พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6395/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานหลังกำหนดเวลาคดีภาษีอากร ศาลยกคำร้องชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นนัดชี้สองสถานวันที่ 16 พฤศจิกายน 2542 ถึงวันนัดทนายความโจทก์ก็ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นเลื่อนการชี้สองสถานไปวันที่ 7 ธันวาคม 2542 เมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถานแล้วกำหนดให้นัดสืบพยานโจทก์วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2543 โจทก์ก็เพิ่งยื่นบัญชีระบุพยานวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2543 อันเป็นการยื่นบัญชีระบุพยานหลังวันชี้สองสถานถึงสองเดือนเศษ โดยคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานของโจทก์อ้างแต่เพียงว่า โจทก์เข้าใจว่าได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้แล้วโดยความจริงยังไม่ปรากฏว่ามีการยื่นบัญชีระบุพยานดังที่โจทก์อ้างความเข้าใจผิดของโจทก์ดังกล่าวไม่เป็นเหตุอันสมควรที่โจทก์ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาที่ข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ.2539 ข้อ 10 กำหนดไว้ได้ การที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนด และผลกระทบต่อการนำสืบพยานในคดีภาษีอากร
ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรฯ การที่คู่ความไม่มาศาลในวันนัดชี้สองสถานไม่เป็นเหตุขัดข้องแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล ศาลย่อมทำการชี้สองสถานไปได้ตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเท่าที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนความ การที่ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนวันนัดชี้สองสถานโดยอ้างว่าติดว่าความที่ศาลอื่นไม่ว่าข้อเท็จจริงจะได้ความว่าทนายโจทก์ติดว่าความจริงจนไม่อาจมาศาลได้ก็ตามก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องที่ศาลจะต้องเลื่อนการชี้สองสถานออกไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนการชี้สองสถาน จึงชอบแล้ว
โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานพ้นกำหนดระยะเวลาตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรฯ ข้อ 10 วรรคหนึ่ง ซึ่งกำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 30 วัน ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานของโจทก์จึงชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทโดยมีคำสั่งให้โจทก์นำสืบก่อนทุกประเด็น เมื่อโจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลโจทก์จึงไม่อาจนำพยานเข้าสืบได้ เพราะเป็นการนำสืบพยานที่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบ จำเลยไม่ติดใจสืบพยานแล้วพิพากษาให้โจทก์แพ้คดีเพราะไม่มีพยานมาสืบ จึงชอบแล้ว
โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานพ้นกำหนดระยะเวลาตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรฯ ข้อ 10 วรรคหนึ่ง ซึ่งกำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 30 วัน ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานของโจทก์จึงชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทโดยมีคำสั่งให้โจทก์นำสืบก่อนทุกประเด็น เมื่อโจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลโจทก์จึงไม่อาจนำพยานเข้าสืบได้ เพราะเป็นการนำสืบพยานที่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบ จำเลยไม่ติดใจสืบพยานแล้วพิพากษาให้โจทก์แพ้คดีเพราะไม่มีพยานมาสืบ จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3304/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีหลายครั้งในคดีเดียว การคำนวณค่าขึ้นศาล และการข้อยกเว้นการเลื่อนวันชี้สองสถาน
