คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ม. 55

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 116 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6636/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ซองกระสุนเกิน 10 นัด เป็นอาวุธปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตได้ แม้ใช้กับปืนที่มีใบอนุญาตได้
ซองกระสุนปืนเป็นอาวุธปืนตามความหมายแห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 4 (1) ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2491) ออกตามความใน พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ข้อ 1 แม้ซองกระสุนปืนของกลางสามารถใช้ร่วมกับอาวุธปืนของกลางที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้ก็ตาม หากเป็นซองกระสุนที่สามารถบรรจุกระสุนได้เกินกว่า 10 นัด แล้วก็เป็นซองกระสุนปืนชนิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2491) ออกตามความใน พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ข้อ 2 (12) จำเลยจึงมีความผิดฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 55, 78 วรรคหนึ่ง และซองกระสุนปืนของกลางเป็นทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดมีไว้เป็นความผิด จึงให้ริบตาม ป.อ. มาตรา 32

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 852/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองลูกระเบิด, ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน, และการใช้ดุลพินิจของศาลในการพิจารณาคดีอาญา
พยานโจทก์มีรายงานการตรวจพิสูจน์ของพันตำรวจโท ว. ว่า ของกลางจัดเป็นเครื่องกระสุนปืนตามความหมาย แห่ง พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ และเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ แม้จะได้ความต่อไปตามรายงานฉบับดังกล่าวว่าของกลางดังกล่าวอยู่ในสภาพที่ใช้ทำการระเบิดไม่ได้ เพราะชนวนเสื่อมสภาพ แต่ก็ถือได้ว่าของกลางเป็นลูกระเบิดตามกฎหมาย จึงต้องมีความผิดข้อหามีลูกระเบิดไว้ในครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจการออกใบอนุญาตเครื่องกระสุนปืน: ขนาด .223 (5.56 มม.) ไม่เป็นข้อยกเว้นหากไม่ใช่ชนิดเจาะเกราะหรือกระสุนเพลิง
เครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้นั้นต้องเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้ตามที่กำหนดไว้ในกระทรวง ฉบับที่ 11 ฯ ข้อ 2 เว้นแต่เครื่องกระสุนปืนนั้นแม้จะเป็นเครื่องกระสุนปืนขนาดที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้ก็ตาม หากเป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิงแล้ว ก็เป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ดังนั้น เมื่อเครื่องกระสุนปืนของกลางมีขนาด .223 (5.56 มม.) ไม่เกินขนาดอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 ฯ ข้อ 2 (1) ที่กำหนดว่า "อาวุธปืนชนิดลำกล้องมีเกลียวที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางปากลำกล้องไม่เกิน 11.44 มม." และข้อ 2 (2) กำหนดว่า "อาวุธปืนชนิดลำกล้องไม่มีเกลียวดังต่อไปนี้ (ก) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางปากลำกล้องไม่ถึง 20 มม. (ข) ปืนประจุปาก ปืนลูกซอง และปืนพลุสัญญาณ" จึงเห็นได้ว่า เครื่องกระสุนปืนขนาด .223 (5.56 มม.) จำนวน 12 นัด ของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ ดังนั้น แม้หากจะรับฟังว่าเครื่องกระสุนปืนขนาด .223 (5.56 มม.) จำนวน 12 นัด ของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนเล็กกลดังเช่นที่โจทก์ฎีกาก็ตามแต่ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า เครื่องกระสุนปืนขนาด .223 (5.56 มม.) จำนวน 12 นัด ของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิง ซึ่งเป็นข้อยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 ฯ ข้อ 3 ตอนท้าย ที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ศาลก็ต้องยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 55, 78

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1428/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองอาวุธปืนเพื่อทำความสะอาด ไม่ถือเป็นเจตนายึดถือเพื่อตน ไม่เข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.อาวุธปืน
จำเลยได้รับฝากอาวุธปืน เหล็กพานท้ายปืน และด้ามปืนของกลางไว้จาก ภ. เพื่อทำความสะอาด การที่จำเลยครอบครองอาวุธปืนของกลางในลักษณะเช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยยึดถืออาวุธปืนไว้แทน ภ. เท่านั้น ไม่ได้มีเจตนายึดถือ เพื่อตน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยมีอาวุธปืนของกลางไว้ในครอบครอง ตามความหมายแห่ง พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มาตรา 4 (6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7911/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริง และยืนตามศาลอุทธรณ์เรื่องความผิดฐานมีอาวุธปืนและกระสุนปืนเป็นคนละกรรม
