คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 685

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 319/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้บางส่วนโดยผู้ค้ำประกัน ไม่ปลดหนี้ลูกหนี้ชั้นต้นและผู้ค้ำประกันรายอื่น
ป.พ.พ. บรรพ 2 หมวด 5 ความระงับแห่งหนี้ ส่วนที่ 1 ถึงส่วนที่ 5 บัญญัติให้หนี้เป็นอันระงับไปต่อเมื่อได้มีการชำระหนี้ มีการปลดหนี้ มีการหักกลบลบหนี้ มีการแปลงหนี้ใหม่หรือหนี้เกลื่อนกลืนกัน การที่โจทก์ยอมรับชำระหนี้เพียงบางส่วนจาก บ. ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน ย่อมเป็นประโยชน์แก่โจทก์เฉพาะเท่าที่ปลดหนี้ให้ บ. เท่านั้น เมื่อการชำระหนี้นั้นยังไม่ครบจำนวน ทั้งไม่ปรากฏเหตุอื่นที่อาจทำให้หนี้ดังกล่าวทั้งหมดระงับสิ้นไป แต่ยังมีหนี้ที่โจทก์เรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระอีก การที่โจทก์ยอมรับชำระหนี้บางส่วนจาก บ. เป็นเพียงโจทก์ยอมรับชำระหนี้บางส่วนจากผู้ค้ำประกัน เมื่อยังมีหนี้ส่วนที่เหลือ จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ชั้นต้นต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้จนครบจำนวน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 685 จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจหลุดพ้นจากความรับผิดไปกับ บ. ด้วย สำหรับจำเลยที่ 2 ซึ่งมีฐานะเป็นผู้ค้ำประกันเช่นเดียวกับ บ. เมื่อได้ความว่า ทั้งจำเลยที่ 2 และ บ. ต่างทำสัญญาค้ำประกันหนี้รายเดียวกันย่อมต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 682 วรรคสอง เมื่อบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดของผู้ค้ำประกันที่มิได้ค้ำประกันร่วมกัน แต่ต้องรับผิดร่วมกันดังกล่าวไว้จึงต้องใช้หลักทั่วไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 229, 293 และ 296 แม้โจทก์จะยอมรับการชำระหนี้และปลดหนี้ให้ บ. คงเป็นประโยชน์แก่โจทก์เพียงเท่าส่วนของ บ. ชำระให้โจทก์และที่ปลดไป ซึ่งทำให้โจทก์ไม่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 2 ในส่วนที่ปลดไปได้เท่านั้น หาทำให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ส่วนที่เหลือไม่ เมื่อได้ความว่า บ. ชำระหนี้ให้โจทก์ไปเพียง 4,050,000 บาท ยังไม่ครบตามภาระหนี้ที่จำเลยทั้งสองมีต่อโจทก์ จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ตามจำนวนยอดหนี้ที่ค้างชำระในต้นเงิน ดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, การฟ้องล้มละลายโดยไม่สุจริต, การคำนวณหนี้ผิดพลาด
ตามสัญญาค้ำประกันหนี้สินทุกประเภทนั้น โจทก์และ ส.ร่วมกันค้ำประกันหนี้ของบริษัท ล.ภายในวงเงิน 1,000,000 บาท โดยยอมเข้ารับผิดร่วมกับบริษัท ล. ความรับผิดระหว่างโจทก์กับ ส.ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันเป็นความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 682 วรรคสองส่วนการที่โจทก์และ ส.ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อจำเลยผู้เป็นเจ้าหนี้โดยยอมรับผิดร่วมกับบริษัท ล.ผู้เป็นลูกหนี้นั้น มีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่ผู้ค้ำประกันอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.ว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้น หน้าที่ความรับผิดของลูกหนี้ที่มีต่อเจ้าหนี้และต่อผู้ค้ำประกันยังคงมีอยู่ตามเดิม เหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของผู้ค้ำประกันเป็นผลให้ลูกหนี้หลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ ในส่วนหนี้ที่ยังเหลือนั้นลูกหนี้ยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 685 เมื่อโจทก์และ ส.ค้ำประกันหนี้ของบริษัท ล.ภายในวงเงิน 1,000,000 บาทความรับผิดของโจทก์และ ส.ย่อมจำกัดอยู่เพียงจำนวนเงิน 1,000,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยของต้นเงิน 1,000,000 บาท ตามอัตราดอกเบี้ยที่บริษัท ล.ต้องรับผิดต่อจำเลย แต่อัตราดอกเบี้ยนั้นต้องไม่เกินอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดได้ตามกฎหมาย การที่ ส.ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันให้จำเลย1,800,000 บาท และจำเลยปลดหนี้ค้ำประกันให้ ส.เมื่อวันที่ 18 เมษายน2533 ทำให้โจทก์ซึ่งมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับ ส.ได้รับประโยชน์จากการชำระหนี้ของ ส.ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 292 วรรคหนึ่ง, 293 ดังนั้นถึงอย่างไรโจทก์ก็คงรับผิดต่อจำเลยตามสัญญาค้ำประกันไม่ถึง 1,000,000บาท ต่อมาอีก 2 ปี 11 เดือน 23 วัน จำเลยได้ฟ้องโจทก์เป็นคดีล้มละลายไม่ว่าจะคำนวณดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่โจทก์ยังต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันอย่างไรยอดหนี้รวมทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องคดีล้มละลายก็ไม่มีทางถึง 15,332,017.82 บาท ตามที่จำเลยฟ้อง ส่วนหนี้ตามสัญญาจำนองนั้นตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันและหนังสือสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นประกัน โจทก์ทำสัญญาจำนองแก่จำเลยเป็นประกันเงินกู้และหรือหนี้สินประเภทอื่น ๆ ของบริษัท ล.และหรือของโจทก์ที่มีต่อจำเลยเป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท แม้บริษัท ล.เป็นหนี้จำเลยอยู่ในขณะที่จำเลยยื่นฟ้องโจทก์ในคดีล้มละลายเป็นเงิน 15,332,019.82 บาท ก็ตามแต่โจทก์มีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้แก่จำเลยตามสัญญาจำนองในวงเงิน200,000 บาท และดอกเบี้ยที่คิดจากต้นเงิน 200,000 บาท ตามอัตราที่บริษัท ล.ต้องรับผิดต่อจำเลยแต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี เท่านั้นและหนี้ดังกล่าวหลักทรัพย์ที่โจทก์จำนองไว้ก็มีราคาประมาณ 300,000 บาทเท่านั้น เมื่อพิจารณาสัญญาจำนองแล้วมูลหนี้ตามสัญญาจำนองในขณะนั้นเมื่อเทียบเคียงกันมีราคาใกล้กับราคาที่ดินที่จำนองเป็นประกัน การที่จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีล้มละลายโดยบรรยายฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของบริษัท ล.โดยจำเลยไม่บรรยายฟ้องถึงวงเงินที่โจทก์ค้ำประกัน และได้บรรยายต่อไปว่าโจทก์จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่จำเลยภายในวงเงิน 200,000 บาท ต่อมาจำเลยไม่ประสงค์ให้บริษัท ล.กู้เงินอีกต่อไปจึงเรียกให้บริษัท ล.ชำระหนี้เป็นเงิน 15,332,017.82 บาทโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าว จำเลยตีราคาทรัพย์จำนองเป็นเงิน 316,500 บาท เมื่อหักกับจำนวนหนี้แล้วโจทก์ยังต้องรับผิดร่วมกับบริษัท ล.อีก 15,015,517.82 บาท ตอนจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองก็แจ้งระบุว่ามีหนี้ค้างชำระ ณ วันที่15 กรกฎาคม 2534 เป็นเงิน 14,904,532 บาท ในชั้นพิจารณาคดีล้มละลายผู้รับมอบอำนาจจำเลยก็เบิกความว่า โจทก์ต้องร่วมรับผิดกับบริษัท ล.ถึงวันฟ้องคดีล้มละลายเป็นเงิน 15,332,071.82 บาท ทั้ง ๆ ที่ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันของโจทก์มีเพียงไม่เกิน 1,000,000 บาท กับดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าว และสัญญาค้ำประกันหนิ้สินทุกประเภท ก็ทำขึ้นตามแบบพิมพ์ของจำเลย ซี่งต่อมาศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดและพิพากษาให้โจทก์เป็นบุคคลล้มละลายเช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อในการคำนวณยอดหนี้ของโจทก์และใช้สิทธิในการฟ้องคดีล้มละลายโดยไม่สุจริต ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายโดยไม่สุจริตและการรับผิดตามสัญญาค้ำประกันและจำนอง
จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีล้มละลายโดยบรรยายฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ ของบริษัทล.โดยจำเลยไม่บรรยายฟ้องถึงวงเงินที่โจทก์ค้ำประกัน และได้บรรยายต่อไปว่าโจทก์จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่จำเลยภายในวงเงิน 200,000 บาท ต่อมาจำเลยไม่ประสงค์ให้บริษัทล.กู้เงินอีกต่อไปจึงเรียกให้บริษัทล.ชำระหนี้เป็นเงิน15,332,017.82 บาท โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าวจำเลยตีราคาทรัพย์จำนองเป็นเงิน 316,500 บาท เมื่อหักกับจำนวนหนี้แล้วโจทก์ยังต้องรับผิด ร่วมกับบริษัทล.อีก 15,015,517.82 บาท ตอนจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระหนี้ และบอกกล่าวบังคับจำนองก็แจ้งระบุว่ามีหนี้ค้างชำระณวันที่ 15 กรกฎาคม 2534 เป็นเงิน 14,904,532 บาท ในชั้นพิจารณาคดีล้มละลายผู้รับมอบอำนาจจำเลยก็เบิกความว่า โจทก์ต้องร่วมรับผิดกับบริษัทล.