คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 354

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 168 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าไม่ได้จดทะเบียน ผลคือมีผลบังคับใช้ได้เพียง 3 ปี คำมั่นสัญญาเกินกว่า 3 ปีจึงสิ้นผล
เมื่อหนังสือสัญญาเช่ามิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จำเลยจึงฟ้องร้องบังคับคดีได้เพียง3ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา538กำหนดเวลาเช่าที่เกินจาก3ปีตามที่ตกลงกันไว้จึงไม่มีผลบังคับกันต่อไปคำมั่นของโจทก์ที่ให้แก่จำเลยไว้ตามสัญญาเช่าข้อ2(ก)ที่ว่าเมื่อจำเลยเช่าครบ7ปียินยอมต่อสัญญาเช่าให้จำเลยอีก15ปีย่อมสิ้นผลบังคับไปด้วยดังนั้นจึงไม่มีคำมั่นของโจทก์ที่จะให้จำเลยสนองต่อไปอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาไม่รับโอนสิทธิเช่า และการคิดค่าเสียหายจากการอยู่อาศัยเกินสัญญา
สัญญาเช่าระบุว่า เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่า 1 ปีแรกผู้ให้เช่าให้สิทธิแก่ผู้เช่าพิจารณารับโอนสิทธิการเช่าสถานที่เช่าได้ โดยผู้ให้เช่ายินดีโอนสิทธิการเช่าที่ผู้ให้เช่ามีอยู่กับบริษัท ม.และให้ผู้เช่าผ่อนชำระกับบริษัทม.ต่อไป ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยโจทก์ผู้ให้เช่าให้คำมั่นว่าเมื่อครบกำหนด 1 ปีแรก หากจำเลยประสงค์จะรับโอนสิทธิการเช่าก็ทำได้แม้ในสัญญาดังกล่าวจะไม่ได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยแสดงเจตนารับโอนสิทธิการเช่าไว้ก็ตาม แต่ตามเจตนารมณ์ของการทำสัญญา โจทก์จำเลยก็พึงคาดหมายได้ว่าจำเลยจะต้องแสดงเจตนารับโอนสิทธิการเช่าในระยะเวลาพอสมควรนับแต่เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่า 1 ปีแรก เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า สัญญาเช่าครบกำหนด 1 ปีแรกวันที่ 20 พฤศจิกายน 2531 และครบกำหนดระยะเวลาเช่า3 ปีวันที่ 20 พฤศจิกายน 2533 จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์โอนสิทธิการเช่าเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2533 ซึ่งแม้จะเป็นเวลาก่อนครบกำหนดอายุสัญญาเช่าประมาณ 5 เดือน แต่ก็เป็นเวลาภายหลังครบกำหนดสัญญาเช่า 1 ปีแรก ล่วงพ้นไปแล้วถึง 1 ปี 6 เดือน จะพึงเห็นได้ว่าจำเลยแสดงเจตนาที่จะรับโอนสิทธิการเช่าเป็นระยะเวลาเนิ่นนานเกินสมควรที่จะคาดหมายได้ว่าจำเลยยังคงประสงค์ที่จะขอรับโอนสิทธิการเช่าอยู่อีก ทั้งโจทก์ก็ยืนยันว่าเมื่อครบสัญญา1 ปีแรกแล้ว โจทก์ได้ถาม ส.กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยว่าจะตกลงรับโอนสิทธิการเช่าหรือไม่ ก็ตอบว่าขณะนั้นพื้นที่บริษัท ม.โอนสิทธิการเช่ากันตารางเมตรละ 60,000 บาท จำเลยจะต้องรับโอนสิทธิการเช่าจากโจทก์ตารางเมตรละ 65,000 บาท จึงไม่ต้องการรับโอน ดังนั้นการที่จำเลยปล่อยระยะเวลาให้ล่วงพ้นกำหนดการเช่า 1 ปีแรก ออกไปถึง1 ปี 6 เดือน ประกอบกับจำเลยเคยบอกโจทก์ว่าไม่ต้องการรับโอนสิทธิการเช่าจึงฟังได้ว่าจำเลยไม่มีเจตนาที่จะรับโอนสิทธิการเช่าพื้นที่ตามสัญญาแล้ว คำมั่นของโจทก์ที่จะต้องให้จำเลยรับโอนสิทธิการเช่าจึงสิ้นผลผูกพัน เมื่อการเช่าพื้นที่พิพาทครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้ว จำเลยจึงต้องส่งมอบพื้นที่เช่าคืนโจทก์
