พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6049/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์และช่วงเวลาการเกิดภาษี การแก้ไขเพิ่มเติมพยานหลักฐาน และอำนาจศาลในการวินิจฉัยเกินคำขอ
บริษัท พ. ผลิตรถยนต์จำหน่ายให้แก่บริษัท ส.ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวโดยมีข้อตกลงและระเบียบปฏิบัติต่อกันว่า เมื่อบริษัท พ.ผลิตรถยนต์แต่ละคันเสร็จจะทำสำเนาเอกสารใบ D/O (Delivery Order) ระบุรุ่นของรถยนต์ หมายเลขเครื่องยนต์ หมายเลขตัวถังและรหัสสีของรถยนต์มอบให้แก่บริษัท ส. พร้อมกับส่งมอบรถยนต์ไปจอดเก็บไว้ที่บริษัท ส.เพื่อจะได้ทราบว่าบริษัท พ.ผลิตรถยนต์รุ่นใด สีใดไว้แล้วจะได้เสนอขายแก่ลูกค้า ถ้าบริษัท ส.ต้องการจะซื้อรถยนต์คันใดก็จะโทรศัพท์สั่งซื้อไปยังบริษัท พ. ครั้นสิ้นเดือน ฝ่ายบัญชีของบริษัท ส.ก็จะรวบรวมยอดรถยนต์ที่สั่งซื้อในเดือนนั้นทำเป็นใบสั่งซื้อ (Purchase Form) ส่งให้บริษัท พ. แล้วบริษัท พ.จะออกใบแจ้งหนี้ (Invoice) สำหรับรถยนต์ที่ซื้อขายกันในเดือนนั้นมาให้แก่บริษัท ส.เพื่อเรียกเก็บเงินต่อไป และการที่บริษัท พ.ส่งมอบรถยนต์ไปจอดเก็บไว้ที่บริษัท ส. ก็เป็นการนำไปฝากจอดไว้เอกสารใบ D/O จึงเป็นเพียงเอกสารที่แสดงว่าบริษัท พ.ได้ผลิตรถยนต์รุ่นใด สีใด จำนวนเท่าใดไว้พร้อมที่จะขายให้แก่บริษัท ส.เท่านั้น วันที่บริษัท พ.ออกเอกสารใบ D/O จึงยังมิใช่วันที่มีการซื้อขายรถยนต์เสร็จเด็ดขาด แต่จะเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดต่อเมื่อบริษัท ส.มีคำสั่งซื้อบริษัท พ.จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าในเดือนภาษีที่มีคำสั่งซื้อนั้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79จัตวา (3)
คดีมีพยานเอกสารที่โจทก์ต้องอ้างอิงเป็นจำนวนมาก จึงเป็นการยากที่จะทราบได้ว่าต้องอ้างอิงเอกสารอะไรทั้งหมดในคราวเดียวกัน แต่โจทก์ได้ระบุอ้างพยานเอกสารในครั้งแรกก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 7 วัน ตั้งแต่พยานอันดับ 11 ถึงอันดับ 28 รวม18 อันดับไว้แล้ว การที่โจทก์มาขอระบุบัญชีพยานเพิ่มเติมอีก 2 ครั้ง โดยระบุพยานเอกสารเพิ่มเติมอีกรวม 8 อันดับนั้น ถือได้ว่ามีเหตุอื่นอันสมควร เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์ระบุเพิ่มเติมเป็นเอกสารสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีที่ศาลต้องใช้ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญในปัญหาที่โต้เถียงกันเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรมยิ่งขึ้น ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมได้ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 วรรคสี่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ 6 ฉบับ คือฉบับเลขที่ 317 ก./2531/1, 317 ข./2531/1,317 ค.2531/1, 317 ง./2531/1, 317 จ./2531/1 และ 317 ฉ./2531/1 ซึ่งวินิจฉัยให้โจทก์ต้องเสียภาษีการค้า เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีเทศบาลรวม 63,181,961.69 บาทโดยแนบสำเนาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้ง 6 ฉบับ ดังกล่าวมาท้ายฟ้องด้วย และคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ได้มีคำขอให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์รวม 6 ฉบับ ที่ให้โจทก์ชำระภาษีการค้า เงินเพิ่ม เบี้ยปรับและภาษีบำรุงเทศบาลรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 63,181,961.69 บาท และเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์จำนวนดังกล่าว ย่อมเป็นที่เข้าใจอยู่ในตัวแล้วว่า โจทก์ได้ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับเลขที่ 317 ง./2531/1 ด้วย ดังนั้น แม้ว่าตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะมิได้ระบุขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวด้วยก็ตาม ศาลภาษีอากรกลางก็มีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวได้ หาเกินคำขอไม่
