คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 19

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,382 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของสหภาพแรงงาน และสิทธิของนายจ้างในการยุบหอพักหลังเจรจาไม่เป็นผล
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับโจทก์โดยมีข้อตกลงให้มีผลใช้บังคับแก่ลูกจ้างทุกคนของจำเลยทั้งสามขอให้บังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้ ดังนี้ โจทก์ในฐานะสหภาพแรงงานย่อมมีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเป็นสัญญา ระหว่างโจทก์กับจำเลยได้ กรณีเช่นนี้โจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าลูกจ้างของจำเลยทั้งสามเป็นสมาชิกของโจทก์หรือไม่
บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องหอพักของพนักงานระหว่างโจทก์จำเลยมีว่า โจทก์ตกลงรับหลักการให้ยุบที่พักอาศัยของบริษัทจำเลยทั้งสามได้โดยทั้งสองฝ่ายจะพิจารณาในรายละเอียดร่วมกันและต้องทำความตกลงกันให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2529 และให้ลูกจ้างที่พักอาศัยทุกคนย้ายออกไปภายใน 2 เดือนหลังจากตกลงกันได้ เช่นนี้ ความสำคัญของข้อตกลงนี้จึงมีว่าคู่สัญญาไม่ประสงค์ให้มีที่พักอาศัยของลูกจ้างต่อไปอีก ส่วนข้อความว่าจะต้องมีการตกลงกันให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2529 นั้นเป็นเพียงรายละเอียด ทั้งยังแสดงเจตนาของคู่สัญญานั้นว่าไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไร ลูกจ้างจะต้องออกไปจากหอพักอย่างช้าที่สุดคือสิ้นปี พ.ศ. 2529 เมื่อปรากฏว่าโจทก์จำเลยไม่อาจเจรจาทำความตกลงกันได้ภายในเวลาที่กำหนด และเวลาก็ได้ล่วงพ้นปี พ.ศ. 2529 ไปแล้วจำเลยทั้งสามจึงมีสิทธิประกาศให้ลูกจ้างออกจากหอพักได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้าง, การยุบหอพัก, สิทธิของนายจ้าง, อำนาจฟ้องของสหภาพแรงงาน, การบังคับใช้สัญญา
บริษัทจำเลยได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไว้กับสหภาพแรงงานโดยมีข้อกำหนดว่าให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นมีผลใช้บังคับต่อลูกจ้างทุกคนของจำเลย คำฟ้องของโจทก์ในฐานะสหภาพแรงงานจึงเป็นคำฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวอันเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีต่อกัน โจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าลูกจ้างของจำเลยเป็นสมาชิกของโจทก์หรือไม่ ความในบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีว่า สหภาพแรงงานฯโจทก์ตกลงรับหลักการให้ยุบที่พักอาศัยของบริษัทฯ จำเลยได้โดยทั้งสองฝ่ายจะพิจารณาในรายละเอียดร่วมกันและต้องทำความตกลงกันให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2529 และให้ลูกจ้างที่พักอาศัยทุกคนย้ายออกภายใน2 เดือนหลังจากตกลงกันได้ แสดงว่าทั้งโจทก์และจำเลยต่างเห็นชอบพร้อมกันในหลักการที่จะไม่ประสงค์ให้มีที่พักอาศัยของลูกจ้างของจำเลยต่อไปอีก เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยไม่อาจทำความตกลงกันได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด การเจรจาที่ตกลงกันไม่ได้นี้ก็หาเป็นเหตุให้หลักการสำคัญคือการยุบที่พักอาศัยของจำเลยเป็นอันยกเลิกหรือไม่มีผลบังคับต่อไปไม่ เมื่อปรากฏ ว่าวันที่จำเลยประกาศให้ลูกจ้างออกจากหอพักล่วงพ้นปี พ.ศ. 2529 มาแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิให้พนักงานของจำเลยออกไปจากหอพักได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2736-2738/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงจ่ายบำเหน็จขัดมติคณะรัฐมนตรี: สัญญาไม่มีผลผูกพันรัฐวิสาหกิจ
