คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 383 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4847/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับดอกเบี้ยผิดนัด: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับหากสูงเกินควร
ตามสัญญากู้เงิน และสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงในการชำระดอกเบี้ยไว้ว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้สำหรับเงินที่กู้ในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปเว้นแต่เมื่อผู้กู้ปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนไข ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่ผู้ให้กู้ประกาศกำหนด ซึ่งขณะทำสัญญานี้อัตราสูงสุดเท่ากับร้อยละ14.75 ต่อปี และอัตราสูงสุดผิดเงื่อนไขเท่ากับร้อยละ 18.5 ต่อปี แต่ต่อไปอัตราดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามที่ผู้ให้กู้จะประกาศกำหนดเป็นคราว ๆ อันเป็นการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ร้อยละ 14.75 ต่อปี อยู่แล้ว การที่มีข้อความต่อไปเมื่อผู้กู้ปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนไข เป็นการที่จำเลยซึ่งเป็นผู้กู้สัญญาให้เบี้ยปรับในฐานปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนไข อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้เดิมนับตั้งแต่วันที่มีการผิดนัดจึงเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2169/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้ แต่ต้องไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายอนุญาต
อัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิเรียกสูงขึ้นได้ในกรณีจำเลยผิดนัดหรือผิดเงื่อนไขตามสัญญา มีลักษณะเป็นค่าเสียหายซึ่งจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ให้สัญญาแก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นเบี้ยปรับเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ดังนั้น หากศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่การลดนั้นจะต้องลดจากส่วนที่สูงเกินไปกว่าตามปกติที่สัญญากำหนดไว้ ซึ่งไม่เกินอัตราที่กฎหมายอนุญาตให้โจทก์คิดได้ มิใช่ลดลงมาต่ำกว่าอัตราดังกล่าว สัญญากู้ข้อ 2 ระบุให้คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยเงินกู้ตามสัญญา และโจทก์ผู้ให้กู้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยสูงถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ในระหว่างสัญญา แต่หลังจากวันที่ประกาศของโจทก์ลงวันที่ 5 มีนาคม 2541 ข้อ 2 ที่ระบุอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้มีระยะเวลา ระบุอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 18 ต่อปี ซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดได้ไม่เกินอัตราดังกล่าว ไม่ว่าจำเลยผู้กู้จะผิดนัดหรือไม่ก็ตาม อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตาม ป.พ.พ. มาตรา 148 วรรคสาม การที่ศาลชั้นต้นลดจำนวนเบี้ยปรับโดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นับถัดจากวันฟ้องร้อยละ 15 ต่อปี ต่ำกว่าอัตราที่ระบุในประกาศข้อ 2 ดังกล่าว จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกัน, อากรแสตมป์, และดอกเบี้ยเงินกู้เบิกเกินบัญชี
จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เงินและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามเอกสารพิพาท เอกสารดังกล่าวเป็นสัญญาค้ำประกันการกู้เงินและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นการค้ำประกันเงินกู้และเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เพียงรายเดียว ซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันทำโดยมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันคือ ร่วมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันในการชำระหนี้วงเงินสินเชื่อในหนี้ประเภทเงินกู้และกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ตามสัญญาค้ำประกันฉบับพิพาทเป็นความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม กล่าวคือ มีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้รายนี้โดยสิ้นเชิง หาใช่ต่างคนต่างรับผิดชำระคนละส่วนเท่า ๆ กันไม่
