พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,382 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3756/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างต่างประเทศ: สิทธิลูกจ้างตามสัญญาเดิม แม้ทำงานในไทย
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยทำในประเทศอังกฤษ โดยให้โจทก์ทำงานในประเทศมาเลเซีย ได้กำหนดเงื่อนไขในการจ้างและสิทธิของลูกจ้างไว้โดยชัดแจ้งแม้ต่อมาจำเลยจะส่งโจทก์เข้ามาทำงานในประเทศไทย ซึ่งมีระเบียบข้อบังคับคู่มือพนักงานใช้บังคับเฉพาะลูกจ้างของจำเลยซึ่งกระทำกันในประเทศไทยเท่านั้น โจทก์จะเรียกร้องเงินค่าชดเชยที่มีจำนวนมากกว่าสัญญาจ้างจากจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามคู่มือพนักงานฉบับดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3115/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำผ่านไกล่เกลี่ยของพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน มีผลผูกพันสมาชิกสหภาพแรงงาน
พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงานของจำเลยตกลงกันได้ว่า จำเลยตกลงนำเงินค่าครองชีพเดือนละ 500 บาท ไปรวมกับเงินเดือนของพนักงาน และพนักงานไม่ติดใจที่จะนำปัญหาการคิดคำนวณค่าล่วงเวลาย้อนหลังไปฟ้องร้องต่อไปอีก บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นจากการแจ้งข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานของจำเลยต่อจำเลย ผู้แทนทั้งสองฝ่ายลงลายมือชื่อในบันทึกข้กตกลงที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้บันทึกไว้ แล้วคู่กรณีนำไปจดทะเบียนต่ออธิบดีกรมแรงงานจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นโดยชอบตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มีผลใช้บังคับและผูกพันคู่กรณีรวมทั้งโจทก์ทั้งหมดซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน ไม่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าล่วงเวลาค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด โดยนำค่าครองชีพไปรวมกับเงินเดือนเป็นฐานคำนวณย้อนหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3115/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างที่ผูกพันสมาชิกสหภาพแรงงาน: การนำค่าครองชีพมารวมเงินเดือน และผลกระทบต่อการเรียกร้องค่าล่วงเวลา
พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงานของจำเลยตกลงกันได้ว่า จำเลยตกลงนำเงินค่าครองชีพเดือนละ 500 บาท ไปรวมกับเงินเดือนของพนักงานและพนักงานไม่ติดใจที่จะนำปัญหาการคิดคำนวณค่าล่วงเวลาย้อนหลังไปฟ้องร้องต่อไปอีก บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นจากการแจ้งข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานของจำเลยต่อจำเลย ผู้แทนทั้งสองฝ่ายลงลายมือชื่อในบันทึกข้กตกลงที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้บันทึกไว้ แล้วคู่กรณีนำไปจดทะเบียนต่ออธิบดีกรมแรงงานจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นโดยชอบตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518 มีผลใช้บังคับและผูกพันคู่กรณีรวมทั้งโจทก์ทั้งหมดซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานไม่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าล่วงเวลาค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด โดยนำค่าครองชีพไปรวมกับเงินเดือนเป็นฐานคำนวณย้อนหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3115/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำผ่านสหภาพแรงงานมีผลผูกพันสมาชิก แม้จะไม่ได้ฟ้องร้องค้างเก่า
พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงานของจำเลยตกลงกันได้ว่าจำเลยตกลงนำเงินค่าครองชีพเดือนละ500บาทไปรวมกับเงินเดือนของพนักงานและพนักงานไม่ติดใจที่จะนำปัญหาการคิดคำนวณค่าล่วงเวลาย้อนหลังไปฟ้องร้องต่อไปอีกบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นจากการแจ้งข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานของจำเลยต่อจำเลยผู้แทนทั้งสองฝ่ายลงลายมือชื่อในบันทึกข้กตกลงที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้บันทึกไว้แล้วคู่กรณีนำไปจดทะเบียนต่ออธิบดีกรมแรงงานจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นโดยชอบตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มีผลใช้บังคับและผูกพันคู่กรณีรวมทั้งโจทก์ทั้งหมดซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานไม่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าล่วงเวลาค่าทำงานในวันหยุดค่าล่วงเวลาในวันหยุดโดยนำค่าครองชีพไปรวมกับเงินเดือนเป็นฐานคำนวณย้อนหลัง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 556-557/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำวินิจฉัยคณะกรรมการอุทธรณ์ตามระเบียบข้อบังคับบริษัท: นายจ้างต้องผูกพัน
