พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5284/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทั้งสัญญาและละเมิดจากการก่อสร้างชำรุด: ฝายน้ำล้นแตกร้าวจากทั้งการก่อสร้างและควบคุมงาน
คดีนี้โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ก่อสร้างฝายน้ำล้นคอนกรีตเสริมเหล็ก และทางพิจารณาได้ความว่าทั้งสองฝ่ายต่างได้ปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วนแล้วกล่าวคือ จำเลยที่ 1 ได้ทำการก่อสร้างฝายน้ำล้นจนแล้วเสร็จตามสัญญาและส่งมอบงานแก่โจทก์ไปแล้ว และโจทก์ได้จ่ายเงินค่าก่อสร้างทั้งหมดแก่จำเลยที่ 1 ไปเสร็จสิ้นแล้วเช่นกัน หนี้ที่คู่สัญญาจะต้องปฏิบัติตามสัญญาได้สิ้นสุดลง จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะต้องพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาอีกหรือไม่
จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับเหมาก่อสร้างฝายน้ำล้นกับโจทก์โดยมีข้อสัญญาให้จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระและแรงงานในการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ และโจทก์ตกลงให้ค่าก่อสร้างแก่จำเลยที่ 1 สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์จึงเป็นสัญญาจ้างทำของ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 587
ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างฝายน้ำล้นที่พิพาทได้กำหนดกรณีที่การงานที่ทำชำรุดบกพร่องไว้ว่า ถ้ามีการชำรุดเสียหายเกิดขึ้นแก่งานจ้างภายใน365 วัน นับแต่วันที่รับมอบงานเป็นหน้าที่ของผู้รับจ้างจะต้องรีบแก้ไขซ่อมแซมให้เรียบร้อยภายในเวลาที่ผู้ว่าจ้างกำหนด และเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวหากยังมีการชำรุดบกพร่องเกิดขึ้นอีก ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดต่อผู้ว่าจ้างตาม ป.พ.พ.อีกด้วย เมื่อปรากฏว่าการก่อสร้างฝายน้ำล้นของจำเลยที่ 1 เป็นสิ่งปลูกสร้างกับพื้นดินตามแบบแปลนที่โจทก์กำหนด โดยฝ่ายจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดหาสัมภาระเองและฝายน้ำล้นที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างได้เกิดชำรุดแตกร้าวทรุดตัว อันเป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติเป็นที่ประจักษ์แก่โจทก์ภายในเวลาไม่ถึงปีนับแต่วันส่งมอบ ดังนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 595 และ 600 ไม่ว่าจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าการชำรุดบกพร่องมีอยู่ จำเลยที่ 1ก็ต้องรับผิดในการบกพร่องนั้น เว้นแต่การชำรุดบกพร่องนั้นจะเกิดขึ้นเพราะความผิดของโจทก์ผู้ว่าจ้าง ดังนั้นปัญหาที่จำเลยที่ 1 ฎีกาโต้เถียงว่า ก่อนก่อสร้างจำเลยที่ 1ได้ตรวจสอบคุณสมบัติของดินบริเวณที่ก่อสร้างได้บดอัดดินจนแน่นก่อนเทคอนกรีตได้ผสมปูนตามสัดส่วนที่กำหนดไว้และได้นำแท่งคอนกรีตไปตรวจสอบหาความแข็งแรงให้รับน้ำหนักได้ตามที่กำหนด รวมทั้งการผูกเหล็กและวางตะแกรงเหล็กได้กระทำตามที่โจทก์กำหนดไว้หรือไม่ จึงไม่ต้องวินิจฉัย
ที่จำเลยที่ 1 ให้การว่า ความเสียหายของฝายเกิดขึ้นเพราะการออกแบบไม่ถูกต้องมิได้เผื่อไว้ในกรณีน้ำมากกว่าปกติ ที่ฝายกั้นน้ำเสียหายนั้นเป็นเพราะมีปริมาณน้ำเหนือฝายเกินกว่าปกติ แม้จะดำเนินการก่อสร้างฝายถูกต้องตามแบบทุกประการฝายก็ยังต้องพังทลาย เพราะมีน้ำป่าผ่านเหนือฝายสูงกว่าปกติทำให้เกิดปริมาณน้ำมากเกินกว่าความแข็งแรงของฝายที่จะรับน้ำได้ จึงเกิดความเสียหายขึ้นนั้น เมื่อปรากฏว่าการก่อสร้างฝายน้ำล้นจำเลยที่ 1 ต้องทราบดีว่ามีวัตถุประสงค์จะจัดการเกี่ยวกับน้ำที่ไหลมาจำนวนมากผิดปกติ ซึ่งก่อนทำสัญญารับเหมาก่อสร้าง จำเลยที่ 1 ก็น่าจะตรวจสอบสภาพธรรมชาติของน้ำให้ได้ข้อมูลที่แน่นอนเสียก่อนลงมือก่อสร้าง จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างเหตุอุทกภัยดังกล่าวมาปฏิเสธความรับผิดว่าเป็นเหตุสุดวิสัยได้
จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นข้าราชการของโจทก์เป็นผู้ออกแบบก่อสร้างบกพร่อง เลือกสถานที่ก่อสร้างผิดพลาดไม่เหมาะสมเนื่องจากเป็นมุมหัก ไม่เอื้ออำนวยประโยชน์ เมื่อมีน้ำไหลแรงจึงเกิดการปะทะเป็นเหตุหนึ่งทำให้ฝายชำรุดและผู้ออกแบบไม่ได้หาข้อมูลจากส่วนราชการที่มีความชำนาญเกี่ยวข้องกับการออกแบบเขื่อนกั้นน้ำและฝายขนาดใหญ่ เช่น กรมชลประทาน ดังนี้ นับได้ว่าเหตุที่ฝายน้ำล้นของโจทก์ไม่แข็งแรงเกิดชำรุดบกพร่องในภายหลังโจทก์ได้มีส่วนผิดอยู่ด้วย
