คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 88

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 627 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4817/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเช่าที่ดินรวมค่าสิทธิซื้อที่ดิน ประเมินค่ารายปีต้องพิจารณาค่าเช่าที่แท้จริง
โจทก์จำเลยโต้เถียงกันในประเด็นที่ว่าจะนำค่าเช่าที่ระบุในสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับผู้ให้เช่ามาถือเป็นค่ารายปีได้หรือไม่ มิได้โต้เถียงกันเกี่ยวกับรายรับรายจ่ายของสถานีบริการน้ำมันของโจทก์ เอกสารบัญชีรายรับรายจ่ายเกี่ยวกับสถานีบริการน้ำมันของโจทก์ ที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกดังกล่าวจึงไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นพิพาท
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท พ. และบริษัท ร. มิใช่ค่าเช่าที่ดินอย่างเดียว หากแต่เป็นเงินค่าสิทธิที่โจทก์จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำด้วย ที่จำเลยนำเงินจำนวนดังกล่าวมากำหนดเป็นค่ารายปี เป็นการไม่ถูกต้องขอให้แก้ไขใบแจ้งการประเมิน คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ซึ่งจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้ว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายคำฟ้องด้วยว่า ค่าเช่าจำนวนเท่าใด ค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในราคาต่ำจำนวนเท่าใด คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เคลือบคลุม
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8 วรรคสาม หาได้ให้ถือว่าค่าเช่าเป็นค่ารายปีโดยเด็ดขาดไม่ เพราะค่ารายปีหมายความว่าจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 8 วรรคสอง หากค่าเช่ามิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ ตามมาตรา 8 วรรคสาม การนำสืบว่าค่าเช่าตามสัญญาเช่าที่ดินรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำจึงหาต้องห้ามไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ค่าเช่าในสัญญาเช่าที่ดินรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำไว้ด้วย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดค่ารายปีโดยใช้ค่าเช่าตามสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวเป็นหลักในการคำนวณโดยมิได้พิจารณาถึงค่าเช่าที่แท้จริงจึงไม่ชอบ
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 ให้นำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษี ซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาเท่านั้น มิได้บังคับว่าจะต้องนำมาคำนวณภาษีโดยไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ เมื่อค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้ค่าเช่าซึ่งรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินไว้ด้วยเป็นหลักในการคำนวณ อันเป็นการไม่ชอบ จึงไม่อาจนำค่ารายปีดังกล่าวมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3736/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 88: ศาลมีอำนาจหากเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (2) จะห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ยื่นฝ่าฝืนต่อมาตรา 88 แต่ในมาตรา 87 (2) นั่นเองได้บัญญัติต่อไปว่า "?แต่ถ้าศาลเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของอนุมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้" เมื่อปรากฏว่าพยานบุคคลที่โจทก์ทั้งสองอ้าง เป็นพนักงานขายซึ่งมีหน้าที่ติดตามหนี้สินรายนี้จากจำเลยที่ 3 อันเป็นพยานสำคัญในคดี ทั้งจำเลยที่ 3 ก็มีโอกาสถามค้านและนำพยานหลักฐานเข้าสืบหักล้างคำเบิกความของพยานโจทก์ปากนี้ได้ ไม่ทำให้จำเลยที่ 3 ต้องเสียเปรียบในเชิงคดีแต่อย่างใด การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ทั้งสองยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้นั้น