พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2514/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากที่แท้จริงเป็นการกู้ยืมเงิน บุคคลภายนอกสุจริตได้รับความคุ้มครอง
ดอกเบี้ยที่โจทก์ผ่อนชำระให้แก่จำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือน เป็นเงิน 2,100 บาท หรือเท่ากับ 25,200 บาท ต่อปี เมื่อนำไปรวมกับต้นเงิน 70,000 บาท เป็นเงิน 95,200 บาท เป็นจำนวนใกล้เคียงกับราคาสินไถ่ 95,000 บาท การที่โจทก์ชำระดอกเบี้ยทุกเดือน จึงเป็นการชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้และแสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มีเจตนาทำสัญญากู้ยืมเงินตั้งแต่ต้น ไม่มีเจตนาที่จะทำสัญญาขายฝาก การนำโฉนดที่ดินมาวางเป็นเพียงให้จำเลยที่ 1 ยึดถือประกันหนี้เงินกู้ยืมเท่านั้น สัญญาขายฝากที่ทำไว้จึงเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินและตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ต้องบังคับตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง
แม้การขายฝากที่ดินจะตกเป็นโมฆะ ต้องเพิกถอนสัญญาขายฝาก เป็นผลให้ที่ดินพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ได้ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ไปก่อนแล้ว ซึ่งจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่ารับโอนที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนแล้ว ประกอบกับโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยไม่สุจริต และจากทางนำสืบของโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 จะได้รู้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ได้มีเจตนาที่จะทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทกันจริง จำเลยที่ 2 จึงเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวง ย่อมได้รับคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ตอนท้าย โจทก์จึงไม่อาจเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้
แม้การขายฝากที่ดินจะตกเป็นโมฆะ ต้องเพิกถอนสัญญาขายฝาก เป็นผลให้ที่ดินพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ได้ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ไปก่อนแล้ว ซึ่งจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่ารับโอนที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนแล้ว ประกอบกับโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยไม่สุจริต และจากทางนำสืบของโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 จะได้รู้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ได้มีเจตนาที่จะทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทกันจริง จำเลยที่ 2 จึงเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวง ย่อมได้รับคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ตอนท้าย โจทก์จึงไม่อาจเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9284/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของโรงแรมต่อทรัพย์สินของแขกที่สูญหาย: จำกัดความรับผิดไว้ที่ 500 บาท หากไม่ได้ฝากทรัพย์สิน
โจทก์ สามี และบุตรเข้าพักที่โรงแรมของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจดำเนินการแทน ก่อนนอนโจทก์ได้ถอดตุ้มหูเพชร สร้อยคอทองคำ นาฬิกาข้อมือฝังเพชร เข็มกลัดเพชร วางไว้บนโต๊ะเครื่องแป้ง ตื่นขึ้นมาปรากฏว่าทรัพย์สินต่าง ๆ หายไป รวมราคาทั้งสิ้น 2,920,000 บาท เจ้าพนักงานตำรวจตรวจสอบที่เกิดเหตุแล้วเห็นว่าคนร้ายสามารถเข้าห้องโดยประตูทางเข้าเท่านั้น โจทก์ยืนยันว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยทั้งสามที่ไม่ดูแลกุญแจให้ดีปล่อยให้ใคร ๆ เอากุญแจไปใช้ได้ แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามประมาทเลินเล่ออย่างใดอันทำให้มีผลโดยตรงทำให้ทรัพย์ของโจทก์สูญหาย ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามทำละเมิดต่อโจทก์
ทรัพย์สินของโจทก์ที่หายคือ นาฬิกาเรือนทองฝังเพชร สายสร้อยคอทองคำ เหรียญหลวงพ่อคูณกรอบทองคำล้อมเพชร พระนางพญาเลี่ยมทอง ตุ้มหูเพชร เข็มกลัดเพชร และเงินสด ทรัพย์สินดังกล่าวเกี่ยวด้วยเงิน ทอง ตรา ธนบัตร อัญมณีและของมีค่าอื่น ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 675 วรรคสอง ให้จำกัดความรับผิดไว้เพียง 500 บาท เว้นแต่จะได้ฝากของมีค่าเช่นนี้ไว้แก่เจ้าสำนักและได้บอกราคาแห่งของนั้นชัดแจ้ง โจทก์เป็นคนเดินทางหรือแขกอาศัยเมื่อไม่ฝากของมีค่าไว้ เจ้าสำนักจึงรับผิดเพียง 500 บาท ไม่ว่าของมีค่านั้นผู้เดินทางจะสวมใส่มาโดยเปิดเผยหรือไม่ก็ตามและหาใช่ว่าจะต้องฝากทรัพย์สินเฉพาะผู้ลงทะเบียนเข้าพักในโรงแรมไม่
