พบผลลัพธ์ทั้งหมด 375 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2483/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้และการผ่อนเวลาชำระหนี้ของผู้ค้ำประกัน รวมถึงอำนาจศาลในการรับฟ้องแย้ง
จำเลยเป็นผู้ค้ำประกันลูกหนี้ซึ่งกู้เงินโจทก์ ภายหลังจำเลยได้ทำสัญญารับสภาพหนี้ยอมใช้เงินให้โจทก์ โจทก์มาฟ้องเรียกเงินตามสัญญารับสภาพหนี้นั้น จำเลยจะอ้างแต่เพียงว่าโจทก์ผ่อนเวลาชำระหนี้ให้ลูกหนี้ หาเพียงพอที่จำเลยจะไม่ต้องรับผิดตามสัญญารับสภาพหนี้ไม่และที่จำเลยต่อสู้คดีว่า โจทก์ยอมผ่อนเวลาชำระหนี้ให้จำเลย ก็มิใช่เป็นเรื่องผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 ที่จำเลยจะหลุดพ้นจากความรับผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวง จำเลยฟ้องแย้งเรียกเงินจากโจทก์ 3,850 บาท จำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้องแย้งนั้นไม่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะรับไว้พิจารณาพิพากษาได้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15, 22(4) เพราะทุนทรัพย์เกิน 2,000 บาท จำเลยจึงฟ้องแย้งมาในคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 ไม่ได้
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวง จำเลยฟ้องแย้งเรียกเงินจากโจทก์ 3,850 บาท จำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้องแย้งนั้นไม่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะรับไว้พิจารณาพิพากษาได้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15, 22(4) เพราะทุนทรัพย์เกิน 2,000 บาท จำเลยจึงฟ้องแย้งมาในคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2272/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องตัวแทนรับผิดตามสัญญาตัวแทน ไม่ใช่การเรียกค่าของตามปพพ.มาตรา 165(1)
จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของโจทก์ โดยหาผู้เช่าซื้อมาทำสัญญากับโจทก์โดยตรงและรับรถยนต์ไป ในการนี้จำเลยมีสิทธิได้รับเงินค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 1,000 บาท ต่อรถ 1 คัน และจำเลยหาผู้ใดมาเช่าซื้อ จำเลยต้องทำสัญญาค้ำประกันชดใช้เงินให้แก่โจทก์ในเมื่อผู้เช่าซื้อผิดสัญญาทุกกรณี ส่วนการเก็บเงินค่าเช่าซื้อตามงวด จำเลยเป็นผู้เก็บส่งโจทก์ หากผู้เช่าซื้อผิดสัญญา จำเลยก็ยึดรถที่เช่าซื้อนั้นคืนโจทก์หรือใช้ราคาให้ตามสัญญา ในการนี้โจทก์คิดค่าตอบแทนให้จำเลย 7 เปอร์เซ็นต์ของราคารถ ต่อมาผู้เช่าซื้อรถยนต์บางรายชำระเงินค่าเช่าซื้อไม่ครบ โจทก์ทวงถามอยู่เสมอ จำเลยได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยติดค้างโจทก์ 2 ฉบับ ฉบับแรกเป็นสัญญาชดใช้ค่าสินค้าที่ผู้เช่าซื้อรถยนต์ค้างชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์รวมเป็นเงิน 210,500 บาท ฉบับที่ 2 เป็นสัญญารับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการที่จำเลยไปยึดรถยนต์คืนจากผู้เช่าซื้อที่ผิดสัญญาเช่าซื้อมาแล้วปล่อยให้รถตากแดดตากฝนจนได้รับความเสียหายเป็นเงิน 28,500 บาทกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยยอมรับผิดชำระค่าเช่าซื้อแทนผู้เช่าซื้อที่ค้างชำระอยู่รวมทั้งยอมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ ในฐานะเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์การฟ้องจำเลยตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวเป็นการฟ้องตัวแทนให้รับผิดตามสัญญาตัวแทน หาใช่เป็นเรื่องที่พ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของซึ่งมีอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1951/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความ, การยอมรับสภาพหนี้, และความรับผิดจากความเสียหายจากการก่อสร้าง
จำเลยเริ่มตอกเสาเข็มเมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม 2510 และตอกเสร็จภายในไม่เกินเดือนสิงหาคม 2510 ระหว่างนั้นโจทก์เคยทักท้วงจำเลยให้หาวิธีตอกอย่างอื่นแล้ว ดังนี้ความเสียหายแก่อาคารสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ซึ่งเกิดจากแรงสะเทือนในการตอกเสาเข็มหากจะมีขึ้น โจทก์ย่อมรู้ได้อยู่แล้ว เมื่อจำเลยตอกเสาเข็มเสร็จ โจทก์มายื่นฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2512 คดีโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับความเสียหายอันเกิดจากการตอกเสาเข็มของจำเลยสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้รับสภาพหนี้ จึงขาดอายุความ
