พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3728/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข การสูญหายของรถยนต์ และความรับผิดของผู้ซื้อ/ผู้ค้ำประกัน
สัญญาซื้อขายรถยนต์ซึ่งระบุว่า กรรมสิทธิ์ของยานยนต์ที่ซื้อขายจะยังไม่โอนเป็นของผู้ซื้อจนกว่าผู้ซื้อจะได้ชำระราคาซื้อขายด้วยเงินสดครบถ้วนตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาเสียก่อนนั้น เป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข ย่อมบังคับกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 เมื่อคู่สัญญาตกลงซื้อขายกำหนดราคากันไว้เป็นจำนวนแน่นอนและโจทก์ผู้ขายให้จำเลยที่ 1 ผู้ซื้อชำระราคาในวันทำสัญญาจำนวนหนึ่งแล้วให้ผ่อนชำระราคาส่วนที่เหลือเป็นงวด และมีข้อตกลงว่าหากผู้ซื้อผิดนัดชำระราคางวดใด ยอมให้ผู้ขายเรียกให้ผู้ซื้อชำระราคาที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ทั้งหมดได้ทันทีดังนี้ จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันตามสัญญาซื้อขาย เมื่อจำเลยที่ 1มิได้ปฏิบัติตามสัญญาโดยผิดนัดชำระราคาตามงวดที่ได้ตกลงกันไว้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามข้อตกลงและจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ต้องร่วมรับผิดด้วย แม้จะปรากฏต่อมาว่าก่อนถึงกำหนดชำระราคางวดที่ 14 รถยนต์ที่ซื้อขายถูกคนร้ายลักไปโดยไม่ปรากฏว่า เป็นความผิดของโจทก์หรือจำเลยที่ 1ก็ตาม แต่ตามสัญญาซื้อขายระบุไว้ชัดว่า หน้าที่ความรับผิดของผู้ซื้อย่อมไม่หมดสิ้นไปเนื่องจากการสูญหายของยานยนต์ดังกล่าวจำเลยที่ 1 จึงยังคงต้องรับผิดชำระราคารถยนต์แก่โจทก์จนครบถ้วนเพราะข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการยกเว้นบทบัญญัติมาตรา 372 วรรคแรกแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่สัญญาย่อมตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ ไม่เป็นโมฆะตามมาตรา 114 เบี้ยประกันภัยที่โจทก์ได้ชำระแทนไป จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชำระให้โจทก์เต็มจำนวนตามสัญญา แต่ในส่วนอัตราดอกเบี้ยของเงินค่าเบี้ยประกันภัยมิได้กำหนดกันไว้ในสัญญาเหมือนเช่นเงินราคาค่ารถโจทก์จึงเรียกได้เพียงในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3531/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเช็คและตั๋วสัญญาใช้เงิน: ความรับผิดเมื่อเช็คสูญหายและการหักกลบลบหนี้
จำเลยนำเช็คมาขายลดให้โจทก์และออกตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวนเท่ากันกำหนดใช้เงินให้โจทก์เมื่อครบ 58 วันเท่ากับระยะเวลาที่เช็คถึงกำหนดชำระเงินพร้อมกับได้ทำหนังสือรับรองการมอบตั๋วสัญญาใช้เงินโดยระบุให้เช็คดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์ที่ประกันในการออกตั๋วสัญญาใช้เงินมีข้อตกลงในการชำระเงินว่า เมื่อถึงกำหนดชำระเงินให้โจทก์นำเช็คไปเบิกเงินจากธนาคาร ถ้าโจทก์ได้รับเงินตามเช็คก็ให้ถือว่าตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยเป็นผู้ออกนั้นได้ใช้เงินแล้วหนี้ที่ซื้อขายลดเช็คเป็นอันระงับไป หากเช็คเบิกเงินไม่ได้ จำเลยจะต้องรับผิดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ดังนี้ การออกตั๋วสัญญาใช้เงินและหนังสือรับรองการมอบตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวเป็นความสมัครใจของโจทก์และจำเลย