โจทก์ได้ออกคำสั่ง 2 ฉบับ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนสาเหตุและข้อเท็จจริงและบุคคลต้องรับผิดชอบกรณีฝายน้ำล้นคอนกรีตเสริมเหล็กชำรุดเสียหายคณะกรรมการได้สรุปรายงานผลการสอบสวนเสนอโจทก์เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2527สำหรับความรับผิดทางแพ่ง คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่า จำเลยที่ 2 (ถึงแก่กรรม)จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ ส่วนจำเลยที่ 6 เป็นวิศวกรผู้ควบคุมงานไม่อยู่ควบคุมงานก่อสร้างทุกคนต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งต่อทางราชการ ส่วนจำเลยที่ 5 ไม่ปรากฏว่าได้ละเลยหน้าที่ ไม่ควรต้องรับผิดทางแพ่ง ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้แทนของโจทก์ในขณะนั้นได้ทราบรายงานดังกล่าวแล้วตั้งแต่เมื่อใด จึงถือได้ว่ารายงานการสอบสวนสาเหตุและข้อเท็จจริงและบุคคคลต้องรับผิดเป็นรายงานการสอบสวนข้อเท็จจริงเบื้องต้นเท่านั้น ไม่อาจรับฟังได้ว่าโจทก์ได้รู้ตัวผู้ทำละเมิดแล้ว
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจการจ้างส่วนจำเลยที่ 5 และที่ 6 เป็นกรรมการควบคุมงานก่อสร้าง และการก่อสร้างฝายน้ำล้นที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างซึ่งได้กระทำไปโดยไม่ถูกต้องตามแบบและวิธีการก่อสร้าง เป็นเหตุให้ฝายน้ำล้นชำรุดบกพร่องแตกร้าวและพังทลายเสียหายจนใช้การไม่ได้ในเวลาไม่ถึงหนึ่งปีนับแต่วันส่งมอบ การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำรายงานเสนอโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ได้ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยถูกต้องตามแบบรูปและรายละเอียดแนบท้ายสัญญาควรรับไว้ใช้ในราชการ ซึ่งหากจำเลยที่ 5 กับที่ 6 ไม่ประมาทเลินเล่อเอาใจใส่สอดส่องควบคุมการก่อสร้างให้ถูกต้องตามหลักวิชาโดยใกล้ชิดฝายน้ำล้นก็ไม่น่าจะแตกร้าวพังชำรุดเสียหายในเวลาอันรวดเร็วหลังจากการส่งมอบงานเช่นนั้น และโจทก์หลงเชื่อตามรายงานของจำเลยทั้งสี่ว่าการก่อสร้างได้เป็นไปตามแบบโดยถูกต้อง จึงได้จ่ายเงินค่าจ้างให้จำเลยที่ 1 ไปเต็มจำนวนตามสัญญาจ้าง ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยร่วมกันประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ตามสัญญาจ้างทำของส่วนจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ละเมิดแม้จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำนวนเดียวกัน แต่ก็เป็นความรับผิดที่ต่างต้องรับผิดในความเสียหายอันเดียวกันเท่านั้น จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งหมดร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ได้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับเหมาก่อสร้างฝายน้ำล้นกับโจทก์โดยมีข้อสัญญาให้จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระและแรงงานในการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ และโจทก์ตกลงให้ค่าก่อสร้างแก่จำเลยที่ 1 สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์จึงเป็นสัญญาจ้างทำของ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 587
ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างฝายน้ำล้นที่พิพาทได้กำหนดกรณีที่การงานที่ทำชำรุดบกพร่องไว้ว่า ถ้ามีการชำรุดเสียหายเกิดขึ้นแก่งานจ้างภายใน365 วัน นับแต่วันที่รับมอบงานเป็นหน้าที่ของผู้รับจ้างจะต้องรีบแก้ไขซ่อมแซมให้เรียบร้อยภายในเวลาที่ผู้ว่าจ้างกำหนด และเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวหากยังมีการชำรุดบกพร่องเกิดขึ้นอีก ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดต่อผู้ว่าจ้างตาม ป.พ.พ.