คดีมีพยานเอกสารที่โจทก์ต้องอ้างอิงเป็นจำนวนมาก จึงเป็นการยากที่จะทราบได้ว่าต้องอ้างอิงเอกสารอะไรทั้งหมดในคราวเดียวกัน แต่โจทก์ได้ระบุอ้างพยานเอกสารในครั้งแรกก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 7 วัน ตั้งแต่พยานอันดับ 11 ถึงอันดับ 28 รวม18 อันดับไว้แล้ว การที่โจทก์มาขอระบุบัญชีพยานเพิ่มเติมอีก 2 ครั้ง โดยระบุพยานเอกสารเพิ่มเติมอีกรวม 8 อันดับนั้น ถือได้ว่ามีเหตุอื่นอันสมควร เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์ระบุเพิ่มเติมเป็นเอกสารสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีที่ศาลต้องใช้ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญในปัญหาที่โต้เถียงกันเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรมยิ่งขึ้น ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมได้ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 วรรคสี่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ 6 ฉบับ คือฉบับเลขที่ 317 ก./2531/1, 317 ข./2531/1,317 ค.2531/1, 317 ง./2531/1, 317 จ./2531/1 และ 317 ฉ./2531/1 ซึ่งวินิจฉัยให้โจทก์ต้องเสียภาษีการค้า เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีเทศบาลรวม 63,181,961.69 บาทโดยแนบสำเนาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้ง 6 ฉบับ ดังกล่าวมาท้ายฟ้องด้วย และคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ได้มีคำขอให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์รวม 6 ฉบับ ที่ให้โจทก์ชำระภาษีการค้า เงินเพิ่ม เบี้ยปรับและภาษีบำรุงเทศบาลรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 63,181,961.69 บาท และเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์จำนวนดังกล่าว ย่อมเป็นที่เข้าใจอยู่ในตัวแล้วว่า โจทก์ได้ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับเลขที่ 317 ง./2531/1 ด้วย ดังนั้น แม้ว่าตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะมิได้ระบุขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวด้วยก็ตาม ศาลภาษีอากรกลางก็มีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวได้ หาเกินคำขอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3941/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดในคดีภาษีอากร ทำให้สืบพยานหลักฐานไม่ได้ ศาลพิพากษายกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลางนัดชี้สองสถานวันที่ 14 ธันวาคม 2532โจทก์ได้ทราบล่วงหน้าถึงกำหนดวันนัดชี้สองสถานเป็นเวลาถึงหนึ่งเดือนเศษ แต่โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรข้อ 8 วรรคแรก โจทก์มายื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2532 โดยอ้างเหตุว่า จำวันที่ที่ศาลนัดชี้สองสถานคลาดเคลื่อนไปและเพิ่งค้นพบเอกสารต่าง ๆ ที่จะระบุพยาน ดังนี้ข้ออ้างที่ว่าจำวันที่ที่ศาลนัดชี้สองสถานคลาดเคลื่อนไป เป็นข้อที่ใคร ๆ ก็อ้างขึ้นมาได้ จึงมิใช่ข้อแก้ตัวอันสมควรแก่เรื่องส่วนข้ออ้างที่ว่าเพิ่งค้นพบเอกสารต่าง ๆ ที่จะระบุ ก็ปรากฏว่าตามลักษณะของพยานเอกสารที่อ้าง เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์รู้อยู่แล้วว่ามีพยานเอกสารนั้น ๆ อยู่ ข้ออ้างของโจทก์ส่วนนี้จึงไม่ตรงต่อความเป็นจริง ดังนั้น ข้ออ้างตามคำร้องของโจทก์ จึงมิใช่เหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาแห่งข้อกำหนดคดีภาษีอากรได้ จึงไม่มีเหตุอันสมควรที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 วรรคสี่ โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ชอบ จำเลยให้การปฏิเสธ หน้าที่นำสืบย่อมตกอยู่แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่ยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดเวลาตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรข้อ 8 พยานหลักฐานที่โจทก์จะนำสืบย่อมต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากร และวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 17 ถือได้ว่าโจทก์ไม่อาจสืบพยานหลักฐานได้สมดังคำฟ้อง ศาลภาษีอากรกลางสั่งงดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องโจทก์ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3941/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานล่าช้าในคดีภาษีอากร ศาลไม่อนุญาตเนื่องจากเหตุผลไม่สมควร
โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 7 วัน ตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8วรรคแรก โดยอ้างเหตุว่าจำวันนัดชี้สองสถานคลาดเคลื่อนไปและเพิ่งพบเอกสารต่าง ๆ ที่จะระบุพยานนั้น สำหรับข้ออ้างว่าจำวันนัดผิดมิใช่ข้ออ้างอันสมควรแก่เรื่องตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรส่วนที่อ้างว่าเพิ่งค้นพบเอกสารต่าง ๆ ที่จะขอระบุพยานนั้นเป็นข้ออ้างที่ไม่ตรงต่อความจริง กรณีไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานได้ตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8วรรคสี่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3221/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบในคดีภาษี, การยกเว้นภาษีสมาคม, และการคืนค่าขึ้นศาล
ตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้ (2) (ค) แห่งประมวลรัษฎากรกำหนดให้เรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากรายได้ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ด้วยคงยกเว้นให้เฉพาะเงินค่าบำรุงที่ได้รับจากสมาชิกหรือเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการบริจาค หรือการให้โดยเสน่หาตามมาตรา 65 ทวิ (13) เท่านั้น แม้ตามมาตรา 79 ตรี (8) (ข) จะยกเว้นให้ไม่ต้องนำรายรับจากการบริจาคสินค้าเป็นสาธารณประโยชน์มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้าก็ตาม แต่ก็ยกเว้นให้เฉพาะการบริจาคแก่องค์การ หรือสถานสาธารณกุศลที่รัฐมนตรีกำหนดเท่านั้นประมวลรัษฎากรมิได้ยกเว้นไม่เก็บภาษีจากสมาคมเสียทีเดียว
แม้โจทก์จะมีฐานะเป็นสมาคม ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1274 บัญญัติว่า กิจการของโจทก์มิใช่เป็นการประกอบกิจการค้าหากำไรมาแบ่งปันกันก็ตาม แต่ในเรื่องหน้าที่นำสืบประมวลรัษฎากรมิได้มีข้อสันนิษฐานไว้ให้เป็นคุณแก่โจทก์ กรณีจึงต้องเป็นไปตามหลักทั่วไปของมาตรา 84 แห่ง ป.วิ.พ. เมื่อประเด็นข้อพิพาทที่ว่าโจทก์มีรายได้ซึ่งต้องเสียภาษีหรือได้รับยกเว้นการเสียภาษีหรือไม่นั้น โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้าง จำเลยให้การปฏิเสธ หน้าที่นำสืบจึงตกอยู่แก่โจทก์
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 17 การที่จะนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาอนุโลมใช้ได้ก็ต่อเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร และข้อกำหนดคดีภาษีอากรตามมาตรา 20 บัญญัติหรือกำหนดไว้โดยเฉพาะเท่านั้น ดังนี้ เมื่อมีข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 กำหนดว่า คู่ความจะต้องยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน จึงไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 88 แห่ง ป.วิ.พ.มาอนุโลมใช้ในกรณีการยื่นบัญชีระบุพยานคดีภาษีอากรได้