เกิดเป็นสัญญามีผลผูกพันบังคับกันได้ตามกฎหมาย เมื่อเช็คดังกล่าวสูญหายไปจำเลยต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยจะอ้างว่าโจทก์มิได้นำเช็คไปเบิกจากธนาคารก่อนหรือการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพื่อปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่ และเรื่องนี้มิใช่เรื่องสัญญาค้ำประกัน จำเลยจะยกเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 697 มาปัดความรับผิดก็ไม่ได้เช่นกัน หนี้ที่จำเลยนำมาขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์เป็นหนี้ที่เกิดจากความเสียหายอันเนื่องจากการที่โจทก์ทำเช็คสูญหายไปมิใช่เป็นหนี้ที่โจทก์จะต้องชำระหนี้ตามเช็คให้จำเลยโจทก์มิได้เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คจึงไม่มีหนี้อะไรตามเช็คที่จำเลยจะนำมาหักกลบลบหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นได้ จำเลยได้รับความเสียหายอย่างไรชอบที่จะไปว่ากล่าวเอาแก่โจทก์ต่างหาก โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินโดยอ้างว่าจำเลยเป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินและนำมาขายให้แก่โจทก์ ครั้นถึงกำหนดจำเลยไม่ยอมชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยนำเช็คมาขายลดให้โจทก์แล้วออกตั๋วสัญญาใช้เงินพร้อมกับทำหนังสือรับรองการมอบตั๋วสัญญาใช้เงินโดยระบุเช็คนั้นเป็นประกันการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน โดยมีข้อตกลงว่า หากโจทก์นำเช็คไปเบิกเงินจากธนาคารไม่ได้ จำเลยจะต้องรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ดังนี้ ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3531/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเช็คและตั๋วสัญญาใช้เงิน การชำระหนี้ด้วยเช็ค และการหักกลบลบหนี้
จำเลยนำเช็คมาขายลดให้โจทก์และออกตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวนเท่ากันกำหนดใช้เงินให้โจทก์เมื่อครบ 58 วันเท่ากับระยะเวลาที่เช็คถึงกำหนดชำระเงินพร้อมกับได้ทำหนังสือรับรองการมอบตั๋วสัญญาใช้เงินโดยระบุให้เช็คดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์ที่ประกันในการออกตั๋วสัญญาใช้เงินมีข้อตกลงในการชำระเงินว่า เมื่อถึงกำหนดชำระเงินให้โจทก์นำเช็คไปเบิกเงินจากธนาคาร ถ้าโจทก์ได้รับเงินตามเช็คก็ให้ถือว่าตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่จำเลยเป็นผู้ออกนั้นได้ใช้เงินแล้ว หนี้ที่ซื้อขายลดเช็คเป็นอันระงับไป หากเช็คเบิกเงินไม่ได้ จำเลยจะต้องรับผิดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ดังนี้ การออกตั๋วสัญญาใช้เงินและหนังสือรับรองการมอบตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวเป็นความสมัครใจของโจทก์และจำเลย เกิดเป็นสัญญามีผลผูกพันบังคับกันได้ตามกฎหมาย เมื่อเช็คดังกล่าวสูญหายไป จำเลยต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยจะอ้างว่าโจทก์มิได้นำเช็คไปเบิกจากธนาคารก่อนหรือการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพื่อปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่ และเรื่องนี้มิใช่เรื่องสัญญาค้ำประกันจำเลยจะยกเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 697 มาปัดความรับผิดก็ไม่ได้เช่นกัน