อีกด้วย เมื่อปรากฏว่าการก่อสร้างฝายน้ำล้นของจำเลยที่ 1 เป็นสิ่งปลูกสร้างกับพื้นดินตามแบบแปลนที่โจทก์กำหนด โดยฝ่ายจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดหาสัมภาระเองและฝายน้ำล้นที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างได้เกิดชำรุดแตกร้าวทรุดตัว อันเป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติเป็นที่ประจักษ์แก่โจทก์ภายในเวลาไม่ถึงปีนับแต่วันส่งมอบ ดังนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 595 และ 600 ไม่ว่าจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าการชำรุดบกพร่องมีอยู่ จำเลยที่ 1ก็ต้องรับผิดในการบกพร่องนั้น เว้นแต่การชำรุดบกพร่องนั้นจะเกิดขึ้นเพราะความผิดของโจทก์ผู้ว่าจ้าง ดังนั้นปัญหาที่จำเลยที่ 1 ฎีกาโต้เถียงว่า ก่อนก่อสร้างจำเลยที่ 1ได้ตรวจสอบคุณสมบัติของดินบริเวณที่ก่อสร้างได้บดอัดดินจนแน่นก่อนเทคอนกรีตได้ผสมปูนตามสัดส่วนที่กำหนดไว้และได้นำแท่งคอนกรีตไปตรวจสอบหาความแข็งแรงให้รับน้ำหนักได้ตามที่กำหนด รวมทั้งการผูกเหล็กและวางตะแกรงเหล็กได้กระทำตามที่โจทก์กำหนดไว้หรือไม่ จึงไม่ต้องวินิจฉัย
ที่จำเลยที่ 1 ให้การว่า ความเสียหายของฝายเกิดขึ้นเพราะการออกแบบไม่ถูกต้องมิได้เผื่อไว้ในกรณีน้ำมากกว่าปกติ ที่ฝายกั้นน้ำเสียหายนั้นเป็นเพราะมีปริมาณน้ำเหนือฝายเกินกว่าปกติ แม้จะดำเนินการก่อสร้างฝายถูกต้องตามแบบทุกประการฝายก็ยังต้องพังทลาย เพราะมีน้ำป่าผ่านเหนือฝายสูงกว่าปกติทำให้เกิดปริมาณน้ำมากเกินกว่าความแข็งแรงของฝายที่จะรับน้ำได้ จึงเกิดความเสียหายขึ้นนั้น เมื่อปรากฏว่าการก่อสร้างฝายน้ำล้นจำเลยที่ 1 ต้องทราบดีว่ามีวัตถุประสงค์จะจัดการเกี่ยวกับน้ำที่ไหลมาจำนวนมากผิดปกติ ซึ่งก่อนทำสัญญารับเหมาก่อสร้าง จำเลยที่ 1 ก็น่าจะตรวจสอบสภาพธรรมชาติของน้ำให้ได้ข้อมูลที่แน่นอนเสียก่อนลงมือก่อสร้าง จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างเหตุอุทกภัยดังกล่าวมาปฏิเสธความรับผิดว่าเป็นเหตุสุดวิสัยได้
จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นข้าราชการของโจทก์เป็นผู้ออกแบบก่อสร้างบกพร่อง เลือกสถานที่ก่อสร้างผิดพลาดไม่เหมาะสมเนื่องจากเป็นมุมหัก ไม่เอื้ออำนวยประโยชน์ เมื่อมีน้ำไหลแรงจึงเกิดการปะทะเป็นเหตุหนึ่งทำให้ฝายชำรุดและผู้ออกแบบไม่ได้หาข้อมูลจากส่วนราชการที่มีความชำนาญเกี่ยวข้องกับการออกแบบเขื่อนกั้นน้ำและฝายขนาดใหญ่ เช่น กรมชลประทาน ดังนี้ นับได้ว่าเหตุที่ฝายน้ำล้นของโจทก์ไม่แข็งแรงเกิดชำรุดบกพร่องในภายหลังโจทก์ได้มีส่วนผิดอยู่ด้วย
โจทก์ได้ออกคำสั่ง 2 ฉบับ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนสาเหตุและข้อเท็จจริงและบุคคลต้องรับผิดชอบกรณีฝายน้ำล้นคอนกรีตเสริมเหล็กชำรุดเสียหายคณะกรรมการได้สรุปรายงานผลการสอบสวนเสนอโจทก์เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2527สำหรับความรับผิดทางแพ่ง คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่า จำเลยที่ 2 (ถึงแก่กรรม)จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ ส่วนจำเลยที่ 6 เป็นวิศวกรผู้ควบคุมงานไม่อยู่ควบคุมงานก่อสร้างทุกคนต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งต่อทางราชการ ส่วนจำเลยที่ 5 ไม่ปรากฏว่าได้ละเลยหน้าที่ ไม่ควรต้องรับผิดทางแพ่ง ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้แทนของโจทก์ในขณะนั้นได้ทราบรายงานดังกล่าวแล้วตั้งแต่เมื่อใด จึงถือได้ว่ารายงานการสอบสวนสาเหตุและข้อเท็จจริงและบุคคคลต้องรับผิดเป็นรายงานการสอบสวนข้อเท็จจริงเบื้องต้นเท่านั้น ไม่อาจรับฟังได้ว่าโจทก์ได้รู้ตัวผู้ทำละเมิดแล้ว
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจการจ้างส่วนจำเลยที่ 5 และที่ 6 เป็นกรรมการควบคุมงานก่อสร้าง และการก่อสร้างฝายน้ำล้นที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างซึ่งได้กระทำไปโดยไม่ถูกต้องตามแบบและวิธีการก่อสร้าง เป็นเหตุให้ฝายน้ำล้นชำรุดบกพร่องแตกร้าวและพังทลายเสียหายจนใช้การไม่ได้ในเวลาไม่ถึงหนึ่งปีนับแต่วันส่งมอบ การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำรายงานเสนอโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ได้ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยถูกต้องตามแบบรูปและรายละเอียดแนบท้ายสัญญาควรรับไว้ใช้ในราชการ ซึ่งหากจำเลยที่ 5 กับที่ 6 