โจทก์อุทธรณ์เพียงขอให้เพิกถอนคำสั่งเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบ กับขอให้สั่งให้โจทก์มีสิทธินำพยานเข้าสืบตามบัญชีระบุพยานที่ยื่นต่อศาล เป็นอุทธรณ์ที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ท้ายป.วิ.พ. ข้อ (2) (ก) โจทก์เสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นเงินได้ตามตาราง 1 ข้อ (1) (ก) จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกินแก่โจทก์
แม้โจทก์จะมีฐานะเป็นสมาคม ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1274 บัญญัติว่า กิจการของโจทก์มิใช่เป็นการประกอบกิจการค้าหากำไรมาแบ่งปันกันก็ตาม แต่ในเรื่องหน้าที่นำสืบประมวลรัษฎากรมิได้มีข้อสันนิษฐานไว้ให้เป็นคุณแก่โจทก์ กรณีจึงต้องเป็นไปตามหลักทั่วไปของมาตรา 84 แห่ง ป.วิ.พ. เมื่อประเด็นข้อพิพาทที่ว่าโจทก์มีรายได้ซึ่งต้องเสียภาษีหรือได้รับยกเว้นการเสียภาษีหรือไม่นั้น โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้าง จำเลยให้การปฏิเสธ หน้าที่นำสืบจึงตกอยู่แก่โจทก์
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 17 การที่จะนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาอนุโลมใช้ได้ก็ต่อเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร และข้อกำหนดคดีภาษีอากรตามมาตรา 20 บัญญัติหรือกำหนดไว้โดยเฉพาะเท่านั้น ดังนี้ เมื่อมีข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 กำหนดว่า คู่ความจะต้องยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน จึงไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 88 แห่ง ป.วิ.พ.มาอนุโลมใช้ในกรณีการยื่นบัญชีระบุพยานคดีภาษีอากรได้
โจทก์อุทธรณ์เพียงขอให้เพิกถอนคำสั่งเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบ กับขอให้สั่งให้โจทก์มีสิทธินำพยานเข้าสืบตามบัญชีระบุพยานที่ยื่นต่อศาล เป็นอุทธรณ์ที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ท้ายป.วิ.พ. ข้อ (2) (ก) โจทก์เสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นเงินได้ตามตาราง 1 ข้อ (1) (ก) จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3221/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์ในคดีภาษีอากร และการยื่นบัญชีระบุพยานตามข้อกำหนดศาล
ตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้ (2)(ค) แห่งประมวลรัษฎากรกำหนด ให้เรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากรายได้ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ด้วยคงยกเว้นให้เฉพาะเงินค่าบำรุงที่ได้รับจากสมาชิกหรือเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการบริจาค หรือการให้โดยเสน่หาตามมาตรา 65 ทวิ (13) เท่านั้น แม้ตามมาตรา 79 ตรี (8)(ข) จะยกเว้นให้ไม่ต้องนำรายรับจากการบริจาคสินค้าเป็นสาธารณประโยชน์มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้าก็ตาม แต่ก็ยกเว้นให้เฉพาะการบริจาคแก่องค์การ หรือสถานสาธารณกุศล ที่รัฐมนตรีกำหนดเท่านั้นประมวลรัษฎากรมิได้ยกเว้นไม่เก็บภาษี จาก สมาคมเสียทีเดียว แม้โจทก์จะมีฐานะเป็นสมาคม ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1274 บัญญัติ ว่ากิจการของโจทก์มิใช่เป็นการประกอบกิจการค้าหากำไรมาแบ่งปันกันก็ตาม แต่ในเรื่องหน้าที่นำสืบประมวลรัษฎากรมิได้มีข้อสันนิษฐาน ไว้ ให้เป็นคุณแก่โจทก์ กรณีจึงต้องเป็นไปตามหลักทั่วไปของมาตรา 84 แห่งป.วิ.