คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 19

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,382 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2821/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างผูกพันลูกจ้างใหม่ได้ แม้ไม่ได้ลงนามหรือมีส่วนร่วมในการเจรจา หากนายจ้างมีเจตนาให้ผูกพันเป็นการทั่วไป
บทบัญญัติมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มิได้บังคับเด็ดขาดว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้มีผลผูกพันแต่เฉพาะลูกจ้างที่ลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้อง หรือมีส่วนในการเลือกผู้แทนเข้าร่วมเจรจาเท่านั้นดังนั้น เมื่อนายจ้างมีเจตนาให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับพิพาทมีผลผูกพันลูกจ้างเป็นการทั่วไป ลูกจ้างผู้ที่เข้ามาทำงานในภายหลังจากมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับดังกล่าวก็มีสิทธิได้รับประโยชน์จากข้อตกลงนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2369/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง: หลักฐานจากคำสั่งจ่ายและมติคณะรัฐมนตรีใช้คำนวณค่าทำงานในวันหยุดได้
จำเลยจ่ายเงินค่าครองชีพให้พนักงานที่มีเงินเดือนไม่เกินที่กำหนดไว้โดยเสมอหน้ากัน เป็นจำนวนแน่นอนประจำทุกเดือน มีลักษณะอย่างเดียวกับเงินเดือนของพนักงานเงินค่าครองชีพจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างหรือเงินเดือน
เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยตามอุทธรณ์ของจำเลยกล่าวเฉพาะ 'ค่าล่วงเวลา' และ 'ค่าชดเชย' เท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึง 'ค่าทำงานในวันหยุด' แต่ประการใด จึงนำข้อตกลงนี้มาใช้เป็นหลักในการคำนวณค่าทำงานในวันหยุดของโจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2369/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างฐานคำนวณค่าทำงานในวันหยุด แม้ข้อตกลงสภาพการจ้างจะไม่ได้ระบุ
จำเลยจ่ายเงินค่าครองชีพให้พนักงานที่มีเงินเดือนไม่เกินที่กำหนดไว้โดยเสมอหน้ากัน. เป็นจำนวนแน่นอนประจำทุกเดือนมีลักษณะอย่างเดียวกับเงินเดือนของพนักงานเงินค่าครองชีพจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างหรือเงินเดือน
เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยตามอุทธรณ์ของจำเลยกล่าวเฉพาะ 'ค่าล่วงเวลา' และ 'ค่าชดเชย'เท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึง 'ค่าทำงานในวันหยุด' แต่ประการ ใด จึงนำข้อตกลงนี้มาใช้เป็นหลักในการคำนวณค่าทำงานในวันหยุดของโจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 362/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่มาทำงานสายเป็นประจำ นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าบอกกล่าวล่วงหน้า
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่กำหนดว่า "ในกรณีที่พนักงานมาทำงานในวันหยุดพิเศษ (วันหยุดตามประเพณี) นายจ้างตกลงจ่ายเงินให้ในอัตราสองเท่าของเงินเดือนและค่าบริการโดยเฉลี่ยเป็นรายวัน ส่วนการขาดงานให้ตัดเงินเดือนและค่าบริการโดยเฉลี่ยเป็นรายวันในกรณีที่พนักงานสายเกินกำหนด ซึ่งไม่ถือว่าขาดงานจะทำโทษเฉพาะตัดเงินเดือนเท่านั้น" เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับระเบียบการทำงานเฉพาะในวันหยุดพิเศษ หรือวันหยุดประเพณี มิได้หมายความถึงการทำงานในวันทำงานตามปกติ ซึ่งมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยวางไว้ต่างหาก
เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างได้กำหนดมาตรการในการลงโทษลูกจ้างผู้มาทำงานสายไว้เป็นลำดับ ซึ่งระดับโทษมีตั้งแต่ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร ตัดค่าจ้าง พักงานชั่วคราวโดยไม่จ่ายค่าจ้าง และเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย จำเลยย่อมมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างที่มาทำงานสายเป็นประจำ ซึ่งนายจ้างได้ออกหนังสือเตือนหลายครั้งโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้
การที่ลูกจ้างมาทำงานสายเป็นประจำและนายจ้างได้เตือน แล้วถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต นายจ้างย่อมมีสิทธิที่จะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 362/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่มาทำงานสาย แม้มีข้อตกลงเรื่องการตัดเงินเดือนเฉพาะวันหยุดพิเศษ ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่กำหนดว่าในกรณีที่พนักงานมาทำงานในวันหยุดพิเศษ (วันหยุดตามประเพณี) นายจ้างตกลงจ่ายเงินให้ในอัตราสองเท่าของเงินเดือนและค่าบริการโดยเฉลี่ยเป็นรายวัน ส่วนการขาดงานให้ตัดเงินเดือนและค่าบริการโดยเฉลี่ยเป็นรายวันในกรณีที่พนักงานสายเกินกำหนด ซึ่งไม่ถือว่าขาดงานจะทำโทษเฉพาะตัดเงินเดือนเท่านั้น นั้น เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับระเบียบการทำงานเฉพาะในวันหยุดพิเศษ หรือวันหยุดประเพณี มิได้หมายความถึงการทำงานในวันทำงานตามปกติ ซึ่งมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยวางไว้ต่างหาก
เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างได้กำหนดมาตรการในการลงโทษลูกจ้างผู้มาทำงานสายไว้เป็นลำดับซึ่งระดับโทษมีตั้งแต่ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร ตัดค่าจ้าง พักงานชั่วคราวโดยไม่จ่ายค่าจ้างและเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย จำเลยย่อมมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างที่มาทำงานสายเป็นประจำ ซึ่งนายจ้างได้ออกหนังสือเตือนหลายครั้งโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้
การที่ลูกจ้างมาทำงานสายเป็นประจำและนายจ้างได้เตือนแล้วถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่สมควรแก่การ ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต นายจ้างย่อมมีสิทธิที่จะไล่ออกโดยมิพักต้อง บอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3676/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างส่วนลดค่าไฟฟ้า: การปรับปรุงอัตราค่าไฟฟ้าไม่ผูกพันจำเลยต้องปรับปรุงส่วนลดทุกครั้ง
แม้ระเบียบการช่วยเหลือพนักงานเกี่ยวกับส่วนลดค่าไฟฟ้าของจำเลยจะถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแต่ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นจากการเรียกร้องแต่ละคราวของพนักงานหรือเป็นไปตามที่จำเลยฝ่ายเดียวดำริช่วยเหลือแก่พนักงานเฉพาะคราวสิทธิของพนักงานเกี่ยวกับส่วนลดค่าไฟฟ้าซึ่งเป็นไปตามข้อเรียกร้องหรือความดำริของจำเลยแต่ละคราวไป และไม่ปรากฏข้อตกลงอันมีผลผูกพันว่า เมื่อจำเลยปรับปรุงอัตราค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจะต้องปรับปรุงส่วนลดค่าไฟฟ้าให้แก่พนักงานตามไปด้วยทุกครั้งดังนั้น จำเลยจึงไม่มีหน้าที่จะต้องปรับปรุงส่วนลดค่าไฟฟ้าให้แก่พนักงานเมื่ออัตราค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3676/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างส่วนลดค่าไฟฟ้า: การปรับปรุงอัตราค่าไฟฟ้าไม่ผูกมัดจำเลยต้องปรับปรุงส่วนลดตาม