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เฉพาะมาตรา 66 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ เป็นมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ไม่ได้แก้เป็นบทมาตราอื่นแต่อย่างใด ส่วนโทษก็แก้เฉพาะโทษในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จากที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุก 5 ปี เป็น 4 ปี จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังลงโทษจำเลยและขอให้ลงโทษจำเลยสถานเบา ล้วนเป็นการฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและดุลพินิจในการกำหนดโทษ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาในข้อดังกล่าวมาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
การมีอาวุธปืนไม่มีทะเบียนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตกับการมีกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตรา ย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่ามีความประสงค์จะแยกความผิดสองฐานนี้ออกจากกัน แม้มีอาวุธปืนและกระสุนปืนดังกล่าวไว้ในครอบครองในเวลาเดียวกันก็เป็นความผิดสองกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตไม่ได้: ขนาด .223 (5.56 มม.) ไม่เข้าข้อยกเว้นชนิดเจาะเกราะ/กระสุนเพลิง
แม้ผู้ชำนาญที่ตรวจพิสูจน์จะมีความเห็นว่า กระสุนปืนของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนแบบที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11ฯ ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ และอาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองนั้นเป็นอาวุธปืนที่จำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตก็ตาม แต่เมื่อกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว ข้อ 3 กำหนดว่า "เครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ตามมาตรา 7 หรือมาตรา 24 ต้องเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนตามข้อ 2 ที่ได้รับอนุญาต แต่ต้องไม่เป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิง" อันหมายความว่าเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้นั้นต้องเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ข้อ 2 เว้นแต่เครื่องกระสุนปืนนั้นเป็นชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิงแล้ว ก็เป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ซึ่งเมื่อเครื่องกระสุนปืนของกลางมีขนาดเพียง .223 (5.56 มม.) ไม่เกินขนาดอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ตามกฎกระทรวง ข้อ 2 (1) ที่กำหนดว่า "อาวุธปืนชนิดลำกล้องมีเกลียวที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางปากลำกล้องไม่เกิน 11.44 มม." และข้อ 2 (2) กำหนดว่า "อาวุธปืนชนิดลำกล้องไม่มีเกลียว ดังต่อไปนี้ (ก) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางปากลำกล้องไม่ถึง 20 มม. (ข) ปืนบรรจุปาก ปืนลูกซองและปืนพลุสัญญาณ" แล้วจึงเห็นได้ในเบื้องต้นว่า เครื่องกระสุนปืนขนาด .223 (5.56 มม.) จำนวน 1 นัด ของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ ดังนั้น ถึงหากจะให้รับฟังว่าเครื่องกระสุนปืนขนาด .223 (5.56 มม.) จำนวน 1 นัด ของกลาง เป็นเครื่องกระสุนปืนเล็กกลดังเช่นที่โจทก์ฎีกาก็ตาม แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่าเครื่องกระสุนปืนขนาด .223 (5.56 มม.) จำนวน 1 นัด ของกลาง เป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิงซึ่งเป็นข้อยกเว้นตามกฎกระทรวง ข้อ 3 ตอนท้าย ที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ศาลก็ต้องยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4088/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำคุกเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดโดยศาลอุทธรณ์ โดยที่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ ถือเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา 4,55,78 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80,83 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานร่วมกันมีลูกระเบิดอันเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ จำคุก 4 ปี ฐานร่วมกันใช้ลูกระเบิดอันเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้และฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 10 ปีรวมจำคุก 14 ปี จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 80,83 พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 55 ประกอบด้วยมาตรา 78 วรรคหนึ่งและวรรคสามความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น ฐานร่วมกันมีวัตถุระเบิดและใช้วัตถุระเบิดเพื่อฆ่าผู้อื่นเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคสาม ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 7 ลงโทษจำคุกจำเลยกระทงเดียว 14 ปีเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นวางโทษจำคุกในแต่ละกระทงโดยที่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ อันเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้ลงโทษจำคุกจำเลย 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3283/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอนุญาตเครื่องกระสุนปืน: ชนิด, ขนาด, และเจตนาการใช้งานตามกฎหมายอาวุธปืน