บันทึกข้อตกลงระหว่างผู้แทนของจำเลยกับผู้แทนสหภาพโรงแรมเอราวัณที่ตกลงจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงาน เมื่อเลิกจ้าง ถือได้ว่าเป็นการปรับปรุงสวัสดิการที่อาจคิดเป็นตัวเงินได้ตามความหมายของมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 15 กันยายน 2524 ซึ่งห้ามมิให้รัฐวิสาหกิจใดกระทำการดังกล่าวเป็นอันขาดเว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเป็นพิเศษ จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม ทั้งพนักงานของจำเลยก็เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องอยู่ภายใต้บังคับของมติดังกล่าวด้วยเช่นกัน การที่ผู้แทนของจำเลยและผู้แทนของสหภาพแรงงานโรงแรมเอราวัณตกลงกันจ่ายเงินบำเหน็จอันเป็นการปรับปรุงสวัสดิการโดยฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรี จึงไม่มีผลบังคับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2736-2738/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มติคณะรัฐมนตรีห้ามปรับปรุงสวัสดิการรัฐวิสาหกิจ การตกลงจ่ายบำเหน็จขัดต่อมติฯ ไม่มีผลบังคับ
บันทึกข้อตกลงระหว่างผู้แทนของจำเลยกับผู้แทนสหภาพโรงแรมเอราวัณที่ตกลงจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงานเมื่อเลิกจ้าง ถือได้ว่าเป็นการปรับปรุงสวัสดิการที่อาจคิดเป็นตัวเงินได้ตามความหมายของมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 15 กันยายน2524 ซึ่งห้ามมิให้รัฐวิสาหกิจใดกระทำการดังกล่าวเป็นอันขาดเว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเป็นพิเศษ จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม ทั้งพนักงานของจำเลยก็เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องอยู่ภายใต้บังคับของมติดังกล่าวด้วยเช่นกัน การที่ผู้แทนของจำเลยและผู้แทนของสหภาพแรงงานโรงแรมเอราวัณตกลงกันจ่ายเงินบำเหน็จอันเป็นการปรับปรุงสวัสดิการโดยฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรี จึงไม่มีผลบังคับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้าง: การกำหนดเวลาทำงานวันละ 24 ชั่วโมง และสิทธิค่าล่วงเวลา
บริษัทจำเลยกำหนดให้พนักงานขับรถยนต์ส่วนกลางเข้าทำงานวันละ24 ชั่วโมง หยุดพักวันรุ่งขึ้น 24 ชั่วโมง ต่อมาจำเลยดำริ ให้เปลี่ยนเป็นทำงานเป็นผลัด ผลัดละ 8 ชั่วโมง แต่พนักงานขับรถยนต์ของจำเลยขอให้กำหนดเวลาทำงานเช่นเดิม โดยอ้างว่าต้องมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นซึ่งจำเลยก็ได้ตกลงยินยอมกำหนดเวลาทำงานของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ใช้บังคับได้ หาขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยในภายหลัง ก็ย่อมต้องถูกผูกพันตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว การทำงานของโจทก์จึงมิใช่เป็นการทำงานนอกเวลาทำงานปกติอันจะมีสิทธิเรียกเอาค่าล่วงเวลาจากจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างและความรับผิดชอบจากอุบัติเหตุ พนักงานขับรถ
บริษัทจำเลยกำหนดให้พนักงานขับรถยนต์ส่วนกลางเข้าทำงานวันละ 24 ชั่วโมง หยุดพักวันรุ่งขึ้น 24 ชั่วโมง ต่อมาจำเลยดำริให้เปลี่ยนเป็นทำงานเป็นผลัด ผลัดละ 8 ชั่วโมง แต่พนักงานขับรถยนต์ของจำเลยขอให้กำหนดเวลาทำงานเช่นเดิมโดยอ้างว่าต้องมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งจำเลยก็ได้ตกลงยินยอมกำหนดเวลาทำงานของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ใช้บังคับได้ หาขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยในภายหลังก็ย่อมต้องถูกผูกพันตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว การทำงานของโจทก์จึงมิใช่เป็นการทำงานนอกเวลาทำงานปกติอันจะมีสิทธิเรียกเอาค่าล่วงเวลาจากจำเลยได้
ระเบียบของจำเลยกำหนดว่า ถ้าเกิดอุบัติเหตุและได้รับการพิจารณาถึงที่สุด พขร.(พนักงานขับรถ)เป็นฝ่ายผิดพขร.ที่ทำหน้าที่ขับรถจะต้องรับผิดชอบร้อยละหกสิบ ส่วน พขร.ที่นั่งคู่จะต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบร่วมร้อยละสี่สิบดังนี้เมื่อ ส.