จึงเป็นกรณีที่ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในการที่จะให้การวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อสำคัญในคดีเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรม จำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญเช่นนั้น ดังนั้น ศาลจึงมีอำนาจรับฟังคำเบิกความของพยานบุคคลที่โจทก์ทั้งสองอ้างเป็นพยานหลักฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2590/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดศาลแรงงานเรื่องการสืบพยาน ทำให้กระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ข้อ 10 วรรคหนึ่ง ระบุว่า "ในกรณีที่ศาลแรงงานสั่งให้มีการสืบพยาน ศาลจะสอบถามโจทก์และจำเลยแต่ละฝ่ายว่าประสงค์จะอ้างและ สืบพยานใดบ้าง แล้วจดชื่อและที่อยู่ของพยานบุคคลสภาพและ สถานที่เก็บของพยานเอกสารหรือพยานวัตถุไว้ หรือจะให้คู่ความ ทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลในวันนั้นหรือภายในกำหนด 2 วัน ก็ได้" ตามข้อกำหนดดังกล่าวกำหนดให้ศาลแรงงานมีหน้าที่ต้อง สอบถามคู่ความเกี่ยวกับการอ้างและสืบพยานตลอดจนสอบถามในเรื่องรายชื่อและที่อยู่ของพยานบุคคล สภาพและที่เก็บของพยานเอกสารหรือพยานวัตถุหรือให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลในวันที่สั่งให้มีการสืบพยานหรือภายใน 2 วันซึ่งเป็นไปตามมาตรา 44แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ จำเลยเพียงแถลงส่ง สัญญาว่าจ้างการแสดงเอกสารหมาย ล.1 ต่อศาลเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานได้สอบถามโจทก์และจำเลยแต่ละฝ่ายว่าจะอ้างและสืบพยานใดบ้างหรือสั่งให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลในวันนั้นหรือภายในกำหนด 2 วัน ตามข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ถือได้ว่าศาลแรงงานมิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดศาลแรงงานดังกล่าวกับมาตรา 29 และมาตรา 44แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาในวันนัดพิจารณาและนัดสืบพยานโจทก์ตั้งแต่คำสั่งที่ให้จำเลยนำพยานเข้าสืบเป็นต้นไปจนกระทั่งศาลแรงงานมีคำพิพากษาและให้ศาลแรงงานสอบถามโจทก์และจำเลยเรื่องการอ้างและสืบพยานใดบ้าง หรือให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาล แล้วให้พิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2590/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดศาลแรงงานเรื่องการระบุพยาน ทำให้กระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 29 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ข้อ 10 วรรคหนึ่ง ระบุว่า"ในกรณีที่ศาลแรงงานสั่งให้มีการสืบพยาน ศาลจะสอบถามโจทก์และจำเลยแต่ละฝ่ายว่าประสงค์จะอ้างและสืบพยานใดบ้าง แล้วจดชื่อและที่อยู่ของพยานบุคคล สภาพและสถานที่เก็บของพยานเอกสารหรือพยานวัตถุไว้ หรือจะให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลในวันนั้นหรือภายในกำหนด 2 วัน ก็ได้" ตามข้อกำหนดดังกล่าวกำหนดให้ศาลแรงงานมีหน้าที่ต้องสอบถามคู่ความเกี่ยวกับการอ้างและสืบพยานตลอดจนสอบถามในเรื่องรายชื่อและที่อยู่ของพยานบุคคล สภาพและที่เก็บของพยานเอกสารหรือพยานวัตถุหรือให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลในวันที่สั่งให้มีการสืบพยานหรือภายใน 2 วันซึ่งเป็นไปตามมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ จำเลยเพียงแถลงส่งสัญญาว่าจ้างการแสดงเอกสารหมาย ล.1 ต่อศาลเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานได้สอบถามโจทก์และจำเลยแต่ละฝ่ายว่าจะอ้างและสืบพยานใดบ้างหรือสั่งให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลในวันนั้นหรือภายในกำหนด 2 วัน ตามข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ถือได้ว่าศาลแรงงานมิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดศาลแรงงานดังกล่าวกับมาตรา 29 และมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาในวันนัดพิจารณาและนัดสืบพยานโจทก์ตั้งแต่คำสั่งที่ให้จำเลยนำพยานเข้าสืบเป็นต้นไปจนกระทั่งศาลแรงงานมีคำพิพากษาและให้ศาลแรงงานสอบถามโจทก์และจำเลยเรื่องการอ้างและสืบพยานใดบ้าง หรือให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาล แล้วให้พิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเอกสารและการแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีรายชื่อพยานในคดีแพ่ง