อ.ได้ยื่นคำขอถอนตัวเองออกจากการเป็นทนายโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์จะแต่งตั้งทนายความใหม่ และได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าตัวโจทก์ได้ลงลายมือชื่อรับทราบการถอนตัวออกจากการเป็นทนายความของ อ. จึงต้องถือว่า อ.ยังมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าทนายผู้มาถอนตัวได้แจ้งให้ตัวความทราบแล้วตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 17 ประกอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 65 วรรคหนึ่ง การที่ศาลภาษีอากรยังไม่มีคำสั่งอนุญาตให้ อ.ถอนตัวออกจากการเป็นทนายโจทก์แต่รอไว้สั่งในวันนัดชี้สองสถานจึงชอบแล้ว
ข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ.2539 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 หมวด 3 ได้บัญญัติกระบวนพิจารณาในชั้นชี้สองสถานไว้โดยชัดเจนในข้อ 16ซึ่งเป็นบทบัญญัติในกรณีที่คู่ความมาศาล เพื่อศาลจะได้สอบถามให้ได้ความชัดเจนในประเด็นข้อพิพาท และข้อเท็จจริงบางอย่างที่คู่ความอาจแถลงร่วมกันได้ อย่างไรก็ดีถ้าในวันนัดชี้สองสถานคู่ความไม่มาศาล ก็ให้ศาลทำการชี้สองสถานไปได้ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรข้อ 17 และถือว่าคู่ความผู้ไม่มาศาลได้ทราบกระบวนพิจารณาในวันนั้นแล้ว ดังนี้ การที่คู่ความไม่มาศาลในวันนัดชี้สองสถาน จึงไม่เป็นเหตุขัดข้องแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล ศาลย่อมทำการชี้สองสถานไปได้ตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเท่าที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนความ การที่ ก.ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนวันนัดชี้สองสถานโดยอ้างว่าป่วย แม้จะได้ความว่า ก.ป่วยจนไม่อาจมาศาลได้จริงก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องที่ศาลจะต้องเลื่อนการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นชี้สองสถานออกไป
ศาลภาษีอากรนัดชี้สองสถานในวันที่ 19 มกราคม 2542โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานวันที่ 11 มกราคม 2542 เป็นการยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ.2539 ข้อ 10 วรรคหนึ่งซึ่งกำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 30 วัน ศาลภาษีอากรไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานจึงชอบแล้ว
ศาลภาษีอากรกำหนดประเด็นข้อพิพาทโดยมีคำสั่งให้โจทก์นำสืบก่อนทุกประเด็น เมื่อโจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาล โจทก์จึงไม่อาจนำพยานเข้าสืบได้ เพราะเป็นการนำสืบพยานที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 87