ไม่ประมาทเลินเล่อเอาใจใส่สอดส่องควบคุมการก่อสร้างให้ถูกต้องตามหลักวิชาโดยใกล้ชิดฝายน้ำล้นก็ไม่น่าจะแตกร้าวพังชำรุดเสียหายในเวลาอันรวดเร็วหลังจากการส่งมอบงานเช่นนั้น และโจทก์หลงเชื่อตามรายงานของจำเลยทั้งสี่ว่าการก่อสร้างได้เป็นไปตามแบบโดยถูกต้อง จึงได้จ่ายเงินค่าจ้างให้จำเลยที่ 1 ไปเต็มจำนวนตามสัญญาจ้าง ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยร่วมกันประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ตามสัญญาจ้างทำของส่วนจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ละเมิดแม้จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำนวนเดียวกัน แต่ก็เป็นความรับผิดที่ต่างต้องรับผิดในความเสียหายอันเดียวกันเท่านั้น จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งหมดร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้น ผู้ค้ำประกัน และผลของการชำระหนี้โดยบุคคลภายนอก
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงความเป็นไปที่จำเลยทั้งสองเข้าผูกพันในเช็คพิพาทร่วมกับผู้ออกเช็ค ตลอดจนการรับชำระหนี้โดยมีระบุจำนวนและลำดับการชำระหนี้ไว้ชัดแจ้งแล้ว ส่วนปัญหาที่ว่าในการบังคับชำระหนี้ตามลำดับที่โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งดังกล่าวนั้นจะถูกต้องหรือกระทำโดยอาศัยสิทธิตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบและเป็นปัญหาในข้อกฎหมายที่ศาลจะต้องวินิจฉัยปรับบทชี้ขาดต่อไป ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมนั้น มีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่ผู้ค้ำประกันอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้น หน้าที่ความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้นที่มีต่อเจ้าหนี้ก็ดี ต่อผู้ค้ำประกันในฐานะพิเศษดังกล่าวก็ดี ยังคงมีอยู่ตามเดิม เหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของผู้ค้ำประกันจะเป็นผลให้จำเลยที่ 1ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นหลุดพ้นไปด้วยนั้น ย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 685 คือจะหลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ ในส่วนหนี้ที่ยังเหลือนั้น จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้
การที่บุคคลภายนอกชำระหนี้แทน ท. ผู้ค้ำประกันที่ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไปเท่าใด ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดย ท.ผู้ค้ำประกันและมีผลให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นเพียงเท่าจำนวนนั้น ส่วนหนี้ที่ยังมิได้ชำระ แม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะไม่ติดใจเรียกร้องจาก ท. ไม่ว่าจะในรูปปลดหนี้หรือประนีประนอมยอมความหนี้ส่วนดังกล่าวยังคงเป็นส่วนที่ยังมิได้มีการชำระ จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้
แต่สำหรับจำเลยที่ 2 เป็นการค้ำประกันหนี้รายเดียวย่อมมีผลเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกับ ท. จึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันกับ ท. ทั้งนี้ตามมาตรา682 วรรคสอง เมื่อ ท.โดยบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้ที่ตนค้ำประกันเต็มจำนวนตามที่โจทก์เรียกร้องแล้ว ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สละสิทธิต่อ ท.มีผลให้หนี้ระงับสำหรับท. ย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยที่ 2 ระงับไปด้วยตามมาตรา 340 และมาตรา 293จำเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นไปด้วย
การที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมนั้น มีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่ผู้ค้ำประกันอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้น หน้าที่ความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้นที่มีต่อเจ้าหนี้ก็ดี ต่อผู้ค้ำประกันในฐานะพิเศษดังกล่าวก็ดี ยังคงมีอยู่ตามเดิม เหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของผู้ค้ำประกันจะเป็นผลให้จำเลยที่ 1ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นหลุดพ้นไปด้วยนั้น ย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 685 คือจะหลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ ในส่วนหนี้ที่ยังเหลือนั้น จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้
