คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วัชรินทร์ สุขเกื้อ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 40 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12434/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องทำทันทีหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา มิฉะนั้นขาดอำนาจพิจารณา
คำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งได้จะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ และต้องอุทธรณ์คำสั่งหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณานั้น จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ในส่วนอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยไว้ด้วย ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ก็ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนนี้ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบและถือว่าปัญหานี้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 การที่จำเลยฎีกาปัญหานี้ขึ้นมาจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9999/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิดต่อเนื่อง: การยึดครองทรัพย์สินโดยมิชอบและความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจนกว่าจะมีการเลิกยึดครอง
คดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 กับพวก ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์เข้าซ่อมแซมอาคารพิพาทครั้งแรกวันที่ 6 ธันวาคม 2549 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2550 ครั้งที่สองวันที่ 26 มีนาคม 2550 ถึงวันที่ 5 เมษายน 2550 และหลังจากเดือนเมษายน 2550 ถึงวันที่ 10 มกราคม 2551 พวกจำเลยยังคงครอบครองและยึดหน่วงอาคารพิพาทของโจทก์โดยไม่มีสิทธิ โจทก์มีรูปถ่ายความเสียหายของอาคารที่เกิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างนั้นมาแสดง ซึ่งจากการประมวลรูปถ่ายดังกล่าว สรุปได้ว่าระหว่างเดือนเมษายน 2550 ถึงวันที่ 10 เมษายน 2551 ที่จำเลยที่ 2 กับพวกเข้ายึดถือครอบครองอาคารพิพาทโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น จำเลยที่ 2 กับพวกมีโอกาสก่อให้เกิดหรือทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินในอาคารได้ทุกเมื่อ ความเสียหายดังกล่าวเป็นการละเมิดที่สืบต่อเนื่องกันมาโดยพวกจำเลยไม่ใช้ความระมัดระวังดูแลทรัพย์สินให้ดี ไม่บำบัดปัดป้องความเสียหายที่จะเกิดขึ้นดังเช่นวิญญูชนพึงกระทำ อายุความละเมิดยังไม่เริ่มนับจนกว่าพวกของจำเลยจะเลิกยึดถือครอบครองอาคารพิพาทโดยไม่ชอบเพราะหากจำเลยกับพวกยังอยู่ในอาคารพิพาทแล้วไซร้ ก็ยังอยู่ในวิสัยที่พวกจำเลยสามารถทำละเมิดแก่ทรัพย์สินของโจทก์ได้ทุกขณะเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหายเพิ่มมากขึ้นโดยไม่หยุดยั้ง แต่เมื่อพวกจำเลยออกไปจากอาคารพิพาทแล้ว โจทก์ย่อมเข้าไปตรวจสอบความเสียหายได้อย่างอิสระตามวิถีที่เจ้าของทรัพย์สินพึงกระทำได้ ดังนั้น เมื่อนับจากวันที่ 11 มกราคม 2551 ที่พวกจำเลยออกไปจากอาคารพิพาทถึงวันฟ้องวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 ยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่การกระทำละเมิด ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8728/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำให้การในชั้นฎีกาและการยอมรับข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ภาค 2
จำเลยฎีกาขอถอนคำให้การเดิมและให้การใหม่เป็นรับสารภาพนั้น เป็นการขอแก้ไขคำให้การจากที่ให้การปฏิเสธเป็นให้การรับสารภาพ ซึ่งจำเลยไม่อาจกระทำได้ เพราะการแก้ไขคำให้การจะต้องกระทำก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง แต่อย่างไรก็ดี การที่จำเลยยื่นฎีกาขอให้การรับสารภาพในชั้นฎีกาเช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริง โดยไม่โต้แย้งข้อที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6612/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับประโยชน์ในสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกเกิดขึ้นเมื่อแสดงเจตนา และการตกลงซ่อมแซม/ทดแทนก่อนแสดงเจตนาทำให้ไม่มีสิทธิเรียกร้อง
สัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกนั้น สิทธิของบุคคลภายนอกจะมีหรือเกิดขึ้นในฐานะเป็นผู้รับประโยชน์ตั้งแต่เวลาที่ผู้รับประโยชน์ได้แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ขอเข้าถือเอาหรือรับประโยชน์จากสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 มิใช่เพียงแต่มีชื่อเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาแล้วจะทำให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ตามสัญญาได้ทันที และตราบใดที่ผู้รับประโยชน์ยังมิได้แสดงเจตนาเข้ารับหรือถือเอาประโยชน์จากสัญญา คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายยังคงผูกพันมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาตามปกติทั่วไป โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยได้แสดงเจตนาเพื่อรับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยครั้งแรกโดยการทวงถามให้จำเลยผู้รับประกันภัยซึ่งเป็นลูกหนี้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์หลังจากเกิดเหตุเพลิงไหม้ทรัพย์จำนองและสินค้ามันสำปะหลังได้รับความเสียหายเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2544 อันเป็นวันเริ่มสิทธิของโจทก์ในฐานะผู้รับประโยชน์ที่จะเรียกให้จำเลยผู้รับประกันภัยลูกหนี้ให้ชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้ แต่เป็นเวลาภายหลังจากที่ผู้เอาประกันภัยและจำเลยผู้รับประกันภัยได้ตกลงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนโดยการซ่อมแซมและหาทรัพย์สินมาทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งการตกลงของผู้เอาประกันภัยกับจำเลยผู้รับประกันภัยเป็นการกระทำไปตามสัญญาประกันภัยที่ระบุว่า ให้จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยเลือกทำการสร้างใหม่ หรือจัดหาทรัพย์สินมาแทนทรัพย์สินที่เสียหายทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดแทนการจ่ายเงินชดใช้ก็สามารถทำได้ ซึ่งในขณะที่ตกลงกันดังกล่าวโจทก์ยังไม่ได้เข้าถือ เอาประโยชน์จากสัญญาประกันภัยจึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน สำหรับสินค้ามันสำปะหลังเป็นกรณีจำเลยผู้รับประกันภัยจัดหามาทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัย จึงไม่เป็นการกระทบต่อสิทธิของโจทก์ตามสัญญาประกันภัย ส่วนโกดังทรัพย์จำนองตามสัญญาจำนองซึ่งจำเลยจัดการซ่อมแซมให้ ไม่ใช่กรณีที่จำเลยผู้รับประกันภัยใช้เงินให้แก่ผู้เอาประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 231 จึงไม่จำต้องมีการบอกกล่าวหรือได้รับอนุญาตจากโจทก์ผู้รับจำนองก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6154/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี: การมอบอำนาจฟ้องโดยไม่มีตราบริษัทประทับบนหนังสือมอบอำนาจแต่มีพยานเบิกความยืนยันและส่งเอกสารที่มีตราประทับต่อศาล
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ก. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทน ตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจโจทก์เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 เป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง แม้ไม่ปรากฏรอยตราสำคัญของบริษัทโจทก์ประทับไว้ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์เสียไปไม่ เพราะหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีไม่ใช่เอกสารที่กฎหมายบังคับให้ต้องแนบมาพร้อมกับคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ในชั้นสืบพยานโจทก์มี ก. ผู้รับมอบอำนาจเป็นพยานเบิกความว่า โจทก์มอบอำนาจให้ตนฟ้องและดำเนินคดีแทน และอ้างส่งหนังสือมอบอำนาจที่มีตราสำคัญของบริษัทโจทก์ประทับต่อศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นรับไว้เป็นเอกสารหมาย จ.2 จึงน่าเชื่อว่าโจทก์ได้ประทับตราสำคัญของบริษัททั้งในต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจและสำเนาหนังสือมอบอำนาจ เอกสารหมาย จ.2 แล้ว การมอบอำนาจของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5637/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะคู่สัญญาในหนังสือมอบอำนาจช่วง การฟ้องนอกเหนือจากนั้นเป็นฟ้องที่ไม่ชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ร. เป็นผู้ดำเนินคดีนี้รวมทั้งให้มีอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ และ ร. มอบอำนาจช่วงให้ ก. เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีแทน ซึ่งตามหนังสือมอบอำนาจ มีข้อความว่า บริษัท น. โดย ร. ผู้จัดการทั่วไป ผู้รับมอบอำนาจขอมอบอำนาจช่วงให้ ก. เป็นผู้รับมอบอำนาจ เพื่อดำเนินคดีใด ๆ ต่อบริษัท ช. โดยให้มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้อง