คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 172

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 375 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2048/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้หลังอายุความสิ้นสุด และผลกระทบต่อการยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้
การรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 นั้น ต้องกระทำกันขึ้นก่อนที่กำหนดอายุความนั้นจะสิ้นสุดลง ส่วนการรับสภาพหนี้ที่กระทำหลังจากอายุความสิ้นสุดลงแล้วนั้นถือว่าลูกหนี้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความนั้นแล้วตามมาตรา 192 จะยกเอาอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้อีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความและการรับสภาพหนี้ด้วยวาจาไม่ผูกพันทางกฎหมาย
การที่จำเลยขอผัดชำระหนี้ด้วยวาจาหรือยอมรับด้วยวาจาต่อหน้าผู้อื่นว่าเป็นหนี้โจทก์และจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ด้วยกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่าจำเลยยอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์อันจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172
โจทก์ผู้เป็นพ่อค้าใช้สิทธิเรียกร้องราคาสินค้าจากจำเลยเกินกว่าสองปีนับแต่วันส่งมอบคดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 868/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเงินกู้เบิกเกินบัญชี: สัญญาเดิมมีผลบังคับใช้ ธนาคารเพิ่มดอกเบี้ยโดยไม่แจ้งจำเลยไม่มีสิทธิ
จำเลยมีสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ โดยโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยร้อยละ 12 ครึ่งต่อปีนับแต่จำเลยเริ่มเบิกเงินเกินบัญชี พร้อมกันนั้นจำเลยได้ทำสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลย ในสัญญาจำนองระบุว่าจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ร้อยละ 14ต่อปี ดังนี้ สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นหนี้ประธานส่วนหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันเป็นหนี้อุปกรณ์ แม้ในสัญญาจำนองจำเลยจะตกลงเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ร้อยละ 14 ต่อปี ก็มิใช่ว่าจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ร้อยละ 14 ต่อปีเสมอไป จำเลยจะรับผิดเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ตามสัญญาอุปกรณ์เพียงใดต้องดูข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นหนี้ประธาน เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีร้อยละ 12 ครึ่งตลอดมา ดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นหนี้ประธาน การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารให้กู้จากอัตราเดิมร้อยละ 14 ต่อปีเป็นร้อยละ 15ต่อปี เป็นเพียงให้ธนาคารโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเท่านั้น ไม่ทำให้ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยระหว่างโจทก์จำเลยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นหนี้ประธานเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น การที่โจทก์เพิ่มดอกเบี้ยเงินกู้จากร้อยละ 12 ครึ่ง มาเป็นร้อยละ 14 ต่อปีโดยพลการมิได้แจ้งให้จำเลยทราบและตกลงด้วยนั้นจึงไม่มีสิทธิที่จะทำได้
โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและบอกกล่าวบังคับจำนองกับจำเลย สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นอันสิ้นสุดลงนับแต่วันที่จำเลยได้รับคำบอกกล่าว การที่จำเลยขอให้โจทก์ยกเลิกหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้และบังคับจำนอง และขอให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไปนับแต่วันครบตามหนังสือบอกกล่าวของโจทก์นั้น เป็นเพียงคำเสนอขอให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไป ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่บัญชีเดินสะพัดของจำเลยสิ้นสุดลงแล้ว การที่โจทก์เพียงแต่รับหนังสือดังกล่าวของจำเลยไว้โดยไม่ได้ตอบสนองคำเสนอของจำเลย จึงหาทำให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไปไม่ การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีอีกหลายครั้ง แต่ไม่มีสิทธิจะเบิกเงินจากโจทก์ได้อีกการนำเงินเข้าบัญชีดังกล่าวมีผลเพียงเป็นการผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เท่านั้น เพราะมีแต่การหักทอนบัญชีหนี้บางส่วนของจำเลยลงฝ่ายเดียว หาได้เป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์จำเลยตกลงกันให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยยังคงมีอยู่ต่อไปไม่
โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลย แต่โจทก์ได้คิดดอกเบี้ยทบต้นแล้วแจ้งยอดจำนวนหนี้ให้จำเลยทราบจำเลยได้รับสภาพหนี้ตามจำนวนที่โจทก์แจ้งไปนั้น หามีผลให้จำเลยต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่จำเลยรับสภาพหนี้ไว้ไม่ เพราะการรับสภาพหนี้จะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีหนี้ไว้ไม่ เพราะการรับสารภาพหนี้จะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีหนี้ต่อกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 868/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเงินกู้ที่เพิ่มขึ้นโดยพลการหลังมีข้อตกลงเดิม และผลของการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด
จำเลยมีสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ โดยโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยร้อยละ 12 ครึ่งต่อปีนับแต่จำเลยเริ่มเบิกเงินเกินบัญชี พร้อมกันนั้นจำเลยได้ทำสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลย ในสัญญาจำนองระบุว่าจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ร้อยละ 14ต่อปี ดังนี้ สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นหนี้ประธานส่วนหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันเป็นหนี้อุปกรณ์ แม้ในสัญญาจำนองจำเลยจะตกลงเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ร้อยละ 14 ต่อปี ก็มิใช่ว่าจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ร้อยละ 14 ต่อปีเสมอไป จำเลยจะรับผิดเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ตามสัญญาอุปกรณ์เพียงใดต้องดูข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นหนี้ประธาน เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีร้อยละ 12 ครึ่งตลอดมา ดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นหนี้ประธาน การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารให้กู้จากอัตราเดิมร้อยละ 14 ต่อปีเป็นร้อยละ 15ต่อปี เป็นเพียงให้ธนาคารโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเท่านั้น ไม่ทำให้ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยระหว่างโจทก์จำเลยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นหนี้ประธานเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น การที่โจทก์เพิ่มดอกเบี้ยเงินกู้จากร้อยละ 12 ครึ่ง มาเป็นร้อยละ 14 ต่อปีโดยพลการมิได้แจ้งให้จำเลยทราบและตกลงด้วยนั้นจึงไม่มีสิทธิที่จะทำได้
โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและบอกกล่าวบังคับจำนองกับจำเลย สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นอันสิ้นสุดลงนับแต่วันที่จำเลยได้รับคำบอกกล่าว การที่จำเลยขอให้โจทก์ยกเลิกหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้และบังคับจำนอง และขอให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไปนับแต่วันครบตามหนังสือบอกกล่าวของโจทก์นั้น เป็นเพียงคำเสนอขอให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไป ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่บัญชีเดินสะพัดของจำเลยสิ้นสุดลงแล้ว การที่โจทก์เพียงแต่รับหนังสือดังกล่าวของจำเลยไว้โดยไม่ได้ตอบสนองคำเสนอของจำเลย จึงหาทำให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไปไม่ การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีอีกหลายครั้ง แต่ไม่มีสิทธิจะเบิกเงินจากโจทก์ได้อีกการนำเงินเข้าบัญชีดังกล่าวมีผลเพียงเป็นการผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เท่านั้น เพราะมีแต่การหักทอนบัญชีหนี้บางส่วนของจำเลยลงฝ่ายเดียว หาได้เป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์จำเลยตกลงกันให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยยังคงมีอยู่ต่อไปไม่
โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลย แต่โจทก์ได้คิดดอกเบี้ยทบต้นแล้วแจ้งยอดจำนวนหนี้ให้จำเลยทราบจำเลยได้รับสภาพหนี้ตามจำนวนที่โจทก์แจ้งไปนั้น หามีผลให้จำเลยต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่จำเลยรับสภาพหนี้ไว้ไม่ เพราะการรับสภาพหนี้จะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีหนี้ไว้ไม่ เพราะการรับสารภาพหนี้จะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีหนี้ต่อกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2829/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการเวนคืนที่ดิน: หนังสือตอบรับไม่ใช่การรับสภาพหนี้
