พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3332/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อที่ดินของผู้เช่าเมื่อผู้ให้เช่าขายฝ่าฝืนกม.เช่า, ราคาซื้อขายตามตลาดหรือราคาเดิม
การที่ อ. ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้จำเลย ไม่ทำให้การเช่านาพิพาทระหว่าง อ. กับโจทก์ระงับไปเพราะเหตุที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ ผู้รับโอนต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนที่มีต่อผู้เช่านาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 28 เมื่อไม่ปรากฏว่า อ. หรือจำเลยได้ดำเนินการตามขั้นตอนใด ๆ ให้การเช่านาสิ้นสุดลงก่อนฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้นเพื่อขับไล่โจทก์และสามีโจทก์ออกจากที่ดินพิพาท แม้ต่อมาโจทก์ สามีโจทก์ และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และศาลพิพากษาตามยอม แต่สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่ปรากฏว่าโจทก์สละสิทธิในการซื้อที่ดินพิพาท และไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไรก็ตามการทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือข้อตกลงเพื่อยกเว้นบทบัญญัติในกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองผู้เช่านาไว้เป็นการเฉพาะซึ่งถือเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมไม่อาจกระทำได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยใช้สิทธิอุทธรณ์หรือดำเนินการทางศาลเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลที่ให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทคืนจากจำเลย ทั้งไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ในคดีนี้ว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลจึงเป็นที่สุดตามมาตรา 56 วรรคสอง ดังนั้นแม้จะมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์สละสิทธิที่จะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลย เมื่อ คชก.ตำบลมีมติให้โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยในราคาที่ซื้อขายกับเจ้าของเดิมหรือราคาตลาดแล้วแต่ว่าราคาใดจะสูงกว่ากัน แล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตามมตินั้น โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4115/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อที่ดินคืนของผู้เช่าตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เมื่อผู้รับโอนไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมาย
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทใช้ทำนาโดยเช่าจาก ส.เจ้าของเดิมมานาน โจทก์ทำนาในที่ดินพิพาทตลอดมา จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลซึ่งในขณะนั้นปรากฏว่าโจทก์ยังเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทและทำนาอยู่ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาจากเจ้าของเดิมผู้ให้เช่า แม้จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็ย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทจากเจ้าของเดิมเพราะผู้ขายที่ดินพิพาทที่แท้จริงก็คือเจ้าของเดิม ศาลเป็นแต่เพียงดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทตามบทบัญญัติของกฎหมายเท่านั้น มิได้มีผลไปลบล้างบทบัญญัติพิเศษในกฎหมายอื่นนอกเหนือจากที่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะไม่ การรับโอนของจำเลยที่ 1จึงเป็นการรับโอนที่ดินพิพาทตามความในมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 กล่าวคือ การเช่านาย่อมไม่ระงับไปเพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์นาที่เช่า ผู้รับโอนต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนที่มีต่อผู้เช่านาตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว จำเลยที่ 1 ผู้รับโอนต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่เจ้าของเดิมซึ่งเป็นผู้ให้เช่ามีต่อโจทก์ผู้เช่า ดังนั้น โจทก์จึงได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 53 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว กล่าวคือ จำเลยที่ 1 ซึ่งมีฐานะเป็นผู้ให้เช่านาเมื่อประสงค์จะขายนาคือที่ดินพิพาทก็มีหน้าที่ต้องแจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือแสดงความจำนงจะขายนาพร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธาน คชก.