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11(พ.ศ. 2522) ข้อ 3 เครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ต้องเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 11(พ.ศ. 2522) ข้อ 2 แต่เครื่องกระสุนปืนนั้นแม้จะเป็นเครื่องกระสุนปืนขนาดที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้ก็ตาม หากเป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิงแล้ว ก็เป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้
เครื่องกระสุนปืนขนาด 7.62 มม. เป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ จึงเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้เช่นกันเว้นแต่จะเป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิงจึงจะเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 11(พ.ศ. 2522) ข้อ 3 ตอนท้าย ดังนั้น แม้เครื่องกระสุนปืนดังกล่าวจะเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ผลิตขึ้นมาใช้กับอาวุธปืนสงครามของทหารกองทัพนาโต้เป็นการเฉพาะ แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าเป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิง จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 55,78

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2801-2802/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานผลิตและมีวัตถุออกฤทธิ์, ครอบครองอาวุธปืนผิดกฎหมาย, และการลงโทษหลายกรรม
จำเลยทั้งสองเป็นนายจ้างลูกจ้างกัน จำเลยที่ 1 ผสมเมทแอมเฟตามีน โดยจำเลยที่ 2 ช่วยส่งถังน้ำและหยิบของในถุงส่งให้ ประกอบกับเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนของกลางที่ยึดได้มีทั้งที่ผลิตสำเร็จอัดเป็นเม็ดแล้วยังเป็นผลึกและยังเป็นของเหลวอยู่ฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนของกลาง
เมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองมีจำนวนมาก ซึ่งได้มาจากการผลิตด้วยเครื่องจักรทันสมัย และมีที่เป็นเม็ดแล้ว และที่เป็นผลึกและน้ำยาตกผลึกเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยกำลังผสมเป็นของเหลวอีกประกอบกับจำเลยมีซองพลาสติกกับถุงพลาสติกในขนาดต่าง ๆ ที่จำเลยมีไว้สำหรับบรรจุเมทแอมเฟตามีนออกขาย จึงฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนของกลางไว้เพื่อขาย
ลูกระเบิดซ้อมขว้างของกลางอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ แม้ไม่มีอานุภาพทำลายล้าง ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินก็เป็นเครื่องกระสุนปืนตามความหมายของพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา 4(2)
ความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกับความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มีวัตถุแห่งการกระทำความผิดแตกต่างกัน กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไว้คนละฉบับ การมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 7,72 วรรคสอง ส่วนการมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองเป็นความผิดตามมาตรา 55,78 วรรคหนึ่ง ย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่า มีความประสงค์จะแยกความผิดสองฐานนี้ออกจากกัน และการกระทำความผิดสองฐานดังกล่าวแยกออกได้จากการกระทำความผิดฐานผลิตกับมีเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย แม้จำเลยจะมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองในเวลาเดียวกัน และพร้อมกับที่จำเลยผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนกับอีเฟดรีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย ก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนที่จำเลยผลิตเป็นจำนวนเดียวกับเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อขาย การกระทำของจำเลยส่วนนี้เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อขายบางส่วนมิใช่เมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนที่จำเลยผลิต และลงโทษจำเลยฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อขายเป็นอีกกระทงหนึ่ง จึงเป็นการพิพากษาที่มิได้กล่าวในฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2374/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองอาวุธปืนนอกหน่วยงานช่วงลาพักผ่อน ไม่ถือว่าเป็นการปฏิบัติราชการ และมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน
จำเลยนำอาวุธปืนเล็กกลซึ่งมีไว้ในราชการและนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้พร้อมด้วยเครื่องกระสุนปืนของกลางออกไปนอกหน่วยที่ตั้งซึ่งจำเลยประจำการอยู่ ติดตัวไปเป็นเวลาหลายวันโดยจะต้องเดินทางเป็นระยะทางไกลออกไปต่างจังหวัด ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยในการยึดถืออาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลางไว้เพื่อตนโดยมุ่งหวังจะใช้อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนนั้นในทางก่อประโยชน์แก่ตนตลอดระยะเวลาดังกล่าว มิใช่เป็นการมีหรือใช้ในราชการเนื่องจากเป็นช่วงเวลาของการลาพักผ่อนของจำเลยการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ. 2490 มาตรา 55,78 วรรคหนึ่ง และมิได้รับยกเว้นตามบทบัญญัติมาตรา 5
of 12