โจทก์เคยมีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 แจ้งรายการความเสียหายและให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ต่อมาวันที่ 22 สิงหาคม 2511 จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จัดการจำเลยที่ 2 ตอนรับรองจะทำการซ่อมแซมทรัพย์สินของโจทก์บางรายการ และวันที่ 14 ตุลาคม 2511โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 3 ให้รีบจัดการแก้ไขทรัพย์สินของโจทก์ที่เสียหายให้เรียบร้อยด้วยเอกสารทั้งสามฉบับประกอบกัน ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ยอมรับสภาพหนี้ความเสียหายของโจทก์เท่าที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ ฉบับลงวันที่ 22 สิงหาคม 2511 ของจำเลยแล้วคดีโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงยังไม่ขาดอายุความ
กรณีน้ำเน่าไหลซึมเข้าไปในที่ดินของโจทก์ เกิดขึ้นหลังจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ส่งมอบสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้สอยอาคารที่ปลูกสร้างจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ปลูกสร้างอาคารตามแบบแปลนซึ่งมีบ่อเกรอะสำหรับน้ำเสียไว้แล้ว จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
โจทก์เคยมีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 แจ้งรายการความเสียหายและให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ต่อมาวันที่ 22 สิงหาคม 2511 จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จัดการจำเลยที่ 2 ตอนรับรองจะทำการซ่อมแซมทรัพย์สินของโจทก์บางรายการ และวันที่ 14 ตุลาคม 2511โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 3 ให้รีบจัดการแก้ไขทรัพย์สินของโจทก์ที่เสียหายให้เรียบร้อยด้วยเอกสารทั้งสามฉบับประกอบกัน ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ยอมรับสภาพหนี้ความเสียหายของโจทก์เท่าที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ ฉบับลงวันที่ 22 สิงหาคม 2511 ของจำเลยแล้วคดีโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงยังไม่ขาดอายุความ
กรณีน้ำเน่าไหลซึมเข้าไปในที่ดินของโจทก์ เกิดขึ้นหลังจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ส่งมอบสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้สอยอาคารที่ปลูกสร้างจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ปลูกสร้างอาคารตามแบบแปลนซึ่งมีบ่อเกรอะสำหรับน้ำเสียไว้แล้ว จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1951/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีความเสียหายจากการตอกเสาเข็ม และการยอมรับสภาพหนี้ของผู้รับเหมา
จำเลยเริ่มตอกเสาเข็มเมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม 2510และตอกเสร็จภายในไม่เกินเดือนสิงหาคม 2510 ระหว่างนั้นโจทก์เคยทักท้วงจำเลยให้หาวิธีตอกอย่างอื่นแล้ว ดังนี้ ความเสียหายแก่อาคารสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ซึ่งเกิดจากแรงสะเทือนในการตอกเสาเข็มหากจะมีขึ้น โจทก์ย่อมรู้ได้อยู่แล้ว เมื่อจำเลยตอกเสาเข็มเสร็จ โจทก์มายื่นฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2512 คดีโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับความเสียหายอันเกิดจากการตอกเสาเข็มของจำเลยสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้รับสภาพหนี้ จึงขาดอายุความ
โจทก์เคยมีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 แจ้งรายการความเสียหายและให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ต่อมาวันที่ 22 สิงหาคม 2511จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จัดการจำเลยที่ 2 ตอนรับรองจะทำการซ่อมแซมทรัพย์สินของโจทก์บางรายการ และวันที่ 14 ตุลาคม 2511โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 3 ให้รีบจัดการแก้ไขทรัพย์สินของโจทก์ที่เสียหายให้เรียบร้อยด้วยเอกสารทั้งสามฉบับประกอบกัน ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ยอมรับสภาพหนี้ความเสียหายของโจทก์เท่าที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ ฉบับลงวันที่ 22 สิงหาคม 2511 ของจำเลยแล้วคดีโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงยังไม่ขาดอายุความ