ตำบล เพื่อแจ้งให้โจทก์ผู้เช่านาทราบภายในสิบห้าวันเสียก่อน ถ้าโจทก์ผู้เช่านาไม่ซื้อตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 53 วรรคสาม จำเลยที่ 1 จึงจะขายให้จำเลยที่ 3 ได้ต่อไป เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทก่อนตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 มาตรา 54 เมื่อโจทก์ได้ร้องต่อ คชก.ตำบล เพื่อขอซื้อที่ดินพิพาทตามสิทธิในกฎหมายดังกล่าว และ คชก.ตำบล ก็ได้มีมติให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3 โดยฝ่ายจำเลยทั้งสามมิได้อุทธรณ์มติของ คชก.ตำบลแต่อย่างใด นับว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนครบถ้วนตามมาตรา 54 ดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3 ได้
การที่จำเลยที่ 3 อ้างว่า โจทก์ได้ชำระค่าเช่าที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 3 โดยการชำระผ่าน ย. แสดงว่าโจทก์สละสิทธิในการที่จะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3 และเป็นการแสดงเจตนาเช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3 ใหม่นั้นการชำระค่าเช่านั้นเป็นหน้าที่ของผู้เช่าต้องปฎิบัติตามกฎหมายคือตราบใดที่โจทก์ยังเป็นผู้เช่า ยังไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่านาคือค่าเช่าที่ดินพิพาทเป็นคนละส่วนกันกับสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามบทบัญญัติของมาตรา 54 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว การที่โจทก์ชำระค่าเช่านาคือค่าเช่าที่ดินพิพาทจึงมิใช่ข้อที่จะตัดสิทธิของโจทก์ว่าเป็นการสละสิทธิที่จะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3 และการที่โจทก์ยื่นคำร้องต่อ คชก.ตำบล เพื่อขอซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3 นั้น ก็เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายหาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ ทั้งเป็นการแสดงให้เห็นชัดเจนอยู่ในตัวว่า โจทก์มิได้มีความประสงค์ที่จะสละสิทธิในการซื้อที่ดินพิพาทด้วย
ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 54 ได้กำหนดให้ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้นตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้นแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ประมูลซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดในราคา 900,000 บาท และในวันเดียวกันนั้นได้โอนขายให้จำเลยที่ 3จำเลยที่ 3 ซื้อที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยที่ 1 ในราคา 1,500,000 บาท แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าในขณะที่จำเลยที่ 3 รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 นั้น ที่ดินพิพาทมีราคาตลาดเท่ากับราคาที่จำเลยที่ 3 ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 คือราคา 1,500,000 บาท ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 3 ในราคาดังกล่าวตามมติของ คชก.ตำบลจึงชอบแล้ว แต่ที่ศาลอุทธรณ์ไม่กำหนดเวลาให้โจทก์ชำระราคาไว้นั้น ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขโดยกำหนดเวลาให้โจทก์ชำระราคาด้วย