พ. เมื่อประเด็นข้อพิพาทที่ว่าโจทก์มีรายได้ซึ่งต้อง เสีย ภาษี หรือได้รับยกเว้นการเสียภาษีหรือไม่นั้น โจทก์เป็นฝ่าย กล่าวอ้าง จำเลยให้การปฏิเสธ หน้าที่นำสืบจึงตกอยู่แก่โจทก์ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528มาตรา 17 การที่จะนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาอนุโลมใช้ได้ ก็ ต่อเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและ วิธีพิจารณาคดีภาษีอากร และข้อกำหนดคดีภาษีอากรตามมาตรา 20 บัญญัติ หรือ กำหนดไว้โดยเฉพาะเท่านั้น ดังนี้ เมื่อมีข้อกำหนดคดี ภาษีอากร ข้อ 8 กำหนด ว่าคู่ความจะต้องยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาล ก่อน วันชี้สองสถาน ไม่ น้อยกว่าเจ็ดวัน จึงไม่อาจนำบทบัญญัติ มาตรา 88 แห่ง ป.วิ.พ. มา อนุโลม ใช้ ในกรณีการยื่นบัญชีระบุพยาน คดีภาษีอากรได้ โจทก์อุทธรณ์เพียงขอให้เพิกถอนคำสั่งเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบ กับ ขอให้สั่งให้โจทก์มีสิทธินำพยานเข้าสืบตามบัญชีระบุพยานที่ยื่น ต่อ ศาลเป็นอุทธรณ์ที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณ เป็น ราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียง 200 บาท ตาม ตาราง 1 ท้ายป.วิ.พ. ข้อ (2)(ก) โจทก์เสียค่าขึ้นศาล อย่าง คดี ที่ มี คำขอ ให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นเงินได้ตาม ตาราง 1 ข้อ (1)(ก)จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกิน แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2678/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพลาดทนายในการลงวันนัด ไม่ถือเป็นเหตุอันสมควรที่ยื่นบัญชีระบุพยานล่าช้า ศาลฎีกายืนคำพิพากษา
ศาลภาษีอากรกลางได้กำหนดวันนัดชี้สองสถานและแจ้งให้ ทนายโจทก์ทราบโดยทนายโจทก์ได้รับหมายนัดไว้แล้วด้วยตนเอง แต่ ลงวันนัดในสมุดนัดความผิดพลาดไป ทนายโจทก์จึงมิได้ยื่นบัญชี ระบุพยานตาม ข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 วรรคสี่ ดังนี้ เป็นข้อ ผิดพลาดบกพร่องของทนายโจทก์ เองมิใช่เป็นกรณีมีเหตุอันสมควร ที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตาม กำหนดเวลาตามกฎหมายได้ ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งยกคำร้องขออนุญาต ยื่นบัญชีระบุพยานโจทก์ชอบแล้ว โจทก์อุทธรณ์ขอให้ยกคำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่าง ให้สืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ (2)(ก).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2678/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุผลที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานได้ต้องเป็นเหตุอันสมควร ความผิดพลาดของทนายไม่ใช่เหตุ
ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 วรรคสี่ กำหนดกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานไว้ว่า คู่ความซึ่งขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานจะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลได้ว่า มีเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน การที่โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 7 วัน เพราะทนายโจทก์ลงวันนัดชี้สองสถานในสมุดนัดความของทนายโจทก์ผิดพลาดคลาดเคลื่อนเอง มิใช่กรณีมีเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาได้อันจะเป็นเหตุอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานได้ โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกาเพียงขอให้ยกคำสั่งและคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางให้ศาลภาษีอากรกลางสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี เป็นอุทธรณ์ที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียง200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (3)(ก) แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 338/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานหลังวันชี้สองสถานต้องมีเหตุอันสมควร และพยานหลักฐานต้องไม่เป็นที่โจทก์ทราบอยู่แล้ว
