พบผลลัพธ์ทั้งหมด 375 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโจทก์, หนังสือรับสภาพหนี้, อายุความ 2 ปีสำหรับค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ
โจทก์วางระเบียบให้พูดวิทยุโทรศัพท์ไปต่างประเทศจากบ้านของผู้ติดตั้งโทรศัพท์ได้ โดยให้ผู้เช่าโทรศัพท์นำเงินค่าธรรมเนียมการใช้วิทยุโทรศัพท์มาชำระภายหลังองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยติดตั้งเครื่องโทรศัพท์ที่บ้านจำเลยตามคำขอของจำเลย จำเลยให้องค์การยูซ่อมเช่าบ้านพร้อมโทรศัพท์ แสดงว่าจำเลยยินยอมให้พนักงานองค์การยูซ่อมใช้เครื่องโทรศัพท์พูดวิทยุโทรศัพท์ไปต่างประเทศได้ด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยใช้เงินค่าธรรมเนียมที่พนักงานองค์การยูซ่อมใช้เครื่องโทรศัพท์ดังกล่าวพูดวิทยุทางไกลไปต่างประเทศ
จำเลยมีหนังสือถึงผู้ช่วยผู้อำนวยการกองบัญชีของโจทกว่า จำเลยเข้าใจว่าเป็นการใช้โทรศัพท์ทางไกลข้ามทวีปของผู้เคยอาศัยอยู่ในบ้านจำเลยซึ่งย้ายออกไปแล้ว จำเลยได้มอบเรื่องราวให้องค์การยูซ่อมเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมมามอบให้แก่ส่วนการบัญชีและการเงินของโจทก์แล้ว ได้ผลประการใดจะแจ้งให้ทราบอีกทีหนังสือดังกล่าวไม่มีข้อความแสดงให้เห็นว่าจำเลยรับว่าเป็นหนี้โจทก์และมีเจตนาจะใช้หนี้โดยไม่มีข้อโต้แย้ง จึงไม่เป็นหนังสือรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
แม้โจทก์จะเป็นกรมในรัฐบาลมีหน้าที่จัดการสื่อสาร การไปรษณีย์โทรเลขวิทยุเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนก็ดี แต่ผู้ใช้เครื่องโทรศัพท์พูดทางไกลไปต่างประเทศโดยผ่านเครื่องวิทยุโทรศัพท์ของโจทก์จะต้องเสียเงินค่าธรรมเนียมในการใช้ทุกครั้งเงินค่าธรรมเนียมคือสินจ้าง ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้ารับทำการงานเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7) จึงมีอายุความ 2 ปี
จำเลยมีหนังสือถึงผู้ช่วยผู้อำนวยการกองบัญชีของโจทกว่า จำเลยเข้าใจว่าเป็นการใช้โทรศัพท์ทางไกลข้ามทวีปของผู้เคยอาศัยอยู่ในบ้านจำเลยซึ่งย้ายออกไปแล้ว จำเลยได้มอบเรื่องราวให้องค์การยูซ่อมเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมมามอบให้แก่ส่วนการบัญชีและการเงินของโจทก์แล้ว ได้ผลประการใดจะแจ้งให้ทราบอีกทีหนังสือดังกล่าวไม่มีข้อความแสดงให้เห็นว่าจำเลยรับว่าเป็นหนี้โจทก์และมีเจตนาจะใช้หนี้โดยไม่มีข้อโต้แย้ง จึงไม่เป็นหนังสือรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
แม้โจทก์จะเป็นกรมในรัฐบาลมีหน้าที่จัดการสื่อสาร การไปรษณีย์โทรเลขวิทยุเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนก็ดี แต่ผู้ใช้เครื่องโทรศัพท์พูดทางไกลไปต่างประเทศโดยผ่านเครื่องวิทยุโทรศัพท์ของโจทก์จะต้องเสียเงินค่าธรรมเนียมในการใช้ทุกครั้งเงินค่าธรรมเนียมคือสินจ้าง ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้ารับทำการงานเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7) จึงมีอายุความ 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1756/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความและการสะดุดหยุดของอายุความจากการยอมรับหนี้ การชำระหนี้ด้วยทรัพย์สิน
จำเลยจ้างโจทก์ซึ่งมีอาชีพเป็นทนายความให้จัดการขอแบ่งทรัพย์สินของผู้ตายจากผู้จัดการมรดกให้จำเลยโดยตกลงจะให้ค่าจ้างเป็นเงิน โจทก์จัดการจนสำเร็จก่อนครบกำหนดสองปีนับแต่วันที่ผลงานเสร็จ จำเลยไม่มีเงินสด จึงจะโอนตึกแถวพร้อมที่ดินให้โจทก์แทนเงินค่าจ้าง และมอบให้บุตรของจำเลยไปจัดการ เมื่อจำเลยไปอวยพรปีใหม่และโจทก์ถามถึงค่าจ้าง จำเลยก็บอกให้โจทก์ทราบ ดังนี้ เป็นการกระทำอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่า ยอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องนั้น อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 ตั้งแต่วันขึ้นปีใหม่ โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างนับจากวันหลังขึ้นปีใหม่ถึงวันฟ้องยังไม่เกินสองปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1756/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้างทนายความ: การยอมรับหนี้ใหม่ทำให้สะดุดหยุดอายุความเดิม