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดแล้วจำเลยอยู่ในสถานที่เช่าเป็นการอยู่โดยละเมิดต่อโจทก์ และพื้นที่พิพาทก็ดีขึ้นกว่าระยะแรกที่เปิดศูนย์การค้า สมควรกำหนดค่าเสียหายเดือนละ 300,000 บาท จำเลยอุทธรณ์ว่ายังไม่ตรงกับความจริงและสูงเกินไป อันเป็นการกล่าวอ้างเพื่อให้จำเลยต้องรับผิดค่าเสียหายน้อยลง แต่จำเลยไม่ได้กล่าวโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายไม่ตรงความจริงอย่างไรและเป็นจำนวนสูงเกินไปเพียงใด หรือที่ถูกต้องเหมาะสมควรเป็นอย่างไรเพราะเหตุผลใดจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้ว แม้ในชั้นฎีกาจำเลยจะฎีกาในปัญหาเดียวกับในชั้นอุทธรณ์โดยเพิ่มเติมข้อโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเข้ามา ก็ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เงินมัดจำและเงินที่วางต่อสำนักงานวางทรัพย์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าเช่า ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และค่าโทรศัพท์ที่จำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญาเช่า ไม่ใช่เป็นเงินค่าทดแทนความเสียหายที่เกิดจากการทำละเมิดของจำเลยต่อโจทก์ จึงนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักจากค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิดที่จำเลยจะต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3251/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่า: การเสนอและสนองสัญญา, การปฏิบัติตามสัญญา, ความเสียหายจากการผิดสัญญา, การได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจ
การที่จำเลยตกลงให้โจทก์เช่าอาคารสืบต่อจากผู้เช่าเดิมโดยถือตามสัญญาเช่าฉบับเดิม และโจทก์ได้ชำระหนี้ค่าเช่าที่ค้างและค่าเช่าล่วงหน้าให้แก่จำเลยตามเงื่อนไขที่จำเลยเสนอกับเข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าแล้ว โจทก์จำเลยจึงมีความผูกพันต่อกันในฐานะผู้เช่ากับผู้ให้เช่าตามสัญญาเช่าเดิมการที่โจทก์จำเลยตกลงเปลี่ยนแปลงรายการการชำระเงินในภายหลังหามีผลเป็นการยกเลิกสัญญาเช่าฉบับเดิมไม่ แม้โจทก์จะยังมิได้ชำระเงินกินเปล่างวดแรกและไปลงนามทำสัญญาเช่ากับจำเลยตามข้อตกลงเดิมในวันที่ 1 กรกฎาคม 2531แต่จำเลยก็มีหนังสือถึงตัวแทนโจทก์เสนอให้โจทก์แจ้งความประสงค์เข้าทำสัญญาตามข้อตกลงนั้นได้ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2531ซึ่งภายในระยะเวลาที่บ่งไว้นี้ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะถอนคำเสนอได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 354โจทก์จึงมีสิทธิที่จะแสดงเจตนาเข้าทำสัญญาตามข้อตกลงเดิมในวันใดก็ได้ภายในวันที่ 14 กรกฎาคม 2531 เมื่อจำเลยปฏิเสธไม่ยอมให้ทำสัญญาเช่าตามข้อตกลงเดิม โจทก์ก็ได้แสดงเจตนาเข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยตามข้อตกลงเดิม โดยนำเงินกินเปล่างวดแรกที่ถึงกำหนดชำระแล้วไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2531 ภายในกำหนดเวลาที่จำเลยกำหนดไว้ถือได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่จำเลยจะต้องรับผูกพันตามข้อตกลงที่ทำกันไว้ ทำให้เกิดสัญญาเช่าขึ้น การที่จำเลยเสนอเงื่อนไขขึ้นมาใหม่โดยลดระยะเวลาการเช่าลงกับเพิ่มเงินกินเปล่าขึ้น โจทก์มิได้สนองรับจึงไม่เกิดสัญญาขึ้นใหม่และไม่มีผลลบล้างข้อตกลงเดิม โจทก์จำเลยตกลงกันที่จะทำสัญญาเช่าไว้เป็นหนังสือ และยังไม่มีการลงนามในสัญญาเช่าอันจะมีผลให้สาระสำคัญของสัญญาตามที่ตกลงกันไว้กลายเป็นสัญญาเช่าที่เป็นหนังสือ แต่เมื่อเงื่อนไขอันเป็นสาระสำคัญของสัญญานั้น โจทก์ได้ตรวจแก้ไขและจำเลยก็ยอมรับแล้ว