พบผลลัพธ์ทั้งหมด 375 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5535/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าซ่อมรถ: การรับสภาพหนี้ต้องทำโดยลูกหนี้หรือตัวแทน ไม่ใช่หน่วยงานภายใน
คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่กรป.กลางตั้งขึ้นเพื่อสอบให้แน่ชัดว่าได้มีการซ่อมรถยนต์9คันกับโจทก์จริงหรือไม่นั้นเป็นเรื่องภายในของหน่วยราชการที่สังกัดจำเลยที่2แม้คณะกรรมการดังกล่าวจะลงความเห็นว่าได้ว่าจ้างให้โจทก์ซ่อมจริงและควรหาทางนำเงินค่าซ่อมไปชำระแก่โจทก์ตามเอกสารหมายจ.34ถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเพราะการรับสภาพหนี้ต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้รับสภาพต่อเจ้าหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้ซึ่งจะต้องกระทำโดยลูกหนี้เองหรือโดยตัวแทนของลูกหนี้เท่านั้นแต่ตามเอกสารหมายจ.34ไม่ปรากฎว่าจำเลยที่2ได้รับทราบในการกระทำดังกล่าวและไม่ปรากฎว่าจำเลยที่2ได้แต่งตั้งให้กรป.กลางเป็นตัวแทนไปรับสภาพหนี้ต่อโจทก์แม้กรป.กลางจะเป็นส่วนราชการในสังกัดของจำเลยที่2ก็มิได้หมายความว่าเป็นผู้แทนของจำเลยที่2เป็นเพียงผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาเท่านั้นและเปรียบลักษณะอย่างผู้ทำการแทนบริษัทกับบริษัทหาได้ไม่ เมื่อกรป.กลางเป็นเพียงหน่วยงานหนึ่งของจำเลยที่2ซึ่งจะต้องปฎิบัติภารกิจตามที่จำเลยที่2มอบหมายโดยเฉพาะการทำนิติกรรมสัญญากับบุคคลภายนอกกรป.กลางย่อมไม่อาจทำได้เพราะมิใช่นิติบุคคลตามกฎหมายต้องให้จำเลยที่2เป็นคู่สัญญากับบุคคลภายนอกหรือให้กรป.กลางเป็นผู้กระทำแทนในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่2ดังนี้สิทธิเรียกร้องค่าจ้างซ่อมรายนี้โจทก์สามารถเรียกร้องแก่จำเลยที่2ในฐานคู่สัญญาได้นับตั้งแต่วันที่โจทก์ส่งมอบรถยนต์ที่ซ่อมเสร็จจึงถือได้ว่าโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นแก่จำเลยที่2ได้ตั้งแต่วันดังกล่าวและอายุความย่อมเริ่มนับแต่วันนั้นแต่โจทก์รีรอฟังผลจากกรป.กลางเรื่อยมาจนกระทั่งพ้นกำหนด2ปีนับแต่วันที่มีการส่งมอบและรับมอบรถยนต์ที่ซ่อมแล้วจึงต้องถือว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5535/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเริ่มนับเมื่อมีสิทธิเรียกร้อง การรับสภาพหนี้ต้องกระทำโดยลูกหนี้หรือตัวแทน
คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่ กรป.กลาง ตั้งขึ้นเพื่อสอบให้แน่ชัดว่าได้มีการซ่อมรถยนต์ 9 คัน กับโจทก์จริงหรือไม่ นั้น เป็นเรื่องภายในของหน่วยราชการที่สังกัดจำเลยที่ 2 แม้คณะกรรมการดังกล่าวจะลงความเห็นว่าได้ว่าจ้างให้โจทก์ซ่อมจริงและควรหาทางนำเงินค่าซ่อมไปชำระแก่โจทก์ตามเอกสารหมาย จ.34 ถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเพราะการรับสภาพหนี้ต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้รับสภาพต่อเจ้าหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้ซึ่งจะต้องกระทำโดยลูกหนี้เองหรือโดยตัวแทนของลูกหนี้เท่านั้น แต่ตามเอกสารหมาย จ.34 ไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 2 ได้รับทราบในการกระทำดังกล่าว และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2ได้แต่งตั้งให้ กรป.กลาง เป็นตัวแทนไปรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ แม้ กรป.กลาง จะเป็นส่วนราชการในสังกัดของจำเลยที่ 2 ก็มิได้หมายความว่าเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 2เป็นเพียงผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาเท่านั้น จะเปรียบลักษณะอย่างผู้ทำการแทนบริษัทกับบริษัทหาได้ไม่
เมื่อ กรป.กลาง เป็นเพียงหน่วยงานหนึ่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งจะต้องปฏิบัติภารกิจตามที่จำเลยที่ 2 มอบหมาย โดยเฉพาะการทำนิติกรรมสัญญากับบุคคลภายนอก กรป.กลาง ย่อมไม่อาจทำได้เพราะมิใช่นิติบุคคลตามกฎหมาย ต้องให้จำเลยที่ 2 เป็นคู่สัญญากับบุคคลภายนอก หรือให้ กรป.กลาง เป็นผู้กระทำแทนในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 2 ดังนี้ สิทธิเรียกร้องค่าจ้างซ่อมรายนี้โจทก์สามารถเรียกร้องเองแก่จำเลยที่ 2 ในฐานคู่สัญญาได้นับตั้งแต่วันที่โจทก์ส่งมอบรถยนต์ที่ซ่อมเสร็จ จึงถือได้ว่าโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นแก่จำเลยที่ 2 ได้ตั้งแต่วันดังกล่าว และอายุความย่อมเริ่มนับแต่วันนั้น แต่โจทก์รีรอฟังผลจาก กรป.กลาง เรื่อยมาจนกระทั่งพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่มีการส่งมอบและรับมอบรถยนต์ที่ซ่อมแล้ว จึงต้องถือว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว
เมื่อ กรป.กลาง เป็นเพียงหน่วยงานหนึ่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งจะต้องปฏิบัติภารกิจตามที่จำเลยที่ 2 มอบหมาย โดยเฉพาะการทำนิติกรรมสัญญากับบุคคลภายนอก กรป.กลาง ย่อมไม่อาจทำได้เพราะมิใช่นิติบุคคลตามกฎหมาย ต้องให้จำเลยที่ 2 เป็นคู่สัญญากับบุคคลภายนอก หรือให้ กรป.กลาง เป็นผู้กระทำแทนในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 2 ดังนี้ สิทธิเรียกร้องค่าจ้างซ่อมรายนี้โจทก์สามารถเรียกร้องเองแก่จำเลยที่ 2 ในฐานคู่สัญญาได้นับตั้งแต่วันที่โจทก์ส่งมอบรถยนต์ที่ซ่อมเสร็จ จึงถือได้ว่าโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นแก่จำเลยที่ 2 ได้ตั้งแต่วันดังกล่าว และอายุความย่อมเริ่มนับแต่วันนั้น แต่โจทก์รีรอฟังผลจาก กรป.กลาง เรื่อยมาจนกระทั่งพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่มีการส่งมอบและรับมอบรถยนต์ที่ซ่อมแล้ว จึงต้องถือว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9091/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินขัดต่อข้อห้ามตามกฎหมายที่ดิน สัญญาเป็นโมฆะ สัญญาจำนองเพื่อประกันจึงบังคับไม่ได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนไว้ภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 ดังนั้นการที่โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายเพื่อโอนที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยภายในกำหนดเวลาห้ามโอนเป็นการกระทำนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายนิติกรรมสัญญาจะซื้อจะขายจึงตกเป็นโมฆะ แม้ต่อมาหลังจากทำสัญญาแล้วจะได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2521 มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 31 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ใช้บังคับอยู่เดิมมิให้ใช้บังคับกับที่ดินในกรณีเช่นคดีนี้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้นิติกรรมที่เป็นโมฆะแล้วนั้นกลับสมบูรณ์ขึ้นได้อีก ดังนั้น เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายตกเป็นโมฆะ สัญญาจำนองเพื่อประกันสัญญาจะซื้อจะขายจึงไม่อาจบังคับได้เพราะสัญญาจำนองจะมีได้เฉพาะเพื่อหนี้อันสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 707ประกอบด้วย มาตรา 681 ดังนั้น จึงไม่อาจบังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาจำนองได้ เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายตกเป็นโมฆะ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 172 วรรคสอง กล่าวคือ ในการคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับจำเลยต้องคืนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และรับเงินค่าที่ดินพิพาทที่โจทก์นำไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์ แม้คำฟ้องขอไถ่ถอนจำนองจะเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์แต่เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทของโจทก์ และโจทก์สละสิทธิครอบครองให้แก่จำเลยแล้วเป็นการโต้เถียงสิทธิครอบครอง การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทหรือไม่ เป็นการรวมประเด็นที่ว่า โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกันหรือไม่ตามคำให้การของจำเลยด้วย คดีไม่มีทุนทรัพย์จึงกลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9091/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมีข้อห้ามโอนเป็นโมฆะ แม้มีการแก้ไขกฎหมายภายหลัง สัญญาจำนองที่ผูกพันกับสัญญาจะซื้อจะขายก็ไม่อาจบังคับได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนไว้ภายใน 10 ปี ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 ดังนั้นการที่โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายเพื่อโอนที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยภายในกำหนดเวลาห้ามโอนเป็นการกระทำนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายนิติกรรมสัญญาจะซื้อจะขายจึงตกเป็นโมฆะ แม้ต่อมาหลังจากทำสัญญาแล้วจะได้มีพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.