คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 196

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 127 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2553/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ใช่คำพิพากษา/คำสั่งในประเด็นสำคัญ ไม่อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ให้ยกคำร้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งต่อไปว่าจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัดให้ออกหมายจับ ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ จับจำเลยได้เมื่อใดให้โจทก์แถลงต่อศาลเพื่อยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ก็เป็นเพียงคำสั่งให้จำหน่ายคดีชั่วคราวอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเช่นกัน ไม่ใช่กรณีศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญแล้ว ดังนั้นที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่นำส่งหมายเรียกตามคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นการทิ้งฟ้องจึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2553/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ต้องห้ามในคดีอาญา: คำสั่งระหว่างพิจารณาและผลกระทบต่อสิทธิในการฎีกา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ให้ยกคำร้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งต่อไปว่าจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัดให้ออกหมายจับ ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความจับจำเลยได้เมื่อใดให้โจทก์แถลงต่อศาลเพื่อยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ก็เป็นเพียงคำสั่งให้จำหน่ายคดีชั่วคราวอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเช่นกัน ไม่ใช่กรณีศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญแล้ว ดังนั้นที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่นำส่งหมายเรียกตามคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นการทิ้งฟ้องจึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 196

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2553/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งระหว่างพิจารณาคดี ไม่ถือเป็นการพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญ ทำให้การอุทธรณ์เรื่องการทิ้งฟ้องเป็นอุทธรณ์ต้องห้าม
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้ยกคำร้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งต่อไปว่าจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัดให้ออกหมายจับให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความจับจำเลยได้เมื่อใดให้โจทก์แถลงต่อศาลเพื่อยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ก็เป็นเพียงคำสั่งให้จำหน่ายคดีชั่วคราวอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเช่นกันไม่ใช่กรณีศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญแล้วดังนั้นที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่นำส่งหมายเรียกตามคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นการทิ้งฟ้องจึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา196

