พบผลลัพธ์ทั้งหมด 168 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5134/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือแสดงเจตนาไม่ชัดเจน ไม่ถือเป็นสัญญาซื้อขายหุ้น ผู้จัดการมรดกไม่ต้องโอนหุ้นคืน
โจทก์เป็นหนี้บริษัท จ. โจทก์มีหนังสือถึงนาย จ. บิดาโจทก์ขอให้ชำระหนี้แทนโดยโจทก์จะโอนหุ้นของโจทก์ในบริษัทแห่งอื่นรวม 5 บริษัทให้แก่นาย จ. เป็นการชดใช้ให้ ซึ่งในหนังสือดังกล่าวโจทก์แสดงความประสงค์ไว้ว่า โจทก์ยังหวังที่จะกลับมามีส่วนในครอบครัวต่อไปภายหน้า ถ้าเป็นไปได้เมื่อไหร่ ที่โจทก์พร้อม โจทก์อยากจะขอซื้อหุ้นที่จะโอนให้แก่นาย จ. กลับคืน โดยโจทก์ยินยอมที่จะซื้อคืนมาในราคาที่โอนไปบวกดอกเบี้ยตามอัตราที่นาย จ.หรือสมาชิกของครอบครัวจะกำหนดให้ข้อความดังกล่าวไม่เป็นการแสดงเจตนาแสดงความประสงค์ของโจทก์ในลักษณะที่เป็นคำขอให้นาย จ.ทำสัญญาด้วย และไม่เป็นการชัดเจนแน่นอนว่าข้อที่จะทำให้เกิดหรือมีขึ้นคือการซื้อหุ้นดังกล่าวนั้นจะมีทางเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่เมื่อใด ข้อความที่ว่าโจทก์ยังหวังที่จะกลับมามีส่วนในครอบครัวต่อไปภายหน้าทำให้เห็นได้เป็นการแน่นอนว่าเป็นเรื่องที่โจทก์คาดหวังไว้ล่วงหน้า ถ้ามีโอกาสก็จะทำอย่างนั้นซึ่งในขณะที่ทำหนังสือถึงนาย จ. นั้น โจทก์ก็ยังไม่รู้ว่าโอกาสเช่นนั้นจะเกิดขึ้นหรือไม่ และยังไม่แน่นอนว่านาย จ. จะรับโอนหุ้น ที่โจทก์อ้างถึงเป็นการชำระหนี้หรือไม่ ทั้งยังไม่ได้มีการโอนหุ้นไปเป็นของนาย จ. ขณะนั้นจึงต้องถือว่าเรื่องการโอนหุ้นเป็นการชำระหนี้เป็นเรื่องอนาคต แม้ต่อมา นาย จ. ได้ตอบตกลงรับโอนหุ้นเป็นการชำระหนี้เงินกู้และโจทก์ได้โอนให้ นาย จ. ไปแล้วก็ตามข้อความที่ปรากฏในหนังสือที่โจทก์มีถึงนาย จ. ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นคำเสนอที่โจทก์ขอซื้อหุ้นคืนจากนาย จ. แต่เป็นเพียงข้อปรากฎถึงสิ่งที่โจทก์คาดหวังไว้ในอนาคตเท่านั้น ไม่มีผลที่จะผูกนิติสัมพันธ์อย่างใดกับผู้ที่ได้รับการปรารถเช่นนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5134/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเสนอซื้อหุ้นคืนที่ยังไม่ผูกพันสัญญา แม้มีการตอบรับภายหลัง สิทธิเรียกร้องจึงไม่เกิดขึ้น
โจทก์เป็นหนี้บริษัท จ. โจทก์มีหนังสือถึงนาย จ.บิดาโจทก์ขอให้ชำระหนี้แทนโดยโจทก์จะโอนหุ้นของโจทก์ในบริษัทแห่งอื่นรวม 5 บริษัทให้แก่นาย จ.เป็นการชดใช้ให้ ซึ่งในหนังสือดังกล่าวโจทก์แสดงความประสงค์ไว้ว่า โจทก์ยังหวังที่จะกลับมามีส่วนในครอบครัวต่อไปภายหน้าถ้าเป็นไปได้เมื่อไหร่ที่โจทก์พร้อม โจทก์อยากจะขอซื้อหุ้นที่จะโอนให้แก่นาย จ.กลับคืน โดยโจทก์ยินยอมที่จะซื้อคืนมาในราคาที่โอนไปบวกดอกเบี้ยตามอัตราที่นาย จ.หรือสมาชิกของครอบครัวจะกำหนดให้ข้อความดังกล่าวไม่เป็นการแสดงเจตนาแสดงความประสงค์ของโจทก์ในลักษณะที่เป็นคำขอให้นาย จ.