แม้ระเบียบการช่วยเหลือพนักงานเกี่ยวกับส่วนลดค่าไฟฟ้าของจำเลยจะถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง แต่ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นจากการเรียกร้องแต่ละคราวของพนักงาน หรือเป็นไปตามที่จำเลยฝ่ายเดียวดำริช่วยเหลือแก่พนักงานเฉพาะคราวสิทธิของพนักงานเกี่ยวกับส่วนลดค่าไฟฟ้าซึ่งเป็นไปตามข้อเรียกร้องหรือความดำริของจำเลยแต่ละคราวไป และไม่ปรากฏข้อตกลงอันมีผลผูกพันว่า เมื่อจำเลยปรับปรุงอัตราค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจะต้องปรับปรุงส่วนลดค่าไฟฟ้าให้แก่พนักงานตามไปด้วยทุกครั้ง ดังนั้น จำเลยจึงไม่มีหน้าที่จะต้องปรับปรุงส่วนลดค่าไฟฟ้าให้แก่พนักงานเมื่ออัตราค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3424/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงขึ้นค่าจ้าง: การตีความขอบเขตและระยะเวลาของข้อผูกพัน
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยมีความว่านายจ้างตกลงขึ้นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างประจำที่ทำงานครบ180 วันทุกคนวันละ 4 บาท โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2518 ฝ่ายลูกจ้างจะไม่เรียกร้องขึ้นค่าจ้างอีก จนถึงกำหนดการพิจารณาขึ้นค่าจ้างประจำปีดังนี้หมายความว่าลูกจ้างที่ทำงานครบ 180 วัน ในวันทำข้อตกลงคือวันที่ 20 กันยายน 2518 จะได้ขึ้นค่าจ้างวันละ4 บาท โดยเริ่มขึ้นค่าจ้างให้ในวันที่ 21 กันยายน2518 ไม่มีข้อความตอนใดมีความหมายว่านายจ้างจะต้องขึ้นค่าจ้างให้ลูกจ้างอีกต่อไปทุกปี เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามข้อตกลงโดยขึ้นค่าจ้างให้ลูกจ้างในพ.ศ.2518 แล้วกรณีจึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะเรียกร้องให้จำเลยขึ้นค่าจ้างอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3424/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงขึ้นค่าจ้าง: การตีความขอบเขตการขึ้นค่าจ้างรายปีและการปฏิบัติตามข้อตกลง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยมีความว่านายจ้างตกลงขึ้นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างประจำที่ทำงานครบ180 วันทุกคนวันละ 4 บาท โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2518 ฝ่ายลูกจ้างจะไม่เรียกร้องขึ้นค่าจ้างอีก จนถึงกำหนดการพิจารณาขึ้นค่าจ้างประจำปีดังนี้หมายความว่าลูกจ้างที่ทำงานครบ 180 วัน ในวันทำข้อตกลงคือวันที่ 20 กันยายน 2518 จะได้ขึ้นค่าจ้างวันละ 4 บาท โดยเริ่มขึ้นค่าจ้างให้ในวันที่ 21 กันยายน 2518 ไม่มีข้อความตอนใดมีความหมายว่านายจ้างจะต้องขึ้นค่าจ้างให้ลูกจ้างอีกต่อไปทุกปี เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามข้อตกลงโดยขึ้นค่าจ้างให้ลูกจ้างใน พ.ศ.2518 แล้วกรณีจึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะเรียกร้องให้จำเลยขึ้นค่าจ้างอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2113/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงปรับเงินเดือนตามมติรัฐบาล: ไม่ผูกพันตามจำนวนที่รัฐบาลกำหนด
บันทึกข้อตกลงระหว่างผู้แทนนายจ้างกับผู้แทนลูกจ้างมีความว่า การที่พนักงานขอให้ปรับเงินเดือนขึ้นอีก 20เปอร์เซ็นต์ นั้น เรื่องนี้รัฐบาลกำลังพิจารณาให้แก่ข้าราชการอยู่ และในการนี้ก็จะพิจารณาปรับปรุงให้แก่รัฐวิสาหกิจเช่นเดียวกัน ซึ่งรวมทั้งบริษัทของนายจ้างด้วย และจะมีผลใช้บังคับในระยะเวลาพร้อมกัน ข้อตกลงดังนี้หมายความเพียงแต่ว่ารัฐบาลซึ่งเป็นนายจ้างจะปรับปรุงเงินเดือนให้เพียงใดนั้น ไม่มีการระบุไว้แน่ชัดเป็นเรื่องของรัฐบาลที่จะพิจารณา จะถือว่าบริษัทนายจ้างได้ตกลงรับเป็นข้อผูกพันว่า เมื่อรัฐบาลปรับปรุงเงินเดือนให้แก่ข้าราชการแล้ว จะปรับปรุงเงินเดือนให้ลูกจ้างขึ้นจากเดิม 20 เปอร์เซ็นต์หาได้ไม่
of 239