การที่บุคคลภายนอกชำระหนี้แทน ท. ผู้ค้ำประกันที่ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไปเท่าใด ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดย ท.ผู้ค้ำประกันและมีผลให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นเพียงเท่าจำนวนนั้น ส่วนหนี้ที่ยังมิได้ชำระ แม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะไม่ติดใจเรียกร้องจาก ท. ไม่ว่าจะในรูปปลดหนี้หรือประนีประนอมยอมความหนี้ส่วนดังกล่าวยังคงเป็นส่วนที่ยังมิได้มีการชำระ จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้
แต่สำหรับจำเลยที่ 2 เป็นการค้ำประกันหนี้รายเดียวย่อมมีผลเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกับ ท. จึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันกับ ท. ทั้งนี้ตามมาตรา682 วรรคสอง เมื่อ ท.โดยบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้ที่ตนค้ำประกันเต็มจำนวนตามที่โจทก์เรียกร้องแล้ว ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สละสิทธิต่อ ท.มีผลให้หนี้ระงับสำหรับท. ย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยที่ 2 ระงับไปด้วยตามมาตรา 340 และมาตรา 293จำเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดของลูกหนี้ร่วมและผู้ค้ำประกันเมื่อมีการชำระหนี้บางส่วนและการสละสิทธิของเจ้าหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงความเป็นไปที่จำเลยทั้งสองเข้าผูกพันในเช็คร่วมกับผู้ออกเช็คตลอดจนการรับชำระหนี้โดยระบุจำนวนและลำดับการชำระหนี้ไว้ชัดแจ้งแล้วส่วนข้อที่ว่าในการบังคับชำระหนี้ตามลำดับดังกล่าวนั้นจะถูกต้องหรือกระทำโดยอาศัยสิทธิตามกฎหมายหรือไม่อย่างไรนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบและเป็นปัญหาข้อกฎหมายศาลจะต้องวินิจฉัยปรับบทชี้ขาดต่อไปฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ท. เป็นผู้ค้ำประกันที่ยอมผูกพันตนต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อย่างลูกหนี้ร่วมมีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ตามบทบัญญัติว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้นเหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของท. จะเป็นผลให้จำเลยที่1ในฐานะลูกหนี้หลุดพ้นไปด้วยนั้นย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา685คือจะหลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ท. ได้ชำระหนี้ส่วนหนี้ที่เหลือนั้นจำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์การที่บุคคลภายนอกชำระหนี้แทนท. ไปเท่าใดจึงถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยท. และมีผลให้จำเลยที่1หลุดพ้นเพียงเท่าจำนวนนั้นหนี้ส่วนที่ทง ยังมิได้ชำระแม้โจทก์จะไม่ติดใจเรียกร้องจากท. ไม่ว่าในรูปปลดหนี้หรือประนีประนอมยอมความจำเลยที่1จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่2ค้ำประกันหนี้รายเดียวกับที่ท. ค้ำประกันจึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา682วรรคสองเมื่อท. โดยบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้ที่ตนค้ำประกันเต็มจำนวนตามที่โจทก์เรียกร้องแล้วทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สละสิทธิต่อท. มีผลให้หนี้ระงับสำหรับท. ย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยที่2ระงับไปด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา340และมาตรา293จำเลยที่2จึงหลุดพ้นไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้โดยผู้ค้ำประกันร่วมและผลกระทบต่อความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้นและผู้ค้ำประกันรายอื่น