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2529 กับปีภาษี 2530 โดยเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินภาษีโจทก์ 4 ครั้ง เป็นการประเมินสำหรับปีภาษี 2529 (ครึ่งปี) 1 ครั้ง ประเมินสำหรับปีภาษี 2529 อีก 1 ครั้ง ประเมินสำหรับปีภาษี 2530 (ครึ่งปี) 1 ครั้ง และประเมินสำหรับปีภาษี 2530 อีก 1 ครั้ง ตามคำฟ้องจึงเป็นกรณีที่โจทก์รายเดียวถูกประเมินภาษีหลายคราว แล้วโจทก์รวมฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินมาเป็นคดีเดียว แต่การประเมินสำหรับปีภาษี 2529 กับปีภาษี 2530 ซึ่งมีทั้งการประเมินครึ่งปีกับเต็มปี ถือได้ว่าเป็นการประเมินภาษีในปีภาษีเดียวกัน จึงเป็นข้อหาเดียวเกี่ยวข้องกัน ดังนั้น แม้จะได้ความว่า เจ้าพนักงานของจำเลยจะทำการประเมินภาษีโจทก์รวม 4 ใบประเมิน แต่ก็เป็นการประเมินเพื่อเรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2529 และปีภาษี 2530 เท่านั้น จึงเป็นคดีที่มีข้อหาในการคำนวณทุนทรัพย์เพียง 2 ข้อหา คือ ทุนทรัพย์ของการประเมินสำหรับปีภาษี 2529ข้อหาหนึ่ง กับทุนทรัพย์ของการประเมินสำหรับปีภาษี 2530 อีกข้อหาหนึ่ง โจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลใน 2 ทุนทรัพย์ดังกล่าว
ข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ.2539 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 หมวด 3 ได้บัญญัติกระบวนพิจารณาในชั้นชี้สองสถานไว้โดยชัดเจนในข้อ 16ซึ่งเป็นบทบัญญัติในกรณีที่คู่ความมาศาล เพื่อศาลจะได้สอบถามให้ได้ความชัดเจนในประเด็นข้อพิพาท และข้อเท็จจริงบางอย่างที่คู่ความอาจแถลงร่วมกันได้ อย่างไรก็ดีถ้าในวันนัดชี้สองสถานคู่ความไม่มาศาล ก็ให้ศาลทำการชี้สองสถานไปได้ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรข้อ 17 และถือว่าคู่ความผู้ไม่มาศาลได้ทราบกระบวนพิจารณาในวันนั้นแล้ว ดังนี้ การที่คู่ความไม่มาศาลในวันนัดชี้สองสถาน จึงไม่เป็นเหตุขัดข้องแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล ศาลย่อมทำการชี้สองสถานไปได้ตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเท่าที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนความ การที่ ก.ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนวันนัดชี้สองสถานโดยอ้างว่าป่วย แม้จะได้ความว่า ก.ป่วยจนไม่อาจมาศาลได้จริงก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องที่ศาลจะต้องเลื่อนการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นชี้สองสถานออกไป
ศาลภาษีอากรนัดชี้สองสถานในวันที่ 19 มกราคม 2542โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานวันที่ 11 มกราคม 2542 เป็นการยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ.2539 ข้อ 10 วรรคหนึ่งซึ่งกำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 30 วัน ศาลภาษีอากรไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานจึงชอบแล้ว
ศาลภาษีอากรกำหนดประเด็นข้อพิพาทโดยมีคำสั่งให้โจทก์นำสืบก่อนทุกประเด็น เมื่อโจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาล โจทก์จึงไม่อาจนำพยานเข้าสืบได้ เพราะเป็นการนำสืบพยานที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 87
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2529 กับปีภาษี 2530 โดยเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินภาษีโจทก์ 4 ครั้ง เป็นการประเมินสำหรับปีภาษี 2529 (ครึ่งปี) 1 ครั้ง ประเมินสำหรับปีภาษี 2529 อีก 1 ครั้ง ประเมินสำหรับปีภาษี 2530 (ครึ่งปี) 1 ครั้ง และประเมินสำหรับปีภาษี 2530 อีก 1 ครั้ง ตามคำฟ้องจึงเป็นกรณีที่โจทก์รายเดียวถูกประเมินภาษีหลายคราว แล้วโจทก์รวมฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินมาเป็นคดีเดียว แต่การประเมินสำหรับปีภาษี 2529 กับปีภาษี 2530 ซึ่งมีทั้งการประเมินครึ่งปีกับเต็มปี ถือได้ว่าเป็นการประเมินภาษีในปีภาษีเดียวกัน จึงเป็นข้อหาเดียวเกี่ยวข้องกัน ดังนั้น แม้จะได้ความว่า