กรณีน้ำเน่าไหลซึมเข้าไปในที่ดินของโจทก์ เกิดขึ้นหลังจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ส่งมอบสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้สอยอาคารที่ปลูกสร้างจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ปลูกสร้างอาคารตามแบบแปลนซึ่งมีบ่อเกรอะสำหรับน้ำเสียไว้แล้ว จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
โจทก์เคยมีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 แจ้งรายการความเสียหายและให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ต่อมาวันที่ 22 สิงหาคม 2511จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จัดการจำเลยที่ 2 ตอนรับรองจะทำการซ่อมแซมทรัพย์สินของโจทก์บางรายการ และวันที่ 14 ตุลาคม 2511โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 3 ให้รีบจัดการแก้ไขทรัพย์สินของโจทก์ที่เสียหายให้เรียบร้อยด้วยเอกสารทั้งสามฉบับประกอบกัน ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ยอมรับสภาพหนี้ความเสียหายของโจทก์เท่าที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ ฉบับลงวันที่ 22 สิงหาคม 2511 ของจำเลยแล้วคดีโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงยังไม่ขาดอายุความ
กรณีน้ำเน่าไหลซึมเข้าไปในที่ดินของโจทก์ เกิดขึ้นหลังจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ส่งมอบสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้สอยอาคารที่ปลูกสร้างจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ปลูกสร้างอาคารตามแบบแปลนซึ่งมีบ่อเกรอะสำหรับน้ำเสียไว้แล้ว จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ค่าซ่อมรถ: สิทธิเรียกร้องเริ่มนับแต่วันปิดบัญชี หากฟ้องเกิน 2 ปี ฟ้องขาดอายุความ
จำเลยได้เปิดบัญชีค่าซ่อมรถรวมทั้งค่าเครื่องอะไหล่รถกับโจทก์ ตั้งแต่ 28 กันยายน 2509 ตลอดมาจนถึงวันที่ 10พฤศจิกายน 2510 โจทก์จึงปิดบัญชีคิดเงิน สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้ดังกล่าวมีกำหนดอายุความ 2 ปี และโจทก์ชอบที่จะใช้บังคับได้ตั้งแต่วันถัดจากวันปิดบัญชีเป็นต้นไป เมื่อไม่ปรากฏว่าหลังจากนั้นจำเลยได้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องนั้น และเมื่อนับถึงวันฟ้องมีระยะเวลาเกินกว่า 2 ปีแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการซ่อมรถและซื้อเครื่องอะไหล่: สิทธิเรียกร้องเริ่มนับจากวันที่ปิดบัญชี
จำเลยได้เปิดบัญชีค่าซ่อมรถรวมทั้งค่าเครื่องอะไหล่รถกับโจทก์ตั้งแต่ 28 กันยายน 2509 ตลอดมาจนถึงวันที่ 10พฤศจิกายน 2510โจทก์จึงปิดบัญชีคิดเงิน สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้ดังกล่าวมีกำหนดอายุความ 2 ปี และโจทก์ชอบที่จะใช้บังคับได้ตั้งแต่วันถัดจากวันปิดบัญชีเป็นต้นไป เมื่อไม่ปรากฏว่าหลังจากนั้นจำเลยได้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องนั้น และเมื่อนับถึงวันฟ้องมีระยะเวลาเกินกว่า 2 ปีแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสะดุดหยุดเมื่อจำเลยวางเงินค่าเช่าต่อศาล แม้รับเงินคืนไปแล้วก็ไม่ทำให้เหตุสะดุดหยุดนั้นสิ้นสุด
ในคดีก่อน โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยฐานผิดนัดไม่ชำระค่าเช่า. จำเลยได้นำเงินค่าเช่าที่ค้างชำระมาวางต่อศาลในคดีนั้นศาลชั้นต้นพิพากษาขับไล่จำเลยและให้ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้จำเลยชนะคดี. ต่อมาโจทก์ขอรับเงินค่าเช่าที่จำเลยนำมาวางต่อศาล ศาลชั้นต้นสั่งให้ไปว่ากล่าวกันเอง จำเลยจึงรับเงินค่าเช่าที่วางไว้นั้นคืนไปจากศาล ดังนี้ ถือว่าการที่จำเลยนำเงินค่าเช่าที่ค้างชำระมาวางศาลโดยยอมรับผิดชดใช้ให้โจทก์นั้นเป็นการกระทำอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่าจำเลยยอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องในเงินค่าเช่าที่ค้างชำระนั้นแล้วอายุความสิทธิเรียกร้องในเงินค่าเช่าที่ค้างชำระนั้นจึงสะดุดหยุดลงตามมาตรา 172 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยรับเงินค่าเช่าที่ค้างชำระนั้นคืนไปจากศาลเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2512 ดังนั้นเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นจึงสุดสิ้นลงในวันที่ 10มีนาคม 2512 จึงต้องเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่แต่เวลานั้นสืบไปตามความในมาตรา 181 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกเงินค่าเช่าที่จำเลยค้างชำระดังกล่าวภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่จำเลยรับเงินไปจากศาลจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสะดุดหยุดเมื่อลูกหนี้วางเงินชำระหนี้ต่อศาล แม้รับเงินคืนไปก็ไม่ทำให้เหตุสะดุดหยุดนั้นเปลี่ยนแปลง