การที่จำเลยที่ 3 อ้างว่า โจทก์ได้ชำระค่าเช่าที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 3 โดยการชำระผ่าน ย. แสดงว่าโจทก์สละสิทธิในการที่จะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3 และเป็นการแสดงเจตนาเช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3 ใหม่นั้นการชำระค่าเช่านั้นเป็นหน้าที่ของผู้เช่าต้องปฎิบัติตามกฎหมายคือตราบใดที่โจทก์ยังเป็นผู้เช่า ยังไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่านาคือค่าเช่าที่ดินพิพาทเป็นคนละส่วนกันกับสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามบทบัญญัติของมาตรา 54 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว การที่โจทก์ชำระค่าเช่านาคือค่าเช่าที่ดินพิพาทจึงมิใช่ข้อที่จะตัดสิทธิของโจทก์ว่าเป็นการสละสิทธิที่จะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3 และการที่โจทก์ยื่นคำร้องต่อ คชก.ตำบล เพื่อขอซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3 นั้น ก็เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายหาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ ทั้งเป็นการแสดงให้เห็นชัดเจนอยู่ในตัวว่า โจทก์มิได้มีความประสงค์ที่จะสละสิทธิในการซื้อที่ดินพิพาทด้วย
ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 54 ได้กำหนดให้ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้นตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้นแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ประมูลซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดในราคา 900,000 บาท และในวันเดียวกันนั้นได้โอนขายให้จำเลยที่ 3จำเลยที่ 3 ซื้อที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยที่ 1 ในราคา 1,500,000 บาท แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าในขณะที่จำเลยที่ 3 รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 นั้น ที่ดินพิพาทมีราคาตลาดเท่ากับราคาที่จำเลยที่ 3 ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 คือราคา 1,500,000 บาท ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 3 ในราคาดังกล่าวตามมติของ คชก.ตำบลจึงชอบแล้ว แต่ที่ศาลอุทธรณ์ไม่กำหนดเวลาให้โจทก์ชำระราคาไว้นั้น ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขโดยกำหนดเวลาให้โจทก์ชำระราคาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4115/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อที่ดินคืนของผู้เช่าตามกฎหมายเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ผู้เช่ามีสิทธิซื้อที่ดินจากผู้รับโอนในราคาเดิม
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทใช้ทำนาโดยเช่าจากส.เจ้าของเดิมมานานโจทก์ทำนาในที่ดินพิพาทตลอดมาจำเลยที่1ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลซึ่งในขณะนั้นปรากฎว่าโจทก์ยังเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทและทำนาอยู่ดังนั้นการที่จำเลยที่1รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาจากเจ้าของเดิมผู้ให้เช่าแม้จำเลยที่1ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลก็ตามจำเลยที่1ก็ย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทจากเจ้าของเดิมเพราะผู้ขายที่ดินพิพาทที่แท้จริงก็คือเจ้าของเดิมศาลเป็นแต่เพียงดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทตามบทบัญญัติของกฎหมายเท่านั้นมิได้มีผลไปลบล้างบทบัญญัติพิเศษในกฎหมายอื่นนอกเหนือจากที่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะไม่การรับโอนของจำเลยที่1จึงเป็นการรับโอนที่ดินพิพาทตามความในมาตรา28แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524กล่าวคือการเช่านาย่อมไม่ระงับไปเพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์นาที่เช่าผู้รับโอนต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนที่มีต่อผู้เช่านาตามพระราชบัญญัติดังกล่าวจำเลยที่1ผู้รับโอนต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่เจ้าของเดิมซึ่งเป็นผู้ให้เช่าที่ต่อโจทก์ผู้เช่าดังนั้นโจทก์จึงได้รับความคุ้มครองตามมาตรา53แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กล่าวคือจำเลยที่1ซึ่งมีฐานะเป็นผู้ให้เช่านาเมื่อประสงค์จะขายนาคือที่ดินพิพาทก็มีหน้าที่ต้องแจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือแสดงความจำนงจะขายนาพร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธานคชก.ตำบลเพื่อแจ้งให้โจทก์ผู้เช่านาทราบภายในสิบห้าวันเสียก่อนถ้าโจทก์ผู้เช่านาไม่ซื้อตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา53วรรคสามจำเลยที่1จึงจะขายให้จำเลยที่3ได้ต่อไปเมื่อจำเลยที่1ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวโจทก์จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทก่อนตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54เมื่อโจทก์ได้ร้องต่อคชก.ตำบลเพื่อขอซื้อที่ดินพิพาทตามสิทธิในกฎหมายดังกล่าวและคชก.ตำบลก็ได้มีมติให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่3โดยฝ่ายจำเลยทั้งสามมิได้อุทธรณ์มติของคชก.ตำบลแต่อย่างใดนับว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนครบถ้วนตามมาตรา54ดังกล่าวแล้วโจทก์จึงมีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่3ได้ การที่จำเลยที่3อ้างว่า โจทก์ได้ชำระค่าเช่าที่ดินพิพาทให้จำเลยที่3โดยการชำระผ่านย. แสดงว่าโจทก์สละสิทธิในการที่จะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่3และเป็นการแสดงเจตนาเช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่3ใหม่นั้นการชำระค่าเช่านั้นเป็นหน้าที่ของผู้เช่าต้องปฏิบัติตามกฎหมายคือตราบใดที่โจทก์ยังเป็นผู้เช่ายังไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่านาคือค่าเช่าที่ดินพิพาทเป็นคนละส่วนกันกับสิทธิกันกับสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามบทบัญญัติของมาตรา54แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวการที่พระราชบัญญัติชำระค่าเช่านาคือค่าเช่าที่ดินพิพาทจึงมิใช่ข้อที่จะตัดสิทธิของโจทก์ว่าเป็นการสละสิทธิที่จะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่3และการที่โจทก์ยื่นคำร้องต่อคชก.ตำบลเพื่อขอซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่3นั้นก็เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายหาใช่เป็นการใช่สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ทั้งเป็นการแสดงให้เห็นชัดเจนอยู่ในตัวว่าโจทก์มิได้มีความประสงค์ที่จะสละสิทธิในการซื้อที่ดินพิพาทด้วย ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54ได้กำหนดให้ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้นตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้นแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากันเมื่อปรากฎว่าจำเลยที่1ประมูลซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดในราคา900,000บาทและในวันเดียวกันนั้นได้โอนขายให้จำเลยที่3จำเลยที่3ซื้อที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยที่1ในราคา1,500,000บาทแต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าในขณะที่จำเลยที่3รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่1นั้นที่ดินพิพาทมีราคาตลาดเท่ากับราคาที่จำเลยที่3ซื้อมาจากจำเลยที่1คือราคา1,500,000บาทดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่3ในราคาดังกล่าวตามมติของคชก.ตำบลจึงชอบแล้วแต่ที่ศาลอุทธรณ์ไม่กำหนดเวลาให้โจทก์ชำระราคาไว้นั้นไม่ถูกต้องสมบูรณ์ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขโดยกำหนดเวลาให้โจทก์ชำระราคาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4115/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อที่ดินคืนของผู้เช่าตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรณีผู้รับโอนซื้อมาในราคาตลาด
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาททำนาจากส. ต่อมาศาลมีคำสั่งให้ยึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดจำเลยที่1เป็นผู้ประมูลได้ถือเป็นการซื้อจากเจ้าของเดิมเป็นการรับโอนที่ดินพิพาทตามมาตรา28แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524ที่ผู้รับโอนต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนที่มีต่อผู้เช่าศาลเป็นเพียงดำเนินการขายทอดตลาดเท่านั้นหากจำเลยที่1จะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่3จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบก่อนถ้าโจทก์ไม่ซื้อจำเลยที่1จึงจะขายให้จำเลยที่3ได้ตามมาตรา53เมื่อจำเลยที่1ไม่ปฎิบัติตามกฎหมายโจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทก่อนจากจำเลยที่3ตามมาตรา54การที่โจทก์ยังคงชำระค่าเช่าที่ดินพิพาทให้จำเลยที่3ไม่เป็นการตัดสิทธิโจทก์ว่าเป็นการสละสิทธิที่จะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่3และการที่คชก.