จำเลยจ้างโจทก์ซึ่งมีอาชีพเป็นทนายความให้จัดการขอแบ่งทรัพย์สินของผู้ตายจากผู้จัดการมรดกให้จำเลยโดยตกลงจะให้ค่าจ้างเป็นเงิน โจทก์จัดการจนสำเร็จก่อนครบกำหนดสองปีนับแต่วันที่ผลงานเสร็จ จำเลยไม่มีเงินสด จึงจะโอนตึกแถวพร้อมที่ดินให้โจทก์แทนเงินค่าจ้าง และมอบให้บุตรของจำเลยไปจัดการ เมื่อจำเลยไปอวยพรปีใหม่และโจทก์ถามถึงค่าจ้าง จำเลยก็บอกให้โจทก์ทราบ ดังนี้ เป็นการกระทำอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่า ยอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องนั้น อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 ตั้งแต่วันขึ้นปีใหม่โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างนับจากวันหลังขึ้นปีใหม่ถึงวันฟ้องยังไม่เกินสองปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้เกี่ยวข้องกับการประเมินภาษีเงินได้ การยึดทรัพย์เพื่อชำระภาษี และอายุความของสิทธิเรียกร้องภาษี
โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องแล้วว่ามีเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นรวมอยู่ในเงินได้สุทธิที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินเรียกเก็บจากโจทก์ แม้โจทก์จะมิได้กล่าวถึงรายละเอียดว่าเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 47 แต่ละข้อมีจำนวนเท่าใด ก็ไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม เพราะหนังสือแจ้งการประเมินของจำเลยก็มิได้แยกประเภทเงินได้ให้โจทก์ทราบ โจทก์จึงไม่สามารถจะบรรยายฟ้องได้ถูกต้อง
โจทก์ไม่เคยยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้เป็นเวลา 10 ปี ซึ่งตลอดเวลาดังกล่าวโจทก์มีเงินได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ย่อมเป็นการยากที่เจ้าพนักงานประเมินจะแยกประเภทเงินได้พึงประเมินของโจทก์ว่าอยู่ประเภทใด และโจทก์เองก็ไม่อาจชี้แจงได้ทั้งหมด ดังนั้น เจ้าพนักงานประเมินย่อมใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 49 กำหนดเงินได้สุทธิของโจทก์นั้น โดยถือเอาเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามาอยู่ในครอบครองของโจทก์มาเป็นหลักในการประเมินได้ แต่การประเมินตามมาตรา 49 นี้ จะใช้จำนวนเงินได้สุทธิที่กำหนดขึ้นดังกล่าวมาคิดคำนวณเอากับโจทก์เสียทีเดียวหาได้ไม่ จะต้องนึกถึงว่าเงินสุทธินั้นอยู่ในประเภทเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หรือไม่ มีเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42หรือไม่ ทั้งยังต้องหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ,43,44,45, และ 47 เสียก่อน
เงินค่าขายที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับการยกเว้น ตามมาตรา 42(4) ส่วนเงินที่บริษัท ด. ให้โจทก์เพื่อที่จะได้รับทำการวางท่อน้ำประปา เนื่องจากโจทก์เป็นแม่ยายของผู้มีอิทธิพลในวงการเมืองและวงราชการ ถือว่าเป็นเงินได้จากการอื่นพึงประเมินตามมาตรา 40(8) ไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 42 สำหรับเงินที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการใช้หนี้เงินยืม ไม่เป็นเงินพึงประเมินตามมาตรา 40(8)
เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยใช้วิธีประเมินตามมาตรา 49 และถือหลักการพิจารณาจากเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิหรือเข้ามาอยู่ในความครอบครองของโจทก์ ดังนั้น ยอดเงินบริจารค่าการกุศลอันเป็นเงินที่โจทก์จ่ายออกไปแล้ว จึงเอามากำหนดเป็นเงินได้สุทธิไม่ได้
โจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินสำหรับปีภาษีพ.ศ. 2497 ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2498 เมื่อโจทก์ไม่ยื่นภายในกำหนดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่จะเรียกเก็บภาษีเงินได้จากโจทก์ ย่อมบังคับได้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2498 จำเลยจะต้องเรียกร้องภาษีเอากับโจทก์ภายในวันที่ 1มีนาคม 2508 แต่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งและเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้สำหรับปีภาษี 2497 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2508 เกิน 10 ปีแล้วสิทธิเรียกร้องจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 167
เมื่อโจทก์ไม่เคยยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 23 ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์ 1 เท่าของจำนวนภาษี จึงชอบด้วยมาตรา 26 แล้ว มิใช่ว่าจะต้องรอให้หาเงินได้สุทธิที่แท้จริงเสียก่อนจึงจะพิจารณาปรับเพิ่มภาษีเอาแก่โจทก์ได้ เพราะการเสียเงินเพิ่ม 1 เท่าดังกล่าว คิดจากจำนวนเงินภาษีอากรที่เจ้าพนักงานประเมินจำต้องประเมินใหม่เท่านั้น สำหรับเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามมาตรา 27 นั้น ก็ปรากฏว่าโจทก์ไม่นำเงินภาษีไปชำระภายใน 30 วัน ตามหนังสือแจ้งการประเมิน จำเลยจึงมีคำสั่งให้โจทก์เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ได้ และเงินภาษีที่โจทก์จะต้องชำระหนี้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ตามมาตรา 12 ซึ่งจำเลยที่ 6 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ได้
โจทก์ไม่เคยยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้เป็นเวลา 10 ปี ซึ่งตลอดเวลาดังกล่าวโจทก์มีเงินได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ย่อมเป็นการยากที่เจ้าพนักงานประเมินจะแยกประเภทเงินได้พึงประเมินของโจทก์ว่าอยู่ประเภทใด และโจทก์เองก็ไม่อาจชี้แจงได้ทั้งหมด ดังนั้น เจ้าพนักงานประเมินย่อมใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 49 กำหนดเงินได้สุทธิของโจทก์นั้น โดยถือเอาเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามาอยู่ในครอบครองของโจทก์มาเป็นหลักในการประเมินได้ แต่การประเมินตามมาตรา 49 นี้ จะใช้จำนวนเงินได้สุทธิที่กำหนดขึ้นดังกล่าวมาคิดคำนวณเอากับโจทก์เสียทีเดียวหาได้ไม่ จะต้องนึกถึงว่าเงินสุทธินั้นอยู่ในประเภทเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หรือไม่ มีเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42หรือไม่ ทั้งยังต้องหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ,43,44,45, และ 47 เสียก่อน
เงินค่าขายที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับการยกเว้น ตามมาตรา 42(4) ส่วนเงินที่บริษัท ด. ให้โจทก์เพื่อที่จะได้รับทำการวางท่อน้ำประปา เนื่องจากโจทก์เป็นแม่ยายของผู้มีอิทธิพลในวงการเมืองและวงราชการ ถือว่าเป็นเงินได้จากการอื่นพึงประเมินตามมาตรา 40(8) ไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 42 สำหรับเงินที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการใช้หนี้เงินยืม ไม่เป็นเงินพึงประเมินตามมาตรา 40(8)
เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยใช้วิธีประเมินตามมาตรา 49 และถือหลักการพิจารณาจากเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิหรือเข้ามาอยู่ในความครอบครองของโจทก์ ดังนั้น ยอดเงินบริจารค่าการกุศลอันเป็นเงินที่โจทก์จ่ายออกไปแล้ว จึงเอามากำหนดเป็นเงินได้สุทธิไม่ได้
โจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินสำหรับปีภาษีพ.ศ. 2497 ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2498 เมื่อโจทก์ไม่ยื่นภายในกำหนดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่จะเรียกเก็บภาษีเงินได้จากโจทก์ ย่อมบังคับได้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2498 จำเลยจะต้องเรียกร้องภาษีเอากับโจทก์ภายในวันที่ 1มีนาคม 2508 แต่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งและเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้สำหรับปีภาษี 2497 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2508 เกิน 10 ปีแล้วสิทธิเรียกร้องจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 167
เมื่อโจทก์ไม่เคยยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 23 ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์ 1 เท่าของจำนวนภาษี จึงชอบด้วยมาตรา 26 แล้ว มิใช่ว่าจะต้องรอให้หาเงินได้สุทธิที่แท้จริงเสียก่อนจึงจะพิจารณาปรับเพิ่มภาษีเอาแก่โจทก์ได้ เพราะการเสียเงินเพิ่ม 1 เท่าดังกล่าว คิดจากจำนวนเงินภาษีอากรที่เจ้าพนักงานประเมินจำต้องประเมินใหม่เท่านั้น สำหรับเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามมาตรา 27 นั้น ก็ปรากฏว่าโจทก์ไม่นำเงินภาษีไปชำระภายใน 30 วัน ตามหนังสือแจ้งการประเมิน จำเลยจึงมีคำสั่งให้โจทก์เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ได้ และเงินภาษีที่โจทก์จะต้องชำระหนี้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ตามมาตรา 12 ซึ่งจำเลยที่ 6 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน, การรับสภาพหนี้, และอายุความในคดีละเมิด
โจทก์มอบให้การไฟฟ้านครหลวงดูแลรักษาซ่อมแซมเสาและโคมไฟฟ้าของโจทก์ที่ติดตั้งตามถนนและชอบ ตลอดจนติดตามเรียกค่าเสียหายจากผู้ขับรถชน จำเลยขับรถยนต์ชนเสาและโคมไฟฟ้าของโจทก์เสียหาย ดังนี้ โจทก์เป็นเจ้าของมีกรรมสิทธิ์ในเสาและโคมไฟฟ้า ย่อมมีอำนาจฟ้องเอาค่าสินไหมทดแทนความเสียหายจากจำเลยได้
หนังสือของจำเลยมิได้กล่าวปฏิเสธหรือโต้แย้งถึงจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนตามที่การไฟฟ้านครหลวงทวงไป แต่บอกให้การไฟฟ้านครหลวงติดต่อกับบริษัทที่จำเลยเอาประกันภัยรถยนต์ไว้ ถ้าขัดข้องจำเลยจะจัดการให้เรียบร้อย ดังนี้ เป็นการรับสภาพหนี้แล้ว
จำเลยทำละเมิดต่อโจทก์เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2516 จำเลยทำหนังสือของวันที่ 22 มกราคม 2517 รับสภาพหนี้ต่อโจทก์ อายุความสะดุดหยุดลงในวันนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2518 ยังอยู่ในอายุความ 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความฟ้องร้อง
หนังสือของจำเลยมิได้กล่าวปฏิเสธหรือโต้แย้งถึงจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนตามที่การไฟฟ้านครหลวงทวงไป แต่บอกให้การไฟฟ้านครหลวงติดต่อกับบริษัทที่จำเลยเอาประกันภัยรถยนต์ไว้ ถ้าขัดข้องจำเลยจะจัดการให้เรียบร้อย ดังนี้ เป็นการรับสภาพหนี้แล้ว
จำเลยทำละเมิดต่อโจทก์เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2516 จำเลยทำหนังสือของวันที่ 22 มกราคม 2517 รับสภาพหนี้ต่อโจทก์ อายุความสะดุดหยุดลงในวันนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2518 ยังอยู่ในอายุความ 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความฟ้องร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน, การรับสภาพหนี้, และอายุความในคดีละเมิด
โจทก์มอบให้การไฟฟ้านครหลวงดูแลรักษาซ่อมแซมเสาและโคมไฟฟ้าของโจทก์ที่ติดตั้งตามถนนและซอย ตลอดจนติดตามเรียกค่าเสียหายจากผู้ขับรถชน จำเลยขับรถยนต์ชนเสาและโคมไฟฟ้าของโจทก์เสียหาย ดังนี้ โจทก์เป็นเจ้าของมีกรรมสิทธิ์ในเสาและโคมไฟฟ้า ย่อมมีอำนาจฟ้องเอาค่าสินไหมทดแทนความเสียหายจากจำเลยได้