เจ้าพนักงานของจำเลยจะทำการประเมินภาษีโจทก์รวม 4 ใบประเมิน แต่ก็เป็นการประเมินเพื่อเรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2529 และปีภาษี 2530 เท่านั้น จึงเป็นคดีที่มีข้อหาในการคำนวณทุนทรัพย์เพียง 2 ข้อหา คือ ทุนทรัพย์ของการประเมินสำหรับปีภาษี 2529ข้อหาหนึ่ง กับทุนทรัพย์ของการประเมินสำหรับปีภาษี 2530 อีกข้อหาหนึ่ง โจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลใน 2 ทุนทรัพย์ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและหมายนัดพิจารณาโดยชอบ การปิดหมาย ณ สำนักทำการงานของจำเลย ถือว่าเป็นการส่งโดยชอบแล้ว
การปิดหมายจะกระทำด้วยวิธีใด เช่น การใช้เชือกผูกการตอกตะปู การแปะติดไว้หรือวิธีอื่นใดตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่จะต้องแสดงไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความหรือบุคคลผู้มีชื่อระบุไว้ในคำคู่ความหรือเอกสารนั้น เพื่อให้ผู้รับแจ้งทราบว่าตนได้ถูกฟ้องเป็นคดีหรือมีกระบวนพิจารณาใดที่จะต้องปฏิบัติหรือรับทราบ ก็ถือได้ว่าเป็นการปิดหมายโดยชอบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4766/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานล่าช้าในคดีภาษีอากร แม้ศาลเลื่อนชี้สองสถาน ก็ยังต้องยึดกำหนดเวลาเดิม
โจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลภาษีอากรกลางก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 7 วัน แต่ได้ยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยาน ศาลสั่งว่ารอไว้สั่งวันนัดชี้สองสถานครั้นถึงวันนัดชี้สองสถานศาลสอบจำเลยแล้ว จำเลยคัดค้านศาลจึงนัดไต่สวนคำร้องของ โจทก์ โดยเลื่อนการชี้สองสถานในวันดังกล่าวไป เพื่อทำการไต่สวนคำร้องก่อน การที่ไม่ได้มีการชี้สองสถานจริง ๆ จึงเกิดจากเหตุที่โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดเวลา กรณีเช่นนี้จะถือเอาการชี้สองสถานจริง ๆ เป็นหลักในการนับระยะเวลายื่นบัญชีระบุพยานตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 วรรคหนึ่งไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3899/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรของบริษัทเงินทุน
พนักงานศาลส่งหมายนัดชี้สองสถานให้โจทก์โดยการปิดหมายวันที่ 25 กรกฎาคม 2534 และศาลภาษีอากรกลางนัดชี้สองสถานวันที่ 28 สิงหาคม 2534 โจทก์ย่อมมีเวลายื่นบัญชีระบุพยานได้ก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 7 วัน ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรข้อ 8วรรคหนึ่ง แต่โจทก์กลับยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานในวันนัดชี้สองสถาน โดยอ้างเหตุผลว่าเกิดผิดพลาดเพราะความพลั้งเผลอของโจทก์ มิได้ศึกษาข้อกำหนดและข้อกฎหมายให้ถ่องแท้มิใช่เกิดจากเจตนาหรือจงใจที่จะไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดข้อกล่าวอ้างเช่นนี้มิใช่เหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาดังกล่าวที่ศาลจะอนุญาตตามคำร้องขอของโจทก์ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรข้อ 8 วรรคสี่ได้ กฎหมายบัญญัติห้ามมิให้โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทเงินทุนซื้อ หรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นและหากโจทก์ซื้ออสังหาริมทรัพย์มาก็ต้องจำหน่ายไปภายใน 3 ปี แสดงว่าขณะที่โจทก์รับโอนที่ดินมาเนื่องจากลูกหนี้นำมาตีใช้หนี้ให้แก่โจทก์โจทก์ย่อมทราบดีแล้วว่าเป็นการรับโอนมาเพื่อที่จะขายต่อให้แก่ผู้อื่นไปตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ยอมรับโอนที่ดินที่ลูกหนี้นำมาตีใช้หนี้ โจทก์ก็ต้องคำนวณแล้วเห็นว่าโจทก์จะได้รับผลประโยชน์หรือผลกำไรมากกว่าการที่จะดำเนินการบังคับชำระหนี้ต่อไปดังนั้น การที่โจทก์ยอมรับโอนที่ดินที่ลูกหนี้นำมาตีใช้หนี้แล้วต่อมาโจทก์ได้ขายที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่นต่อไปจึงถือได้ว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ซึ่งโจทก์ต้องเสียภาษีการค้า ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนตัวทนาย, การชี้สองสถาน, และการดำเนินการพิจารณาคดีภาษีอากรที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำร้องของ ทนายโจทก์ที่ขอถอนตนเองจากการเป็นทนาย มิได้กล่าวว่าทนายโจทก์ได้แจ้งให้ตัวความทราบแล้วหรือหาตัวความไม่พบถือได้ว่าทนายโจทก์มิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลถึงเหตุดังกล่าวตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 65 วรรคแรกประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 17 บังคับไว้ จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบ ไม่มีเหตุที่ศาลต้องอนุญาตให้ทนายถอนตัว การสั่งคำร้องของ ทนายโจทก์ที่ขอถอนตัวจากการเป็นทนายและขอเลื่อนคดี เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณานอกจากการนั่งพิจารณาและพิพากษาคดี ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรคนใดคนหนึ่งมีอำนาจกระทำหรือออกคำสั่งดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 16 ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 20 ได้กำหนดไว้ว่า ศาลอาจมีคำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณาคดี ณ สถานที่ใด หรือในวันเวลาใด ๆก็ได้ตามที่เห็นสมควร การที่ศาลภาษีอากรกลางจดรายงานกระบวนพิจารณาการชี้สองสถานมาอ่านให้คู่ความฟังที่หน้าห้องโดยมิได้ขึ้นนั่งพิจารณาบนบัลลังก์ก็ชอบด้วยข้อกำหนดดังกล่าว การที่ผู้พิพากษาคนเดียวทำการชี้สองสถานไม่ครบองค์คณะโจทก์มิได้คัดค้านในขณะนั้นถือว่าไม่ติดใจคัดค้านในเรื่ององค์คณะ จึงยกขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์ไม่ได้ ศาลภาษีอากรกลางทำการชี้สองสถานโดยนำข้ออ้างข้อเถียงที่ปรากฏในคำคู่ความเทียบกันดูแล้ว กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบโดยศาลมิได้สอบถามคู่ความถึงข้ออ้างข้อเถียงว่าฝ่ายใดยอมรับหรือโต้แย้งข้ออ้างข้อเถียงนั้นอย่างไร ถ้าเป็นกรณีที่ไม่จำต้องสอบถามเนื่องจากเป็นข้อที่คู่ความโต้แย้งกันในคำฟ้องและคำให้การโดยตรงอยู่แล้ว การชี้สองสถานนั้นก็ชอบด้วยข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนตัวทนาย, การชี้สองสถานโดยผู้พิพากษาคนเดียว และการดำเนินการตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร
คำร้องขอถอนตัวของทนายโจทก์ไม่ปรากฏว่าทนายโจทก์ได้แจ้งให้ตัวความทราบแล้วหรือหาตัวความไม่พบ จึงเป็นคำร้องขอถอนตนจากการตั้งแต่งให้เป็นทนายความที่ไม่ชอบ ไม่มีเหตุที่ศาลต้องอนุญาตให้ทนายถอนตัว และศาลไม่มีหน้าที่คอยระวังความเสียหายให้โจทก์จากการกระทำที่ไม่ชอบของทนายความที่โจทก์เป็นผู้แต่งตั้งการสั่งคำร้องดังกล่าวเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณานอกจากการนั่งพิจารณาและพิพากษาคดี ที่ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรคนใดคนหนึ่งมีอำนาจกระทำ หรือออกคำสั่งได้ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 16 แม้ทนายของคู่ความหรือตัวความไม่มาศาลในวันชี้สองสถาน