ระเบียบพนักงานบริษัทขนส่ง จำกัดเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจึงมีผลใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างเมื่อตามระเบียบฯให้สิทธิแก่ลูกจ้างผู้ถูกลงโทษอุทธรณ์คำสั่งลงโทษไปยังคณะกรรมการอุทธรณ์ก็เท่ากับนายจ้างยอมรับที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์แม้ระเบียบจะมิได้กำหนดไว้ชัดแจ้งว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ให้มีผลผูกมัดนายจ้างก็ตาม จำเลยมีคำสั่งลงโทษไล่โจทก์ออกจากงานโจทก์อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ของจำเลยตามระเบียบพนักงานบริษัทขนส่ง จำกัดของจำเลยแล้วดังนี้เมื่อคณะกรรมการอุทธรณ์วินิจฉัยให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษของจำเลยจำเลยต้องผูกพันปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 556-557/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันตามคำวินิจฉัยคณะกรรมการอุทธรณ์: นายจ้างต้องปฏิบัติตามระเบียบสัญญาจ้าง แม้ไม่มีข้อกำหนดผูกพันชัดเจน
ระเบียบพนักงานบริษัทขนส่งจำกัดเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจึงมีผลใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างเมื่อตามระเบียบฯให้สิทธิแก่ลูกจ้างผู้ถูกลงโทษอุทธรณ์คำสั่งลงโทษไปยังคณะกรรมการอุทธรณ์ก็เท่ากับนายจ้างยอมรับที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์แม้ระเบียบจะมิได้กำหนดไว้ชัดแจ้งว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ให้มีผลผูกมัดนายจ้างก็ตาม. จำเลยมีคำสั่งลงโทษไล่โจทก์ออกจากงานโจทก์อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ของจำเลยตามระเบียบพนักงานบริษัทขนส่งจำกัดของจำเลยแล้วดังนี้เมื่อคณะกรรมการอุทธรณ์วินิจฉัยให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษของจำเลยจำเลยต้องผูกพันปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 242/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำงานเกินเวลาและค่าจ้าง: สัญญาจ้างแรงงานที่ตกลงทำงาน 12 ชั่วโมงต่อวันและรับค่าจ้างรายเดือนไม่ขัดกฎหมาย หากได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมแรงงาน
กรณีที่อธิบดีกรมแรงงานอนุญาตให้นายจ้างมีสิทธิสั่งให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาปกติตามกฎหมายได้นั้น นายจ้างกับลูกจ้างย่อมทำสัญญาให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาและจ่ายค่าจ้างกันเท่าใดก็ได้ เมื่อลูกจ้างยินยอมทำงานวันละ 12 ชั่วโมงโดยรับค่าจ้างเป็นรายเดือนอันมิใช่เป็นกรณีที่นายจ้างเพิ่มชั่วโมงทำงานในภายหลังและไม่ปรากฏว่าค่าจ้างต่ำกว่าอันตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมาย ข้อตกลงนี้ไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายและผูกพันลูกจ้างกับนายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้าง: การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษแทนค่าล่วงเวลาสำหรับงานขนส่งรถไฟ
จำเลยให้ลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่เป็นนายสถานีหรือผู้ช่วยทำงานวันละ 12 ชั่วโมงมานานแล้ว โดยจำเลยจ่ายแต่เงินค่าตอบแทนพิเศษเพิ่มให้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเท่านั้น และลูกจ้างก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา เพราะงานที่ทำเป็นงานขบวนการจัดงานรถไฟและงานขนส่ง ดังนี้ ลูกจ้างต้องผูกพันได้รับเพียงค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าว หามีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับเวลาที่ทำเกินวันละ 8 ชั่วโมงอีกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2929/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้าง: อำนาจการอนุมัติลาของนายจ้างมีขอบเขตแค่ไหน
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีข้อความว่า "บริษัทฯยินดีพิจารณาให้กรรมการและอนุกรรมการบริหารสหภาพฯลาเพื่อทำกิจกรรมต่างๆได้ โดยประธานสหภาพฯทำหนังสือยื่นต่อฝ่ายจัดการเพื่ออนุมัติเป็นคราวๆไป โดยบริษัทฯจะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่" นั้นแสดงว่า กรณีที่กรรมการขอลาไปประกอบกิจกรรมของสหภาพฯบริษัทนายจ้างมีอำนาจที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้ตามที่เห็นสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2929/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้าง: อำนาจการอนุมัติลาของนายจ้างเป็นดุลยพินิจ ไม่ผูกมัดต้องอนุมัติทุกครั้ง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีข้อความว่า "บริษัทฯยินดีพิจารณาให้กรรมการและอนุกรรมการบริหารสหภาพฯลาเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ โดยประธานสหภาพ ฯ ทำหนังสือยื่นต่อฝ่ายจัดการเพื่ออนุมัติเป็นคราวๆไป โดยบริษัท ฯ จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่" นั้นแสดงว่า กรณีที่กรรมการขอลาไปประกอบกิจกรรมของสหภาพ ฯ บริษัทนายจ้างมีอำนาจที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้ตามที่เห็นสมควร