หนี้ที่จำเลยนำมาขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์เป็นหนี้ที่เกิดจากความเสียหายอันเนื่องจากการที่โจทก์ทำเช็คสูญหายไป มิใช่เป็นหนี้ที่โจทก์จะต้องชำระหนี้ตามเช็คให้จำเลย โจทก์มิได้เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คจึงไม่มีหนี้อะไรตามเช็คที่จำเลยจะนำมาหักกลบลบหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นได้ จำเลยได้รับความเสียหายอย่างไรชอบที่จะไปว่ากล่าวเอาแก่โจทก์ต่างหาก
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินโดยอ้างว่าจำเลยเป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินและนำมาขายให้แก่โจทก์ ครั้นถึงกำหนดจำเลยไม่ยอมชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยนำเช็คมาขายลดให้โจทก์แล้วออกตั๋วสัญญาใช้เงินพร้อมกับทำหนังสือรับรองการมอบตั๋วสัญญาใช้เงินโดยระบุเช็คนั้นเป็นประกันการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน โดยมีข้อตกลงว่า หากโจทก์นำเช็คไปเบิกเงินจากธนาคารไม่ได้ จำเลยจะต้องรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ดังนี้ ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้องโจทก์
หนี้ที่จำเลยนำมาขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์เป็นหนี้ที่เกิดจากความเสียหายอันเนื่องจากการที่โจทก์ทำเช็คสูญหายไป มิใช่เป็นหนี้ที่โจทก์จะต้องชำระหนี้ตามเช็คให้จำเลย โจทก์มิได้เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คจึงไม่มีหนี้อะไรตามเช็คที่จำเลยจะนำมาหักกลบลบหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นได้ จำเลยได้รับความเสียหายอย่างไรชอบที่จะไปว่ากล่าวเอาแก่โจทก์ต่างหาก
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินโดยอ้างว่าจำเลยเป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินและนำมาขายให้แก่โจทก์ ครั้นถึงกำหนดจำเลยไม่ยอมชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยนำเช็คมาขายลดให้โจทก์แล้วออกตั๋วสัญญาใช้เงินพร้อมกับทำหนังสือรับรองการมอบตั๋วสัญญาใช้เงินโดยระบุเช็คนั้นเป็นประกันการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน โดยมีข้อตกลงว่า หากโจทก์นำเช็คไปเบิกเงินจากธนาคารไม่ได้ จำเลยจะต้องรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ดังนี้ ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1698/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้มีเหตุสุดวิสัยและโจทก์ไม่เร่งรัดหนี้
จำเลยเป็นผู้จัดการสาขาธนาคารโจทก์ ได้ให้เครดิตแก่ลูกค้าของธนาคารไป จนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายในกรณีไม่จำเป็นต้องเสีย โจทก์ได้สั่งย้ายจำเลยเข้าประจำสำนักงานใหญ่ จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ยอมรับผิดชดใช้ ค่าเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์ โดยสัญญาจะผ่อนชำระเป็นรายปี โจทก์ตกลงจะให้จำเลยกลับไปดำรงตำแหน่งผู้จัดการสาขาธนาคารโจทก์ ต่อไปเพื่อช่วยเหลือให้จำเลยมีโอกาสได้ไปเรียกร้องหนี้สินจากลูกค้าเพื่อโจทก์จะหักหนี้ให้จำเลย ข้อตกลงของโจทก์เช่นนี้เป็นเรื่องที่ โจทก์ช่วยเหลือจำเลย หาใช่เป็นเงื่อนไขบังคับก่อนตาม สัญญาประนีประนอมยอมความไม่.
โจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยกลับไปดำรงตำแหน่งผู้จัดการสาขาธนาคารโจทก์แล้ว แต่จำเลยป่วยเป็นอัมพาต ไปรับหน้าที่ไม่ได้ แม้โจทก์จะมิได้ดำเนินการทวงถามหรือฟ้องร้องเรียกหนี้สินจากลูกหนี้ และทำให้โอกาสที่จะเอาชำระหนี้ จากลูกหนี้หมดไปก็ตามแต่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์อยู่แล้ว จำเลยจึงยังคงต้อง รับผิดตามสัญญา
ในสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยยอมรับผิดชดใช้ ค่าเสียหายให้แก่โจทก์มิได้ระบุว่าจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ด้วย ก่อนทำสัญญาคณะกรรมการของโจทก์ก็ได้ประชุมกัน และมีมติให้งดคิดดอกเบี้ยจากจำเลย แม้สัญญาจะระบุว่า หากจำเลยผิดนัดชำระหนี้งวดใดให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด แต่เมื่อ จำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนด โจทก์ก็มิได้ฟ้องร้องหรือถือว่าจำเลยผิดนัดจริงจังและเรียกร้องดอกเบี้ยจากจำเลยกลับมีหนังสือทวงถาม ให้จำเลยชำระหนี้ตามจำนวนในสัญญาโดยมิได้เรียกดอกเบี้ยด้วย ดังนี้ต้องถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อครบกำหนดชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามครั้งสุดท้ายของโจทก์แล้วและต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่นั้นไป
โจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยกลับไปดำรงตำแหน่งผู้จัดการสาขาธนาคารโจทก์แล้ว แต่จำเลยป่วยเป็นอัมพาต ไปรับหน้าที่ไม่ได้ แม้โจทก์จะมิได้ดำเนินการทวงถามหรือฟ้องร้องเรียกหนี้สินจากลูกหนี้ และทำให้โอกาสที่จะเอาชำระหนี้ จากลูกหนี้หมดไปก็ตามแต่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์อยู่แล้ว จำเลยจึงยังคงต้อง รับผิดตามสัญญา
ในสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยยอมรับผิดชดใช้ ค่าเสียหายให้แก่โจทก์มิได้ระบุว่าจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ด้วย ก่อนทำสัญญาคณะกรรมการของโจทก์ก็ได้ประชุมกัน และมีมติให้งดคิดดอกเบี้ยจากจำเลย แม้สัญญาจะระบุว่า หากจำเลยผิดนัดชำระหนี้งวดใดให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด แต่เมื่อ จำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนด โจทก์ก็มิได้ฟ้องร้องหรือถือว่าจำเลยผิดนัดจริงจังและเรียกร้องดอกเบี้ยจากจำเลยกลับมีหนังสือทวงถาม ให้จำเลยชำระหนี้ตามจำนวนในสัญญาโดยมิได้เรียกดอกเบี้ยด้วย ดังนี้ต้องถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อครบกำหนดชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามครั้งสุดท้ายของโจทก์แล้วและต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่นั้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1693/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะเช่าที่ดินเพื่อสร้างสถานีบริการน้ำมัน: สิทธิและข้อจำกัดเมื่อเงื่อนไขไม่สมบูรณ์