จึงไม่มีเหตุให้เป็นที่สงสัยว่าอาจจะมีข้อความใดที่ตกหล่นหรือเกินเลยไปจากคู่สัญญามุ่งทำสัญญากันแต่อย่างใด ทั้งคำเสนอและคำสนองของคู่สัญญาก็มีความชัดแจ้งและถูกต้องตรงกันทุกประการแล้ว จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นกรณีที่ยังมิได้มีสัญญาต่อกัน กรณีที่มีการตกลงให้ทำสัญญากันไว้เป็นหนังสือแต่ให้ถือว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคสอง นั้นมีได้เฉพาะเมื่อกรณีเป็นที่สงสัยเท่านั้น เมื่อไม่มีกรณีเป็นที่สงสัยจะบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366 วรรคสอง ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3251/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเกิดผลเมื่อมีการตกลงเงื่อนไขชัดเจน แม้ยังไม่ได้ลงนามเป็นหนังสือ และการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเดิมไม่ทำให้สัญญาเดิมเป็นโมฆะ
การที่จำเลยตกลงให้โจทก์เช่าอาคารสืบต่อจากผู้เช่าเดิมโดยถือตามสัญญาเช่าฉบับเดิม และโจทก์ได้ชำระหนี้ค่าเช่าที่ค้างและค่าเช่าล่วงหน้าให้แก่จำเลยตามเงื่อนไขที่จำเลยเสนอกับเข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าแล้ว โจทก์จำเลยจึงมีความผูกพันต่อกันในฐานะผู้เช่ากับผู้ให้เช่าตามสัญญาเช่าเดิม การที่โจทก์จำเลยตกลงเปลี่ยนแปลงรายการการชำระเงินในภายหลัง หามีผลเป็นการยกเลิกสัญญาเช่าฉบับเดิมไม่
แม้โจทก์จะยังมิได้ชำระเงินกินเปล่างวดแรกและไปลงนามทำสัญญาเช่ากับจำเลยตามข้อตกลงเดิมในวันที่ 1 กรกฎาคม 2531 แต่จำเลยก็มีหนังสือถึงตัวแทนโจทก์เสนอให้โจทก์แจ้งความประสงค์เข้าทำสัญญาตามข้อตกลงนั้นได้ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2531 ซึ่งภายในระยะเวลาที่บ่งไว้นี้ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะถอนคำเสนอได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 354 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะแสดงเจตนาเข้าทำสัญญาตามข้อตกลงเดิมในวันใดก็ได้ภายในวันที่ 14 กรกฎาคม 2531เมื่อจำเลยปฏิเสธไม่ยอมให้ทำสัญญาเช่าตามข้อตกลงเดิม โจทก์ก็ได้แสดงเจตนาเข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยตามข้อตกลงเดิม โดยนำเงินกินเปล่างวดแรกที่ถึงกำหนดชำระแล้วไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2531 ภายในกำหนดเวลาที่จำเลยกำหนดไว้ ถือได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่จำเลยจะต้องรับผูกพันตามข้อตกลงที่ทำกันไว้ ทำให้เกิดสัญญาเช่าขึ้น การที่จำเลยเสนอเงื่อนไขขึ้นมาใหม่โดยลดระยะเวลาการเช่าลงกับเพิ่มเงินกินเปล่าขึ้น โจทก์มิได้สนองรับจึงไม่เกิดสัญญาขึ้นใหม่และไม่มีผลลบล้างข้อตกลงเดิม
โจทก์จำเลยตกลงกันที่จะทำสัญญาเช่าไว้เป็นหนังสือ และยังไม่มีการลงนามในสัญญาเช่าอันจะมีผลให้สาระสำคัญของสัญญาตามที่ตกลงกันไว้กลายเป็นสัญญาเช่าที่เป็นหนังสือ แต่เมื่อเงื่อนไขอันเป็นสาระสำคัญของสัญญานั้น โจทก์ได้ตรวจแก้ไขและจำเลยก็ยอมรับแล้ว จึงไม่มีเหตุให้เป็นที่สงสัยว่าอาจจะมีข้อความใดที่ตกหล่นหรือเกินเลยไปจากคู่สัญญามุ่งทำสัญญากันแต่อย่างใด ทั้งคำเสนอและคำสนองของคู่สัญญาก็มีความชัดแจ้งและถูกต้องตรงกันทุกประการแล้วจึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นกรณีที่ยังมิได้มีสัญญาต่อกัน
กรณีที่มีการตกลงให้ทำสัญญากันไว้เป็นหนังสือแต่ให้ถือว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 366วรรคสอง นั้น มีได้เฉพาะเมื่อกรณีเป็นที่สงสัยเท่านั้น เมื่อไม่มีกรณีเป็นที่สงสัยจะบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: คำเสนอขายผูกพัน-การผิดนัด-บังคับคดี