ขับรถยนต์ของจำเลยด้วยความประมาทเลินเล่อเกิดอุบัติเหตุทำให้จำเลยได้รับความเสียหายขณะที่โจทก์เป็นพนักงานขับรถที่นั่งคู่ จำเลยจึงมีสิทธิให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายในอัตราร้อยละสี่สิบของค่าเสียหายทั้งหมดได้ ตามระเบียบดังกล่าว และเมื่อโจทก์ได้ยินยอมทำหนังสือรับสภาพหนี้โดยผ่อนชำระให้แก่จำเลยจึงเป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยมีสิทธิบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 404/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างกำหนดให้สหภาพแรงงานต้องมีส่วนร่วมในการสอบสวนทางวินัย การเลิกจ้างโดยไม่ปฏิบัติตามถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงานการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งโจทก์เป็นสมาชิกอยู่ มีว่าเมื่อจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนพนักงานของจำเลย กรณีที่มีการกล่าวหาว่าพนักงานของจำเลยถูกกล่าวหาหรือมีความผิดเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานการประปาส่วนภูมิภาค จำเลยต้องให้ผู้แทนของสหภาพแรงงานการประปาส่วนภูมิภาคเข้าร่วมเป็นกรรมการสอบสวนด้วย โดยให้สหภาพแรงงานการประปาส่วนภูมิภาคเป็นผู้เสนอชื่อผู้แทนไม่น้อยกว่า 1 คน ดังนั้น การออกคำสั่งของจำเลยหรือทำการสอบสวนพนักงาน จำเลยต้องปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยเคร่งครัด การที่จำเลยแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนโจทก์ทางวินัยโดยไม่มีผู้แทนของสหภาพแรงงานการประปาส่วนภูมิภาคเข้าร่วมเป็นกรรมการสอบสวนและจำเลยสั่งให้โจทก์ออกจากงานนั้น เป็นคำสั่งที่ขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบและกรณีต้องถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมีการสอบสวนที่ไม่ชอบอันเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 404/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อตกลงสภาพการจ้าง โดยต้องให้สหภาพแรงงานเข้าร่วมสอบสวนวินัย
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงานการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งโจทก์เป็นสมาชิกอยู่ มีว่าเมื่อจะมีการแต่ง ตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนพนักงานของจำเลยกรณีที่มีการกล่าวหาว่าพนักงานของจำเลยถูกกล่าวหาหรือมีความผิดเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานการประปาส่วนภูมิภาค จำเลยต้องให้ผู้แทนของสหภาพแรงงานการประปาส่วนภูมิภาค เข้าร่วมเป็นกรรมการสอบสวนด้วยโดยให้สหภาพแรงงานการประปาส่วนภูมิภาค เป็นผู้เสนอชื่อ ผู้แทนไม่น้อยกว่า 1 คน ดังนั้น การออกคำสั่งของจำเลยหรือทำการสอบสวนพนักงาน จำเลยต้องปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยเคร่งครัด การที่จำเลยแต่ง ตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนโจทก์ทางวินัยโดยไม่มีผู้แทนของสหภาพแรงงานการประปาส่วนภูมิภาคเข้าร่วมเป็นกรรมการสอบสวนและจำเลยสั่งให้โจทก์ออกจากงานนั้น เป็นคำสั่งที่ขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบและกรณีต้องถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมีการสอบสวนที่ไม่ชอบอันเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3756/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างข้ามประเทศ: สิทธิลูกจ้างตามสัญญาเดิมมีผลเหนือคู่มือพนักงานเฉพาะลูกจ้างในประเทศ
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยทำในประเทศอังกฤษโดยให้โจทก์ทำงานในประเทศมาเลเซียได้กำหนดเงื่อนไขในการจ้างและสิทธิของลูกจ้างไว้โดยชัดแจ้งแม้ต่อมาจำเลยจะส่งโจทก์เข้ามาทำงานในประเทศไทยซึ่งมีระเบียบข้อบังคับคู่มือพนักงานใช้บังคับเฉพาะลูกจ้างของจำเลยซึ่งกระทำกันในประเทศไทยเท่านั้นโจทก์จะเรียกร้องเงินค่าชดเชยที่มีจำนวนมากกว่าสัญญาจ้างจากจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามคู่มือพนักงานฉบับดังกล่าวไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3756/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างต่างประเทศและขอบเขตสิทธิ: ลูกจ้างโพ้นทะเลไม่สามารถเรียกร้องสิทธิจากคู่มือพนักงานไทยได้
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยทำในประเทศอังกฤษ โดยให้โจทก์ทำงานในประเทศมาเลเซีย ได้กำหนดเงื่อนไขในการจ้างและสิทธิของลูกจ้างไว้โดยชัดแจ้งแม้ต่อมาจำเลยจะส่งโจทก์เข้ามาทำงานในประเทศไทย ซึ่งมีระเบียบข้อบังคับคู่มือพนักงานใช้บังคับเฉพาะลูกจ้างของจำเลยซึ่งกระทำกันในประเทศไทยเท่านั้นโจทก์จะเรียกร้องเงินค่าชดเชยที่มีจำนวนมากกว่าสัญญาจ้างจากจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามคู่มือพนักงานฉบับดังกล่าวไม่ได้
of 239