เอกสารซึ่งเป็นเอกสารโต้ตอบกันระหว่างโจทก์และจำเลย ระบุถึงความชำรุดบกพร่องโดยตัวแทนของโจทก์และจำเลย เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเกี่ยวกับโจทก์ส่งมอบรองเท้าพิพาทไม่ครบตามแบบ ที่จำเลยกำหนด จึงเป็นเอกสารเกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดีอันเป็นข้อที่ทำให้แพ้ชนะระหว่างคู่ความ แม้จำเลยจะมิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่โจทก์อันเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 90 แต่จำเลยได้ใช้เอกสารดังกล่าวในการถามค้านพยานปากแรกของโจทก์ โจทก์ย่อมมีโอกาสที่จะหักล้างข้อเท็จจริงหรือโต้แย้งเอกสารดังกล่าวได้ การไม่ส่งสำเนาเอกสารของจำเลยไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87(2)
ในขณะที่จำเลยส่งเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.7 และ ล.12 ต่อศาลชั้นต้นโจทก์มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร คงคัดค้านเพียงว่าจำเลยมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่โจทก์เท่านั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ยอมรับว่าเอกสาร ดังกล่าวถูกต้อง ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้
จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่สองระบุ อ. เป็นพยานเพิ่มเติม ซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว อ. จึงเป็นพยานจำเลยที่สามารถนำเข้าเบิกความต่อศาลได้ แม้ต่อมาจำเลยจะแถลงต่อศาลว่าติดใจสืบพยานจำเลยอีกเพียงสามปากซึ่ง ไม่รวม อ. ด้วย อันมีผลผูกพันจำเลยตามที่แถลงก็ตาม แต่ระหว่างสืบพยานไม่เสร็จสิ้น จำเลยไม่สามารถนำ ร. ซึ่งเป็นพยานหนึ่งในสามปากมาเบิกความได้ และขออ้าง อ. เป็นพยานเพิ่มเติมพร้อมกับยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมนั้นมิใช่การอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติม หากแต่มีผลเป็นการอนุญาตให้จำเลยนำ อ. ซึ่งได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้แล้วเข้าเบิกความต่อไปได้ การที่จำเลยนำ อ. เข้าเบิกความจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเอกสารที่ไม่ส่งสำเนาให้คู่ความ และการอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมหลังสืบพยาน
เอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.7 และ ล.12 เป็นเอกสารโต้ตอบกันระหว่างโจทก์และจำเลย ระบุถึงความชำรุดบกพร่องของรองเท้าพิพาทและการตรวจสอบความชำรุดบกพร่องโดยตัวแทนของโจทก์และจำเลย เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับโจทก์ส่งมอบรองเท้าพิพาทไม่ตรงตามแบบที่จำเลยกำหนด จึงเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดีอันเป็นข้อที่ทำให้แพ้ชนะระหว่างคู่ความ แม้จำเลยจะมิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่โจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 แต่จำเลยได้ใช้เอกสารดังกล่าวในการถามค้านพยานปากแรกของโจทก์ โจทก์ย่อมมีโอกาสที่จะหักล้างข้อเท็จจริงหรือโต้แย้งเอกสารดังกล่าวได้ การไม่ส่งสำเนาเอกสารของจำเลยไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87(2)
ในขณะที่จำเลยส่งเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.7 และ ล.12 ต่อศาลชั้นต้นโจทก์มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร คงคัดค้านเพียงว่าจำเลยมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่โจทก์เท่านั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ยอมรับว่าเอกสารดังกล่าวถูกต้องศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้
จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่สองระบุ อ. เป็นพยานเพิ่มเติมซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว อ. จึงเป็นพยานจำเลยที่สามารถนำเข้าเบิกความต่อศาลได้แม้ต่อมาจำเลยจะแถลงต่อศาลว่าติดใจสืบพยานจำเลยอีกเพียงสามปากซึ่งไม่รวม อ. ด้วยอันมีผลผูกพันจำเลยตามที่แถลงก็ตาม แต่ระหว่างสืบพยานจำเลยไม่เสร็จสิ้น จำเลยไม่สามารถนำ ร. ซึ่งเป็นพยานหนึ่งในสามปากมาเบิกความได้และขออ้าง อ. เป็นพยานเพิ่มเติมพร้อมกับยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่งเป็นการที่จำเลยกลับใจนำ อ. ซึ่งได้เคยระบุอ้างไว้ในบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งสองเข้าเบิกความต่อไปเท่านั้น ซึ่งไม่มีกฎหมายห้าม คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมนั้นมิใช่การอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติม หากแต่มีผลเป็นการอนุญาตให้จำเลยนำ อ. ซึ่งได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้แล้วเข้าเบิกความต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 385-419/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเอกสารในคดีแรงงาน: ศาลแรงงานมีอำนาจสืบพยานได้เอง แม้บัญชีพยานไม่ชัดเจน
แม้พยานเอกสารของโจทก์จะระบุพยานเพียงว่า "คำร้องของลูกจ้างให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นทนายความฯ" ซึ่งมิได้แสดงรายละเอียดให้ชัดเจนถึงสภาพของเอกสารที่อ้าง อันเป็นการระบุพยานที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 44 และข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ข้อ 10 ซึ่งออกใช้บังคับโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 29ให้อำนาจศาลแรงงานสอบถามคู่ความแต่ละฝ่ายว่าประสงค์จะอ้างและสืบพยานใดบ้างแล้วจดรายชื่อและที่อยู่ของพยานบุคคล สภาพและสถานที่เก็บของพยานเอกสารหรือพยานวัตถุไว้ หรือจะให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลแรงงานในวันนั้นหรือภายในกำหนด 2 วัน ก็ได้ หากศาลแรงงานเห็นว่าพยานที่คู่ความนำมาสืบยังไม่ได้ข้อเท็จจริงแห่งคดีแจ้งชัด ศาลก็มีกำหนดตามมาตรา 45 ที่จะเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เอง ตามที่เห็นสมควรและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ซึ่งเป็นกรณีที่มีบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีแรงงานเป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) และมาตรา 88มาอนุโลมใช้บังคับแก่การดำเนินการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ได้ เมื่อศาลแรงงานมีอำนาจเรียกพยานมาสืบได้เองหรือกำหนดให้คู่ความนำพยานมาสืบโดยจะให้ยื่นบัญชีระบุพยานหรือไม่ก็ได้ การที่ศาลแรงงานกลางรับฟังเอกสารซึ่งโจทก์อ้างส่งเป็นพยาน จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 385-419/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานในการสืบพยานและการรับฟังเอกสารพยาน แม้บัญชีระบุพยานไม่สมบูรณ์
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 44 และข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานข้อ 10 ให้อำนาจศาลแรงงานสอบถามคู่ความว่าประสงค์จะอ้างและสืบพยานใดบ้างแล้วจดรายชื่อและที่อยู่ของพยานบุคคล สภาพและสถานที่เก็บของพยานเอกสารหรือพยานวัตถุไว้ หรือจะให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลแรงงานในวันนั้นหรือภายในกำหนด 2 วันก็ได้ หากศาลแรงงานเห็นว่าพยานที่คู่ความนำมาสืบยังไม่ได้ข้อเท็จจริงแจ้งชัด ศาลมีอำนาจตามมาตรา 45 ที่จะเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควรและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ซึ่งเป็นกรณีที่มีบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีแรงงานเป็นการเฉพาะแล้วไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) และมาตรา 