หนังสือของจำเลยมิได้กล่าวปฏิเสธหรือโต้แย้งถึงจำนวน เงินค่าสินไหมทดแทนตามที่การไฟฟ้านครหลวงทวงไปแต่บอกให้การไฟฟ้านครหลวงติดต่อกับบริษัทที่จำเลยเอาประกันภัยรถยนต์ไว้ ถ้าขัดข้องจำเลยจะจัดการให้เรียบร้อย ดังนี้เป็นการรับสภาพหนี้แล้ว
จำเลยทำละเมิดต่อโจทก์เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2516 จำเลยทำหนังสือลงวันที่ 22 มกราคม 2517 รับสภาพหนี้ต่อโจทก์อายุความสะดุดหยุดลงในวันนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2518 ยังอยู่ในอายุความ 1 ปีคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความฟ้องร้อง
หนังสือของจำเลยมิได้กล่าวปฏิเสธหรือโต้แย้งถึงจำนวน เงินค่าสินไหมทดแทนตามที่การไฟฟ้านครหลวงทวงไปแต่บอกให้การไฟฟ้านครหลวงติดต่อกับบริษัทที่จำเลยเอาประกันภัยรถยนต์ไว้ ถ้าขัดข้องจำเลยจะจัดการให้เรียบร้อย ดังนี้เป็นการรับสภาพหนี้แล้ว
จำเลยทำละเมิดต่อโจทก์เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2516 จำเลยทำหนังสือลงวันที่ 22 มกราคม 2517 รับสภาพหนี้ต่อโจทก์อายุความสะดุดหยุดลงในวันนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2518 ยังอยู่ในอายุความ 1 ปีคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความฟ้องร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้และการสะดุดหยุดอายุความจากการชำระหนี้เป็นงวดๆ
จำเลยซื้อเชื่อสินค้าของโจทก์ตามใบสั่งของรวม 7 คราว แล้วจึงได้ผ่อนชำระหนี้ให้เป็นครั้งแรก ต่อมาเมื่อซื้อเชื่อครั้งที่ 8 อันเป็นครั้งสุดท้ายแล้วจึงผ่อนชำระให้อีก 2 ครั้ง เงินที่ชำระแต่ละครั้งมีจำนวนไม่เท่ากับราคาของสินค้าที่ปรากฏในใบสั่งของแม้แต่ฉบับเดียว และโจทก์ไม่เคยกำหนดจำนวนเงินที่ชำระมาแล้วให้พอประมาณกับราคาสินค้าในใบส่งของแล้วเลือกคืนใบส่งของแก่จำเลยไปด้วย ตามพฤติการณ์ดังกล่าวรับฟังได้ว่า โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันให้รวมยอดหนี้สินตามใบสั่งของทั้งหมดเป็นหนี้ก่อนเดียวกันแล้วการที่จำเลยชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์รวม 3 ครั้งนั้น เป็นการรับสภาพหนี้โดยใช้เงินให้บางส่วนในหนี้สินรายพิพาทที่ตกลงรวมกันเป็นหนี้ก้อนเดียวแล้ว มีผลให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 อันจะต้องเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่นับแต่เวลานั้น (วันที่ชำระครั้งสุดท้าย) สืบไปตามมาตรา 181 คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความและกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 328 วรรค 2
ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงซึ่งเป็นสารสำคัญในประเด็นที่จะชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายซึ่งคู่ความฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยไปเสียเลยทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240 (3) ประกอบด้วยมาตรา 247
ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงซึ่งเป็นสารสำคัญในประเด็นที่จะชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายซึ่งคู่ความฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยไปเสียเลยทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240 (3) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมหนี้และการรับสภาพหนี้ส่งผลต่ออายุความคดีแพ่ง
จำเลยซื้อเชื่อสินค้าของโจทก์ตามใบสั่งของรวม 7 คราว แล้วจึงได้ผ่อนชำระหนี้ให้เป็นครั้งแรก ต่อมาเมื่อซื้อเชื่อครั้งที่ 8 อันเป็นครั้งสุดท้ายแล้วจึงผ่อนชำระให้อีก 2 ครั้ง เงินที่ชำระแต่ละครั้งมีจำนวนไม่เท่ากับราคาของสินค้าที่ปรากฏในใบสั่งของแม้แต่ฉบับเดียว และโจทก์ไม่เคยกำหนดจำนวนเงินที่ชำระมาแล้วให้พอประมาณกับราคาสินค้าในใบส่งของแล้วเลือกคืนใบส่งของแก่จำเลยไปด้วย ตามพฤติการณ์ดังกล่าวรับฟังได้ว่า โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันให้รวมยอดหนี้สินตามใบสั่งของทั้งหมดเป็นหนี้ก้อนเดียวกันแล้ว