การที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมมีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่ผู้ค้ำประกันอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้นหน้าที่ความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้นที่มีต่อเจ้าหนี้ก็ดีต่อผู้ค้ำประกันในฐานะพิเศษดังกล่าวก็ดียังคงมีอยู่ตามเดิมเหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของผู้ค้ำประกันจะเป็นผลให้จำเลยที่1ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นหลุดพ้นไปด้วยนั้นย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา685คือจะหลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ส่วนหนี้ที่ยังเหลือนั้นจำเลยที่1ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ดังนี้ที่บุคคลภายนอกชำระหนี้แทนท. ผู้ค้ำประกันไปเท่าใดถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยท. และมีผลให้จำเลยที่1หลุดพ้นเพียงเท่าจำนวนนั้นหนี้ส่วนที่ท. ยังมิได้ชำระแม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะไม่ติดใจเรียกร้องจากท. ไม่ว่าจะในรูปปลดหนี้หรือประนีประนอมยอมความหนี้ส่วนดังกล่าวยังคงเป็นส่วนที่ยังมิได้มีการชำระจำเลยที่1ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ การค้ำประกันของจำเลยที่2เป็นการค้ำประกันหนี้รายเดียวย่อมมีผลเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกับท. จึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันกับท. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา682วรรคสองเมื่อท. โดยบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้ที่ตนค้ำประกันเต็มจำนวนตามที่โจทก์เรียกร้องแล้วทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สละสิทธิต่อท. มีผลให้หนี้ระงับสำหรับท. ย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยที่2ระงับด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา340และมาตรา293จำเลยที่2จึงหลุดพ้นไม่จำต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้ร่วม ผู้ค้ำประกัน และผลของการชำระหนี้บางส่วน
โจทก์บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงความเป็นไปที่จำเลยทั้งสองเข้าผูกพันในเช็คร่วมกับผู้ออกเช็ค ตลอดจนการรับชำระหนี้โดยระบุจำนวนและลำดับการชำระหนี้ไว้ชัดแจ้งแล้ว ส่วนข้อที่ว่าในการบังคับชำระหนี้ตามลำดับดังกล่าวนั้นจะถูกต้องหรือกระทำโดยอาศัยสิทธิตามกฎหมายหรือไม่อย่างไรนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบและเป็นปัญหาข้อกฎหมายศาลจะต้องวินิจฉัยปรับบทชี้ขาดต่อไป ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ท. เป็นผู้ค้ำประกันที่ยอมผูกพันตนต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อย่างลูกหนี้ร่วม มีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ตามบทบัญญัติว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้นเหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของ ท. จะเป็นผลให้จำเลยที่ 1ในฐานะลูกหนี้หลุดพ้นไปด้วยนั้นย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 685 คือ จะหลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ ท. ได้ชำระหนี้ ส่วนหนี้ที่เหลือนั้นจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์การที่บุคคลภายนอกชำระหนี้แทน ท. ไปเท่าใดจึงถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดย ท. และมีผลให้จำเลยที่ 1หลุดพ้นเพียงเท่าจำนวนนั้นหนี้ส่วนที่ ทง ยังมิได้ชำระ แม้โจทก์จะไม่ติดใจเรียกร้องจาก ท. ไม่ว่าในรูปปลดหนี้หรือประนีประนอมยอมความ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ค้ำประกันหนี้รายเดียวกับที่ ท. ค้ำประกันจึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 682 วรรคสอง เมื่อ ท. โดยบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้ที่ตนค้ำประกันเต็มจำนวนตามที่โจทก์เรียกร้องแล้วทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สละสิทธิต่อ ท. มีผลให้หนี้ระงับสำหรับท. ย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยที่ 2 ระงับไปด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340 และมาตรา 293 จำเลยที่ 2จึงหลุดพ้นไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1841/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเช็ค - การลงวันที่เช็คโดยสุจริตตามข้อตกลง - การถอนฟ้องจำเลยที่ 5 ไม่เป็นการปลดหนี้
