามเจตนารมณ์แห่งโจทก์ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา4กรณีมีเหตุจำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยตามบัญชีพยานเพิ่มเติมของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7823/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ต้องเปิดโอกาสลูกหนี้แสดงความสามารถชำระหนี้
การที่ศาลจะมีคำสั่งหรือพิพากษาให้บุคคลใดล้มละลาย ย่อมกระทบถึงสิทธิและความสามารถตลอดจนสถานะบุคคลและทรัพย์สินของบุคคลนั้นเป็นอเนกประการ ซึ่งยังผลให้บุคคลภายนอกสามารถยกขึ้นอ้างและใช้ยันแก่บุคคลผู้นั้นได้ ฉะนั้น ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 จึงบัญญัติให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 และมาตรา 10 ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้เด็ดขาด แต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ให้ศาลยกฟ้อง
จำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมโดยอ้างว่าจำเลยมีสิทธิเรียกร้องจากค่าจ้างว่าความจากบุคคลตามที่ระบุในหนังสือสัญญาจ้างว่าความรวมประมาณ 2,850,000 บาท และหนังสือรับรองเงินเดือนอีกเดือนละ 28,000บาท กับอ้างพยานบุคคลอีกหลายปากภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วเพื่อแสดงให้เห็นถึงฐานะและความสามารถในการชำระหนี้ของจำเลย แต่ศาลชั้นต้นไม่รับบัญชีพยานเพิ่มเติมของจำเลย แล้วมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด เป็นการไม่ให้โอกาสจำเลยนำพยานเข้าสืบเพื่อพิจารณาความจริงตามเจตนารมณ์แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 กรณีมีเหตุจำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยตามบัญชีพยานเพิ่มเติมของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7518/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และการพิสูจน์การผิดสัญญาเช่า รวมถึงข้อจำกัดการฎีกาในคดีค่าเช่าต่ำ
ที่จำเลยฎีกาว่า เอกสารที่จำเลยขอระบุพยานเพิ่มเติมเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่ศาลจะอนุญาตและรับฟัง และจำเลยไม่ผิดสัญญาเช่านั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลที่เห็นว่า เอกสารที่จำเลยขอระบุพยานเพิ่มเติมเป็นสัญญาเช่าบ้านซึ่งไม่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทไม่มีความจำเป็นจะต้องสืบเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนไป เนื่องจากข้อเท็จจริงฟังยุติแล้วว่าจำเลยนำที่ดินพิพาทไปให้เช่าช่วง จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไป จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อคดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินที่เช่าซึ่งเป็นทรัพย์สินของโจทก์โดยมิได้เรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย จึงไม่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของจำเลย แม้จำเลยจะถูกพิทักษ์ทรัพย์ในระหว่างพิจารณา จำเลยก็ต่อสู้คดีได้โดยลำพังโดยไม่ต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีแทน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ทำสัญญาเช่าที่ดินของโจทก์แล้วได้นำที่ดินไปให้บุคคลภายนอกเช่าช่วง โดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบและไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ อันเป็นการผิดสัญญา ซึ่งเป็นการแสดงถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและขอให้บังคับจำเลยออกไปจากที่ดิน อันเป็นคำขอบังคับครบถ้วนตามป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ส่วนการกระทำของจำเลยที่ว่านำที่ดินให้ผู้ใดเช่าและเป็นการผิดสัญญาข้อใดนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบให้เห็นได้ในชั้นพิจารณา ไม่จำเป็นต้องกล่าวในคำฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7518/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคสอง กรณีค่าเช่าไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และการโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยาน
ที่จำเลยฎีกาว่าเอกสารที่จำเลยขอระบุพยานเพิ่มเติมเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่ศาลจะอนุญาตและรับฟังและจำเลยไม่ผิดสัญญาเช่านั้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลที่เห็นว่าเอกสารที่จำเลยขอระบุพยานเพิ่มเติมเป็นสัญญาเช่าบ้านซึ่งไม่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทไม่มีความจำเป็นจะต้องสืบเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนไปเนื่องจากข้อเท็จจริงฟังยุติแล้วว่าจำเลยนำที่ดินพิพาทไปให้เช่าช่วงจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อคดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทจึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7429/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานเอกสารเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์: หลักการความบกพร่องในการนำสืบพยาน
พยานเอกสารที่ผู้ร้องขอให้ศาลอุทธรณ์รับฟังเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์นั้นเป็นพยานเอกสารที่ผู้ร้องสามารถนำมาสืบในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นได้ เมื่อผู้ร้องไม่ระบุพยานและนำมาสืบในตอนนั้น นับได้ว่าเป็นความบกพร่องของผู้ร้องเองซึ่งหากยอมรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวย่อมจะไม่เกิดความเป็นธรรมแก่คู่ความอีกฝ่าย ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับฟังจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7291/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายที่ไม่ได้รับการจดทะเบียน และประเด็นค่าเสียหาย
เมื่อโจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ธ. เป็นผู้รับมอบอำนาจโดยให้มีอำนาจยื่นฟ้องเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ธ. จึงย่อมมีอำนาจตั้งทนายความยื่นฟ้องคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง
เมื่อโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างเอกสารเป็นพยานหลักฐานและมี ธ. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์มาเบิกความประกอบพยานเอกสารนั้น แม้ไม่มีพยานที่รู้เห็นการทำเอกสารดังกล่าวมาเบิกความ แต่เอกสารดังกล่าวก็เข้าสู่สำนวนโดยชอบ พยานเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ว่า โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในต่างปรเทศและมีการผลิตสินค้าตามเครื่องหมายการค้าคำว่า NIKKO HORN กับรูปรอยประดิษฐ์ตามฟ้องออกจำหน่าย
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมีตัวอักษรโรมันทั้งหมด 2 คำ โดยคำหลังคือ HORN มีตัวอักษรเหมือนกันทั้งสี่ตัว ส่วนคำหน้าคงแตกต่างกันแต่เพียงว่าคำว่า NIKKO ของโจทก์มีอักษร K อยู่ 2 ตัว ส่วนคำว่าNIKO ของจำเลยมีอักษร K เพียง 1 ตัว อักษรโรมันดังกล่าวของโจทก์และของจำเลยก็อ่านออกเสียงคล้ายคลึงกัน โดยของโจทก์อ่านออกเสียงว่า นิกโกฮอน ส่วนของจำเลยอ่านออกเสียงว่า นิโก้ ฮอน รูปรอยประดิษฐ์ของเครื่อง-หมายการค้าของโจทก์และจำเลยนั้นต่างเป็นสีขาวอยู่กลางพื้นสีดำ โดยมีอักษรโรมันว่า NIKKO และ NIKO ตามลำดับ กำกับอยู่ด้านล่างของรูปประดิษฐ์ซึ่งเขียนด้วยลายเส้นเป็นรอยหยักขนาดใกล้เคียงกัน คงต่างกันแต่เฉพาะทิศทางของลายเส้นเท่านั้น เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า NIKO HORN และรูปรอยประดิษฐ์สายฟ้าแลบของจำเลยจึงแทบจะไม่มีข้อแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า NIKKO HORN และรูป N ประดิษฐ์ของโจทก์ สำหรับเครื่องหมายการค้าของจำเลยอีกเครื่องหมายหนึ่งแม้จะมีตัวอักษรโรมันคำว่า Mighty-mate VFD-150อยู่ด้วยก็ตาม แต่จุดเด่นของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก็อยู่ที่คำว่า NIKOและรูปรอยประดิษฐ์ซึ่งคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ดังนี้ เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า NIKKO HORN และรูปรอยประดิษฐ์ดังกล่าวมาก่อนจำเลย แม้จำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าของจำเลยไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าก่อน โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า NIKKO HORN และรูปรอยประดิษฐ์นั้นและในเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย
แม้รูปรอยประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยกับตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของจำเลยและตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของโจทก์แตกต่างกันอยู่บ้าง โดยตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของจำเลยมีคำว่า NIKO Mighty-mate VFD-150ส่วนตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของโจทก์เป็นตัวอักษรโรมันคำว่าNIKO Power-mate SFD-100 แต่ความแตกต่างดังกล่าวก็มีเพียงเล็กน้อยซึ่งสำหรับผู้ที่อ่านอักษรโรมันไม่ได้ หากได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยในขณะเดียวกัน ก็ยากที่จะกล่าวได้ว่ามีอะไรแตกต่างกันบ้างและแม้ผู้ที่อ่านอักษรโรมันได้ หากได้พิจารณาให้รอบคอบหรือได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างเวลากันก็น่าจะไม่สามารถสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว การที่เครื่องหมายการค้าที่กล่องบรรจุสินค้าแตรของจำเลยมีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่กล่องบรรจุสินค้าแตรของโจทก์ โดยสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าของโจทก์เช่นนี้นับได้ว่า เป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ และเป็นการที่จำเลยได้ลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าคำว่า NIKD HORN และรูปรอยประดิษฐ์ที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปยื่นขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยอันเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต เป็นการละเมิดต่อโจทก์เพื่อประโยชน์ในทางการค้าของจำเลย เป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในเครื่องหมายการค้าโดยเข้าใจว่าสินค้าของจำเลยภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า NIKO HORN และรูปรอยประดิษฐ์เป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์ร่วมในการผลิตและจำหน่าย ทำให้สาธารณชนเสื่อมความนิยมในเครื่องหมายการค้าและสินค้าของโจทก์ มีผลทำให้โจทก์ขาดประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าของโจทก์ โจทก์ขอคิดค่าเสียหายเดือนละ50,000 บาท ดังนี้ โจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ทำการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์แต่อย่างใดไม่ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์หรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้ ก็เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่อาจวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้ได้
เมื่อปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้รับจดทะเบียนนั้น ตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง แห่งพ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์อ้างว่าตนถูกโต้แย้งสิทธิ และเมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าจำเลยได้เอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในฐานลวงขายตามมาตรา 29 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.เดียวกันได้ และไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั้งนี้เพราะสิทธินั้นเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวของบุคคลผู้ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่อง-หมายการค้าดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 เท่านั้น
of 63