ฟ้องแย้ง หรือเป็นจำเลยเข้าต่อสู้คดีในการดำเนินคดีแพ่ง ฯลฯ ข้อความตามที่ระบุไว้ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องโจทก์มอบอำนาจเฉพาะการ ระบุให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงมีอำนาจดำเนินคดีเฉพาะกับบริษัท ช. เท่านั้น ไม่ใช่เป็นการมอบอำนาจทั่วไป และไม่ได้ระบุให้มีอำนาจดำเนินคดีกับจำเลยทั้งสองด้วย การที่ ก. แต่งตั้งทนายความให้ฟ้องจำเลยทั้งสอง จึงเป็นการฟ้องบุคคลนอกเหนือไปจากที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจช่วง ทั้งข้อความที่ระบุให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงมีอำนาจแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ จนกว่าคดีจะถึงที่สุด ย่อมหมายถึงให้ดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับบริษัท ช. ตามที่ระบุชื่อไว้ในหนังสือมอบอำนาจนั้นเท่านั้น ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจช่วงจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ ก็มีสิทธิยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และ 249 วรรคสอง
โจทก์ทราบมาตั้งแต่ก่อนยื่นฟ้องคดีนี้แล้วว่าบริษัท ช. และบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นคนละบริษัทกัน ทั้งไม่ได้ระบุให้ฟ้องจำเลยทั้งสอง ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาแต่ต้น แม้โจทก์ส่งหนังสือมอบอำนาจช่วง ซึ่งเป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไปก็หาทำให้ฟ้องที่ไม่ชอบกลับเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไม่ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมอ้างเอกสารดังกล่าวไว้และได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5637/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะบริษัทที่ระบุในหนังสือมอบอำนาจช่วง การฟ้องจำเลยนอกเหนือจากที่ระบุเป็นฟ้องที่ไม่ชอบ
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า บริษัท น. โดย ร. ผู้จัดการทั่วไป ผู้รับมอบอำนาจ ขอมอบอำนาจช่วงให้ ก. เป็นผู้รับมอบอำนาจ เพื่อดำเนินคดีใด ๆ ต่อบริษัท ช. โดยให้มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้อง ฟ้องแย้ง หรือเป็นจำเลยเข้าต่อสู้คดีในการดำเนินคดีแพ่ง ฯลฯ ข้อความตามที่ระบุไว้ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องโจทก์มอบอำนาจเฉพาะการ ระบุให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงมีอำนาจดำเนินคดีเฉพาะกับบริษัท ช. เท่านั้น ไม่ใช่เป็นการมอบอำนาจทั่วไป และไม่ได้ระบุให้มีอำนาจดำเนินคดีกับจำเลยทั้งสองด้วย การที่ ก. แต่งตั้งทนายความให้ฟ้องจำเลยทั้งสองจึงเป็นการฟ้องบุคคลนอกเหนือไปจากที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจช่วง ทั้งข้อความที่ระบุให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงมีอำนาจแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ จนกว่าคดีจะถึงที่สุด ย่อมหมายถึงให้ดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับบริษัท ช. ตามที่ระบุชื่อไว้ในหนังสือมอบอำนาจนั้นเท่านั้น ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจช่วงจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ ก็มีสิทธิยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา 249 วรรคสอง
โจทก์ทราบมาตั้งแต่ก่อนยื่นฟ้องคดีนี้แล้วว่า ช. และบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นคนละบริษัทกัน ทั้งไม่ได้ระบุให้ฟ้องจำเลยทั้งสอง ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาแต่ต้น แม้โจทก์ส่งหนังสือมอบอำนาจช่วงซึ่งเป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไปก็หาทำให้ฟ้องที่ไม่ชอบกลับเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไม่ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมอ้างเอกสารดังกล่าวไว้และได้ส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน อันเป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 88 และมาตรา 90 หนังสือมอบอำนาจช่วง ดังกล่าวจึงต้องห้ามไม่ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4196/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้ และการยักยอกทรัพย์ ศาลฎีกาตัดสินว่าการกระทำดังกล่าวไม่เข้าข่ายความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
