คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 391 วรรคสี่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขนส่ง: การปรับเปลี่ยนอัตราค่าขนส่งโดยไม่ได้รับความยินยอม ถือเป็นเหตุให้บอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายได้
สัญญารถขนส่งสินค้ามีผลผูกพันคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเป็นเวลา 3 ปี โดยอัตราค่าขนส่งยึดตามตารางกำหนดราคาน้ำมันแนบท้ายสัญญา ซึ่งเป็นสาระสำคัญและเป็นเงื่อนไขอย่างหนึ่งของสัญญา การที่จำเลยปรับเปลี่ยนอัตราค่าขนส่งโดยจัดทำช่วงราคาน้ำมันขึ้นใหม่จากเดิมปรับทุกช่วงราคา 2 บาท ต่อลิตร เป็นปรับทุกช่วงราคา 3.50 บาท ต่อลิตร ย่อมทำให้โจทก์เสียหาย และข้อตกลงในสัญญาก็ไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงใดให้จำเลยปรับเปลี่ยนอัตราค่าขนส่งให้แตกต่างจากอัตราค่าขนส่งแนบท้ายสัญญาได้ เมื่อโจทก์ไม่ได้ตกลงยินยอมด้วย การที่จำเลยขอยุติสัญญารถขนส่งสินค้าจึงไม่สามารถกระทำได้ ถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำโฆษณาเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาแฟรนไชส์ จำเลยต้องปฏิบัติตาม หากไม่ปฏิบัติตามถือเป็นการผิดสัญญา
เหตุที่โจทก์ที่ 1 เข้าทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิแฟรนไชส์กับจำเลยเป็นเพราะโจทก์ที่ 1 เชื่อในคำโฆษณาของจำเลยว่า โจทก์ที่ 1 จะได้ซื้อสินค้าในราคาถูกกว่าทั่วไปและได้รับการส่งสินค้าตรงเวลา เป็นสินค้าที่เป็นที่นิยม 4 ยี่ห้อ เป็นอะไหล่แท้จากโรงงาน รายได้ของแต่ละสาขาต่อเดือนอยู่ที่จำนวน 500,000 บาท ถึง 1,000,000 บาท อัตราส่วนกำไรโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว และมีการบริหารจัดการแฟรนไชส์ที่ดี แม้ในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิจะมิได้ระบุข้อตกลงเกี่ยวกับราคาสินค้า ความหลากหลายของสินค้าและการส่งสินค้าให้ถูกต้องก็ตาม แต่การโฆษณาของจำเลยดังกล่าวย่อมทำให้โจทก์ที่ 1 เข้าใจได้ในขณะเข้าทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิกับจำเลยว่าจำเลยผู้ให้สิทธิตกลงจะดำเนินการตามคำโฆษณานั้นเพื่อเป็นการตอบแทนที่โจทก์ที่ 1 เข้าทำสัญญาเป็นผู้รับสิทธิจนเป็นมูลเหตุจูงใจให้โจทก์ที่ 1 เข้าทำสัญญากับจำเลย ดังนี้ จึงต้องถือว่าคำโฆษณาดังกล่าวเป็นข้อตกลงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิผูกพันจำเลยให้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำโฆษณานั้นด้วย เมื่อจำเลยมิได้ดำเนินการตามคำโฆษณาก็ย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ เมื่อโจทก์ที่ 1 บอกเลิกสัญญาดังกล่าวแล้ว จำเลยก็จำต้องให้โจทก์ที่ 1 คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม และโจทก์ที่ 1 มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในฐานะผิดสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง และวรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2956/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาโดยความสมัครใจและสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการเลิกสัญญาไม่ทำให้ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบในค่าเสียหายหากไม่มีการผิดสัญญา
ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสี่ บัญญัติว่า การใช้สิทธิเลิกสัญญาหากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ มีความหมายว่า การเลิกสัญญานั้นไม่ลบล้างความรับผิดที่ลูกหนี้ได้ก่อขึ้นจากการที่ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ บทบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้สิทธิพิเศษแก่เจ้าหนี้ที่จะเรียกค่าเสียหายจากลูกหนี้ ในกรณีที่การเลิกสัญญานั้นเกิดจากความสมัครใจของทั้งสองฝ่ายโดยลูกหนี้มิได้ผิดสัญญา ทั้งค่าเช่าที่โจทก์ยังไม่ได้รับเป็นหนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระในเวลาที่มีการบอกเลิกสัญญากัน จึงไม่ใช่หนี้ค้างชำระที่จำเลยต้องรับผิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการบอกเลิกสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2956/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญากับค่าเสียหาย: เมื่อการเลิกสัญญาเป็นความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย ผู้เช่าไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเช่าที่ยังไม่ถึงกำหนด
ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสี่ บัญญัติว่า การใช้สิทธิเลิกสัญญาหากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ มีความหมายเพียงว่า การเลิกสัญญานั้นไม่ลบล้างความรับผิดที่ลูกหนี้ได้ก่อขึ้นจากการที่ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ บทบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้สิทธิพิเศษแก่เจ้าหนี้ที่จะเรียกค่าเสียหายจากลูกหนี้ในกรณีที่การเลิกสัญญานั้นเกิดจากความสมัครใจของทั้งสองฝ่ายโดยลูกหนี้มิได้ค้างชำระหนี้แก่เจ้าหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1021/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้, เบี้ยปรับ, อัตราดอกเบี้ย, การผิดนัดชำระหนี้, ศาลลดเบี้ยปรับ
แม้สัญญากู้ยืมเงินเลิกกันไปแล้วตามการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ เพราะจำเลยผิดนัดผิดสัญญาไม่ชำระหนี้เงินกู้ยืมก็ตาม โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตรา เอ็ม อาร์ อาร์ บวกร้อยละ 2 ซึ่งเป็นอัตราลอยตัวได้ ตามสิทธิที่โจทก์มีอยู่เดิมตามข้อสัญญาต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง และประกาศธนาคารโจทก์ที่ออกตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย กับยังมีสิทธิเรียกค่าเสียหายอันเป็นเบี้ยปรับจากจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายผิดนัดผิดสัญญาได้ด้วยเช่นกัน ตามข้อสัญญาและ ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสี่ แต่สำหรับค่าเสียหายส่วนที่เป็นเบี้ยปรับ อันได้แก่ ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย เอ็ม อาร์ อาร์ บวกร้อยละ 2 กับอัตราดอกเบี้ยที่เรียกจากลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข ซึ่งอยู่ระหว่างร้อยละ 1.75 ถึง 3.25 ต่อปี นั้น เมื่อได้คำนึงถึงพฤติการณ์แห่งคดีและทางได้เสียของโจทก์ประกอบกับภาวะดอกเบี้ยในตลาดการเงินในปัจจุบันซึ่งเป็นช่วงดอกเบี้ยขาลงแล้วเห็นว่าสูงเกินไป จึงสมควรกำหนดให้โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นเบี้ยปรับได้อีกเพียงร้อยละ 0.50 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยอัตรา เอ็ม อาร์ อาร์ บวกร้อยละ 2 ต่อปี หรือเท่ากับดอกเบี้ยอัตรา เอ็ม อาร์ อาร์ บวกร้อยละ 2.50 ต่อปี
(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2547)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3105/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิริบเงินประกันสัญญาเช่าและการเรียกร้องค่าเสียหายจากการบอกเลิกสัญญา กรณีผู้เช่าผิดสัญญาชำระค่าเช่า
สัญญาระบุว่า "ถ้าผู้เช่ากระทำผิดสัญญาข้อ 2 และถูกบอกเลิกสัญญา ผู้เช่าย่อมให้ผู้ให้เช่าริบเงินประกันตามข้อ 3 ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากค่าเช่า ที่ผู้เช่าจะต้องชำระหรือชดใช้ตามสัญญานี้" เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยเพราะจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 ไม่ชำระค่าเช่าตามกำหนด โจทก์จึงมีสิทธิริบเงินประกันทั้งหมดนอกเหนือจากสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างตามสัญญา การที่จำเลยผิดสัญญาจนโจทก์ต้องบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนดและโจทก์ต้องดำเนินการหาผู้เช่าสิทธิรายใหม่มาดำเนินการต่อในระหว่างหาผู้เช่าสิทธิรายใหม่ โจทก์ต้องให้บุคคลอื่นเช่าสิทธิไปพลางก่อนโดยได้ค่าเช่าน้อยกว่าที่เคยได้รับจากจำเลยทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ที่ควรได้หากไม่มีการเลิกสัญญากับจำเลยก่อนกำหนด ค่าขาดประโยชน์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3067/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทถูกยึด ผู้ขายละเลยแจ้ง ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์เข้าถมดินและขุดสระน้ำในที่พิพาทอันเป็นการทำประโยชน์ตามสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทซึ่งฝ่ายจำเลยผู้ขายยอมให้โจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินทันที เมื่อโจทก์ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยสุจริต ไม่ทราบว่าที่ดินพิพาทถูกเจ้าหนี้ของจำเลยยึด ดังนี้ จำเลยผู้ขายเป็นผู้ผิดสัญญาจะซื้อขาย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่ได้ถมดินและขุดสระน้ำดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาจ้างเหมา, ค่าปรับ, และการชำระหนี้เมื่อสัญญาเป็นโมฆะ/ระงับ
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมระงับลง โจทก์ จำเลยจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิม ดังนั้น โจทก์จึงหามีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าปรับตามสัญญาจากจำเลยอีกต่อไป โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสี่ เท่านั้น จำเลยส่งมอบงานงวดที่ 9 ให้แก่โจทก์เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามสัญญาไป 97 วัน โจทก์จึงจ่ายเงินค่าจ้างงานงวดดังกล่าวให้จำเลยไม่เต็ม โดยหักค่าปรับที่ส่งมอบงานล่าช้าตามสัญญาวันละ 2,000 บาทออกโดยจำเลยมิได้โต้แย้งไว้ ถือได้ว่าจำเลยได้ชำระค่าปรับในการส่งมอบงานงวดที่ 9 ล่าช้าให้แก่โจทก์ไปแล้ว สิทธิเรียกร้องขอลดค่าปรับก็เป็นอันขาดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา383 วรรคแรก ศาลไม่ชอบที่จะหยิบยกค่าปรับส่วนนี้มาลดให้จำเลยอีก