จำเลยทำสัญญาให้โจทก์มีสิทธิเช่าที่ดินของจำเลยเพื่อสร้างสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน โดยให้โจทก์มีสิทธิจะทำสัญญาเช่าเมื่อใดก็ได้ภายในหกเดือน และในกรณีที่ยังไม่ทราบผลว่าจะได้รับอนุญาตให้ตั้งได้หรือไม่ จำเลยยอมต่ออายุสัญญาให้อีกจนกว่าจะทราบผล โดยมีเงื่อนไขว่าถ้าตกลงเช่ากันแล้ว จะเช่ามีกำหนดยี่สิบปี ค่าเช่าเดือนละ สองพันบาท และโจทก์ต้องให้ค่าหน้าดินตามจำนวนที่กำหนดด้วย สัญญานี้เป็นเพียงสัญญาหรือข้อตกลงจะให้เช่าที่ดินเพื่อสร้างสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันเท่านั้น เพราะเมื่อจะบังคับกันตามสัญญานี้ จะต้องมีการทำสัญญาเช่ากันใหม่อีกชั้นหนึ่ง โดยต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญานี้มิใช่สัญญาเช่าจึงไม่ถูกบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ
แม้สัญญาหรือข้อตกลงจะให้เช่าที่ดินเพื่อสร้างสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน จะได้ทำเป็นหนังสือ และ ไม่ปรากฏชัดว่าตกลงเช่าที่ดินเพื่อตั้งสถานีบริการจำหน่าย น้ำมันของบริษัทใด จำเลยก็มีสิทธินำสืบว่า เป็นสัญญา หรือข้อตกลงที่จะตั้งสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันของบริษัทเอสโซ่แสตนดาร์ดประเทศไทย จำกัด โดยเฉพาะได้
แม้สัญญาจะให้เช่าที่ดินจะมีเงื่อนไขว่า จำเลยยินยอมต่อสัญญาให้โจทก์อีกจนกว่าจะทราบคำสั่งจากทางราชการว่า จะอนุญาตให้ตั้งสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันของบริษัทเอสโซ่แสตนดาร์ดประเทศไทยจำกัด ได้หรือไม่ แต่เมื่อบริษัทดังกล่าวบอกปัดข้อเสนอของโจทก์ที่จะให้บริษัทเช่าที่ดินเพื่อตั้งสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน ย่อมไม่มีทางที่ โจทก์จะบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อตกลงได้ เพราะเงื่อนไขนั้นไม่มีทางสัมฤทธิ์ผลเสียแล้ว
แม้สัญญาหรือข้อตกลงจะให้เช่าที่ดินเพื่อสร้างสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน จะได้ทำเป็นหนังสือ และ ไม่ปรากฏชัดว่าตกลงเช่าที่ดินเพื่อตั้งสถานีบริการจำหน่าย น้ำมันของบริษัทใด จำเลยก็มีสิทธินำสืบว่า เป็นสัญญา หรือข้อตกลงที่จะตั้งสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันของบริษัทเอสโซ่แสตนดาร์ดประเทศไทย จำกัด โดยเฉพาะได้
แม้สัญญาจะให้เช่าที่ดินจะมีเงื่อนไขว่า จำเลยยินยอมต่อสัญญาให้โจทก์อีกจนกว่าจะทราบคำสั่งจากทางราชการว่า จะอนุญาตให้ตั้งสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันของบริษัทเอสโซ่แสตนดาร์ดประเทศไทยจำกัด ได้หรือไม่ แต่เมื่อบริษัทดังกล่าวบอกปัดข้อเสนอของโจทก์ที่จะให้บริษัทเช่าที่ดินเพื่อตั้งสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน ย่อมไม่มีทางที่ โจทก์จะบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อตกลงได้ เพราะเงื่อนไขนั้นไม่มีทางสัมฤทธิ์ผลเสียแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1693/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะเช่าที่ดินสร้างสถานีบริการน้ำมัน: สัญญาไม่สมบูรณ์บังคับไม่ได้เมื่อเงื่อนไขไม่สัมฤทธิ์ผล