ทรัพย์สินของโจทก์ที่หายคือ นาฬิกาเรือนทองฝังเพชร สายสร้อยคอทองคำ เหรียญหลวงพ่อคูณกรอบทองคำล้อมเพชร พระนางพญาเลี่ยมทอง ตุ้มหูเพชร เข็มกลัดเพชร และเงินสด ทรัพย์สินดังกล่าวเกี่ยวด้วยเงิน ทอง ตรา ธนบัตร อัญมณีและของมีค่าอื่น ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 675 วรรคสอง ให้จำกัดความรับผิดไว้เพียง 500 บาท เว้นแต่จะได้ฝากของมีค่าเช่นนี้ไว้แก่เจ้าสำนักและได้บอกราคาแห่งของนั้นชัดแจ้ง โจทก์เป็นคนเดินทางหรือแขกอาศัยเมื่อไม่ฝากของมีค่าไว้ เจ้าสำนักจึงรับผิดเพียง 500 บาท ไม่ว่าของมีค่านั้นผู้เดินทางจะสวมใส่มาโดยเปิดเผยหรือไม่ก็ตามและหาใช่ว่าจะต้องฝากทรัพย์สินเฉพาะผู้ลงทะเบียนเข้าพักในโรงแรมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7133/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความสูญหาย/เสียหายของสินค้า และอายุความฟ้องร้อง
ในการขนส่งสินค้าทางทะเลนั้น ใบตราส่งเป็นหลักฐานสำคัญอย่างหนึ่งที่แสดงว่าผู้ใดเป็นผู้ขนส่งสินค้าดังกล่าว เพราะเป็นเอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับของที่ส่ง จุดหมายปลายทาง ชื่อและที่อยู่ของผู้ส่งตามที่ระบุไว้ในใบกำกับสินค้า นอกจากนี้ยังกำหนดรายละเอียดถึงชื่อหรือยี่ห้อของผู้ส่ง จำนวนค่าระวาง พาหนะ สถานที่และวันที่ออกใบตราส่ง และลายมือชื่อผู้ขนส่งด้วย จำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการเดินเรือและดำเนินการพาณิชย์ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศและในต่างประเทศ เมื่อใบตราส่งมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นใบตราส่งของจำเลย แม้จะปรากฏชื่อบริษัทย.ประทับไว้ และมีลายมือชื่อผู้จัดการอยู่ใต้ข้อความที่ระบุว่า "กรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่น วันที่ 19 มิถุนายน 2532" อันเป็นสถานที่และวันที่ออกใบตราส่งแต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าบริษัท ย.เป็นผู้มีหน้าที่ออกใบตราส่งและเมื่อการสั่งซื้อสินค้ารายพิพาทผู้ขายได้ว่าจ้างจำเลยเป็นผู้ขนส่งโดยทางเรือดังนั้น ที่ปรากฏชื่อบริษัท ย. และลายมือชื่อผู้จัดการในใบตราส่งดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่บริษัท ย.โดยผู้จัดการลงชื่อในฐานะผู้ร่วมขนส่งเพื่อแสดงว่าใบตราส่งนั้นได้ออกที่ใดและเมื่อใดเท่านั้น กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยและบริษัท ย.ร่วมกันขนส่งสินค้ารายพิพาท
การขนส่งสินค้ารายพิพาทแม้เรือที่ขนส่งเข้าเทียบท่าแล้ว แต่ก่อนที่ผู้รับตราส่งจะรับมอบสินค้าจากนายเรือไป ยังมีขั้นตอนต่อไปคือ การตรวจสอบจำนวนเพื่อให้ตรงกับใบตราส่ง และตรวจสอบความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งในการที่สินค้ารายพิพาทสูญหายหรือบุบสลายคงมีอยู่ตลอดเวลาที่การตรวจสอบสินค้านั้นยังไม่เสร็จสิ้น การที่เรือขนส่งสินค้ารายพิพาทเข้าเทียบท่าและผู้รับตราส่งรับสินค้ามาเพื่อตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่ามีสินค้าขาดจำนวนไปเช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าผู้รับตราส่งได้รับเอาของไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อนอันจะทำให้ความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งสิ้นสุดลง เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ชำระค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัทดังกล่าวมาเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินค่าสินไหมทดแทนจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
แม้เรือจะขนสินค้ารายพิพาทมาถึงเมืองท่าปลายทางเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2532 และผู้รับตราส่งขอรับสินค้าในวันดังกล่าว แต่ก็ยังมีขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติต่อไปคือการตรวจสอบจำนวนและคุณภาพของสินค้าเพื่อให้ตรงกับใบตราส่ง รวมทั้งตรวจสอบความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าด้วย ดังนี้ ตราบใดที่ผู้รับสินค้ายังตรวจสอบสินค้าเพื่อรับมอบสินค้าไม่เสร็จสิ้นจะถือว่าได้มีการส่งมอบหรือควรจะได้ส่งมอบสินค้าแล้วหาได้ไม่ เมื่อผู้รับตราส่งตรวจสอบและรับมอบสินค้าเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2532 อายุความฟ้องร้องผู้ขนส่งให้รับผิดในกรณีที่ของสูญหายหรือบุบสลายจึงต้องเริ่มนับจากวันตรวจสอบและรับมอบสินค้าเสร็จสิ้นดังกล่าวเป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่3 กรกฎาคม 2533 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 624 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทสำหรับกรณีที่ยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยรับขนของทางทะเล และไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเช่นว่านั้นใช้บังคับในขณะนั้น
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจำนวน 279,088.29 บาทซึ่งจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 6,977.50 บาท แต่ศาลชั้นต้นคิดคำนวณดอกเบี้ยนับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยยื่นฎีการวมเข้าไปเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจำนวน 346,313.22 บาท ด้วย และให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน 8,657.50 บาท จำเลยจึงชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมา 1,680 บาท ศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงินที่ชำระเกินมาดังกล่าวแก่จำเลยได้