เมื่อสัญญาค้ำประกันฉบับพิพาทเป็นตราสารในเรื่องเดียวกันและมีลักษณะอย่างเดียวกัน จึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติของ ป.รัษฎากรมาตรา 108 ที่จะต้องปิดแสตมป์แยกกันเป็นรายบุคคลหรือคนละ 10 บาท ทั้งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ที่กำหนดลักษณะแห่งตราสารท้าย ป.รัษฎากรก็ยังกำหนดไว้ว่าสำหรับการค้ำประกันนั้น ข้อ 17 (ง) ค้ำประกันสำหรับจำนวนเงินเกิน 10,000 บาทขึ้นไป กำหนดค่าอากรแสตมป์ 10 บาท เมื่อเอกสารฉบับพิพาทปิดอากรแสตมป์ฉบับละ10 บาท ครบถ้วนแล้ว จึงเป็นเอกสารที่ชอบและใช้เป็นพยานหลักฐานได้ตามกฎหมาย
โจทก์ประกอบธุรกิจการธนาคารมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากผู้มาติดต่อขอสินเชื่อจากธนาคารได้ตามกฎหมาย ซึ่งกำหนดขึ้นโดยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงกำหนดขึ้นตามกฎหมายเมื่อมิใช่เป็นการกำหนดขึ้นตามที่คู่สัญญาตกลงกันเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระให้ถูกต้องสมควรจึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลอาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาถึงดอกเบี้ยในหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีช่วงระหว่างวันถัดจากวันเลิกสัญญาถึงวันฟ้องให้แก่โจทก์ ทั้งที่ในคำวินิจฉัยก็มิได้ตัดดอกเบี้ยในส่วนนี้ เป็นเพียงข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยซึ่งศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5701/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา: สิทธิคิดดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมยังคงมีผลใช้ได้ ไม่ถือเป็นเบี้ยปรับ
โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ19ต่อปีตามสัญญาที่จำเลยขอเปิดวงเงินเบิกเกินบัญชีจากโจทก์ดังนั้นเมื่อสัญญาเลิกกันแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราดังกล่าวจนกว่าจะชำระเสร็จตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคหนึ่งเพราะถือว่าโจทก์มีเหตุที่อ้างได้โดยชอบด้วยกฎหมายและดอกเบี้ยหลังจากสัญญาเลิกกันแล้วไม่ถือว่าเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลจะมีอำนาจปรับลดลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5701/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิคิดดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญาเบิกเกินบัญชี: อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเป็นเหตุชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีตามสัญญาที่จำเลยขอเปิดวงเงินเบิกเกินบัญชีจากโจทก์ ดังนั้น เมื่อสัญญาเลิกกันแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราดังกล่าวจนกว่าจะชำระเสร็จ ตามป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เพราะถือว่าโจทก์มีเหตุที่อ้างได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และดอกเบี้ยหลังจากสัญญาเลิกกันแล้ว ไม่ถือว่าเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลจะมีอำนาจปรับลดลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5701/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา: สิทธิคิดดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมยังคงมีอยู่ ไม่ถือเป็นเบี้ยปรับ
โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีตามสัญญาที่จำเลยขอเปิดวงเงินเบิกเกินบัญชีจากโจทก์ ดังนั้นเมื่อสัญญาเลิกกันแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราดังกล่าวจนกว่าจะชำระเสร็จ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เพราะถือว่าโจทก์มีเหตุที่อ้างได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และดอกเบี้ยหลังจากสัญญาเลิกกันแล้ว ไม่ถือว่าเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลจะมีอำนาจปรับลดลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5194/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญา, การผิดสัญญา, การลดเบี้ยปรับ, ศาลใช้ดุลพินิจ
สัญญาสำหรับผู้ที่ขออนุญาตไปศึกษาวิชาโดยทุนส่วนตัวระหว่างโจทก์และจำเลยที่1ข้อ1มีข้อความว่า"ข้าพเจ้าจะตั้งใจและพากเพียรศึกษาวิชาโดยเต็มสติปัญญาในระหว่างศึกษาวิชาอยู่ข้าพเจ้าจะประพฤติตนให้เรียบร้องไม่เกียจคร้านและจะไม่ทำการสมรสในต่างประเทศถ้าข้าพเจ้าปฏิบัติผิดสัญญาข้อนี้แล้วทางราชการก็ชอบที่จะเรียกกลับหรือสั่งปลดข้าพเจ้าได้ทั้งข้าพเจ้าจะต้องคืนเงินรายเดือนและเงินค่าใช้จ่ายซึ่งทางราชการจ่ายให้แก่ข้าพเจ้าในระหว่างศึกษาเพิ่มเติมให้แก่ทางราชการด้วยทั้งสิ้น"ส่วนข้อ2มีข้อความว่า"เมื่อเสร็จการศึกษาแล้วข้าพเจ้าจะกลับมารับราชการในกระทรวงกลาโหมต่อไปถ้าข้าพเจ้ากลับมารับราชการได้ยังไม่ครบ2เท่าของเวลาที่ไปศึกษาแต่ไม่น้อยกว่า3ปีเป็นอย่างน้อยหรือยังไม่ครบ10ปีเป็นอย่างมากนับแต่กลับมารับราชการหากข้าพเจ้าประสงค์จะลาออกจากราชการก่อนกำหนดที่กล่าวแล้วแล้วข้าพเจ้ายอมใช้เงินเป็นจำนวน3เท่าของเงินรายเดือนและค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นที่ทางราชการได้จ่ายให้ในระหว่างเวลาที่ข้าพเจ้าศึกษาวิชาอยู่นั้นจนครบถ้วนทันทีเมื่อได้รับการทวงถาม"จากข้อสัญญาดังกล่าวในกรณีที่จำเลยที่1จะต้องคืนเงินรายเดือนและค่าใช้จ่ายตามสัญญาข้อ1นั้นจำเลยที่1จะต้องปฏิบัติผิดสัญญา3ประการคือไม่ตั้งใจและพากเพียรศึกษาวิชาประพฤติตนไม่เรียบร้อยและเกียจคร้านและทำการสมรสในต่างประเทศซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์อาจจะเรียกจำเลยที่1กลับหรือสั่งปลดจำเลยที่1ได้โดยที่จำเลยที่1ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายใดๆจากโจทก์เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่1ได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดใน3ประการดังที่กล่าวมาและโจทก์มิได้เรียกจำเลยที่1กลับประเทศไทยหรือปลดจำเลยที่1ออกจากราชการกลับปรากฏว่าจำเลยที่1มีหนังสือถึงโจทก์ขอลาออกจากราชการนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดที่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้ขยายเวลาเพื่อการศึกษาวิชาแม้ว่าจำเลยที่1จะไม่สำเร็จการศึกษาแต่ตามสัญญาใช้คำว่าเสร็จการศึกษาดังนั้นไม่ว่าจำเลยที่1จะสำเร็จการศึกษาหรือไม่จำเลยที่1ก็มีหน้าที่ต้องกลับมารับราชการตามที่ทำสัญญาไว้แก่โจทก์ตามสัญญาข้อ2เมื่อจำเลยที่1ไม่กลับมารับราชการตามที่ได้สัญญาไว้และลาออกไปก่อนที่จะกลับมารับราชการตามที่สัญญาไว้ย่อมถือว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาข้อ2ดังกล่าวข้างต้นแล้ว สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีการกำหนดเบี้ยปรับไว้ในกรณีที่มีการผิดสัญญาเฉพาะที่กำหนดไว้ในข้อ2เท่านั้นส่วนข้อ1เป็นเรื่องที่จำเลยที่1จะคืนเงินรายเดือนและเงินค่าใช้จ่ายซึ่งทางราชการจ่ายให้แก่จำเลยที่1ในกรณีที่จำเลยปฏิบัติผิดข้อสัญญาที่กล่าวไว้ในข้อ1และโจทก์เรียกตัวจำเลยที่1กลับจากต่างประเทศหรือมีคำสั่งปลดจำเลยที่1ออกจากราชการเพราะเหตุที่จำเลยที่1ปฏิบัติผิดสัญญาข้อ1เท่านั้นไม่มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับแม้จะอยู่ในสัญญาฉบับเดียวกันก็ตามเพราะสัญญาดังกล่าวมีข้อความกำหนดไว้ชัดเจนดังนั้นเมื่อจำเลยที่1ทำผิดสัญญาข้อ2จำเลยที่1จึงต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญา การที่โจทก์เรียกให้จำเลยที่1ชำระเงินจำนวนที่ได้รับไปจากโจทก์ในระหว่างที่จำเลยที่1ไปศึกษาวิชาที่ต่างประเทศโดยหน่วยงานของโจทก์เห็นว่าจำเลยที่1ทำผิดสัญญาข้อ1แห่งสัญญาดังกล่าวและทำเรื่องเสนอโจทก์ให้ออกคำสั่งอนุมัติให้จำเลยที่1ลาออกจากราชการนั้นแม้จำเลยที่1โดยบิดาจำเลยที่1เป็นผู้ชำระแทนก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เรียกให้จำเลยที่1ชำระเบี้ยปรับจำนวน1เท่าของเงินรายเดือนและค่าใช้จ่ายที่จำเลยที่1ได้รับไปจากโจทก์โดยมิได้สงวนสิทธิที่จะเรียกให้ชำระเบี้ยปรับในส่วนที่เหลือเพราะพึงพอใจในเงินเบี้ยปรับนั้นแล้วเป็นเรื่องที่หน่วยงานของโจทก์ตีความในสัญญาไม่ถูกต้องและถือไม่ได้ว่าการที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่1ลาออกจากราชการเป็นการยอมรับเอาเบี้ยปรับจำนวน1เท่าไว้แล้วดังจะเห็นได้จากสัญญาข้อ2ก็ได้กล่าวถึงการลาออกก่อนกำหนดเวลาที่จะกลับมาทำงานให้แก่โจทก์ครบถ้วนตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาแสดงว่าโจทก์อนุญาตให้จำเลยที่1ลาออกจำเลยที่1ก็ยังมีภาระที่จะต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์การชำระหนี้ในกรณีนี้คือการกลับมาปฏิบัติงานให้แก่โจทก์ตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเมื่อจำเลยที่1มิได้ชำระหนี้เลยจะถือว่าโจทก์ยอมรับการชำระหนี้โดยมิได้สงวนสิทธิในเรื่องเบี้ยปรับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา381วรรคท้ายไม่ได้จำเลยที่1ยังมีหน้าที่จะต้องชำระเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ การกำหนดเบี้ยปรับคือข้อสัญญาที่คู่กรณีกำหนดความเสียหายไว้ล่วงหน้าเนื่องจากการที่ลูกหนี้มิได้ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสมควรและตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา383วรรคหนึ่งเบี้ยปรับที่กำหนดไว้ในสัญญาในกรณีที่ผิดสัญญานั้นกฎหมายมิได้บังคับเด็ดขาดว่าจะต้องให้เป็นไปตามนั้นแต่ต้องพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายด้วยซึ่งมิใช่แต่ทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินเท่านั้นดังนั้นเมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏชัดแจ้งว่าโจทก์เสียหายเต็มตามจำนวนเบี้ยปรับที่กำหนดไว้ในสัญญาศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5194/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญา, การผิดสัญญา, การชำระหนี้, ศาลลดเบี้ยปรับ, ความเสียหายที่แท้จริง
สัญญาสำหรับผู้ที่ขออนุญาตไปศึกษาวิชาโดยทุนส่วนตัวระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ข้อ 1 มีข้อความว่า "ข้าพเจ้าจะตั้งใจและพากเพียรศึกษาวิชาโดยเต็มสติปัญญา ในระหว่างศึกษาวิชาอยู่ข้าพเจ้าจะประพฤติตนให้เรียบร้อยไม่เกียจคร้านและจะไม่ทำการสมรสในต่างประเทศ ถ้าข้าพเจ้าปฏิบัติผิดสัญญาข้อนี้แล้ว ทางราชการก็ชอบที่จะเรียกกลับหรือสั่งปลดข้าพเจ้าได้... ทั้งข้าพเจ้าจะต้องคืนเงินรายเดือนและเงินค่าใช้จ่ายซึ่งทางราชการจ่ายให้แก่ข้าพเจ้าในระหว่างศึกษาเพิ่มเติมให้แก่ทางราชการด้วยทั้งสิ้น" ส่วนข้อ 2 มีข้อความว่า "เมื่อเสร็จการศึกษาแล้ว ข้าพเจ้าจะกลับมารับราชการในกระทรวงกลาโหมต่อไป ถ้าข้าพเจ้ากลับมารับราชการได้ยังไม่ครบ 2 เท่า ของเวลาที่ไปศึกษา แต่ไม่น้อยกว่า 3 ปี เป็นอย่างน้อย หรือยังไม่ครบ 10 ปี เป็นอย่างมาก นับแต่กลับมารับราชการ... หากข้าพเจ้าประสงค์จะลาออกจากราชการก่อนกำหนดที่กล่าวแล้วข้าพเจ้ายอมใช้เงินเป็นจำนวน 3 เท่าของเงินรายเดือนและค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นที่ทางราชการได้จ่ายให้ในระหว่างเวลาที่ข้าพเจ้าศึกษาวิชาอยู่นั้นจนครบถ้วนทันทีเมื่อได้รับการทวงถาม" จากข้อสัญญาดังกล่าวในกรณีที่จำเลยที่ 1 จะต้องคืนเงินรายเดือนและค่าใช้จ่ายตามสัญญาข้อ 1 นั้นจำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติผิดสัญญา 3 ประการ คือ ไม่ตั้งใจและพากเพียรศึกษาวิชาประพฤติตนไม่เรียบร้อยและเกียจคร้าน และทำการสมรสในต่างประเทศ ซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์อาจจะเรียกจำเลยที่ 1 กลับหรือสั่งปลดจำเลยที่ 1 ได้ โดยที่จำเลยที่ 1ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดใน 3 ประการ ดังที่กล่าวมา และโจทก์มิได้เรียกจำเลยที่ 1 กลับประเทศไทย หรือปลดจำเลยที่ 1 ออกจากราชการ กลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงโจทก์ขอลาออกจากราชการนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดที่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้ขยายเวลาเพื่อการศึกษาวิชา แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะไม่สำเร็จการศึกษา แต่ตามสัญญาใช้คำว่า เสร็จการศึกษา ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยที่ 1จะสำเร็จการศึกษาหรือไม่ จำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่ต้องกลับมารับราชการตามที่ทำสัญญาไว้แก่โจทก์ตามสัญญาข้อ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่กลับมารับราชการตามที่ได้สัญญาไว้และลาออกไปก่อนที่จะกลับมารับราชการตามที่ได้สัญญาไว้ย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาข้อ 2 ดังกล่าวข้างต้นแล้ว
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีการกำหนดเบี้ยปรับไว้ในกรณีที่มีการผิดสัญญาเฉพาะที่กำหนดไว้ในข้อ 2 เท่านั้น ส่วนข้อ 1 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะต้องคืนเงินรายเดือนและเงินค่าใช้จ่ายซึ่งทางราชการจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยปฏิบัติผิดข้อสัญญาที่กล่าวไว้ในข้อ 1 และโจทก์เรียกตัวจำเลยที่ 1 กลับจากต่างประเทศหรือมีคำสั่งปลดจำเลยที่ 1 ออกจากราชการเพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดสัญญาข้อ 1 เท่านั้นไม่มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ แม้จะอยู่ในสัญญาฉบับเดียวกันก็ตาม เพราะสัญญาดังกล่าวมีข้อความกำหนดไว้ชัดเจน ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ทำผิดสัญญาข้อ 2จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญา
การที่โจทก์เรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวนที่ได้รับไปจากโจทก์ในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ไปศึกษาวิชาที่ต่างประเทศโดยหน่วยงานของโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ทำผิดสัญญาข้อ 1 แห่งสัญญาดังกล่าวและทำเรื่องเสนอโจทก์ให้ออกคำสั่งอนุมัติให้จำเลยที่ 1 ลาออกจากราชการนั้น แม้จำเลยที่ 1 โดยบิดาจำเลยที่ 1 เป็นผู้ชำระแทน ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเบี้ยปรับจำนวน 1 เท่า ของเงินรายเดือนและค่าใช้จ่ายที่จำเลยที่ 1 ได้รับไปจากโจทก์โดยมิได้สงวนสิทธิที่จะเรียกให้ชำระเบี้ยปรับในส่วนที่เหลือเพราะพึงพอใจในเงินเบี้ยปรับนั้นแล้ว เป็นเรื่องที่หน่วยงานของโจทก์ตีความในสัญญาไม่ถูกต้องและถือไม่ได้ว่าการที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ลาออกจากราชการเป็นการยอมรับเอาเบี้ยปรับจำนวน 1 เท่า ไว้แล้ว ดังจะเห็นได้จากสัญญาข้อ 2 ก็ได้กล่าวถึงการลาออกก่อนกำหนดเวลาที่จะกลับมาทำงานให้แก่โจทก์ครบถ้วนตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา แสดงว่าแม้โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ลาออกจำเลยที่ 1 ก็ยังมีภาระที่จะต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์ การชำระหนี้ในกรณีนี้คือการกลับมาปฏิบัติงานให้แก่โจทก์ตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ชำระหนี้เลย จะถือว่าโจทก์ยอมรับการชำระหนี้โดยมิได้สงวนสิทธิในเรื่องเบี้ยปรับ ป.พ.พ. มาตรา 381 วรรคท้าย ไม่ได้ จำเลยที่ 1 ยังมีหน้าที่จะต้องชำระเบี้ยปรับให้แก่โจทก์