ทำสัญญาด้วย และไม่เป็นการชัดเจนแน่นอนว่าข้อที่จะทำให้เกิดหรือมีขึ้นคือการซื้อหุ้นดังกล่าวนั้นจะมีทางเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่เมื่อใด ข้อความที่ว่าโจทก์ยังหวังที่จะกลับมามีส่วนในครอบครัวต่อไปภายหน้าทำให้เห็นได้เป็นการแน่นอนว่าเป็นเรื่องที่โจทก์คาดหวังไว้ล่วงหน้า ถ้ามีโอกาสก็จะทำอย่างนั้นซึ่งในขณะที่ทำหนังสือถึงนาย จ.นั้น โจทก์ก็ยังไม่รู้ว่าโอกาสเช่นนั้นจะเกิดขึ้นหรือไม่ และยังไม่แน่นอนว่านาย จ.จะรับโอนหุ้นที่โจทก์อ้างถึงเป็นการชำระหนี้หรือไม่ ทั้งยังไม่ได้มีการโอนหุ้นไปเป็นของนาย จ. ขณะนั้นจึงต้องถือว่าเรื่องการโอนหุ้นเป็นการชำระหนี้เป็นเรื่องอนาคต แม้ต่อมา นาย จ.ได้ตอบตกลงรับโอนหุ้นเป็นการชำระหนี้เงินกู้และโจทก์ได้โอนให้ นายจ.ไปแล้วก็ตาม ข้อความที่ปรากฏในหนังสือที่โจทก์มีถึงนาย จ.ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นคำเสนอที่โจทก์ขอซื้อหุ้นคืนจากนาย จ. แต่เป็นเพียงข้อปรารถถึงสิ่งที่โจทก์คาดหวังไว้ในอนาคตเท่านั้น ไม่มีผลที่จะผูกนิติสัมพันธ์อย่างใดกับผู้ที่ได้รับการปรารถเช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาเช่าเป็นคำมั่นบังคับได้ ผู้ให้เช่าต้องทำสัญญาเช่าต่อตามข้อตกลง
ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาเช่าที่ดินที่ว่า "ผู้ให้เช่าสัญญาว่าเมื่อครบกำหนดอายุสัญญานี้แล้ว ผู้ให้เช่าจะให้ผู้เช่าได้เช่าต่อไปอีกเป็นเวลา 10 ปี ทั้งนี้โดยผู้ให้เช่าตกลงยินยอมให้ผู้เช่าเช่าที่ดินดังกล่าวแล้วในค่าเช่าเดือนละ 800 บาท โดยผู้เช่ามิต้องจ่ายเงินเป็นก้อนเพิ่มเติม" นั้น เป็นคำมั่นของผู้ให้เช่า ผู้ให้เช่าตกเป็นฝ่ายลูกหนี้ที่ผู้เช่ามีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับเอาได้ก่อนสัญญาเช่าสิ้นสุดโจทก์ผู้เช่าได้แจ้งความประสงค์ในการที่จะเช่าที่ดินพิพาทต่อไปอีก 10 ปี ให้แก่จำเลยผู้ให้เช่าทราบ และจำเลยได้รับแจ้งแล้วจึงต้องผูกพันตามคำมั่นของตน โดยต้องทำสัญญาให้โจทก์เช่าที่ดินพิพาทต่อไปอีก 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่ากระแสไฟฟ้าของรัฐวิสาหกิจ, การคำนวณหน่วยไฟฟ้าผิดพลาด, และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
หนังสือสัญญาเช่ามีข้อตกลงว่า ผู้ให้เช่าสัญญาว่าเมื่อครบกำหนดอายุสัญญานี้แล้ว ผู้ให้เช่าก็จะให้ผู้เช่าได้เช่าต่อไปอีกเป็นเวลา 10 ปี ทั้งนี้ โดยผู้ให้เช่าตกลงยินยอมให้ผู้เช่าเช่าที่ดินดังกล่าวแล้วในค่าเช่าเดือนละ 800 บาท โดยผู้เช่ามิต้องจ่ายเงินเป็นก้อนเพิ่มเติม ข้อตกลงดังกล่าวเป็นคำมั่นของฝ่ายผู้ให้เช่าที่จะให้ผู้เช่าเลือกจะบังคับผู้ให้เช่าให้ต้องยอมทำสัญญาเช่าต่อไปอีกเป็นเวลา 10 ปีหรือไม่ และตามข้อตกลงนี้มีผลทำให้ผู้ให้เช่าตกเป็นฝ่ายลูกหนี้ที่ผู้เช่ามีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับเอาได้ก่อนครบกำหนดตามสัญญาเช่า ผู้เช่าได้แจ้งความจำนงขอเช่าต่ออีก 10 ปี ผู้ให้เช่าจะไม่ยอมให้เช่าไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเช่าต่ออายุ: คำมั่นของผู้ให้เช่าผูกพันได้ ผู้เช่ามีสิทธิบังคับได้