ถึงวันฟ้องคดีล้มละลายเป็นเงิน 15,332,071.82 บาททั้ง ๆ ที่ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันของโจทก์มีเพียงไม่เกิน 1,000,000 บาท กับดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวและสัญญาค้ำประกันหนี้สินทุกประเภทก็ทำขึ้นตามแบบพิมพ์ ของจำเลย ซึ่งต่อมาศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดและพิพากษาให้โจทก์ เป็นบุคคลล้มละลายเช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อในการคำนวณยอดหนี้ของโจทก์ และใช้สิทธิในการฟ้องคดีล้มละลายโดยไม่สุจริต ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ตามสัญญาค้ำประกันนั้น โจทก์และส.ร่วมกันค้ำประกันหนี้ของบริษัทล.โดยยอมเข้าร่วมรับผิดร่วมกับบริษัทล.ความรับผิดระหว่างโจทก์กับส.ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันเป็นความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 682 วรรคสอง ส่วนการที่โจทก์และ ส.ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อจำเลยผู้เป็นเจ้าหนี้ โดยยอมร่วมรับผิดร่วมกับบริษัทล.ผู้เป็นลูกหนี้นั้น มีผลเป็นการสละสิทธิบางประการ ที่ผู้ค้ำประกันอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้น หน้าที่ความรับผิดของลูกหนี้ที่มีต่อเจ้าหนี้และต่อผู้ค้ำประกัน ยังคงมีอยู่ตามเดิม เหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของผู้ค้ำประกันเป็นผลให้ลูกหนี้หลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ ในส่วนหนี้ที่ยังเหลือนั้นลูกหนี้ยังคงต้องรับผิด ต่อเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 685 โจทก์และส.ค้ำประกันหนี้ของบริษัทล.ภายในวงเงิน 1,000,000 บาทความรับผิดของโจทก์และ ส. ย่อมจำกัดอยู่เพียงจำนวนเงิน 1,000,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยของต้นเงิน 1,000,000 บาท ตามอัตราดอกเบี้ยที่บริษัทล.ต้องรับผิดต่อจำเลย แต่อัตราดอกเบี้ยนั้นต้องไม่เกินอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยมีสิทธิคิดได้ตามกฎหมาย ส.ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันให้จำเลย 1,800,000 บาท และจำเลยปลดหนี้ ค้ำประกันให้ ส.ทำให้โจทก์ซึ่งมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับส.ได้รับประโยชน์จากการชำระหนี้ของส.ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 292 วรรคหนึ่ง,293 โจทก์ทำสัญญาจำนองแก่จำเลยเป็นประกันเงินกู้และหรือหนี้สินประเภทอื่น ๆ ของบริษัทล.และหรือของโจทก์ที่มีต่อจำเลยเป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท แม้บริษัทล.เป็นหนี้จำเลยอยู่ ในขณะที่จำเลยยื่นฟ้องโจทก์ในคดีล้มละลายเป็นเงิน 15,332,019.82 บาท ก็ตาม แต่โจทก์ มีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้แก่จำเลยตามสัญญาจำนองในวงเงิน 200,000 บาท และดอกเบี้ย ที่คิดจากต้นเงิน 200,000 บาท ตามอัตราที่บริษัทล.ต้องรับผิดต่อจำเลยเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้ร่วม ผู้ค้ำประกัน และผลของการชำระหนี้บางส่วน
โจทก์บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงความเป็นไปที่จำเลยทั้งสองเข้าผูกพันในเช็คร่วมกับผู้ออกเช็ค ตลอดจนการรับชำระหนี้โดยระบุจำนวนและลำดับการชำระหนี้ไว้ชัดแจ้งแล้ว ส่วนข้อที่ว่าในการบังคับชำระหนี้ตามลำดับดังกล่าวนั้นจะถูกต้องหรือกระทำโดยอาศัยสิทธิตามกฎหมายหรือไม่อย่างไรนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบและเป็นปัญหาข้อกฎหมายศาลจะต้องวินิจฉัยปรับบทชี้ขาดต่อไป ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ท. เป็นผู้ค้ำประกันที่ยอมผูกพันตนต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อย่างลูกหนี้ร่วม มีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ตามบทบัญญัติว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้นเหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของ ท. จะเป็นผลให้จำเลยที่ 1ในฐานะลูกหนี้หลุดพ้นไปด้วยนั้นย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 685 คือ จะหลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ ท. ได้ชำระหนี้ ส่วนหนี้ที่เหลือนั้นจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์การที่บุคคลภายนอกชำระหนี้แทน ท. ไปเท่าใดจึงถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดย ท. และมีผลให้จำเลยที่ 1หลุดพ้นเพียงเท่าจำนวนนั้นหนี้ส่วนที่ ทง ยังมิได้ชำระ แม้โจทก์จะไม่ติดใจเรียกร้องจาก