โจทก์มีหนังสือทวงถามเงินทดแทนค่าที่ดินที่ถูกเวนคืนกรมชลประทานจำเลยตอบหนังสือมีความสำคัญว่าเรื่องที่โจทก์ร้องขอให้พิจารณาค่าที่ดินที่ถูกเวนคืนนั้น คณะกรรมการได้บันทึกไว้แล้วเมื่อจะนัดประชุมไกล่เกลี่ยราษฎรเมื่อใด จะได้แจ้งให้โจทก์ทราบ เพื่อมาตกลงกับคณะกรรมการต่อไปไม่มีข้อความตอนใดที่รับว่าเป็นหนี้โจทก์ จึงไม่เป็นหนังสือรับสภาพหนี้โจทก์ทราบหนังสือฉบับนี้เมื่อ พ.ศ.2510 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อ พ.ศ.2522 เป็นเวลาเกินกว่าสิบปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้บัญชีเดินสะพัดและการรับสภาพหนี้ การนำเงินเข้าบัญชีตัดหนี้และผลต่ออายุความ
จำเลยกู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีเป็นการตัดทอนหนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยตามลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัด ถือได้ว่าจำเลยรับสภาพต่อโจทก์โดยใช้เงินให้บางส่วน หรือด้วยส่งดอกเบี้ยอายุความย่อมสะดุดหยุดลงทุกครั้งที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2504/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี: การนำเงินเข้าบัญชีถือเป็นการรับสภาพหนี้ ทำให้ระยะอายุความสะดุดหยุดลง
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ มีข้อความ ว่าจะชำระหนี้เมื่อทวงถาม ปกติย่อมต้องฟ้องคดีภายใน10 ปี นับแต่ วันที่กู้เพราะอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป แต่นับแต่ วันทำสัญญา จำเลยได้นำเงินเข้าและเบิกเงินจากบัญชีตลอดมาการนำ เงินเข้าบัญชีเป็นการตัดทอนหนี้สินระหว่างโจทก์จำเลยตามลักษณะของบัญชีเดินสะพัดถือได้ว่าจำเลยรับสภาพต่อโจทก์ด้วยใช้เงินให้บางส่วน หรือด้วยส่งดอกเบี้ย อายุความย่อมสะดุดหยุดลงทุกครั้งที่นำเงินเข้าบัญชี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 ปรากฏว่านับจากวันที่ จำเลยนำเงินเข้าบัญชีครั้งสุดท้ายถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์ จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2438/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้จากการสลักหลังเช็คและมอบอำนาจให้รับชำระหนี้ ถือเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172
ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนต่อหลักฐานในสำนวน เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
จำเลยสลักหลังเช็คของผู้อื่นมอบให้โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ ต่อมาธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยจึงทำหนังสือมอบอำนาจโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีอยู่ต่อผู้อื่นให้โจทก์เพื่อไปรับชำระหนี้ดังกล่าว ดังนี้ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2438/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้จากการสลักหลังเช็คและมอบอำนาจให้รับเงินจากลูกหนี้ของจำเลย ถือเป็นการรับสภาพหนี้ตามกฎหมาย
ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนต่อหลักฐานในสำนวน เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
จำเลยสลักหลังเช็คของผู้อื่นมอบให้โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ ต่อมาธนาคารปฏิเสธว่าจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยจึงทำหนังสือมอบอำนาจโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีต่อผู้อื่นให้โจทก์เพื่อไปรับชำระหนี้ดังกล่าว ดังนี้ ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1791/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเกี่ยวกับสัญญาเช่าสร้างอาคารหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต สิทธิและหน้าที่ตกเป็นของกองมรดก
สัญญาเช่าที่ดินเพื่อสร้างอาคารที่โจทก์ทำไว้กับเจ้ามรดกนั้น เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรม สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาย่อมตกเป็นกองมรดกของเจ้ามรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 โจทก์ต้องฟ้องคดีเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าสร้างอาคารดังกล่าวภายใน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่กรรม ตามมาตรา 1754
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกเคยฟ้อง บ. ผู้เช่าสร้างอาคารอีกรายหนึ่ง ไม่ให้เข้าไปทำการก่อสร้างในที่พิพาท และเคยเรียกโจทก์กับ บ. มาไกล่เกลี่ยเพื่อให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้สร้างอาคารในที่พิพาท ถือไม่ได้ว่า จำเลยหรือกองมรดกยอมรับรู้สิทธิของโจทก์ ตามสัญญาเช่าสร้างอาคาร อันจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง
of 38