หนังสือสัญญาเช่ามีข้อตกลงว่า ผู้ให้เช่าสัญญาว่าเมื่อครบกำหนดอายุสัญญานี้แล้ว ผู้ให้เช่าก็จะให้ผู้เช่าได้เช่าต่อไปอีกเป็นเวลา 10 ปี ทั้งนี้ โดยผู้ให้เช่าตกลงยินยอมให้ผู้เช่าเช่าที่ดินดังกล่าวแล้วในค่าเช่าเดือนละ 800 บาท โดยผู้เช่ามิต้องจ่ายเงินเป็นก้อนเพิ่มเติม ข้อตกลงดังกล่าวเป็นคำมั่นของฝ่ายผู้ให้เช่าที่จะให้ผู้เช่าเลือกจะบังคับผู้ให้เช่าให้ต้องยอมทำสัญญาเช่าต่อไปอีกเป็นเวลา 10 ปีหรือไม่ และตามข้อตกลงนี้มีผลทำให้ผู้ให้เช่าตกเป็นฝ่ายลูกหนี้ที่ผู้เช่ามีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับเอาได้ก่อนครบกำหนดตามสัญญาเช่า ผู้เช่าได้แจ้งความจำนงขอเช่าต่ออีก 10 ปี ผู้ให้เช่าจะไม่ยอมให้เช่าไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำมั่นสัญญาเช่าต่อท้ายสัญญาเช่าเดิมมีผลผูกพันผู้ให้เช่า เมื่อผู้เช่าแจ้งความประสงค์ก่อนสัญญาเดิมสิ้นสุด
ข้อความตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาเช่าที่ดินข้อ 2 ที่ว่า"ผู้ให้เช่าสัญญาว่าเมื่อครบกำหนดอายุสัญญานี้แล้ว ผู้ให้เช่าก็จะให้ผู้เช่าได้เช่าต่อไปอีกเป็นเวลา 10 ปี ทั้งนี้โดยผู้ให้เช่าตกลงยินยอมให้ผู้เช่าเช่าที่ดินดังกล่าวแล้วในค่าเช่าเดือนละ 800บาท โดยผู้เช่ามิต้องจ่ายเงินเป็นก้อนเพิ่มเติม" นั้น เป็นคำมั่นของผู้ให้เช่า ผู้ให้เช่าตกเป็นฝ่ายลูกหนี้ที่ผู้เช่ามีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับเอาได้ เมื่อก่อนสัญญาเช่าสิ้นสุด โจทก์ผู้เช่าได้แจ้งความประสงค์ในการที่จะเช่าที่ดินพิพาทต่อไปอีก 10 ปี ให้แก่จำเลยผู้ให้เช่าทราบ และจำเลยได้รับแจ้งแล้วจึงต้องผูกพันตามคำมั่นของตน โดยจำเลยต้องทำสัญญาให้โจทก์เช่าที่ดินพิพาทต่อไปอีก 10 ปี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3641/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อที่ดิน: สิทธิซื้อคืน, การปฏิเสธซื้อ, และผลของการโอนที่ดินให้ผู้อื่น
โจทก์ขอให้บังคับจำเลยให้โอนที่ดินของจำเลยมาเป็นของโจทก์ราคาที่ดินย่อมเป็นทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกเอาจากจำเลย จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท โจทก์จำเลยมิได้พิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องค่าเช่าตามสัญญาเช่าจำเลยนำสืบสัญญาเช่าเป็นการสนับสนุนข้อต่อสู้ของจำเลยเท่านั้นการที่จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าเกี่ยวกับค่าเช่า จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 สัญญาเช่าระบุว่าหลังจาก 1 ปี นับแต่วันทำสัญญาผู้ให้เช่าสัญญาว่าจะขายที่ดินพร้อมอาคารและทรัพย์ตามสัญญานี้แก่ผู้เช่าเว้นแต่ผู้เช่าจะไม่รับซื้อ เมื่อการเช่าครบ 1 ปี และผู้ให้เช่าถามผู้เช่าแล้ว ผู้เช่าปฏิเสธไม่รับซื้อ ผู้ให้เช่าจึงสิ้นความผูกพันที่จะขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เช่าให้ผู้เช่าตามคำเสนอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3641/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลในคดีซื้อขาย และการนำสืบพยานเกี่ยวกับสัญญาเช่าเพื่อสนับสนุนข้อต่อสู้