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2519 จำเลยที่ 1 ออกเช็คโดยไม่ลงวันที่แล้วนำไปขายให้โจทก์โดยขอเวลาไว้ 3 ปี จึงให้โจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินระหว่างนี้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ตลอดมาจนถึงเดือนตุลาคม2520 จึงหยุดชำระ โจทก์จึงลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2520 ในเช็คแล้วเก็บรอไว้จนครบ 3 ปี จึงนำเช็คไปเรียกเก็บเงินเมื่อวันที่ 3มกราคม 2521 การที่โจทก์ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2520 ในเช็คจึงเป็นการกระทำโดยสุจริตตามข้อตกลง และเป็นกรณีจำเลยที่ 1ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ยื่นคำบอกกล่าวขอถอนฟ้องว่า "จำเลยที่ 5 ถึงแก่กรรมเสียแล้วโจทก์จึงขอถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 5" ดังนี้ หาใช่เป็นการแสดงความประสงค์ปลดหนี้ให้จำเลยที่ 5 ไม่
โจทก์ยื่นคำบอกกล่าวขอถอนฟ้องว่า "จำเลยที่ 5 ถึงแก่กรรมเสียแล้วโจทก์จึงขอถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 5" ดังนี้ หาใช่เป็นการแสดงความประสงค์ปลดหนี้ให้จำเลยที่ 5 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1841/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเช็ค, การลงวันที่เช็คโดยตกลง, การถอนฟ้องไม่ปลดหนี้
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2519 จำเลยที่ 1 ออกเช็คโดยไม่ลงวันที่แล้วนำไปขายให้โจทก์โดยขอเวลาไว้ 3 ปี จึงให้โจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินระหว่างนี้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ตลอดมาจนถึงเดือนตุลาคม2520 จึงหยุดชำระ โจทก์จึงลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2520 ในเช็คแล้วเก็บรอไว้จนครบ 3 ปี จึงนำเช็คไปเรียกเก็บเงินเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2521 การที่โจทก์ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2520 ในเช็ค จึงเป็นการกระทำโดยสุจริตตามข้อตกลง และเป็นกรณีจำเลยที่ 1ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ยื่นคำบอกกล่าวขอถอนฟ้องว่า 'จำเลยที่ 5 ถึงแก่กรรมเสียแล้วโจทก์จึงขอถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 5' ดังนี้ หาใช่เป็นการแสดงความประสงค์ปลดหนี้ให้จำเลยที่ 5 ไม่
โจทก์ยื่นคำบอกกล่าวขอถอนฟ้องว่า 'จำเลยที่ 5 ถึงแก่กรรมเสียแล้วโจทก์จึงขอถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 5' ดังนี้ หาใช่เป็นการแสดงความประสงค์ปลดหนี้ให้จำเลยที่ 5 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้ในคดีล้มละลาย ไม่ผูกมัดเจ้าหนี้ในคดีอื่น ผู้สลักหลังเช็คยังต้องรับผิดชอบตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ให้ใช้เงินตามเช็คที่จำเลยที่ 1เป็นผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2,3,4 เป็นผู้สลักหลังต่อมาจำเลยที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ศาลชั้นต้นให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 เสียและอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 4 ชำระเงินตามจำนวนในเช็ค คดีถึงที่สุด ดังนี้ แม้ต่อมาที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษรับคำขอประนอมหนี้ของจำเลยที่ 1ซึ่งขอชำระหนี้เพียงร้อยละ 10 และศาลเห็นชอบด้วยแล้วจำเลยที่ 4 ก็จะขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 4 ตามคำพิพากษาเพียงร้อยละ 10มิได้ เพราะตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 56 นั้นการประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับและศาลเห็นชอบด้วยแล้ว ผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่อง หนี้ซึ่งอาจขอรับชำระได้จากลูกหนี้ในคดีล้มละลายเท่านั้น ไม่มีผลผูกมัดถึงเจ้าหนี้ของลูกหนี้คนอื่นและในคดีอื่น ทั้งการที่เจ้าหนี้ต้องถูกผูกมัดตามข้อตกลงในการประนอมหนี้นั้นก็ไม่ใช่การปลดหนี้ตามมาตรา 340 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะโจทก์มิได้แสดงเจตนาต่อ จำเลยที่ 1 ว่าจะปลดหนี้ให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการประนอมหนี้ในคดีล้มละลายต่อเจ้าหนี้รายอื่นและสิทธิในการเรียกร้องหนี้จากผู้สลักหลังเช็ค