ตำบลมีมติให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่3ในราคา1,500,000บาทโดยฝ่ายจำเลยมิได้อุทธรณ์มติดังกล่าวถือว่าโจทก์ได้ปฎิบัติขั้นตอนครบถ้วนตามกฎหมายแล้วมติคชก.ตำบลจึงชอบตามมาตรา54เพราะเป็นราคาตลาดที่จำเลยที่3ซื้อจากจำเลยที่1โดยไม่ปรากฏว่าที่ดินพิพาทมีราคาตลาดสูงกว่านั้นอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3071/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีขับไล่ผู้เช่านาต้องเป็นไปตามเงื่อนไขพ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ หากไม่ปฏิบัติตามกฎหมายก่อนฟ้อง ถือไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยเป็นผู้เช่านาตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524เมื่อโจทก์รับโอนที่ดินแปลงดังกล่าวจึงต้องรับโอนทั้งสิทธิและหน้าที่แม้คชก.จังหวัดจะวินิจฉัยว่าจำเลยไม่มีสิทธิซื้อที่ดินดังกล่าวจากโจทก์และถึงที่สุดแล้วก็ตามแต่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเลิกทำนาหรือขับไล่จำเลยโดยมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯก่อนโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6275/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าที่ดินเกษตรกรรมย่อมไม่ระงับ แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์ ผู้ซื้อต้องรับภาระผูกพันเดิม
พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 28บัญญัติว่าการเช่านาย่อมไม่ระงับเพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์นาที่เช่าการที่โจทก์รับโอนที่พิพาทมาโดยการซื้อได้จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้น ก็ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติไว้ว่าจะไม่ต้องรับภาระผูกพันที่มีเหนือทรัพย์นั้น โจทก์จึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนคือเจ้าของเดิมที่มีต่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้เช่าโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5978-5979/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำฟ้องระหว่างพิจารณาคดี & เหตุคุ้มครองชั่วคราว: การโอนที่ดินพิพาทขัดขวางบังคับคดี
ศาลชั้นต้นได้ชี้สองสถานและนัดสืบพยานโจทก์ ก่อนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 2ที่ 3 ได้จดทะเบียนโอนขายที่นาพิพาทคืนให้แก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์เพิ่งทราบหลังจากการชี้สองสถาน จึงขอแก้ไขคำฟ้องตามข้อเท็จจริงดังกล่าว เพื่อบังคับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ซื้อที่นาพิพาทอีก ทอด หนึ่ง ให้โอนขายแก่โจทก์ด้วย เห็นได้ชัดว่าข้อเท็จจริงดังกล่าว เพิ่งเกิดขึ้นหลังวันชี้สองสถาน โจทก์จึงไม่อาจยื่นคำร้องได้ ก่อนวันชี้สองสถาน ตามคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องจำเลยที่ 1 ขายที่นาพิพาทให้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่แจ้งและเสนอขายให้โจทก์ในฐานะผู้เช่า ก่อนโจทก์จึงฟ้องขอบังคับซื้อที่ดินนาพิพาทจากจำเลยทั้งสาม ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ขณะคดีอยู่ ในระหว่าง พิจารณาจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ได้จดทะเบียนโอนขาย ที่นาพิพาทคืนให้จำเลยที่ 1 โจทก์จึงได้แก้ไขคำฟ้องเพื่อบังคับ จำเลยที่ 1 ตามข้อเท็จจริงที่เพิ่งเกิดขึ้นด้วย เป็นการแก้ไข คำฟ้องเพื่อคุ้มครองสิทธิของตนในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179(2) มีความเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม โจทก์มีสิทธิ ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 182 ตามคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวกล่าวว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3ไม่ยอมส่งโฉนดที่พิพาทตามคำสั่งศาลเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐาน เพราะจำเลยทั้งสามตั้งใจโอนที่นาพิพาทเพื่อไม่ให้โจทก์บังคับคดี ต่อมาจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้โอนที่นาพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 กำลังบอกขายที่นาพิพาทเพื่อให้พ้นจากการบังคับคดี ของ โจทก์จึงขอให้ศาลอายัดที่นาก่อนศาลมีคำพิพากษา คำร้องของโจทก์ เป็น การขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยโอนขาย ยักย้าย หรือ จำหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทจนกว่าคดีจะถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254(2) แม้โจทก์จะใช้คำว่าขอให้อายัด ก็แปลได้ว่าเป็นการ ขอให้ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนนั่นเอง เมื่อตามคำร้องปรากฏว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้โอนที่นาพิพาทให้จำเลยที่ 1 ในระหว่าง การพิจารณา และจำเลยที่ 1 กำลังบอกขายให้บุคคลอื่นต่อไป พอชี้ ให้เห็นความตั้งใจของจำเลยทั้งสามว่าจะจำหน่ายจ่ายโอนเพื่อ ขัดขวางแก่การบังคับตามคำบังคับคดี ซึ่งอาจจะออกบังคับเอาแก่จำเลย ทั้งสามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 255 แล้วคดีนี้โจทก์ฟ้องขอบังคับซื้อ ที่นาพิพาท หากจำเลยที่ 1 จะขายที่นาพิพาทต้องแจ้งให้โจทก์ทราบ ตามสิทธิที่จะซื้อก่อน ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 54 และหากขายที่นาพิพาทไปแล้วผู้ซื้อก็ต้อง รับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตามมาตรา 28ซึ่งโจทก์ได้รับความคุ้มครอง อยู่แล้วก็ตาม แต่ถ้าปล่อยให้จำเลยโอนที่นาพิพาทไปยังบุคคลภายนอก แม้โจทก์ชนะคดีก็ไม่อาจบังคับคดีแก่จำเลยเพื่อให้ได้มาซึ่ง ที่นาพิพาท โจทก์ต้องไปดำเนินการ เพื่อ บังคับซื้อจากบุคคลภายนอก ผู้รับโอนตามมาตรา 54 ใหม่ ทำให้เกิด ภาระ แก่โจทก์ไม่มีที่สิ้นสุด โจทก์จึงมีสิทธิขอคุ้มครองชั่วคราวได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 254(2) ศาลชั้นต้นต้องรับ คำร้อง ของโจทก์ไว้ไต่สวน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทำนาของผู้เช่าเดิมหลังการซื้อขายที่ดิน ผู้ซื้อต้องให้ผู้เช่าทำนาต่อไป การเก็บเกี่ยวข้าวไม่ใช่การลักทรัพย์
จำเลยเช่านาพิพาทจากผ.ต่อมาผ.ขายนาพิพาทให้ผู้เสียหายผู้เสียหายต้องรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผ.ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524คือต้องให้จำเลยใช้นาแปลงพิพาทต่อไปผู้เสียหายจึงไม่มีสิทธิที่จะไถทับที่นาซึ่งจำเลยปลูกข้าวไว้การที่จำเลยเก็บเกี่ยวข้าวในที่นาแปลงพิพาทจึงแสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเก็บเกี่ยวข้าวที่จำเลยได้หว่านไว้แม้จะปรากฏว่าผู้เสียหายได้ไถทับที่นาและปลูกต้นข้าวไว้ในนาพิพาทก็ตามแต่โดยสภาพของต้นข้าวที่ขึ้นมาจำเลยไม่น่าจะแยกได้ว่าเป็นต้นข้าวที่ตนหว่านไว้หรือเป็นต้นข้าวที่ผู้เสียหายปลูกไว้จำเลยจึงไม่มีเจตนาทุจริตที่จะลักต้นข้าวของผู้เสียหายจึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าที่ดินเกษตรกรรมหลังการขายที่ดิน ผู้รับโอนต้องเคารพสิทธิเดิมของผู้เช่า การเก็บเกี่ยวข้าวไม่ถือเป็นลักทรัพย์
จำเลยเช่านาพิพาทจากผ. ต่อมาผ. ขายนาพิพาทให้ผู้เสียหายผู้เสียหายต้องรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผ. ตามพ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524คือต้องให้จำเลยใช้นาแปลงพิพาทต่อไปผู้เสียหายจึงไม่มีสิทธิที่จะไถทับที่นาซึ่งจำเลยปลูกข้าวไว้การที่จำเลยเก็บเกี่ยวข้าวในที่นาแปลงพิพาทจึงแสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเก็บเกี่ยวข้าวที่จำเลยได้หว่านไว้แม้จะปรากฏว่าผู้เสียหายได้ไถทับที่นาและปลูกต้นข้าวไว้ในนาพิพาทก็ตามแต่โดยสภาพของต้นข้าวที่ขึ้นมาจำเลยไม่น่าจะแยกได้ว่าเป็นต้นข้าวที่ตนหว่านไว้หรือเป็นต้นข้าวที่ผู้เสียหายปลูกไว้จำเลยจึงไม่มีเจตนาทุจริตที่จะลักต้นข้าวของผู้เสียหายจึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์.