ที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2521 มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 31 แห่ง ป.ที่ดิน ที่ใช้บังคับอยู่เดิมมิให้ใช้บังคับกับที่ดินในกรณีเช่นคดีนี้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้นิติกรรมที่เป็นโมฆะแล้วนั้นกลับสมบูรณ์ขึ้นได้อีก ดังนั้นเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายตกเป็นโมฆะ สัญญาจำนองเพื่อประกันสัญญาจะซื้อจะขายจึงไม่อาจบังคับได้เพราะสัญญาจำนองจะมีได้เฉพาะเพื่อหนี้อันสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 707 ประกอบด้วย มาตรา 681 ดังนั้น จึงไม่อาจบังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาจำนองได้ เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายตกเป็นโมฆะ จึงต้องบังคับตามป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง กล่าวคือ ในการคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ จำเลยต้องคืนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และรับเงินค่าที่ดินพิพาทที่โจทก์นำไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์
แม้คำฟ้องขอไถ่ถอนจำนองจะเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ แต่เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจากโจทก์ และโจทก์สละสิทธิครอบครองให้แก่จำเลยแล้ว เป็นการโต้เถียงสิทธิครอบครอง การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทหรือไม่ เป็นการรวมประเด็นที่ว่า โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกันหรือไม่ ตามคำให้การของจำเลยด้วยคดีไม่มีทุนทรัพย์จึงกลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์
แม้คำฟ้องขอไถ่ถอนจำนองจะเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ แต่เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจากโจทก์ และโจทก์สละสิทธิครอบครองให้แก่จำเลยแล้ว เป็นการโต้เถียงสิทธิครอบครอง การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทหรือไม่ เป็นการรวมประเด็นที่ว่า โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกันหรือไม่ ตามคำให้การของจำเลยด้วยคดีไม่มีทุนทรัพย์จึงกลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องบังคับตามสัญญา, การมอบอำนาจ, และเจตนาในการยกทรัพย์ให้บุตร
ที่พิพาทโจทก์จำเลยตีราคาไว้จำนวน100,000บาทดังนั้นราคาทรัพย์หรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีเพียง100,000บาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทแก่ ว. บุตรสาวที่จำเลยฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่น่าเชื่อว่าจำเลยได้ทำหนังสือมอบอำนาจนั้นให้โจทก์ไว้เพราะไม่มีการมอบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนสำเนาทะเบียนบ้านและโฉนดที่ดินให้โจทก์ตามเหตุผลที่ยกขึ้นอ้างในฎีกาข้อ2นั้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญายกที่พิพาทให้แก่บุตร2คนตามบันทึกหลังทะเบียนหย่าโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาจึงมีฐานะเป็นลูกหนี้ที่จะต้องโอนที่พิพาทให้แก่บุตรทั้งสองจำเลยได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไปดำเนินการโอนที่พิพาทให้แก่บุตรแทนจำเลยถือได้ว่าการที่จำเลยทำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวให้โจทก์ไว้เป็นการกระทำใดๆอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามบันทึกหลังทะเบียนหย่าอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา172เดิมเมื่อหนังสือมอบอำนาจลงวันที่4สิงหาคม2524อายุความจึงสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันที่4สิงหาคม2524และเริ่มนับใหม่ต่อไปโจทก์ฟ้องคดีวันที่4กรกฎาคม2533ยังไม่เกิน10ปีจึงไม่ขาดอายุความ บันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าระหว่างโจทก์จำเลยระบุยกที่พิพาทแก่บุตรทั้ง2คนโดยมิได้มีเงื่อนไขกำหนดให้สัญญาสิ้นความผูกพันหากเหลือบุคคลที่จะเป็นผู้รับทรัพย์นั้นเพียงผู้เดียวและเมื่อ พ.