การขนส่งสินค้ารายพิพาทแม้เรือที่ขนส่งเข้าเทียบท่าแล้ว แต่ก่อนที่ผู้รับตราส่งจะรับมอบสินค้าจากนายเรือไป ยังมีขั้นตอนต่อไปคือ การตรวจสอบจำนวนเพื่อให้ตรงกับใบตราส่ง และตรวจสอบความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งในการที่สินค้ารายพิพาทสูญหายหรือบุบสลายคงมีอยู่ตลอดเวลาที่การตรวจสอบสินค้านั้นยังไม่เสร็จสิ้น การที่เรือขนส่งสินค้ารายพิพาทเข้าเทียบท่าและผู้รับตราส่งรับสินค้ามาเพื่อตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่ามีสินค้าขาดจำนวนไปเช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าผู้รับตราส่งได้รับเอาของไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อนอันจะทำให้ความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งสิ้นสุดลง เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ชำระค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัทดังกล่าวมาเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินค่าสินไหมทดแทนจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
แม้เรือจะขนสินค้ารายพิพาทมาถึงเมืองท่าปลายทางเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2532 และผู้รับตราส่งขอรับสินค้าในวันดังกล่าว แต่ก็ยังมีขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติต่อไปคือการตรวจสอบจำนวนและคุณภาพของสินค้าเพื่อให้ตรงกับใบตราส่ง รวมทั้งตรวจสอบความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าด้วย ดังนี้ ตราบใดที่ผู้รับสินค้ายังตรวจสอบสินค้าเพื่อรับมอบสินค้าไม่เสร็จสิ้นจะถือว่าได้มีการส่งมอบหรือควรจะได้ส่งมอบสินค้าแล้วหาได้ไม่ เมื่อผู้รับตราส่งตรวจสอบและรับมอบสินค้าเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2532 อายุความฟ้องร้องผู้ขนส่งให้รับผิดในกรณีที่ของสูญหายหรือบุบสลายจึงต้องเริ่มนับจากวันตรวจสอบและรับมอบสินค้าเสร็จสิ้นดังกล่าวเป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่3 กรกฎาคม 2533 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 624 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทสำหรับกรณีที่ยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยรับขนของทางทะเล และไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเช่นว่านั้นใช้บังคับในขณะนั้น
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจำนวน 279,088.29 บาทซึ่งจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 6,977.50 บาท แต่ศาลชั้นต้นคิดคำนวณดอกเบี้ยนับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยยื่นฎีการวมเข้าไปเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจำนวน 346,313.22 บาท ด้วย และให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน 8,657.50 บาท จำเลยจึงชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมา 1,680 บาท ศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงินที่ชำระเกินมาดังกล่าวแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าทดแทนจากการแสดงตนเป็นชู้สาวต่อเนื่อง และสิทธิเรียกร้องค่าทดแทน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ได้แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่ามีความสัมพันธ์กับสามีโจทก์ในทำนองชู้สาว มาตั้งแต่ปี 2518 ตลอดมาจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ ลักษณะการกระทำของจำเลยที่ 1 ได้กระทำต่อเนื่องกันมายังมิได้หยุดการกระทำ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1529
โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1523 วรรคสองได้ โดยไม่จำต้องคำนึงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงหย่ากันเองหรือศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคแรก หรือไม่
โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1523 วรรคสองได้ โดยไม่จำต้องคำนึงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงหย่ากันเองหรือศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคแรก หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินผิดพลาด & ครอบครองปรปักษ์: สิทธิของเจ้าของเดิมยังคงมีผล แม้ชื่อในโฉนดผิดพลาด
โจทก์และจำเลยต่างเป็นเจ้าของที่ดินคนละแปลง ซึ่งเดิมเป็นของเจ้าของคนเดียวกัน ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์กันมาหลายทอด โดยโอนโฉนดไขว้สับกันด้วยความเข้าใจผิด.แต่โจทก์ได้ครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินถูกต้องตลอดมา ดังนี้ แม้จำเลยจะมีชื่อในโฉนด ก็จะอ้างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งจำเลยมิได้มีเจตนารับโอนหาได้ไม่ โจทก์ย่อมขอให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดแลกเปลี่ยนกันและจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงให้ถูกต้องตรงตามความจริงได้