ทรัพย์ที่ลูกหนี้โอนไปให้ผู้อื่น อันจะเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 นั้น หมายถึงทรัพย์ใด ๆ ของลูกหนี้ที่มีอยู่ได้มีการโอนไป ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากับองค์การคลังสินค้า 2 ฉบับ ฉบับแรกว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 แปรสภาพหัวมันสำปะหลังสดจากเกษตรกรที่นำมาจำนำแก่องค์การคลังสินค้าเป็นแป้งมันสำปะหลัง ฉบับที่สองเป็นสัญญาเก็บแป้งมันสำปะหลังที่คลังสินค้าของจำเลยที่ 1 โดยองค์การคลังสินค้าเป็นผู้ส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 1 อันเป็นสัญญาฝากทรัพย์ ดังนั้นแป้งมันสำปะหลังที่จำเลยที่ 1 แปรสภาพแล้วเก็บไว้ในคลังสินค้าของจำเลยที่ 1 จึงเป็นกรรมสิทธิ์ขององค์การคลังสินค้า หาใช่เป็นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์ไม่ ทั้งองค์การคลังสินค้าได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ข้อหายักยอก แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จะร่วมกันนำเอาแป้งมันสำปะหลังที่เก็บไว้ที่คลังสินค้าของจำเลยที่ 1 ไปขาย ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการย้ายไปเสีย ซ่อนเร้นหรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดเพื่อมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของตนได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ทั้งแป้งมันสำปะหลังที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันนำไปขายก็มิใช่ทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัด การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงไม่ใช่การทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสียหรือสูญหายหรือไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัด เพื่อจะมิให้การเป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 187

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดฐานค้ามนุษย์ การแสวงหาประโยชน์จากผู้อื่น และความผิดอื่นที่เกี่ยวข้อง ศาลฎีกาตัดสินคดีและพิจารณาขอบเขตอำนาจลงโทษ
ความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขัง ทำให้ปราศจากเสรีภาพเพื่อให้ผู้อื่นทำการค้าประเวณีตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 12 เป็นความผิดอาญาแผ่นดินที่เกิดขึ้นในประเทศเดนมาร์กนอกราชอาณาจักร จำเลยที่ 3 ผู้กระทำผิดเป็นคนไทยและผู้เสียหายทั้งสองได้ร้องขอให้ลงโทษ จำเลยที่ 3 จะต้องรับโทษในราชอาณาจักรและศาลไทยจะลงโทษได้เฉพาะความผิดต่อเสรีภาพตามมาตรา 309 และมาตรา 310 ประกอบมาตรา 8 ตาม ป.อ. เท่านั้น ศาลฎีกาต้องตีความกฎหมายทางอาญา โดยเคร่งครัด จะขยายความมาตรา 8 ไปไกลว่า กฎหมายอาญามีเจตนารมณ์ให้ลงโทษผู้กระทำผิดตามกฎหมายพิเศษเฉพาะเรื่องอันมีโทษหนักขึ้นตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 12 หาได้ไม่ และมาตรา 12 นั้นเองไม่ได้บัญญัติว่า หากกระทำความผิดดังกล่าวไม่ว่าภายในหรือนอกราชอาณาจักรต้องรับโทษด้วย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18464/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์ส่วนกลางอาคารชุด การฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหาย และขอบเขตอำนาจฟ้องของนิติบุคคลอาคารชุด
พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 33 วรรคสอง และมาตรา 39 บัญญัติให้นิติบุคคลอาคารชุดซึ่งมีหน้าที่จัดการและดูแลทรัพย์ส่วนกลางสามารถใช้สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในการต่อสู้บุคคลภายนอกหรือเรียกร้องเอาทรัพย์สินเฉพาะที่เป็นทรัพย์ส่วนกลางคืนได้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าของร่วมทั้งหมด แต่ในกรณีที่เป็นความเสียหายที่เกิดแก่ทรัพย์ส่วนบุคคลซึ่งเกิดจากการกระทำของบุคคลอื่น ย่อมเป็นสิทธิของบุคคลผู้ได้รับความเสียหายที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเอง คดีนี้จำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของห้องชุดครอบครองทรัพย์ส่วนกลาง โดยอ้างว่าทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเป็นเหตุให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมคนอื่น ๆ ในอาคารชุดไม่สามารถค้าขายได้ดีเช่นเดิม ทำให้ยอดขายของเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมลดลง เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นการเรียกค่าเสียหายซึ่งเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมแต่ละรายได้รับจากการกระทำของโจทก์ซึ่งมิใช่บุคคลภายนอก จำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้
of 4