จำเลยทั้งสี่ทำหนังสือเสนอขายที่ดินให้โจทก์ โดยระบุในสัญญาว่าภายใน 180 วัน นับแต่วันทำสัญญา จำเลยทั้งสี่ขอยืนยันไม่เปลี่ยนแปลงราคาที่เสนอขาย และไม่เสนอขายหรือโอนขายให้แก่บุคคลอื่นโดยเด็ดขาด หนังสือดังกล่าวเป็นคำเสนอจะทำสัญญาอันบ่งระยะเวลาให้ทำคำสนองซึ่งไม่อาจถอนได้ภายในระยะเวลาที่บ่งไว้ เมื่อโจทก์มีหนังสือนัดโอนที่ดินพิพาทภายในกำหนดตามคำเสนอขายจึงเป็นคำสนองซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลย สัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว การที่จำเลยไม่ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4117/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายลดตั๋วเงินสมบูรณ์ แม้มีผู้ลงนามเพียงคนเดียว และการมอบอำนาจตั้งตัวแทนผูกพันบริษัท
สัญญาซื้อขายลดเช็คเป็นสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดแบบไว้เมื่อมีการทำกันขึ้นจริง เพียงแต่ลงชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดตามสัญญาเพียงฝ่ายเดียวก็เป็นการเพียงพอแล้ว ดังนั้นสัญญาซื้อขายลดตั๋วเงินที่บริษัทเจ้าหนี้ทำไว้กับบริษัท พ. แม้จะมีชื่อกรรมการบริษัทเจ้าหนี้ผู้ซื้อลดตั๋วเงินเพียงคนเดียวก็มีผลผูกพันบริษัทพ. ผู้ขายลดตั๋วเงินนั้น บริษัท พ.มอบอำนาจให้นางด. ลงนามร่วมกับกรรมการบริหารคนใดคนหนึ่งในสามคน มีนาย ข. นาย ธ.นายฤ. ในเอกสารขายลดเช็คของบริษัท พ. ได้ ดังนี้ เป็นการตั้งตัวแทนเพื่อการขายลดตั๋วเงิน เมื่อกรรมการคนหนึ่งของบริษัท พ. ได้ลงลายมือชื่อร่วมกับนาง ด. ในการเสนอขายลดตั๋วเงินกับบริษัทเจ้าหนี้ การกระทำของตัวแทนจึงมีผลผูกพันบริษัท พ.ซึ่งเป็นตัวการ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2759/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินสร้างลานจอดรถและอาคารพาณิชย์: สิทธิเช่าเป็นไปตามสัญญาแต่ละฉบับ และข้อเสนอเช่าต่อไม่ใช่ข้อผูกมัด
สัญญาเช่าที่ดินที่กำหนดให้ผู้เช่าสร้างลานจอดรถยนต์แล้วมอบให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่านั้น เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา แม้ที่ดินตามสัญญาเช่าดังกล่าวจะเป็นที่ดินส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าอีกฉบับหนึ่งซึ่งระบุให้ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องสร้างอาคารพาณิชย์แล้วจดทะเบียนยกกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ให้เช่า โดยผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าเช่าอาคารพาณิชย์มีกำหนด 25 ปี นับแต่วันก่อสร้างเสร็จก็ตาม ก็ไม่เกี่ยวกับการเช่าที่ดินเพื่อทำลานจอดรถยนต์ จำเลยจะมีสิทธิเช่าที่ดินอันเป็นลานจอดรถยนต์ได้นานเพียงใดต้องดูระยะเวลาแห่งการเช่านั้นเป็นเกณฑ์
ท้ายหนังสือบอกเลิกการเช่าของโจทก์ที่มีมาถึงจำเลยมีข้อความว่า ถ้าจำเลยประสงค์จะเช่าต่อให้ติดต่อแผนกที่ดินและโรงเรือนของโจทก์ เป็นเพียงคำแนะนำของโจทก์เท่านั้นไม่ใช่คำเสนอให้เช่าของโจทก์ แม้จำเลยจะได้สนองตอบรับการเช่าก็ไม่ถือว่าโจทก์จำเลยได้ต่อสัญญาเช่ากันอีก
ปัญหาเรื่องอายุความในทางแพ่งเป็นข้อที่ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