ศาลก็ทำการชี้สองสถานไปได้ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 13 โดยไม่จำต้องเลื่อนการชี้สองสถาน ศาลภาษีอากรกลางนำรายงานกระบวนพิจารณาการชี้สองสถานมาอ่านให้คู่ความฟังที่หน้าห้องโดยมิได้ขึ้นนั่งพิจารณาบนบัลลังก์เป็นการชอบตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 20 ที่กำหนดไว้ว่าศาลอาจมีคำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณาคดี ณ สถานที่ใด หรือในวันเวลาใด ๆ ก็ได้ ตามที่เห็นสมควร ในการชี้สองสถาน ศาลไม่จำต้องสอบถามคู่ความเสมอไปเกี่ยวกับข้ออ้างข้อเถียงว่าฝ่ายใดยอมรับหรือโต้แย้งข้ออ้างข้อเถียงนั้นอย่างไร หากเป็นข้อที่คู่ความโต้แย้งกันในคำฟ้องและคำให้การโดยตรงอยู่แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนตัวทนาย & การชี้สองสถานคดีภาษี: เหตุผลการถอนตัวไม่ชอบ & การดำเนินการชี้สองสถานชอบตามกฎหมาย
คำร้อง ของ ทนายโจทก์กล่าวเพียงว่าทนายโจทก์กับโจทก์มีความเห็นทางคดีไม่ตรงกัน และโจทก์ไม่ชำระค่าทนายความตามที่ตกลงกันจึงขอถอนตัวจากการเป็นทนาย มิได้กล่าวในคำร้องว่าทนายโจทก์ได้แจ้งให้ตัวความทราบแล้ว หรือหาตัวความไม่พบ ถือได้ว่าทนายโจทก์มิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลถึงเหตุดังกล่าวตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 65 วรรคแรก ประกอบพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17 บังคับไว้ เป็นคำร้องขอถอนตัวจากการตั้งแต่งให้เป็นทนายความที่ไม่ชอบ แม้ทนายของคู่ความหรือตัวความไม่มาศาลในวันชี้สองสถานศาลภาษีอากรกลางก็มีอำนาจทำการชี้สองสถานไปได้โดยไม่จำต้องเลื่อนการชี้สองสถานออกไป ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรข้อ 13 การที่ศาลภาษีอากรกลางสั่งคำร้อง ของ ทนายโจทก์ที่ขอถอนตัวจากการเป็นทนายและขอเลื่อนคดี เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณา นอกจากการนั่งพิจารณาและพิพากษาคดีที่ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรคนใดคนหนึ่งมีอำนาจกระทำ หรือออกคำสั่งได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรฯมาตรา 16 การที่ศาลภาษีอากรกลางจดรายงานกระบวนพิจารณาการชี้สองสถานมาอ่านให้คู่ความฟังที่หน้าห้องโดยมิได้ขึ้นนั่งพิจารณาบนบัลลังก์นั้นชอบด้วยข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 20 ซึ่งกำหนดว่า ศาลอาจมีคำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณาคดี ณ สถานที่ใด หรือในวันเวลาใด ๆก็ได้ ตามที่เห็นสมควร โจทก์มิได้คัดค้านว่าผู้พิพากษาคนเดียวทำการชี้สองสถานไม่ครบองค์คณะในขณะนั้น ถือว่าไม่ติดใจคัดค้านในเรื่ององค์คณะไม่อาจยกขึ้นอุทธรณ์ได้ ศาลภาษีอากรกลางนำข้ออ้างข้อเถียงที่ปรากฏในคำคู่ความเทียบกันดูแล้ว ทำการชี้สองสถานไปโดยมิได้สอบถามคู่ความถึงข้ออ้าง ข้อเถียงว่าฝ่ายใดยอมรับหรือโต้แย้ง ข้ออ้าง ข้อเถียงนั้นอย่างไร เพราะเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสอบถาม เนื่องจากเป็นข้อที่คู่ความโต้แย้งกันในคำฟ้องและคำให้การโดยตรงอยู่แล้วเป็นการชี้สองสถานที่ชอบตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6049/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีการค้า: วันซื้อขายสำเร็จเมื่อมีคำสั่งซื้อ ไม่ใช่วันส่งสินค้า การอนุญาตเพิ่มพยานหลักฐาน และการพิพากษาไม่เกินคำขอ