การที่จำเลยชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์รวม 3 ครั้งนั้น เป็นการรับสภาพหนี้โดยใช้เงินให้บางส่วนในหนี้สินรายพิพาทที่ตกลงรวมกันเป็นหนี้ก้อนเดียวแล้ว มีผลให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 อันจะต้องเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่นับแต่เวลานั้น (วันที่ชำระครั้งสุดท้าย) สืบไปตามมาตรา 181 คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความและกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 328 วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงซึ่งเป็นสารสำคัญในประเด็นที่จะชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายซึ่งคู่ความฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยไปเสียเลยทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240(3) ประกอบด้วยมาตรา 247
ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงซึ่งเป็นสารสำคัญในประเด็นที่จะชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายซึ่งคู่ความฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยไปเสียเลยทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240(3) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2725/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนังสือรับสภาพหนี้: ฟ้องข้าม 5 ปี คดีขาดอายุความ
ลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพหนี้เงินดอกเบี้ยที่ค้างให้โจทก์ ต่อมาลูกหนี้ตายโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทายาทของลูกหนี้ให้รับผิดต่อโจทก์เกินกว่า 5 ปีนับแต่วันที่ลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้เงินกู้และการรับสภาพหนี้ด้วยการชำระดอกเบี้ยด้วยการให้ทำนา
โจทก์ฟ้องเรียกหนี้เงินกู้ โดยบรรยายปีที่กู้สลับกัน ไม่เรียงลำดับแต่ละปีแต่ได้อ้างเอกสารสำเนาสัญญากู้แต่ละฉบับมาท้ายฟ้อง ตรงกับคำบรรยายฟ้องและไม่ขัดกับเอกสารดังนี้ ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ป.กู้เงินของสามีโจทก์ไป และมอบนาให้ทำกินต่างดอกเบี้ยตลอดมา ต่อมา ป.ตาย จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป.ได้มอบนานั้นให้ทำต่างดอกเบี้ยจนกระทั่งสามีโจทก์ตาย และเมื่อสามีโจทก์ตายแล้ว จำเลยก็มอบนาดังกล่าวให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกของสามีทำนาต่างดอกเบี้ยต่อมาอีก ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติการชำระดอกเบี้ยด้วยการให้ทำนา เป็นการรับสภาพต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องด้วยการส่งดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง (อ้างฎีกาประชุมใหญ่ที่ 159/2513)
หนี้กู้ยืมที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาอันพึงชำระหนี้ไว้นั้น เจ้าหนี้จะฟ้องให้ชำระหนี้ที่ยืมไปโดยไม่ต้องบอกกล่าวก็ได้ (อ้างฎีกาที่ 873/2518)
ป.กู้เงินของสามีโจทก์ไป และมอบนาให้ทำกินต่างดอกเบี้ยตลอดมา ต่อมา ป.ตาย จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป.ได้มอบนานั้นให้ทำต่างดอกเบี้ยจนกระทั่งสามีโจทก์ตาย และเมื่อสามีโจทก์ตายแล้ว จำเลยก็มอบนาดังกล่าวให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกของสามีทำนาต่างดอกเบี้ยต่อมาอีก ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติการชำระดอกเบี้ยด้วยการให้ทำนา เป็นการรับสภาพต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องด้วยการส่งดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง (อ้างฎีกาประชุมใหญ่ที่ 159/2513)
หนี้กู้ยืมที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาอันพึงชำระหนี้ไว้นั้น เจ้าหนี้จะฟ้องให้ชำระหนี้ที่ยืมไปโดยไม่ต้องบอกกล่าวก็ได้ (อ้างฎีกาที่ 873/2518)