ในคดีก่อน โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยฐานผิดนัดไม่ชำระค่าเช่า. จำเลยได้นำเงินค่าเช่าที่ค้างชำระมาวางต่อศาล ในคดีนั้นศาลชั้นต้นพิพากษาขับไล่จำเลยและให้ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้จำเลยชนะคดี. ต่อมาโจทก์ขอรับเงินค่าเช่าที่จำเลยนำมาวางต่อศาล ศาลชั้นต้นสั่งให้ไปว่ากล่าวกันเอง จำเลยจึงรับเงินค่าเช่าที่วางไว้นั้นคืนไปจากศาล ดังนี้ ถือว่าการที่จำเลยนำเงินค่าเช่าที่ค้างชำระมาวางศาลโดยยอมรับผิดชดใช้ให้โจทก์นั้น เป็นการกระทำอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่าจำเลยยอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องในเงินค่าเช่าที่ค้างชำระนั้นแล้วอายุความสิทธิเรียกร้องในเงินค่าเช่าที่ค้างชำระนั้นจึงสะดุดหยุดลงตามมาตรา 172 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยรับเงินค่าเช่าที่ค้างชำระนั้นคืนไปจากศาลเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2512 ดังนั้นเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นจึงสุดสิ้นลงในวันที่ 10มีนาคม 2512 จึงต้องเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่แต่เวลานั้นสืบไปตามความในมาตรา 181 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกเงินค่าเช่าที่จำเลยค้างชำระดังกล่าวภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่จำเลยรับเงินไปจากศาลจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสะดุดหยุดเมื่อจำเลยลงชื่อใบเบิกเงิน แม้โจทก์จะยังไม่ได้รับเงินในทันที
จำเลยลงชื่อในใบเบิกเงินสำรองล่วงหน้าให้โจทก์ไปรับเงินค่าโฆษณาภาพยนตร์ในเดือนมีนาคม 2510 โดยมิได้ลงวันที่หมายความว่าโจทก์จะนำใบเบิกดังกล่าวไปเบิกเงินในวันใดภายในเดือนมีนาคม 2510. แม้จะเป็นวันสุดท้ายของเดือนก็ได้ ดังนี้กำหนดเวลาสิ้นสุดที่จะเบิกเงินจึงถือเอาวันสุดท้ายของเดือนมีนาคม 2510
การที่จำเลยลงชื่อในใบเบิกเงินสำรองมอบให้โจทก์ไปรับเงินค่าโฆษณาเท่ากับจำเลยยอมชำระค่าจ้างตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ ถือได้ว่าอายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172,181 และเริ่มนับอายุความ 2 ปี ตาม มาตรา 165(7) ใหม่ตั้งแต่วันสุดท้ายของเดือนมีนาคม 2510 ซึ่งเป็นกำหนดเวลาสิ้นสุดที่จะเบิกเงินตามใบเบิกเงินสำรองนั้น
การที่จำเลยลงชื่อในใบเบิกเงินสำรองมอบให้โจทก์ไปรับเงินค่าโฆษณาเท่ากับจำเลยยอมชำระค่าจ้างตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ ถือได้ว่าอายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172,181 และเริ่มนับอายุความ 2 ปี ตาม มาตรา 165(7) ใหม่ตั้งแต่วันสุดท้ายของเดือนมีนาคม 2510 ซึ่งเป็นกำหนดเวลาสิ้นสุดที่จะเบิกเงินตามใบเบิกเงินสำรองนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งสินค้า กากน้ำตาลขาดหาย ความรับผิดของผู้ขนส่ง หนังสือรับสภาพหนี้ไม่มีผลผูกพัน
จำเลยรับจ้างขนส่งกากน้ำตาลให้แก่โจทก์ กากน้ำตาลขาดหายไป ปรากฏว่าเมื่อขนลงเรือ โจทก์กะประมาณน้ำหนักเอาเมื่อรับของจึงจะมีการชั่ง ตวง วัด จึงเกิดการคลาดเคลื่อนไม่แน่นอน และเมื่อสูบกากน้ำตาลขึ้นจากเรือมีกากน้ำตาลเหนียวติดเรือ และน้ำที่ปนน้ำตาลแห้งระเหยไปด้วย ดังนี้ จำนวนน้ำหนักกากน้ำตาลที่ขาดไปจึงเป็นการเกิดแต่สภาพแห่งของนั้นเองซึ่งจำเลยพิสูจน์ได้ มิใช่จำเลยเป็นผู้ทำให้ขาดไป จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616
เมื่อโจทก์กับจำเลยไม่มีมูลหนี้ต่อกัน หนังสือรับสภาพหนี้ที่โจทก์ฟ้องก็ปราศจากหนี้ที่จะรับสภาพ ไม่มีผลบังคับแก่กัน
เมื่อโจทก์กับจำเลยไม่มีมูลหนี้ต่อกัน หนังสือรับสภาพหนี้ที่โจทก์ฟ้องก็ปราศจากหนี้ที่จะรับสภาพ ไม่มีผลบังคับแก่กัน