โจทก์ขอให้บังคับจำเลยโอนขายที่ดินของจำเลยให้แก่โจทก์ราคาที่ดินย่อมเป็นทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกเอาจากจำเลย จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณราคาเป็นเงินได้โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท โจทก์จำเลยมิได้พิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องค่าเช่าตามสัญญาเช่าจำเลยนำสืบสัญญาเช่าเพื่อเป็นการสนับสนุนข้อต่อสู้ของจำเลยเท่านั้นดังนั้น การที่จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าเกี่ยวกับค่าเช่า จึงไม่เป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 94 สัญญาเช่าระบุว่าหลังจาก 1 ปี นับแต่วันทำสัญญาผู้ให้เช่าสัญญาว่าจะขายที่ดินพร้อมอาคารและทรัพย์ตามสัญญานี้แก่ผู้เช่าเว้นแต่ผู้เช่าจะไม่รับซื้อ เมื่อการเช่าครบ 1 ปี และผู้ให้เช่าถามผู้เช่าแล้ว ผู้เช่าปฏิเสธไม่รับซื้อ ผู้ให้เช่าจึงสิ้นความผูกพันที่จะขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เช่าให้ผู้เช่าตามคำเสนอ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2966/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาจ้างเหมา: ค่าเค, การปรับราคา, และผลของการแก้ไขสัญญาหลังส่งมอบงาน
ตามสัญญาจ้างเหมา กำหนดให้ปรับราคาค่างานตามราคาวัสดุที่ขึ้นลงเกินกว่าร้อยละ 5 ขึ้นไป ซึ่งเรียกว่าค่า 'เค' ได้ และเงื่อนไขในสัญญาที่ว่า คู่กรณีตกลงกันให้นำเอาสูตรการคำนวณค่าเคมาใช้ในการคิดคำนวณค่างานที่จะจ่ายจริงให้แก่โจทก์ซึ่งเป็น ผู้รับจ้าง ย่อมต้องถือว่าคู่สัญญาต่างมีเจตนาที่จะใช้สูตรคำนวณค่าเคนี้ ต่องานจ้างเหมาทั้งหมดในทุกรายการแม้ในสัญญาจะมิได้ระบุการแยกส่วนของเนื้องานออกเป็นแต่ละประเภทไว้ก็ตาม ก็หาเป็นเหตุผลเพียงพอที่จำเลยจะอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดไม่ชำระราคาค่างานเพิ่มให้แก่โจทก์ไม่
เดิมโจทก์จำเลยตกลงกันให้การจ้างเหมางานพิพาทเสร็จสิ้นภายในเดือนสิงหาคม 2522 และโจทก์ก็ได้ส่งมอบงานครบถ้วนตรงตามกำหนดระยะเวลาในสัญญา ต่อมาภายหลังที่กำหนดเวลาในสัญญาฉบับแรกสิ้นสุดลงทั้งการส่งมอบงานก็เสร็จเรียบร้อยไปแล้ว ได้มีการแก้ไขสัญญาย่นระยะเวลาให้สั้นเข้ามาจากสัญญาเดิมอีก 1 เดือน ดังนี้เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติงานครบถ้วนตามสัญญาจ้างเหมาจนเสร็จสิ้นไปก่อนแล้ว การที่มาแก้ไขสัญญากันในภายหลังแล้วถือเอาเงื่อนไขจากระยะเวลาที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นสาเหตุว่าโจทก์ผิดสัญญานั้นย่อมไม่มีผลบังคับ เพราะขณะส่งมอบงานโจทก์มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาแต่ประการใด.
เดิมโจทก์จำเลยตกลงกันให้การจ้างเหมางานพิพาทเสร็จสิ้นภายในเดือนสิงหาคม 2522 และโจทก์ก็ได้ส่งมอบงานครบถ้วนตรงตามกำหนดระยะเวลาในสัญญา ต่อมาภายหลังที่กำหนดเวลาในสัญญาฉบับแรกสิ้นสุดลงทั้งการส่งมอบงานก็เสร็จเรียบร้อยไปแล้ว ได้มีการแก้ไขสัญญาย่นระยะเวลาให้สั้นเข้ามาจากสัญญาเดิมอีก 1 เดือน ดังนี้เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติงานครบถ้วนตามสัญญาจ้างเหมาจนเสร็จสิ้นไปก่อนแล้ว การที่มาแก้ไขสัญญากันในภายหลังแล้วถือเอาเงื่อนไขจากระยะเวลาที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นสาเหตุว่าโจทก์ผิดสัญญานั้นย่อมไม่มีผลบังคับ เพราะขณะส่งมอบงานโจทก์มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาแต่ประการใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2966/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมา: การตีความเจตนาการปรับราคาค่างาน และผลของการแก้ไขสัญญาหลังส่งมอบงาน
ตามสัญญาจ้างเหมา กำหนดให้ปรับราคาค่างานตามราคาวัสดุที่ขึ้นลงเกินกว่าร้อยละ 5 ขึ้นไป ซึ่งเรียกว่าค่า 'เค' ได้ และเงื่อนไขในสัญญาที่ว่า คู่กรณีตกลงกันให้นำเอาสูตรการคำนวณค่าเคมาใช้ในการคิดคำนวณค่างานที่จะจ่ายจริงให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจ้าง ย่อมต้องถือว่าคู่สัญญาต่างมีเจตนาที่จะใช้สูตรคำนวณค่าเคนี้ ต่องานจ้างเหมาทั้งหมดในทุกรายการแม้ในสัญญาจะมิได้ระบุการแยกส่วนของเนื้องานออกเป็นแต่ละประเภทไว้ก็ตาม ก็หาเป็นเหตุผลเพียงพอที่จำเลยจะอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดไม่ชำระราคาค่างานเพิ่มให้แก่โจทก์ไม่
เดิมโจทก์จำเลยตกลงกันให้การจ้างเหมางานพิพาทเสร็จสิ้นภายในเดือนสิงหาคม 2522 และโจทก์ก็ได้ส่งมอบงานครบถ้วนตรงตามกำหนดระยะเวลาในสัญญา ต่อมาภายหลังที่กำหนดเวลาในสัญญาฉบับแรกสิ้นสุดลงทั้งการส่งมอบงานก็เสร็จเรียบร้อยไปแล้ว ได้มีการแก้ไขสัญญาย่นระยะเวลาให้สั้นเข้ามาจากสัญญาเดิมอีก 1 เดือน ดังนี้เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติงานครบถ้วนตามสัญญาจ้างเหมาจนเสร็จสิ้นไปก่อนแล้ว การที่มาแก้ไขสัญญากันในภายหลังแล้วถือเอาเงื่อนไขจากระยะเวลาที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นสาเหตุว่าโจทก์ผิดสัญญานั้นย่อมไม่มีผลบังคับ เพราะขณะส่งมอบงานโจทก์มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาแต่ประการใด.
เดิมโจทก์จำเลยตกลงกันให้การจ้างเหมางานพิพาทเสร็จสิ้นภายในเดือนสิงหาคม 2522 และโจทก์ก็ได้ส่งมอบงานครบถ้วนตรงตามกำหนดระยะเวลาในสัญญา ต่อมาภายหลังที่กำหนดเวลาในสัญญาฉบับแรกสิ้นสุดลงทั้งการส่งมอบงานก็เสร็จเรียบร้อยไปแล้ว ได้มีการแก้ไขสัญญาย่นระยะเวลาให้สั้นเข้ามาจากสัญญาเดิมอีก 1 เดือน ดังนี้เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติงานครบถ้วนตามสัญญาจ้างเหมาจนเสร็จสิ้นไปก่อนแล้ว การที่มาแก้ไขสัญญากันในภายหลังแล้วถือเอาเงื่อนไขจากระยะเวลาที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นสาเหตุว่าโจทก์ผิดสัญญานั้นย่อมไม่มีผลบังคับ เพราะขณะส่งมอบงานโจทก์มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาแต่ประการใด.