88 มาอนุโลมใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ได้ศาลแรงงานจึงมีอำนาจเรียกพยานมาสืบได้เองหรือกำหนดให้คู่ความนำพยานมาสืบโดยจะยื่นบัญชีระบุพยานหรือไม่ก็ได้หรือแม้บัญชีระบุพยานจะไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคหนึ่ง ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9501/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารหลักฐานในคดีแพ่ง: เจตนารมณ์กฎหมายเน้นให้ตรวจสอบเพื่อซักค้านพยาน แม้ไม่ปฏิบัติตามรูปแบบก็รับฟังได้
เจตนารมณ์ของการส่งสำเนาเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 90 มุ่งประสงค์เพียงให้ฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารมายันได้มีโอกาสตรวจสอบเอกสารก่อนเพื่อจะได้ซักค้านพยานได้ถูกต้องไม่เสียเปรียบแก่กัน เมื่อโจทก์ได้แนบสำเนาเอกสารดังกล่าวมาท้ายคำฟ้อง ย่อมนับได้ว่าตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแล้ว แม้โจทก์จะมิได้แสดงความจำนงขอถือเอาเอกสารท้ายคำฟ้องแทนการส่งสำเนาให้คู่ความ หรือโจทก์มิได้ขออนุญาตศาลขอถือเอาเอกสารท้ายคำฟ้องแทนการส่งสำเนาให้แก่คู่ความก็ตาม ไม่มีผลทำให้คดีโจทก์ต้องเสียไป
แม้โจทก์จะมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่จำเลยภายในระยะเวลาตามกฎหมายและไม่ได้แนบสำเนามาท้ายฟ้อง ศาลก็ชอบที่จะรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตามนัยแห่งเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90
เอกสารที่แม้จะเป็นเพียงสำเนา มิใช่ต้นฉบับ แต่จำเลยเป็นผู้ทำขึ้นเอง เมื่อไม่ปรากฎเหตุสงสัยว่าจะมีข้อความผิดไปจากความจริง การที่โจทก์มิได้อ้างไว้ในบัญชีระบุพยานซึ่งฝ่าฝืนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87(2) แม้จำเลยมิได้รับรองความถูกต้องของเอกสารนั้น คดีโจทก์ก็ไม่เสียไปเพราะเหตุดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9501/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเอกสารที่ไม่เป็นไปตามรูปแบบ ป.วิ.พ. โดยศาลใช้ดุลพินิจเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
เจตนารมณ์ของการส่งสำเนาเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90 มุ่งประสงค์เพียงให้ฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารมายันได้มีโอกาสตรวจสอบเอกสารก่อน เมื่อโจทก์ได้แนบสำเนาเอกสารดังกล่าวมาท้ายคำฟ้อง ย่อมนับได้ว่าตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแล้ว
ที่โจทก์ไม่นำเอกสารหมาย จ. 3 และ จ. 4 แผ่นแรก ซึ่งเป็นรายการหนี้มาแสดงต่อศาล เพราะโจทก์ได้อ้างใบเสร็จรับเงินซึ่งสรุปยอดหนี้ในแต่ละเดือนแล้ว ทั้งเอกสารหมาย จ. 8 ก็สามารถทำให้จำเลยเข้าใจถึงยอดหนี้ได้ดี ส่วนเอกสารหมาย จ. 5 ซึ่งเป็นใบวางบิลแสดงยอดหนี้ที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ เมื่อได้ความตามทางพิจารณาว่า เอกสารดังกล่าวพนักงานโจทก์นำไปมอบให้แก่จำเลยรับไว้แล้ว จึงถือได้ว่าเป็นเอกสารอยู่ในความครอบครองรู้เห็น ของจำเลยเช่นเดียวกับเอกสารหมาย จ. 8 ที่จำเลยทำขึ้นเพื่อตรวจสอบจำนวนหนังสือพิมพ์ที่ซื้อขายกัน เมื่อเอกสารหมาย จ. 5 และ จ. 8 ต่างเป็นที่มาแห่งข้อพิพาทซึ่งนับว่าเป็นเอกสารสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ดังนี้ แม้โจทก์ จะมิได้ส่งสำเนาเอกสารหมาย จ. 5 ให้แก่จำเลยภายในระยะเวลาตามกฎหมายและไม่ได้แนบสำเนามาท้ายคำฟ้อง ศาลก็ชอบที่จะรับฟังเอกสารหมาย จ. 5 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90
สำหรับเอกสารหมาย จ. 8 แม้จะเป็นเพียงสำเนา มิใช่ต้นฉบับแต่จำเลยก็เป็นผู้ทำขึ้นเอง เมื่อไม่ปรากฏ เหตุสงสัยว่าจะมีข้อความผิดไปจากความจริง การที่โจทก์มิได้อ้างเอกสารดังกล่าวไว้ในบัญชีระบุพยานซึ่งฝ่าฝืนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลมีอำนาจรับฟังได้ ตามมาตรา 87 (2) แม้จำเลยมิได้รับรองความถูกต้องของเอกสารนั้นก็ตาม
of 63