การกำหนดเบี้ยปรับคือข้อสัญญาที่คู่กรณีกำหนดความเสียหายไว้ล่วงหน้าเนื่องจากการที่ลูกหนี้มิได้ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสมควรและตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง เบี้ยปรับที่กำหนดไว้ในสัญญาในกรณีที่ผิดสัญญานั้นกฎหมายมิได้บังคับเด็ดขาดว่าจะต้องให้เป็นไปตามนั้น แต่ต้องพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายด้วย ซึ่งมิใช่แต่ทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินเท่านั้น ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏชัดแจ้งว่าโจทก์เสียหายเต็มตามจำนวนเบี้ยปรับที่กำหนดไว้ในสัญญา ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7047/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อ การคิดดอกเบี้ยซ้ำซ้อน และการลดเบี้ยปรับตามกฎหมาย
สัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศข้อ7ก.ข้อ8และข้อ9ความว่าในกรณีที่จำเลยที่1ผิดสัญญาไม่กลับเข้าปฏิบัติราชการหลังจากการศึกษาของจำเลยที่1ยุติลงและเป็นเหตุให้จำเลยที่1ถูกลงโทษทางวินัยให้ไล่ออกจากราชการจำเลยที่1จะต้องชดใช้เงินทุกเงินเดือนและเงินอื่นใดที่จำเลยที่1ได้รับไปในระหว่างศึกษาต่อคืนแก่โจทก์ทั้งหมดพร้อมทั้งเบี้ยปรับเป็นเงินอีกหนึ่งเท่าของเงินที่จำเลยที่1ต้องชดใช้คืนแก่โจทก์นอกจากนี้จำเลยที่1ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากเงินที่ยังมิได้ชำระคืนในอัตราร้อยละ12ต่อปีอีกด้วยข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการกำหนดเบี้ยปรับเมื่อจำเลยที่1ไม่ชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา380อีกส่วนหนึ่งด้วยเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษาให้จำเลยที่1ชำระเบี้ยปรับเป็นจำนวนเงินหนึ่งเท่าของเงินที่จำเลยที่1ต้องชดใช้คืนให้แก่โจทก์ครบจำนวนแล้วหากนำเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นเบี้ยปรับอัตราร้อยละ12ต่อปีรวมเข้าเป็นเบี้ยปรับอีกจำนวนหนึ่งย่อมทำให้เบี้ยปรับที่โจทก์ได้รับมีจำนวนสูงเกินไปศาลชอบที่จะลดเบี้ยปรับให้เหลือเพียงจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา383วรรคหนึ่งดังนั้นโจทก์ย่อมไม่สมควรได้รับดอกเบี้ยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7047/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาข้าราชการศึกษาต่อ – ศาลลดเบี้ยปรับได้เมื่อสูงเกินควร
สัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศ ข้อ 7 ก. ข้อ 8และข้อ 9 ความว่า ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่กลับเข้าปฏิบัติราชการหลังจากการศึกษาของจำเลยที่ 1 ยุติลง และเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ถูกลงโทษทางวินัยให้ไล่ออกจากราชการ จำเลยที่ 1 จะต้องชดใช้ เงินทุน เงินเดือน และเงิน-อื่นใดที่จำเลยที่ 1 ได้รับไปในระหว่างศึกษาต่อคืนแก่โจทก์ทั้งหมด พร้อมทั้งเบี้ยปรับเป็นเงินอีกหนึ่งเท่าของเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้คืนแก่โจทก์ นอกจากนี้ จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากเงินที่ยังมิได้ชำระคืนในอัตราร้อยละ 12 ต่อปีอีกด้วย ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการกำหนดเบี้ยปรับเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 อีกส่วนหนึ่งด้วยเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเบี้ยปรับเป็นจำนวนเงินหนึ่งเท่าของเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้คืนให้แก่โจทก์ครบจำนวนแล้ว หากนำเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 12 ต่อปี รวมเข้าเป็นเบี้ยปรับอีกจำนวนหนึ่ง ย่อมทำให้เบี้ยปรับที่โจทก์ได้รับมีจำนวนสูงเกินไป ศาลชอบที่จะลดเบี้ยปรับให้เหลือเพียงจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่งดังนั้น โจทก์ย่อมไม่สมควรได้รับดอกเบี้ยอีก
of 6