บุตรคนหนึ่งถึงแก่กรรมไปแล้วจำเลยยังทำหนังสือมอบอำนาจเป็นการรับสภาพหนี้ที่มีความผูกพันที่จะโอนที่พิพาทให้แก่ ว. บุตรซึ่งจำเลยรู้อยู่แล้วว่ายังคงเหลืออยู่เพียงผู้เดียวโดยระบุชื่อว. เป็นผู้รับโอนไว้อย่างชัดแจ้งย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยว่าจุดประสงค์ที่แท้จริงในการยกที่พิพาทนั้นต้องการยกให้แก่บุตรเท่านั้นโดยมิได้คำนึงถึงจำนวนบุตรว่าจะอยู่ครบทั้งคู่หรือเหลือเพียงคนเดียวโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทแก่ ว.ตามสัญญาและศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่พิพาททั้งแปลงแก่ ว. ได้ การที่จำเลยระบุผู้รับโอนที่พิพาทเป็น ว. เพียงคนเดียวในหนังสือมอบอำนาจแตกต่างไปจากสัญญาเดิมก็หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาเดิมซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94ตามที่จำเลยอ้างไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6450/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในคดีซื้อขายเมื่อจำเลยล้มละลาย โจทก์ต้องดำเนินการตามพ.ร.บ.ล้มละลาย ไม่เช่นนั้นไม่มีอำนาจฟ้อง
การล้มละลายของจำเลยที่ 3 มีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 62เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 3เก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่จำเลยที่ 3 หรือซึ่งจำเลยที่ 3 จะได้รับจากผู้อื่น ประนีประนอมยอมความหรือฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 เมื่อจำเลยที่ 3ต้องคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 จึงตกอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์ซึ่งมีสิทธิตามสัญญาซื้อขายที่ดินแปลงพิพาทที่มีต่อจำเลยที่ 3จะดำเนินการได้ก็แต่โดยวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 122 และหากโจทก์ได้รับความเสียหาย โดยเหตุที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาดังกล่าว โจทก์มีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับค่าเสียหายได้ โจทก์ไม่ได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 122 ทั้งโจทก์ก็มิใช่เจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่จำเลยที่ 3 ต้องคำพิพากษาให้ล้มละลายด้วย การที่โจทก์กลับนำสิทธิตามสัญญามาฟ้องจำเลยที่ 3 หลังจากศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 3 เป็นบุคคลล้มละลายและยังไม่พ้นภาวะจากการล้มละลายโดยจำเลยที่ 3 ไม่มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนเองในขณะนั้น ประกอบกับที่ดินพิพาทได้โอนไปยังจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแล้วและหากที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 3 ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทให้กลับคืนสู่กองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ต่อไปตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินพิพาทที่ยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งได้โอนขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 ในขณะที่จำเลยที่ 1 ต้องคำพิพากษาให้ล้มละลายได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5563/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการซื้อขาย: ผลของการรับสภาพหนี้, การละเสียประโยชน์แห่งอายุความ, และผลกระทบต่อจำเลยร่วม
โจทก์เป็นพ่อค้าฟ้องเรียกเอาเงินค่าสินค้าจากจำเลยทั้งสองจึงมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1) เดิม การที่จำเลยทั้งสองทำหนังสือขอผัดผ่อนค่าโทรทัศน์สีจึงเป็นการรับสภาพหนี้ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เดิม ภายหลังจากอายุความ 2 ปี ครบบริบูรณ์แล้วจำเลยที่ 1 ทำหนังสือและลงลายมือชื่อแต่เพียงผู้เดียวว่าจะนำเงินค่าโทรทัศน์สีที่ค้างชำระให้ภายในเดือนตุลาคม 2531 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ เป็นการเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 ย่อมไม่ลบล้างสิทธิของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในอันที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 เดิม และข้อต่อสู้เรื่องอายุความของจำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีผลถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3072/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมซื้อขายระหว่างบุคคลล้มละลายเป็นโมฆะ ผู้มีส่วนได้เสียย่อมยกข้อความเสียเปล่าได้