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3082/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์, สิทธิอุทธรณ์, และการใช้กฎหมายอาญาใหม่ที่เบากว่าเดิม
การสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1และที่ 2 เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาและมีคำสั่งตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาตามคำร้อง โจทก์ร่วมชอบที่จะอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคแรก เพราะคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วและยังไม่ได้มีการสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 196 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำผิด บัญญัติเกี่ยวกับโทษไว้ว่าต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งจำทั้งปรับ มีอัตราโทษเบากว่าโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิด และเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1และที่ 2 ผู้กระทำความผิด จึงต้องใช้กฎหมายใหม่บังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3082/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายเวลาอุทธรณ์-กฎหมายใหม่คุ้มครอง: ศาลฎีกาแก้โทษปรับ-จำคุกจากกฎหมายเช็คเก่าเป็นเช็คใหม่
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาและมีคำสั่งตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ โจทก์ร่วมย่อมอุทธรณ์คัดค้านของศาลชั้นต้นดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคแรก เพราะคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว และยังไม่ได้มีการสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 196 ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์มีพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 บังคับใช้ ซึ่งมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำผิด มีอัตราโทษเบากว่ากฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดและเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องใช้กฎหมายใหม่ดังกล่าวบังคับแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมยกขึ้นว่าในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 107/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งเพิกถอนการปล่อยชั่วคราวเป็นดุลพินิจศาลระหว่างพิจารณา ไม่ใช่คำสั่งไม่อนุญาตปล่อยตัว จึงไม่อุทธรณ์ฎีกาได้
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการปล่อยชั่วคราว ถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 196 ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาโดยอาศัยหลักเกณฑ์แห่งมาตรา 108 และไม่ถือว่าเป็นคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวตามมาตรา 119 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 107/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งเพิกถอนการปล่อยชั่วคราวเป็นดุลพินิจศาลระหว่างพิจารณาคดี ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์หลังศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัย
แม้คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นให้เพิกถอนการปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 4 จะไม่ถึงที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 ทวิ วรรคสาม ตามที่จำเลยที่ 4 ฎีกาก็ตาม แต่คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 4เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นว่า การปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 4 อาจก่อให้เกิดภัยอันตรายแก่พยานและเกิดความเสียหายแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่พิจารณาโดยอาศัยหลักเกณฑ์แห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 108 เพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปโดยไม่เกิดความเสียหายแก่คดีในระหว่างพิจารณาจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน กรณีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196 ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 มาจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ไม่มีผลให้จำเลยที่ 4 มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 107/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งเพิกถอนการปล่อยชั่วคราวเป็นดุลพินิจศาลระหว่างพิจารณา ไม่อุทธรณ์ได้ ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์จึงไม่ถูกต้อง
แม้คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นให้เพิกถอนการปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 4 จะไม่ถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 ทวิ วรรคสาม ตามที่จำเลยที่ 4 ฎีกาก็ตาม แต่คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 4 เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นว่า การปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 4 อาจก่อให้เกิดภัยอันตรายแก่พยานและเกิดความเสียหายแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่พิจารณาโดยอาศัยหลักเกณฑ์แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 เพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปโดยไม่เกิดความเสียหายแก่คดีในระหว่างพิจารณาจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวนกรณีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196 ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 มาจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ไม่มีผลให้จำเลยที่ 4มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเพื่อออกโฉนดที่ดินกระทบสิทธิมรดก และการอุทธรณ์คำสั่งศาลระหว่างพิจารณา
เมื่อ ท.ถึงแก่กรรมสิทธิครอบครองที่ดินส.ค.1ของท.ย่อมตกเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นทายาทในทันที การที่จำเลยแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่า ส.ค.1 ดังกล่าวสูญหายไป แล้วไปคัดสำเนา ส.ค.1จากอำเภอและไปดำเนินการขอให้ออกโฉนดในที่ดินดังกล่าวย่อมกระทบกระเทือนสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าทนายโจทก์ไม่ป่วยจริงตามคำร้องขอเลื่อนคดีจึงสั่งให้ยกคำร้องและโจทก์ไม่มีพยานมาสืบตามนัด จึงถือว่าไม่มีพยานมาสืบ ให้งดสืบพยานโจทก์และนัดสืบพยานจำเลยต่อไปนั้นมิใช่กรณีศาลมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 166,181 คำสั่งระหว่างพิจารณาในคดีอาญา ผู้อุทธรณ์ไม่จำต้องโต้แย้งคัดค้านไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา, การงดสืบพยาน, คำสั่งระหว่างพิจารณา, การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ต้องโต้แย้ง
จำเลยแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่า ส.ค.1 ของ ท.ซึ่งจำเลยเก็บรักษาไว้หายไป แล้วนำสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีไปขอสำเนา ส.ค.1 ที่หายไป และนำไปยื่นเรื่องขอรังวัดที่ดินแปลงดังกล่าวเพื่อออกโฉนดเป็นที่ดินของจำเลยโดยอ้างว่า ท.มอบที่ดินให้จำเลยครอบครอง การกระทำของจำเลยอาจทำให้โจทก์เสียหาย เพราะเมื่อ ท. ถึงแก่กรรม ที่ดินตาม ส.ค.1 ย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ทันที การกระทำของจำเลยย่อมกระทบกระเทือนต่อสิทธิครอบครองของโจทก์อาจทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์ได้ 2 นัด และสืบพยานโจทก์ได้ 3 ปากแล้วในนัดต่อมาทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าป่วยจำเลยคัดค้านว่ามิได้ป่วยจริง ศาลชั้นต้นให้จ่าศาลไปตรวจสอบอาการของทนายโจทก์แต่ไม่พบ จึงมีคำสั่งยกคำร้องขอเลื่อนคดีและถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ ให้งดสืบพยานโจทก์แล้วนัดสืบพยานจำเลยมิใช่กรณีศาลมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 166,181 เพราะเป็นเรื่องโจทก์ขอเลื่อนคดีแล้วศาลไม่ให้เลื่อนหาใช่โจทก์ไม่มาตามนัดศาลจึงยกฟ้องไม่ ส่วนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลยกฟ้องโจทก์เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาในคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 196 ซึ่งมิได้บัญญัติให้คู่ความต้องโต้แย้งคำสั่งไว้แต่ประการใดไม่ จำเลยจึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นโดยไม่ต้องโต้แย้งไว้ได้
of 13