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ให้ใช้เงินตามเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2, 3, 4 เป็นผู้สลักหลัง ต่อมาจำเลยที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ศาลชั้นต้นให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 เสียและอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จำเลยที่ 2 ที่ 3 แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 4 ชำระเงินตามจำนวนในเช็ค คดีถึงที่สุด ดังนี้ แม้ต่อมาที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษรับคำขอประนอมหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งขอชำระหนี้เพียงร้อยละ 10 และศาลเห็นชอบด้วยแล้ว จำเลยที่ 4 ก็จะขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 4 ตามคำพิพากษาเพียงร้อยละ 10 มิได้ เพราะตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 56 นั้น การประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับและศาลเห็นชอบด้วยแล้ว ผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่อง หนี้ซึ่งอาจขอรับชำระได้จากลูกหนี้ในคดีล้มละลายเท่านั้น ไม่มีผลผูกมัดถึงเจ้าหนี้ของลูกหนี้คนอื่นและในคดีอื่น ทั้งการที่เจ้าหนี้ต้องถูกผูกมัดตามข้อตกลงในการประนอมหนี้นั้น ก็ไม่ใช้การปลดหนี้ตามมาตรา 340 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะโจทก์มิได้แสดงเจตนาต่อจำเลยที่ 1 ว่าจะปลดหนี้ให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหนี้ร่วม และการฟ้องล้มละลาย: ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิเจ้าหนี้ในการบังคับคดีต่อลูกหนี้ร่วมและผู้ค้ำประกัน
คำพิพากษาในคดีแพ่งที่พิพากษาให้จำเลยทั้ง 4 ร่วมกันชำระหนี้ตามฟ้องให้โจทก์ โดยให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 รับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ค้ำประกัน หากไม่ชำระ ให้ยึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาด ถ้าได้เงินไม่พอ ให้ยึดทรัพย์อื่นของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาดชำระจนครบ นั้น หมายถึงการบังคับคดีเกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ในกรณีที่จำเลยที่ 3 ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา หาได้หมายความว่าให้โจทก์บังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 โดยสิ้นเชิงก่อน ถ้าได้เงินไม่พอจึงจะบังคับเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 4 ไม่ จำเลยที่ 4 อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยคนใดคนหนึ่งชำระหนี้โดยสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องและบังคับจำเลยที่ 4 ให้ชำระหนี้ที่ยังเหลือจากที่โจทก์ได้รับจากจำเลยที่ 3 และอาศัยหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนไม่น้อยกว่าสามหมื่นบาท เป็นมูลฟ้องให้ล้มละลายได้
จำเลยกล่าวในฎีกาแต่เพียงว่า ยังไม่มีเหตุผลสมควรที่ะให้จำเลยล้มละลายได้มิได้กล่าวข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยไม่ใช่บุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือมีฐานะมีทรัพย์สินอาจชำระหนี้ให้ครบได้อย่างไร หรือมีเหตุอื่นใดบ้างที่ไม่ควรให้ล้มละลาย ดังนี้ ฎีกาของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 7 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
จำเลยกล่าวในฎีกาแต่เพียงว่า ยังไม่มีเหตุผลสมควรที่ะให้จำเลยล้มละลายได้มิได้กล่าวข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยไม่ใช่บุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือมีฐานะมีทรัพย์สินอาจชำระหนี้ให้ครบได้อย่างไร หรือมีเหตุอื่นใดบ้างที่ไม่ควรให้ล้มละลาย ดังนี้ ฎีกาของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 7 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153