เมื่อศาลพิพากษาให้บุคคลใดตกเป็นบุคคลล้มละลายแล้วตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งยกเลิกการล้มละลาย บุคคลนั้นย่อมไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้ เว้นแต่จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้จัดการทรัพย์หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 24ถ้าฝ่าฝืนนิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ คำว่าผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 133 เดิม (มาตรา 172 ใหม่) หมายถึงผู้ที่จะได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ หากนิติกรรมที่กล่าวอ้างว่าเป็นโมฆะเป็นผลหรือไม่เป็นหรือกลับกัน เมื่อโจทก์ทั้งสี่ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าบิดาโจทก์ทั้งสี่ซื้อที่ดินพิพาทมาจาก ส.ผู้ล้มละลาย ต่อมาบิดาโจทก์ทั้งสี่ถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ทั้งสี่ และจำเลยให้การต่อสู้ว่าบิดาโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจาก ส.ขณะที่ส. เป็นบุคคลล้มละลาย นิติกรรมซื้อขายเป็นโมฆะโจทก์ทั้งสี่ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ดังนี้จำเลยจึงเป็นผู้ที่จะได้ประโยชน์จากที่นิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างส. กับบิดาโจทก์ทั้งสี่เป็นโมฆะจำเลยจึงชอบที่จะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นอ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องหนี้เดิมหลังมีคำพิพากษาตามยอมแล้ว เป็นฟ้องซ้ำที่ต้องห้าม
ที่จำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์คดีนี้ก็เนื่องมาจากจำเลยทั้งสามรับสภาพหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมที่พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีเดิมนั่นเอง โดยมีการหักจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งสามชำระให้โจทก์บ้างแล้วออกไปและรวมดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่ค้างชำระเข้าไปด้วยเท่านั้นแต่การรับสภาพหนี้ไม่ก่อให้เกิดหนี้ใหม่ขึ้นแต่ประการใดคงมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเท่านั้นประเด็นที่จะต้องพิจารณาวินิจฉัยในคดีนี้จึงเนื่องมาจากมูลฐานที่จำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งในคดีเดิมได้วินิจฉัยมาแล้ว การที่โจทก์นำมูลหนี้เดียวกันมาฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้อีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) โดยไม่จำต้องมีคู่ความฝ่ายใดยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาอ้างอิงแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: หนี้เดิมตามคำพิพากษา ย่อมเป็นเหตุให้ฟ้องซ้ำไม่ได้
ที่จำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์คดีนี้ก็เนื่องมาจากจำเลยทั้งสามรับสภาพหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมที่พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีเดิมนั่นเอง โดยมีการหักจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งสามชำระให้โจทก์บ้างแล้วออกไปและรวมดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่ค้างชำระเข้าไปด้วยเท่านั้น แต่การรับสภาพหนี้ไม่ก่อให้เกิดหนี้ใหม่ขึ้นแต่ประการใด คงมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเท่านั้นประเด็นที่จะต้องพิจารณาวินิจฉัยในคดีนี้จึงเนื่องมาจากมูลฐานที่จำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งในคดีเดิมได้วินิจฉัยมาแล้ว การที่โจทก์นำมูลหนี้เดียวกันมาฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้อีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปได้เองตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) โดยไม่จำต้องมีคู่ความฝ่ายใดยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาอ้างอิงแต่อย่างใด
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปได้เองตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) โดยไม่จำต้องมีคู่ความฝ่ายใดยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาอ้างอิงแต่อย่างใด