เงินที่จำเลยนำไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์เป็นค่าเช่ารายเดือน มิใช่วางเป็นค่าเสียหาย โจทก์ไปขอรับเงินเป็นค่าเสียหายแต่พนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานวางทรัพย์ไม่ยอมจ่ายให้โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2759/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินและลานจอดรถยนต์: การสิ้นสุดสัญญาและการคิดดอกเบี้ย
สัญญาเช่าที่ดินที่กำหนดให้ผู้เช่าสร้างลานจอดรถยนต์ แล้ว มอบ ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่านั้น เป็นสัญญาต่างตอบแทน ยิ่ง กว่า การ เช่าธรรมดา แม้ที่ดินตามสัญญาเช่าดังกล่าวจะเป็นที่ดิน ส่วนหนึ่ง ของ สัญญาเช่าอีกฉบับหนึ่งซึ่งระบุให้ผู้เช่ามีหน้าที่ต้อง สร้างอาคารพาณิชย์แล้ว จดทะเบียนยกกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ให้เช่า โดยผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าเช่าอาคารพาณิชย์มีกำหนด 25 ปี นับแต่ วันก่อสร้างเสร็จก็ตาม ก็ไม่เกี่ยว กับการเช่าที่ดินเพื่อทำลานจอดรถยนต์ จำเลยจะมีสิทธิเช่าที่ดินอันเป็นลานจอด รถยนต์ ได้ นานเพียงใดต้องดูระยะเวลาแห่งการเช่านั้นเป็นเกณฑ์ ท้ายหนังสือบอกเลิกการเช่าของโจทก์ที่มีมาถึงจำเลยมีข้อความว่า ถ้าจำเลยประสงค์จะเช่าต่อให้ติดต่อแผนกที่ดินและโรงเรือนของโจทก์ เป็นเพียงคำแนะนำของโจทก์เท่านั้น ไม่ใช่คำเสนอให้เช่า ของโจทก์ แม้จำเลยจะได้สนองตอบรับการเช่าก็ไม่ถือว่าโจทก์จำเลยได้ต่อสัญญาเช่ากันอีก ปัญหาเรื่องอายุความในทางแพ่งเป็นข้อที่ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เงินที่จำเลยนำไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์เป็นค่าเช่ารายเดือน มิใช่วางเป็นค่าเสียหาย โจทก์ไปขอรับเงินเป็นค่าเสียหาย แต่พนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานวางทรัพย์ไม่ยอมจ่ายให้ โจทก์จึง มีสิทธิ เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนประกันภัย, การต่ออายุสัญญา, ตัวการต้องรับผิด, ตัวแทนไม่ต้องรับผิด
โจทก์ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากจำเลยที่ 2 มีที่ดินและบ้านจำนองเป็นประกันระเบียบของจำเลยที่ 2 กำหนดให้โจทก์เอาประกันบ้านดังกล่าวโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประโยชน์ในการประกันภัยผู้จัดการสาขาจำเลยที่ 2 และพนักงานเป็นผู้เตรียมแบบพิมพ์เอกสารทำสัญญาประกันภัยกับชำระเบี้ยประกันภัยที่สำนักงานสาขาจำเลยที่ 2แทนจำเลยที่ 1 เมื่อออกกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว จำเลยที่ 1 ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยและใบเสร็จรับเงินเบี้ยประกันภัยให้สาขาจำเลยที่ 2สาขาจำเลยที่ 2 จะส่งเฉพาะใบเสร็จรับเงินเบี้ยประกันภัยให้โจทก์ส่วนกรมธรรม์ประกันภัยสาขาจำเลยที่ 2 เป็นผู้เก็บไว้เองเมื่อกรมธรรม์ประกันภัยจะหมดอายุ สาขาจำเลยที่ 2 ก็เป็นผู้แจ้งเตือนให้โจทก์ต่ออายุสัญญาประกันภัย พฤติการณ์ระหว่างจำเลยที่ 1กับจำเลยที่ 2 ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้เช็คหรือรู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตนเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการรับประกันภัยบ้านโจทก์ที่จำนองไว้เป็นประกันกับจำเลยที่ 2 แม้ตัวแทนจำเลยที่ 1 จะรับเบี้ยประกันภัยเพื่อต่ออายุสัญญาประกันภัย เมื่อกรมธรรม์ประกันภัยขาดอายุแล้วก็ตามแต่ตัวแทนของจำเลยที่ 1 ก็ยินยอมให้โจทก์ผัดชำระเบี้ยประกันภัยได้และในกรณีเช่นนี้ตามปกติแล้วเมื่อตัวแทนจำเลยที่ 1 ติดต่อไปยังจำเลยที่ 1 ทางจำเลยที่ 1 ก็ต่ออายุสัญญาให้ ถือว่าคู่สัญญามีเจตนาต่ออายุสัญญาประกันภัยให้มีผลผูกพันต่อไปอีก 1 ปี ตามเงื่อนไขเดิม กฎหมายมิได้กำหนดแบบแห่งสัญญาประกันภัยไว้ สัญญาประกันภัยเกิดขึ้นเมื่อมีการแสดงเจตนาทำคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกัน มีระเบียบของจำเลยที่ 2 กำหนดให้เอาประกันภัยทรัพย์สินที่จำนองไว้กับจำเลยที่ 2 การที่ผู้จัดการสาขาของจำเลยที่ 2 ดำเนินการให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้เอาประกันภัยทรัพย์สินที่จำนองกับจำเลยที่ 1ย่อมมีผลให้จำเลยที่ 2 ได้หลักประกันที่มั่นคงยิ่งขึ้น ถือไม่ได้ว่าผู้จัดการสาขาของจำเลยที่ 2 ทำนอกเหนือวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 2หรือนอกเหนือขอบอำนาจที่จำเลยที่ 2 มอบให้ผู้จัดการสาขาของจำเลยที่ 2 กระทำแทน ในการเอาประกันภัยจำเลยที่ 2 ได้มีจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับประกันภัยให้แก่ลูกค้าของจำเลยที่ 2 โจทก์เป็นลูกค้าของจำเลยที่ 2 ได้เอาประกันภัยบ้านของโจทก์ที่จำนองไว้กับจำเลยที่ 2โดยมีผู้จัดการสาขาจำเลยที่ 2 ดำเนินการให้ตั้งแต่ให้โจทก์กรอกแบบคำเสนอขอเอาประกันภัย รับเบี้ยประกันภัยจากโจทก์ไปชำระให้จำเลยที่ 1 รับกรมธรรม์ประกันภัยและใบเสร็จรับเงินเบี้ยประกันภัยจากจำเลยที่ 1 มาให้โจทก์ ลักษณะการกระทำของผู้จัดการสาขาจำเลยที่ 2 แสดงว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนโดยปริยายของโจทก์ในการติดต่อทำนิติกรรมประกันภัยกับจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นตัวการต้องรับผิดต่อโจทก์แล้ว จำเลยที่ 2ในฐานะตัวแทนแม้จะประมาทเลินเล่อไม่ส่งเบี้ยประกันภัยในเวลาอันสมควรให้แก่จำเลยที่ 1 โจทก์ในฐานะตัวการยอมไม่ได้รับความเสียหายเพราะความเสียหายได้หมดไปโดยโจทก์ย่อมบังคับเอาจากจำเลยที่ 1 ได้จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 925/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องอาญาฐานยักยอกทรัพย์: คำฟ้องต้องระบุฐานความผิดชัดเจน หากไม่ระบุฐานเป็นผู้มีอาชีพที่น่าเชื่อถือ การอุทธรณ์จึงต้องห้าม
คำบรรยายฟ้องโจทก์ไม่ได้ระบุว่าจำเลยได้กระทำผิดยักยอกในฐานผู้มีอาชีพหรือประกอบธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนอันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 354 โดยโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยเป็นพนักงานธนาคาร และเป็นตัวแทนโจทก์ในการจัดเก็บหนี้สินจากลูกหนี้ของโจทก์เพื่อนำฝากเข้าบัญชีของโจทก์ แต่จำเลยไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตัวแทนที่ดี กลับปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตหวังประโยชน์ของตนเป็นใหญ่ จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของโจทก์นั้น จึงไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าการกระทำของจำเลยที่เป็นตัวแทนของโจทก์ตามฟ้องเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับการที่จำเลยเป็นพนักงานธนาคารซึ่งเป็นอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน หรือเป็นการที่โจทก์มอบให้จำเลยกระทำเป็นตัวแทนของโจทก์เป็นการส่วนตัว และไม่มีข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำผิดในฐานที่เป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดตามมาตรา 354 ฉะนั้นเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีของโจทก์จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ.
of 17