จำเลยทำสัญญาให้โจทก์มีสิทธิเช่าที่ดินของจำเลยเพื่อสร้างสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน โดยให้โจทก์มีสิทธิจะทำสัญญาเช่าเมื่อใดก็ได้ภายในหกเดือน และในกรณีที่ยังไม่ทราบผลว่าจะได้รับอนุญาตให้ตั้งได้หรือไม่ จำเลยยอมต่ออายุสัญญาให้อีกจนกว่าจะทราบผล โดยมีเงื่อนไขว่าถ้าตกลงเช่ากันแล้ว จะเช่ามีกำหนดยี่สิบปี ค่าเช่าเดือนละ สองพันบาท และโจทก์ต้องให้ค่าหน้าดินตามจำนวนที่กำหนดด้วย สัญญานี้เป็นเพียงสัญญาหรือข้อตกลงจะให้เช่าที่ดินเพื่อสร้างสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันเท่านั้น เพราะเมื่อจะบังคับกันตามสัญญานี้ จะต้องมีการทำสัญญาเช่ากันใหม่อีกชั้นหนึ่ง โดยต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญานี้มิใช่สัญญาเช่าจึงไม่ถูกบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ
แม้สัญญาหรือข้อตกลงจะให้เช่าที่ดินเพื่อสร้างสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน จะได้ทำเป็นหนังสือ และไม่ปรากฏชัดว่าตกลงเช่าที่ดินเพื่อตั้งสถานีบริการจำหน่าย น้ำมันของบริษัทใด จำเลยก็มีสิทธินำสืบว่า เป็นสัญญาหรือข้อตกลงที่จะตั้งสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันของบริษัทเอสโซ่แสตนดาร์ดประเทศไทย จำกัด โดยเฉพาะได้
แม้สัญญาจะให้เช่าที่ดินจะมีเงื่อนไขว่า จำเลยยินยอมต่อสัญญาให้โจทก์อีกจนกว่าจะทราบคำสั่งจากทางราชการว่า จะอนุญาตให้ตั้งสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันของบริษัทเอสโซ่แสตนดาร์ดประเทศไทยจำกัด ได้หรือไม่ แต่เมื่อบริษัทดังกล่าวบอกปัดข้อเสนอของโจทก์ที่จะให้บริษัทเช่าที่ดินเพื่อตั้งสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน ย่อมไม่มีทางที่ โจทก์จะบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อตกลงได้เพราะเงื่อนไขนั้นไม่มีทางสัมฤทธิ์ผลเสียแล้ว
แม้สัญญาหรือข้อตกลงจะให้เช่าที่ดินเพื่อสร้างสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน จะได้ทำเป็นหนังสือ และไม่ปรากฏชัดว่าตกลงเช่าที่ดินเพื่อตั้งสถานีบริการจำหน่าย น้ำมันของบริษัทใด จำเลยก็มีสิทธินำสืบว่า เป็นสัญญาหรือข้อตกลงที่จะตั้งสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันของบริษัทเอสโซ่แสตนดาร์ดประเทศไทย จำกัด โดยเฉพาะได้
แม้สัญญาจะให้เช่าที่ดินจะมีเงื่อนไขว่า จำเลยยินยอมต่อสัญญาให้โจทก์อีกจนกว่าจะทราบคำสั่งจากทางราชการว่า จะอนุญาตให้ตั้งสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันของบริษัทเอสโซ่แสตนดาร์ดประเทศไทยจำกัด ได้หรือไม่ แต่เมื่อบริษัทดังกล่าวบอกปัดข้อเสนอของโจทก์ที่จะให้บริษัทเช่าที่ดินเพื่อตั้งสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน ย่อมไม่มีทางที่ โจทก์จะบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อตกลงได้เพราะเงื่อนไขนั้นไม่มีทางสัมฤทธิ์ผลเสียแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมาเจาะบ่อน้ำบาดาล: การผิดสัญญาและสิทธิในการบอกเลิกสัญญา รวมถึงการคืนเงินและค่าเสื่อมสภาพ
ข้อสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยนั้น จะต้องเป็นข้อสัญญาที่ผู้ให้สัญญาไม่มีทางปฏิบัติได้เลย
จำเลยทำสัญญารับจ้างเหมาโจทก์เจาะบ่อน้ำบาดาล เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อสัญญาที่ให้รับประกันปริมาณและคุณภาพน้ำให้ใช้บริโภคได้มีกำหนดเวลา 4 ปีนั้น เป็นเงื่อนไขที่สามารถปฏิบัติได้ หาเป็นการพ้นวิสัยไม่ การที่จำเลยไม่สามารถเจาะบ่อน้ำบาดาลให้โจทก์ใช้ได้ถึง 4 ปีตามสัญญา จึงไม่ใช่กรณีการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย
ตามสัญญาจ้างเหมา ข้อ 13 ถือว่ารายการแนบท้ายหมายจ.5, จ.6 เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วย และในรายการแนบท้ายดังกล่าว ข้อ 6(14)(15) ผู้รับจ้างคือจำเลย ก็ได้สัญญาให้โจทก์ได้ใช้น้ำในประมาณตามที่กำหนด และรับรองให้โจทก์ได้ใช้น้ำบริโภคได้เป็นกำหนดเวลา 4 ปีนับแต่วันที่คณะกรรมการของโจทก์รับมอบงานงวดสุดท้าย และในรายการแนบท้าย ข้อ 6(16) ก็ได้ระบุว่า ถ้าหากการดำเนินการของผู้รับจ้างได้ผลเป็นที่พอใจของผู้ว่าจ้างตามข้อ (14)และ (15) ผู้ว่าจ้างจะถือว่าผู้รับจ้างได้กระทำการให้ผู้ว่าจ้างถูกต้องเรียบร้อยเสร็จบริบูรณ์แล้ว ฉะนั้น เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่สามารถจะให้โจทก์ได้ใช้น้ำจนครบกำหนด 4 ปี โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 5 ได้ เพราะในสัญญาข้อนี้ได้ระบุไว้ว่า "ฯลฯหรือผู้รับจ้างทำผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดก็ดี ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญานี้ได้ ฯลฯ" ซึ่งข้อความนี้หาได้จำกัดเฉพาะสัญญาข้อ 5 ก. ข. ค. ไม่
โจทก์จ้างจำเลยขุดบ่อน้ำบาดาล จำเลยรับประกันปริมาณและคุณภาพน้ำให้ใช้บริโภคได้มีกำหนด 4 ปี เมื่อโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 การให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยจะต้องคืนเงินค่าจ้างเหมาที่ได้รับไปแล้วแก่โจทก์ ส่วนโจทก์ก็จะต้องคืนสิ่งของต่างๆ ที่จำเลยนำมาติดตั้งให้โจทก์แก่จำเลย แต่ได้ปรากฏว่าสิ่งของต่างๆ ที่จะต้องคืนให้แก่จำเลยนั้น โจทก์ได้นำไปใช้แล้วเป็นเวลาถึง 18 เดือน ทั้งจำเลยก็ได้ลงทุนลงแรงขุดเจาะน้ำบาดาลจนให้โจทก์มีน้ำใช้บริโภคได้ การคืนเงินของจำเลยแก่โจทก์ จึงต้องหักจำนวนเงินค่าเสื่อมราคาสิ่งของเพื่อชดเชยให้กลับคืนสู่สภาพเดิม กับค่าการงานในการติดตั้งให้จำเลย
จำเลยทำสัญญารับจ้างเหมาโจทก์เจาะบ่อน้ำบาดาล เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อสัญญาที่ให้รับประกันปริมาณและคุณภาพน้ำให้ใช้บริโภคได้มีกำหนดเวลา 4 ปีนั้น เป็นเงื่อนไขที่สามารถปฏิบัติได้ หาเป็นการพ้นวิสัยไม่ การที่จำเลยไม่สามารถเจาะบ่อน้ำบาดาลให้โจทก์ใช้ได้ถึง 4 ปีตามสัญญา จึงไม่ใช่กรณีการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย
ตามสัญญาจ้างเหมา ข้อ 13 ถือว่ารายการแนบท้ายหมายจ.5, จ.6 เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วย และในรายการแนบท้ายดังกล่าว ข้อ 6(14)(15) ผู้รับจ้างคือจำเลย ก็ได้สัญญาให้โจทก์ได้ใช้น้ำในประมาณตามที่กำหนด และรับรองให้โจทก์ได้ใช้น้ำบริโภคได้เป็นกำหนดเวลา 4 ปีนับแต่วันที่คณะกรรมการของโจทก์รับมอบงานงวดสุดท้าย และในรายการแนบท้าย ข้อ 6(16) ก็ได้ระบุว่า ถ้าหากการดำเนินการของผู้รับจ้างได้ผลเป็นที่พอใจของผู้ว่าจ้างตามข้อ (14)และ (15) ผู้ว่าจ้างจะถือว่าผู้รับจ้างได้กระทำการให้ผู้ว่าจ้างถูกต้องเรียบร้อยเสร็จบริบูรณ์แล้ว ฉะนั้น เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่สามารถจะให้โจทก์ได้ใช้น้ำจนครบกำหนด 4 ปี โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 5 ได้ เพราะในสัญญาข้อนี้ได้ระบุไว้ว่า "ฯลฯหรือผู้รับจ้างทำผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดก็ดี ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญานี้ได้ ฯลฯ" ซึ่งข้อความนี้หาได้จำกัดเฉพาะสัญญาข้อ 5 ก. ข. ค. ไม่