บริษัท พ.ผลิตรถยนต์จำหน่ายให้แก่บริษัทส. ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวโดยมีข้อตกลงและระเบียบปฏิบัติต่อกันว่าเมื่อบริษัท พ. ผลิตรถยนต์แต่ละคันเสร็จจะทำสำเนาเอกสารใบ D/O(DeliveryOrder) ระบุรุ่นของรถยนต์ หมายเลขเครื่องยนต์ หมายเลขตัวถังและรหัสสีของรถยนต์มอบให้แก่บริษัทส. พร้อมกับส่งมอบรถยนต์ไปจอดเก็บไว้ที่บริษัท ส.เพื่อจะได้ทราบว่าบริษัทพ.ผลิตรถยนต์รุ่นใด สีใดไว้แล้วจะได้เสนอขายแก่ลูกค้า ถ้าบริษัทส.ต้องการจะซื้อรถยนต์คันใดก็จะโทรศัพท์สั่งซื้อไปยังบริษัทพ.ครั้นสิ้นเดือน ฝ่ายบัญชีของบริษัท ส. ก็จะรวบรวมยอดรถยนต์ที่สั่งซื้อในเดือนนั้นทำเป็นใบสั่งซื้อ (PurchaseForm) ส่งให้บริษัท พ.แล้วบริษัทพ. จะออกใบแจ้งหนี้ (Invoice) สำหรับรถยนต์ที่ซื้อขายกันในเดือนนั้นมาให้แก่บริษัท ส. เพื่อเรียกเก็บเงินต่อไป และการที่บริษัท พ. ส่งมอบรถยนต์ไปจอดเก็บไว้ที่บริษัท ส. ก็เป็นการนำไปฝากจอดไว้ เอกสารใบ D/O จึงเป็นเพียงเอกสารที่แสดงว่าบริษัท พ. ได้ผลิตรถยนต์รุ่นใด สีใด จำนวนเท่าใดไว้พร้อมที่จะขายให้แก่บริษัท ส.เท่านั้นวันที่บริษัทพ.ออกเอกสารใบ D/O จึงยังมิใช่วันที่มีการซื้อขายรถยนต์เสร็จเด็ดขาดแต่จะเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดต่อเมื่อบริษัท ส. มีคำสั่งซื้อบริษัท พ. จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าในเดือนภาษีที่มีคำสั่งซื้อนั้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 จัตวา (3) คดีมีพยานเอกสารที่โจทก์ต้องอ้างอิงเป็นจำนวนมาก จึงเป็นการยากที่จะทราบได้ว่าต้องอ้างอิงเอกสารอะไรทั้งหมดในคราวเดียวกันแต่โจทก์ได้ระบุอ้างพยานเอกสารในครั้งแรกก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 7 วัน ตั้งแต่พยานอันดับ 11 ถึงอันดับ 28 รวม 18 อันดับไว้แล้ว การที่โจทก์มาขอระบุบัญชีพยานเพิ่มเติมอีก 2 ครั้งโดยระบุพยานเอกสารเพิ่มเติมอีกรวม 8 อันดับนั้น ถือได้ว่ามีเหตุอื่นอันสมควร เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์ระบุเพิ่มเติมเป็นเอกสารสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีที่ศาลต้องใช้ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญในปัญหาที่โต้เถียงกันเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรมยิ่งขึ้น ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมได้ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 วรรคสี่ โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ 6 ฉบับ คือฉบับเลขที่ 317 ก./2531/1,317 ข./2531/1,317 ค./2531/1,317ง./2531/1,317 จ./2531/1และ 317 ฉ./2531/1 ซึ่งวินิจฉัยให้โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีเทศบาลรวม 63,181,961.69 บาทโดยแนบสำเนาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้ง 6 ฉบับ ดังกล่าวมาท้ายฟ้องด้วยและคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ได้มีคำขอให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์รวม 6 ฉบับ ที่ให้โจทก์ชำระภาษีการค้า เงินเพิ่ม เบี้ยปรับและภาษีบำรุงเทศบาลรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 63,181,961.69 บาท และเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์จำนวนดังกล่าว ย่อมเป็นที่เข้าใจอยู่ในตัวแล้วว่า โจทก์ได้ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับเลขที่317 ง./2531/1 ด้วย ดังนั้น แม้ว่าตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะมิได้ระบุขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวก็ตามศาลภาษีอากรกลางก็มีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวได้ หาเกินคำขอไม่