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานหลังวันชี้สองสถานแต่จากบัญชีระบุพยานทั้ง 9 อันดับ เห็นได้ว่าทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารที่ระบุอ้างล้วนแต่เป็นพยานหลักฐานที่โจทก์ทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ขณะฟ้องคดีว่าต้องนำมาสืบเพื่อประโยชน์แก่คดีของโจทก์ทั้งไม่ปรากฏว่ามีเหตุขัดข้องอย่างใดที่โจทก์ไม่สามารถจะยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันได้ โจทก์คงอ้างแต่เพียงว่าเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ซึ่งมิใช่เหตุที่จะอ้างได้ตามกฎหมาย กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาในข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 วรรคสี่ดังกล่าวได้ ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งยกคำร้องและไม่รับบัญชีระบุพยานของโจทก์ชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 338/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานหลังวันชี้สองสถาน ต้องแสดงเหตุสมควรที่ไม่อาจยื่นก่อนได้ พยานหลักฐานที่โจทก์ทราบอยู่แล้วไม่อาจอ้างเหตุใหม่ได้
การที่ศาลจะอนุญาตให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานภายหลังวันชี้สองสถานได้นั้น คู่ความจะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ตามที่บัญญัติไว้ในข้อ 8วรรคท้าย แห่งข้อกำหนดคดีภาษีอากร แต่พยานบุคคลและพยานเอกสารที่โจทก์ระบุอ้างไว้ในบัญชีระบุพยานของโจทก์ ล้วนแต่เป็นพยานหลักฐานที่โจทก์ทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ขณะฟ้องคดีว่าต้องนำมาสืบเพื่อประโยชน์แก่คดีของโจทก์ การที่โจทก์อ้างว่า โจทก์เพิ่งทราบว่าต้องอ้างอิงพยานหลักฐานอะไรบ้าง เมื่อโจทก์ได้ตรวจสอบเอกสารที่จำเลยยื่นต่อศาลแล้วนั้น ไม่อาจรับฟังได้ ทั้งไม่ปรากฏว่ามีเหตุขัดข้องอย่างใดที่โจทก์ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันได้ ที่โจทก์อ้างว่าเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็มิใช่เป็นเหตุที่อ้างได้ตามกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานและการอนุญาตให้ยื่นเพิ่มเติมภายหลัง หากมีเหตุสมควร
โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานในระหว่างที่มีการไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา โดยโจทก์ไม่ได้ระบุไว้ว่าเป็นการระบุพยานเฉพาะในชั้นไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์เท่านั้น แสดงว่าโจทก์มุ่งประสงค์ให้เป็นบัญชีระบุพยานของโจทก์ตลอดไปทั้งคดี หาได้มุ่งใช้เฉพาะการใดการหนึ่งไม่ จึงถือได้ว่าบัญชีระบุพยานของโจทก์ดังกล่าว เป็นบัญชีระบุพยานโจทก์ในชั้นพิจารณาซึ่งได้ยื่นต่อศาลภาษีอากรกลางก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 8 แห่งข้อกำหนดคดีภาษีอากรแล้ว เมื่อคำร้องของโจทก์ที่ขอระบุพยานเพิ่มเติมแสดงเหตุอันสมควรได้ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ขออนุญาตอ้างเพิ่มเติมภายหลังวันชี้สองสถาน โจทก์เพิ่งทราบที่อยู่และข้อเท็จจริงจากพยานของโจทก์จำเป็นจะต้องสืบพยานเพิ่มเติมเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม ศาลควรอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร