คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ม. 16

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4326/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ แม้มีองค์ประกอบภาพและคำทั่วไป ศาลฎีกาตัดสินให้ปฏิเสธการจดทะเบียน
"" เป็นเครื่องหมายการค้าที่ประกอบด้วยภาคส่วนอักษรโรมัน "W" และภาคส่วนคำภาษาอังกฤษว่า "HOTELS" โดยคำว่า "HOTELS" เป็นคำธรรมดาที่มีความหมายปรากฏในพจนานุกรมและเป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่าหมายถึง โรงแรม สำหรับภาคส่วนอักษรโรมัน "W" วางอยู่ตรงกลางของเครื่องหมายการค้า มีขนาดใหญ่กว่าภาคส่วนคำว่า "HOTELS" มาก หากมองภาพรวมของเครื่องหมายการค้าจะเห็นตัวอักษร "W" เด่นชัดกว่าภาคส่วนคำว่า "HOTELS" มาก ถือได้ว่า ภาคส่วน "W" เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้านี้ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบอักษร "W" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับตัวอักษรโรมันดับเบิลยูในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีการใช้อยู่ทั่วไปแล้ว แทบไม่พบความแตกต่างจากตัวอักษรดับเบิลยูตัวพิมพ์ใหญ่ธรรมดา จึงไม่อาจถือว่าอักษร "W" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นตัวหนังสือที่ประดิษฐ์ขึ้นอันจะมีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (3) (เดิม) ประกอบกับภาคส่วน "W" ที่เป็นสาระสำคัญนั้น เป็นส่วนเครื่องหมายการค้าที่เป็นตัวหนังสือ ไม่ใช่ส่วนที่เป็นคำหรือข้อความตามมาตรา 7 วรรคสอง (1) หรือ (2) (เดิม) ที่อาจพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้ได้ตามมาตรา 7 วรรคสาม (เดิม) จึงไม่จำต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบในเรื่องการใช้เครื่องหมายการค้าแต่อย่างใด ดังนี้ เมื่ออักษร "W" ในเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์ทั้งสามคำขอถือเป็นส่วนสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้า แต่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ อันไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนตามมาตรา 6 ถือว่าเครื่องหมายการค้า "" ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียน เป็นเหตุต้องปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2828/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้า "DULUX INSPIRE": คำว่า "INSPIRE" ไม่ใช่คำที่เล็งถึงลักษณะสินค้าโดยตรง จึงจดทะเบียนได้
แม้เครื่องหมายการค้าคำว่า "DULUX INSPIRE" ที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้จะแบ่งออกได้เป็น 2 ภาคส่วน สำหรับภาคส่วนคำว่า "DULUX" นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่มีข้อโต้แย้งเรื่องการมีลักษณะบ่งเฉพาะในตนเองแล้วของคำดังกล่าว ส่วนภาคส่วนคำว่า "INSPIRE" นั้นแม้จะเป็นคำภาษาต่างประเทศแต่ก็เป็นคำธรรมดาทั่วไปที่ปรากฏความหมายของคำตามพจนานุกรมว่าคำว่า "INSPIRE" มีความหมายหนึ่งว่า กระตุ้นหรือส่งอิทธิพลให้สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยม แต่คำภาษาต่างประเทศที่มีความหมายตามพจนานุกรมจะเป็นคำที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะเพราะเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรงหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาว่าความหมายของคำที่ประกอบเป็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวทำให้ผู้ใช้สินค้าสามารถทราบได้ทันทีหรือไม่ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องกับสินค้าใด หากเป็นเครื่องหมายซึ่งเป็นคำที่มีความหมายเป็นการบรรยายถึงลักษณะของสินค้าซึ่งทำให้ผู้ใช้สินค้าสามารถทราบได้ทันทีว่าเป็นเครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าใด จึงจะถือว่าเป็นเครื่องหมายที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง ในขณะที่เครื่องหมายที่มีความหมายเป็นการบรรยายถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นทางอ้อม ผู้ใช้สินค้าต้องใช้ความคิดและจินตนาการหรือแปลความหมายที่ซ้ำซ้อนกันนั้นอีกชั้นหนึ่งก่อนจึงจะรู้ว่าเป็นเครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าใด แม้อาจเป็นเครื่องหมายที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าก็เป็นไปโดยทางอ้อม หาใช่เป็นเครื่องหมายที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรงไม่ เมื่อพิจารณาความหมายของคำว่า "INSPIRE" ที่ปรากฏตามที่จำเลยทั้งสองนำสืบกล่าวอ้างดังกล่าว คือ กระตุ้นหรือส่งอิทธิพลให้สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยม ประกอบกับรายการสินค้าที่โจทก์นำคำว่า "INSPIRE" ไปใช้ คือ สีทา สีทาด้วยลูกกลิ้ง สีพ่น น้ำมันชักเงา แลกเกอร์ สารทำให้แห้ง ทินเนอร์ และสารทำให้เกิดสี ซึ่งทั้งหมดใช้เป็นสารเติมใส่แลกเกอร์ สารกันสนิม สารป้องกันการเสื่อมสภาพของไม้ สารที่เตรียมขึ้นใช้ทารองพื้นในลักษณะของสี สีแต้ม/ย้อมไม้ ยางเรซินธรรมชาติ(ยางมัสติก) สีโป๊ว สี น้ำมันชักเงา หรือแลกเกอร์ในลักษณะแผ่นปะติดที่สามารถย้ายตำแหน่งใหม่ได้ คำว่า "INSPIRE" ดังกล่าวไม่ได้มีความหมายที่บ่งบอกถึงคุณสมบัติของสินค้าของโจทก์โดยตรงว่าเป็นสินค้าที่เมื่อผู้บริโภคใช้แล้วจะเกิดการกระตุ้นหรือส่งอิทธิพลให้สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยมได้แต่อย่างใด ที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยอุทธรณ์ว่า คำว่า "INSPIRE" เมื่อนำมาใช้กับรายการสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนดังกล่าวแล้วจะทำให้เข้าใจได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านี้เป็นสินค้าที่ยอดเยี่ยมนั้น เป็นการใช้จินตนาการเกินเลยไปกว่าความหมายที่ปรากฏของคำดังกล่าว และแม้คำดังกล่าวจะเป็นคำที่โน้มน้าวจูงใจให้สาธารณชนทั่วไปเข้าใจ ใช้ความคิดจินตนาการต่อเนื่องกันไปได้ว่า สินค้าที่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะเป็นสินค้าที่กระตุ้นหรือมีอิทธิพลให้สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยมได้ ก็เป็นการใช้จินตนาการตีความหมายถ้อยคำที่ซับซ้อนให้โยงเกี่ยวข้องถึงสินค้าในทางอ้อม มิได้เป็นคำที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนโดยตรง คำว่า "INSPIRE" จึงเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะแล้ว เมื่อนำคำว่า "INSPIRE" มาใช้ประกอบกับคำว่า "DULUX" เป็นเครื่องหมายการค้าคำว่า "DULUX INSPIRE" ในลักษณะที่ไม่มีคำใดเป็นจุดเด่นกว่าคำใด ทั้งสองคำจึงเป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย แม้คำว่า "INSPIRE" จะเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าด้วย แต่เมื่อวินิจฉัยแล้วว่าคำดังกล่าวเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะเครื่องหมายการค้าคำว่า "DULUX INSPIRE" จึงมิใช่เครื่องหมายการค้าที่มีเครื่องหมายส่วนหนึ่งส่วนใดอันเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายที่ไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียน และเมื่อคำว่า "INSPIRE" เป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ประกอบกับไม่ปรากฏว่าคำว่า "INSPIRE" เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จึงไม่จำต้องให้โจทก์แสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้คำว่า "INSPIRE" ของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองที่ว่า เครื่องหมายการค้าคำว่า "DULUX INSPIRE" ตามคำขอจดทะเบียนคำขอนี้ของโจทก์มีลักษณะบ่งเฉพาะจากการใช้หรือไม่อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าภายใต้ พรบ.เครื่องหมายการค้าฯ พิจารณาจากรูปลักษณ์, เสียงเรียกขาน และลักษณะสินค้า
ในการพิจารณาความคล้ายกันของเครื่องหมายการค้า นอกจากจะต้องพิจารณาในเรื่องรูปลักษณ์และเสียงเรียกขานของเครื่องหมายแล้วยังคงต้องพิจารณาสินค้าที่นำมาขอจดทะเบียนเพื่อใช้กับเครื่องหมายด้วยว่าเป็นสินค้าประเภทเดียวกันหรือมีลักษณะอย่างเดียวกันหรือมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงถึงกันหรือไม่ รวมทั้งช่องทางจำหน่ายสินค้าและกลุ่มผู้ใช้สินค้าดังกล่าวว่าเป็นกลุ่มเดียวกันหรือมีความรู้ความชำนาญเฉพาะทางที่สามารถแยกแยะความแตกต่างของสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกันหรือไม่
เครื่องหมายการค้าคำว่า "" ที่โจทก์ขอจดทะเบียนกับเครื่องหมายการค้าคำว่า ของบุคคลอื่นจดทะเบียนไว้กับสินค้าจำพวก 1 เช่นเดียวกัน แม้ในส่วนรูปลักษณ์และเสียงเรียกขานมีความคล้ายกันเนื่องจากมีอักษรตัวท้ายแตกต่างกันเพียงตัวเดียวและมีเสียงเรียกขานที่คล้ายกัน แต่เมื่อพิจารณารายการสินค้าตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์ ผู้ใช้สินค้าของโจทก์ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรมผลิตสินค้าประเภทต่าง ๆ ส่วนผู้ใช้สินค้าที่เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นเป็นเกษตรกรที่ปลูกต้นยาง เมื่อกลุ่มผู้ใช้สินค้าและวัตถุประสงค์การใช้สินค้าแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ทั้งในการจำหน่ายสินค้าของโจทก์ โจทก์จะใช้วิธีติดต่อกับผู้ประกอบอุตสาหกรรมโดยตรงและไม่มีการวางจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และในการจำหน่าย เสนอจำหน่าย และโฆษณาสินค้าของโจทก์ที่ใช้เครื่องหมายการค้า "" นั้นจะปรากฏชื่อและเครื่องหมายการค้าคำว่า "BIOMERIEUX" อยู่ด้วยเสมอ จึงช่วยสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างสินค้าของโจทก์กับสินค้าของบุคคลอื่นได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
แม้เครื่องหมายการค้าคำว่า "" ของโจทก์มีเสียงเรียกขานคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นคำว่า "" และเครื่องหมายการค้า "" แต่เมื่อเปรียบเทียบรูปลักษณ์ของเครื่องหมายการค้าทั้งสามแล้ว มีความแตกต่างในเรื่องจำนวนตัวอักษรและตัวอักษรที่ต่างกัน รูปลักษณ์เครื่องหมายการค้าทั้งสามจึงต่างกัน เมื่อพิจารณาถึงรายการสินค้าตามคำขอจดทะเบียนแม้จะเป็นสินค้าจำพวก 9 เช่นเดียวกันทั้งสามเครื่องหมาย แต่เมื่อพิจารณารายการสินค้าตามคำขอของโจทก์เป็นสินค้าประเภทเครื่องและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ เครื่องและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ที่ไม่ใช้ในทางการแพทย์ กลุ่มผู้ใช้สินค้าของโจทก์ส่วนใหญ่จึงเป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่ตรวจสอบหาสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ และสินค้าของโจทก์ถูกใช้งานในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา ส่วนสินค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "" เป็นหลอดแก้วที่ใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์หรือทางการแพทย์ ซึ่งถูกใช้งานในห้องปฏิบัติการทางโลหิตวิทยา ซึ่งกลุ่มผู้ใช้สินค้าเป็นนักวิทยาศาสตร์หรือผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับทางการแพทย์ซึ่งย่อมต้องมีความรู้ความชำนาญในการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์เป็นอย่างดี จึงย่อมทราบความแตกต่างระหว่างสินค้าของโจทก์และของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้ ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า "" ของบุคคลอื่น ใช้กับรายการสินค้าที่เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับด้านการสื่อสารทางเสียง จึงไม่ใช่สินค้าที่มีลักษณะเดียวกับสินค้าโจทก์ ทั้งช่องทางการจำหน่ายของโจทก์เป็นการขายตรงต่อลูกค้าไม่มีวางจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป จึงยากที่กลุ่มผู้ใช้สินค้าของโจทก์จะสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าของโจทก์กับของบุคคลอื่นได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า จึงไม่ต้องห้ามมิให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 13 และ 16

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5400/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: 'DR' ไม่ใช่คำย่อทั่วไปและไม่ใช่คำสามัญที่จดทะเบียนไม่ได้
คดีนี้คำย่อของคำว่า "DOCTOR" ตามที่ปรากฏในพจนานุกรมคือ "DR" โดยใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่กับตัวพิมพ์เล็ก ไม่ใช่ "DR" ตามที่ปรากฏในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงไม่ใช่คำย่อของคำว่า "DOCTOR" ตามหลักเกณฑ์ในพจนานุกรมตามที่จำเลยกล่าวอ้าง เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงอาจเรียกขานได้ว่า "ดี-อา-เปป-เปอร์" นอกจากนั้น คำสามัญ (Generic word) ที่ไม่อาจรับจดทะเบียนได้นั้นหมายถึง คำที่เป็นชื่อเรียกสามัญของสินค้านั้นๆ เช่น คำว่า "เก้าอี้" สำหรับสินค้าเก้าอี้ เป็นต้น และไม่มีบุคคลใดสามารถหวงกันคำสามัญเช่นนั้นไว้ใช้กับสินค้าดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว สำหรับอักษรโรมัน "DR" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้จะพิจารณาว่าเป็นคำที่มาจากคำย่อของคำว่า "DOCTOR" ซึ่งเป็นคำทั่วไปที่มีความหมายในพจนานุกรมแปลว่า "แพทย์ หมอ ดุษฎีบัณฑิต" แต่คำดังกล่าวไม่ใช่ชื่อเรียกสามัญของสินค้าตามที่โจทก์ขอจดทะเบียน ทั้งความหมายของอักษรโรมันดังกล่าวไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าจำพวก น้ำดื่ม น้ำอัดลมหรือน้ำหวาน ที่โจทก์ขอจดทะเบียนใช้เครื่องหมายการค้าโดยตรง เมื่อเป็นเช่นนี้อักษรโรมัน "DR" จึงไม่ใช่เครื่องหมายที่ไม่อาจจดทะเบียนได้และมีลักษณะบ่งเฉพาะโดยโจทก์ไม่ต้องปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9093/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนคำวินิจฉัยเครื่องหมายการค้าต้องพิจารณาจากเหตุแห่งการปฏิเสธการจดทะเบียน
นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้แก่โจทก์เนื่องจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 16 เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในเวลาต่อมา จึงเป็นไปตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง มิใช่เป็นเรื่องตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 27 เพราะตามกฎหมายดังกล่าวนี้จะต้องเป็นเรื่องที่ต่างเจ้าของต่างได้ใช้มาแล้วด้วยกันโดยสุจริต หรือมีพฤติการณ์พิเศษที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นสมควรรับจดทะเบียน และจะต้องเป็นกรณีที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิจารณาและมีคำสั่งรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันให้แก่เจ้าของหลายคน ผู้ขอจดทะเบียนหรือเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจึงใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าต่อไป การดำเนินการในชั้นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 27 ดังนั้น โจทก์จะมาฟ้องคดีนี้ต่อศาลโดยตรงเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าและให้ศาลมีคำพิพากษาเกี่ยวกับการดำเนินการจดทะเบียน ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 27 ไม่ได้ กรณีเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9093/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยเครื่องหมายการค้า: ต้องอ้างอิงมาตรา 16 ไม่ใช่มาตรา 27 (การใช้โดยสุจริต)
คดีนี้เริ่มต้นมาจากกรณีที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้แก่โจทก์ เนื่องจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า ฯ มาตรา 16 เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในเวลาต่อมา จึงเป็นไปตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า ฯ มาตรา 16 เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ฯ มาตรา 18 วรรคหนึ่ง หาใช่เป็นเรื่องตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า ฯ มาตรา 27 แต่อย่างใดไม่ เพราะจะต้องเป็นเรื่องที่ต่างเจ้าของต่างได้ใช้มาแล้วด้วยกันโดยสุจริต หรือมีพฤติการณ์พิเศษที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นสมควรรับจดทะเบียน และจะต้องเป็นกรณีที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิจารณาและมีคำสั่งรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันให้แก่เจ้าของหลายคนผู้ขอจะทะเบียนเครื่องหรือเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจึงใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5463/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า และสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่เกิดก่อน
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมัน ตัวพิมพ์ใหญ่ คำว่า "HALOTRION" ส่วนของโจทก์เป็นอักษรโรมัน ตัวพิมพ์ใหญ่ คำว่า "HALOTRON" จึงมีอักษรโรมันที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่เหมือนกันถึง 8 ตัว และอยู่ในตำแหน่งเดียวกันแทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะอักษรโรมัน 4 ตัวแรก คือ HALO กับอักษรโรมัน 2 ตัวสุดท้ายคือ ON เพียงแต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีอักษรโรมัน I แทรกอยู่ระหว่างอักษรโรมัน R กับ O เท่านั้น ถือว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยและของโจทก์มีรูปลักษณะที่คล้ายกันมาก ในส่วนของเสียงเรียกขานนั้น เครื่องหมายการค้า HALOTRION ของจำเลยอ่านออกเสียง 4 พยางค์ ว่า ฮา-โล-ทรี-ออน และเครื่องหมายการค้า HALOTRON ของโจทก์อ่านออกเสียง 3 พยางค์ ว่า ฮา-โล-ทรอน แม้จะมีจำนวนพยางค์ที่ออกเสียงต่างกัน แต่เสียงเรียกขาน 2 พยางค์แรกซึ่งเป็นส่วนสำคัญนั้นเหมือนกัน ถือว่าเสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยและของโจทก์ก็คล้ายกันมากเช่นกันเมื่อพิจารณาเกี่ยวกับจำพวกสินค้า และรายการสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของแต่ละฝ่ายจะเห็นว่า เป็นสินค้าจำพวก 1 รายการสินค้า สารหรือน้ำยาที่ใช้ในการดับเพลิงเหมือนกัน ดังนี้ ถือได้แล้วว่า เครื่องหมายการค้า HALOTRION ของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้า HALOTRON ของโจทก์
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า HALOTRON มาก่อนจำเลยใช้เครื่องหมายการค้า HALONITE และ HALOTRION ทั้งจำเลยประกอบธุรกิจชนิดเดียวกับโจทก์ซึ่งมีสินค้าจำหน่ายในประเทศไทยมาก่อนแล้ว และบริษัทในเครือของจำเลยเคยสั่งซื้อสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงเป็นไปได้ว่าจำเลยเคยเห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อน ทำให้จำเลยคิดใช้เครื่องหมายการค้า HALOTRION อนึ่ง การที่สารฮาลอน HALON เป็นคำสามัญที่บุคคลทั่วไปอาจใช้ได้ ก็ไม่ทำให้จำเลยอาจนำไปใช้ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ รวมทั้งข้ออ้างที่ว่าการใช้เครื่องหมายการค้า HALOTRION เป็นเพราะมีการใช้สารประกอบ 3 ชนิด จำเลยก็ไม่สมควรที่จะทำให้เครื่องหมายการค้าของตนคล้ายกับของโจทก์เช่นนี้ จึงรับฟังว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้า HALOTRON ดีกว่าจำเลย และเมื่อคดีรับฟังมาแล้วว่า เครื่องหมายการค้า HALOTRION ของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้า HALOTRON ของโจทก์ จึงรับฟังต่อไปได้ด้วยว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้า HALOTRION ดีกว่าจำเลย
คดีนี้โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิจารณาแล้วมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 16 ซึ่งจำเลยไม่ได้คัดค้านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในส่วนนี้ ประกอบกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์อาจถูกคัดค้านในสาเหตุอื่นๆ ได้ โจทก์จึงไม่อาจห้ามจำเลยคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยเองตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 54 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4588/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ลิขสิทธิ์ผู้อื่นเป็นเครื่องหมายการค้าขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม แม้ไม่มีข้อห้ามโดยตรง
การนำงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้า แม้จะไม่ปรากฏข้อห้ามในกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าโดยตรง แต่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 8 ได้บัญญัติห้ามมิให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะดังนี้... (9) เครื่องหมายที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือรัฐประศาสโนบาย เมื่อเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ต้องการที่จะให้ความคุ้มครองแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ และเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าก็มุ่งที่จะให้ความคุ้มครองแก่บุคคลผู้กระทำการโดยสุจริตเป็นสำคัญ ดังนั้น การที่บุคคลใดทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคอื่นโดยวิธีใดๆ อันไม่สุจริต และนำไปใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของตนเช่นนี้ ย่อมเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย และขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือรัฐประศาสโนบาย เครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนนี้จึงมีหรือประกอบด้วยลักษณะอันต้องห้ามไม่ให้รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 8 (9) และไม่อาจรับจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 6 ประกอบมาตรา 16 ดังนั้น ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4588/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้รูปภาพมีลิขสิทธิ์เป็นเครื่องหมายการค้าเป็นการขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม
การนำงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้า แม้จะไม่ปรากฏข้อห้ามในกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าโดยตรง แต่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8 (9) ห้ามมิให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือรัฐประศาสโนบายเมื่อเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ต้องการที่จะให้ความคุ้มครองแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ และเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าก็มุ่งที่จะให้ความคุ้มครองแก่บุคคลผู้กระทำการโดยสุจริตเป็นสำคัญ ดังนั้น การที่บุคคลใดทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคอื่นโดยวิธีใดๆ อันไม่สุจริต และนำไปใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของตน ย่อมเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายและขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือรัฐประศาสโนบายนั่นเอง เครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนจึงมีหรือประกอบด้วยลักษณะอันต้องห้ามไม่ให้รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8 (9) และไม่อาจรับจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 ประกอบมาตรา 16

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4588/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ผลงานมีลิขสิทธิ์เป็นเครื่องหมายการค้าขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายและอาจขัดต่อความสงบเรียบร้อย
การนำงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้า แม้จะไม่ปรากฏข้อห้ามในกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าโดยตรง แต่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8 ได้บัญญัติห้ามมิให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะของเครื่องหมายที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือรัฐประศาสโนบาย เมื่อเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ต้องการที่จะให้ความคุ้มครองแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ และเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าก็มุ่งที่จะให้ความคุ้มครองแก่บุคคลผู้กระทำการโดยสุจริตเป็นสำคัญ ดังนั้น การที่บุคคลใดทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นโดยวิธีใด ๆ อันไม่สุจริต และนำไปใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของตน ย่อมเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย และขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือรัฐประศาสโนบาย
of 3