ท. ไม่ว่าในรูปปลดหนี้หรือประนีประนอมยอมความ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ค้ำประกันหนี้รายเดียวกับที่ ท. ค้ำประกันจึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 682 วรรคสอง เมื่อ ท. โดยบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้ที่ตนค้ำประกันเต็มจำนวนตามที่โจทก์เรียกร้องแล้วทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สละสิทธิต่อ ท. มีผลให้หนี้ระงับสำหรับท. ย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยที่ 2 ระงับไปด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340 และมาตรา 293 จำเลยที่ 2จึงหลุดพ้นไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของลูกหนี้ร่วมและผู้ค้ำประกันเมื่อมีการชำระหนี้บางส่วนและการสละสิทธิของเจ้าหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงความเป็นไปที่จำเลยทั้งสองเข้าผูกพันในเช็คร่วมกับผู้ออกเช็คตลอดจนการรับชำระหนี้โดยระบุจำนวนและลำดับการชำระหนี้ไว้ชัดแจ้งแล้วส่วนข้อที่ว่าในการบังคับชำระหนี้ตามลำดับดังกล่าวนั้นจะถูกต้องหรือกระทำโดยอาศัยสิทธิตามกฎหมายหรือไม่อย่างไรนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบและเป็นปัญหาข้อกฎหมายศาลจะต้องวินิจฉัยปรับบทชี้ขาดต่อไปฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ท. เป็นผู้ค้ำประกันที่ยอมผูกพันตนต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อย่างลูกหนี้ร่วมมีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ตามบทบัญญัติว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้นเหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของท. จะเป็นผลให้จำเลยที่1ในฐานะลูกหนี้หลุดพ้นไปด้วยนั้นย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา685คือจะหลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ท. ได้ชำระหนี้ส่วนหนี้ที่เหลือนั้นจำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์การที่บุคคลภายนอกชำระหนี้แทนท. ไปเท่าใดจึงถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยท. และมีผลให้จำเลยที่1หลุดพ้นเพียงเท่าจำนวนนั้นหนี้ส่วนที่ทง ยังมิได้ชำระแม้โจทก์จะไม่ติดใจเรียกร้องจากท. ไม่ว่าในรูปปลดหนี้หรือประนีประนอมยอมความจำเลยที่1จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่2ค้ำประกันหนี้รายเดียวกับที่ท. ค้ำประกันจึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา682วรรคสองเมื่อท. โดยบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้ที่ตนค้ำประกันเต็มจำนวนตามที่โจทก์เรียกร้องแล้วทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สละสิทธิต่อท. มีผลให้หนี้ระงับสำหรับท. ย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยที่2ระงับไปด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา340และมาตรา293จำเลยที่2จึงหลุดพ้นไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้โดยผู้ค้ำประกันร่วมและผลกระทบต่อความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้นและผู้ค้ำประกันรายอื่น
การที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมมีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่ผู้ค้ำประกันอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้นหน้าที่ความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้นที่มีต่อเจ้าหนี้ก็ดีต่อผู้ค้ำประกันในฐานะพิเศษดังกล่าวก็ดียังคงมีอยู่ตามเดิมเหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของผู้ค้ำประกันจะเป็นผลให้จำเลยที่1ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นหลุดพ้นไปด้วยนั้นย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา685คือจะหลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ส่วนหนี้ที่ยังเหลือนั้นจำเลยที่1ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ดังนี้ที่บุคคลภายนอกชำระหนี้แทนท. ผู้ค้ำประกันไปเท่าใดถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยท. และมีผลให้จำเลยที่1หลุดพ้นเพียงเท่าจำนวนนั้นหนี้ส่วนที่ท. ยังมิได้ชำระแม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะไม่ติดใจเรียกร้องจากท. ไม่ว่าจะในรูปปลดหนี้หรือประนีประนอมยอมความหนี้ส่วนดังกล่าวยังคงเป็นส่วนที่ยังมิได้มีการชำระจำเลยที่1ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ การค้ำประกันของจำเลยที่2เป็นการค้ำประกันหนี้รายเดียวย่อมมีผลเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกับท. จึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันกับท. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา682วรรคสองเมื่อท. โดยบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้ที่ตนค้ำประกันเต็มจำนวนตามที่โจทก์เรียกร้องแล้วทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สละสิทธิต่อท. มีผลให้หนี้ระงับสำหรับท. ย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยที่2ระงับด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา340และมาตรา293จำเลยที่2จึงหลุดพ้นไม่จำต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้น ผู้ค้ำประกัน และผลของการชำระหนี้โดยบุคคลภายนอก
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงความเป็นไปที่จำเลยทั้งสองเข้าผูกพันในเช็คพิพาทร่วมกับผู้ออกเช็ค ตลอดจนการรับชำระหนี้โดยมีระบุจำนวนและลำดับการชำระหนี้ไว้ชัดแจ้งแล้ว ส่วนปัญหาที่ว่าในการบังคับชำระหนี้ตามลำดับที่โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งดังกล่าวนั้นจะถูกต้องหรือกระทำโดยอาศัยสิทธิตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบและเป็นปัญหาในข้อกฎหมายที่ศาลจะต้องวินิจฉัยปรับบทชี้ขาดต่อไป ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมนั้น มีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่ผู้ค้ำประกันอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้น หน้าที่ความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้นที่มีต่อเจ้าหนี้ก็ดี ต่อผู้ค้ำประกันในฐานะพิเศษดังกล่าวก็ดี ยังคงมีอยู่ตามเดิม เหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของผู้ค้ำประกันจะเป็นผลให้จำเลยที่ 1ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นหลุดพ้นไปด้วยนั้น ย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 685 คือจะหลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ ในส่วนหนี้ที่ยังเหลือนั้น จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้
การที่บุคคลภายนอกชำระหนี้แทน ท. ผู้ค้ำประกันที่ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไปเท่าใด ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดย ท.ผู้ค้ำประกันและมีผลให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นเพียงเท่าจำนวนนั้น ส่วนหนี้ที่ยังมิได้ชำระ แม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะไม่ติดใจเรียกร้องจาก ท. ไม่ว่าจะในรูปปลดหนี้หรือประนีประนอมยอมความหนี้ส่วนดังกล่าวยังคงเป็นส่วนที่ยังมิได้มีการชำระ จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้
แต่สำหรับจำเลยที่ 2 เป็นการค้ำประกันหนี้รายเดียวย่อมมีผลเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกับ ท. จึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันกับ ท. ทั้งนี้ตามมาตรา682 วรรคสอง เมื่อ ท.โดยบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้ที่ตนค้ำประกันเต็มจำนวนตามที่โจทก์เรียกร้องแล้ว ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สละสิทธิต่อ ท.มีผลให้หนี้ระงับสำหรับท. ย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยที่ 2 ระงับไปด้วยตามมาตรา 340 และมาตรา 293จำเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9195/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องหนี้จากการผิดสัญญาตัวแทน, เบี้ยปรับ, และอายุความดอกเบี้ยค้างชำระ
โจทก์ตั้งจำเลยเป็นตัวแทนขายปุ๋ยมีข้อตกลงว่า ถ้าจำเลยผิดสัญญาโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินแทนได้ทันที เป็นข้อกำหนดที่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้เมื่อลูกหนี้ผิดนัดมิใช่หน้าที่ของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ โจทก์จะใช้สิทธิฟ้องเรียกร้องจากผู้ค้ำประกันหรือไม่เป็นเรื่องของโจทก์ ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 685 ก็ไม่ได้กำหนดเวลาว่าเจ้าหนี้จะต้องเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้โดยพลัน เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นและธนาคารในฐานะผู้ค้ำประกันยังชำระหนี้ให้โจทก์ไม่ครบถ้วน ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้และสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ตามมาตรา 213 และมาตรา 685 สัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ยระบุว่า ในกรณีตัวแทนผิดนัดสัญญาขายเงินเชื่อไม่ส่งเงินค้างชำระภายใน ตัวแทนยินยอมให้ตัวการคิดราคาปุ๋ยอีกตันละ 100 บาท บวกดอกเบี้ยอีกร้อยละ 15 ต่อปี นับตั้งแต่วันผิดนัดจนถึงวันชำระเงินเสร็จสิ้นเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 สัญญาตั้งตัวแทนขายปุ๋ยมีข้อตกลงว่า หากจำเลยผิดนัดไม่ส่งเงินค่าปุ๋ยของโจทก์ที่จำเลยจำหน่ายได้ให้โจทก์ภายในกำหนดจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ15 ต่อปีของเงินที่จะต้องส่งให้โจทก์ ดังนี้เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว จำเลยไม่ชำระดอกเบี้ย จึงเป็นดอกเบี้ยค้างส่งหรือค้างชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/33(1) ซึ่งมีอายุความ 5 ปี ไม่ใช่ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันและผู้จำนองตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี โดยจำกัดเฉพาะหนี้ที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาสัญญา
จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองต่อโจทก์เพื่อประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งจำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระบุว่าให้มีกำหนดระยะเวลา 12 เดือนนับแต่วันทำสัญญา ส่วนจำนวนเงินที่เบิกเงินเกินบัญชีให้ถือตามบัญชีกระแสรายวัน ไม่มีข้อความใดในสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองว่าจำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดในหนี้เบิกเงินเกินบัญชีที่มีอยู่ก่อนและภายหลังที่ครบกำหนด 12 เดือนตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ดังนั้นหนี้ที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดก็คือหนี้เบิกเงินเกินบัญชีที่เกิดขึ้นในระหว่างระยะเวลา 12 เดือน นับแต่วันทำสัญญา กับดอกเบี้ยซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลานั้น ส่วนหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันทำสัญญาต้องนำมาหักออก
เมื่อโจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 3 ซึ่งรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันไม่เต็มตามฟ้องความรับผิดของจำเลยที่ 3 ในค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้ให้โจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงควรมีเพียงเท่าค่าธรรมเนียมในทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีต่อจำเลยที่ 3 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันและผู้จำนองตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำกัดระยะเวลาและจำนวนเงิน
จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองต่อโจทก์เพื่อประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งจำเลยที่ 1ทำไว้แก่โจทก์สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระบุว่าให้มีกำหนดระยะเวลา 12 เดือนนับแต่วันทำสัญญา ส่วนจำนวนเงินที่เบิกเงินเกินบัญชีให้ถือตามบัญชีกระแสรายวัน ไม่มีข้อความใดในสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองว่าจำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดในหนี้เบิกเงินเกินบัญชีที่มีอยู่ก่อนและภายหลังที่ครบกำหนด 12 เดือนตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ดังนั้นหนี้ที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดก็คือหนี้เบิกเงินเกินบัญชีที่เกิดขึ้นในระหว่างระยะเวลา 12 เดือนนับแต่วันทำสัญญากับดอกเบี้ยซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลานั้น ส่วนหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันทำสัญญาต้องนำมาหักออก
เมื่อโจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 3 ซึ่งรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันไม่เต็มตามฟ้องความรับผิดของจำเลยที่ 3 ในค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้ให้โจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1ที่ 2 จึงควรมีเพียงเท่าค่าธรรมเนียมในทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีต่อจำเลยที่ 3 เท่านั้น