โจทก์จ้างจำเลยขุดบ่อน้ำบาดาล จำเลยรับประกันปริมาณและคุณภาพน้ำให้ใช้บริโภคได้มีกำหนด 4 ปี เมื่อโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 การให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยจะต้องคืนเงินค่าจ้างเหมาที่ได้รับไปแล้วแก่โจทก์ ส่วนโจทก์ก็จะต้องคืนสิ่งของต่างๆ ที่จำเลยนำมาติดตั้งให้โจทก์แก่จำเลย แต่ได้ปรากฏว่าสิ่งของต่างๆ ที่จะต้องคืนให้แก่จำเลยนั้น โจทก์ได้นำไปใช้แล้วเป็นเวลาถึง 18 เดือน ทั้งจำเลยก็ได้ลงทุนลงแรงขุดเจาะน้ำบาดาลจนให้โจทก์มีน้ำใช้บริโภคได้ การคืนเงินของจำเลยแก่โจทก์ จึงต้องหักจำนวนเงินค่าเสื่อมราคาสิ่งของเพื่อชดเชยให้กลับคืนสู่สภาพเดิม กับค่าการงานในการติดตั้งให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเหมาเจาะบ่อน้ำ: การชำระหนี้ไม่เป็นพ้นวิสัย, สิทธิบอกเลิกสัญญา, การคืนเงินและชดใช้ค่าเสื่อม
ข้อสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยนั้น จะต้องเป็นข้อสัญญาที่ผู้ให้สัญญาไม่มีทางปฏิบัติได้เลย
จำเลยทำสัญญารับจ้างเหมาโจทก์เจาะบ่อน้ำบาดาล เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อสัญญาที่ให้รับประกันปริมาณและคุณภาพน้ำให้ใช้บริโภคได้มีกำหนดเวลา 4 ปีนั้น เป็นเงื่อนไขที่สามารถปฏิบัติได้ หาเป็นการพ้นวิสัยไม่ การที่จำเลยไม่สามารถเจาะบ่อน้ำบาดาลให้โจทก์ใช้ได้ถึง 4 ปีตามสัญญา จึงไม่ใช่กรณีการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย
ตามสัญญาจ้างเหมา ข้อ 13 ถือว่ารายการแนบท้ายหมาย จ.5, จ.6 เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วย และในรายการแนบท้ายดังกล่าว ข้อ 6 (14) (15) ผู้รับจ้างคือจำเลย ก็ได้สัญญาให้โจทก์ได้ใช้น้ำในประมาณตามที่กำหนด และรับรองให้โจทก์ได้ใช้น้ำบริโภคได้เป็นกำหนดเวลา 4 ปีนับแต่วันที่คณะกรรมการของโจทก์รับมอบงานงวดสุดท้ายและในรายการแนบท้าย ข้อ 6 (16) ก็ได้ระบุว่า ถ้าหากการดำเนินการของผู้รับจ้างได้ผลเป็นที่พอใจของผู้ว่าจ้างตามข้อ (14)และ (15) ผู้ว่าจ้างจะถือว่าผู้รับจ้างได้กระทำการให้ผู้ว่าจ้างถูกต้องเรียบร้อยเสร็จบริบูรณ์แล้ว ฉะนั้น เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่สามารถจะให้โจทก์ได้ใช้น้ำจนครบกำหนด 4 ปี โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 5 ได้ เพราะในสัญญาข้อนี้ได้ระบุไว้ว่า 'ฯลฯ หรือผู้รับจ้างทำผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดก็ดี ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญานี้ได้ ฯลฯ' ซึ่งข้อความนี้หาได้จำกัดเฉพาะสัญญาข้อ 5 ก. ข. ค. ไม่
โจทก์จ้างจำเลยขุดบ่อน้ำบาดาล จำเลยรับประกันปริมาณและคุณภาพน้ำให้ใช้บริโภคได้มีกำหนด 4 ปี เมื่อโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 การให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยจะต้องคืนเงินค่าจ้างเหมาที่ได้รับไปแล้วแก่โจทก์ ส่วนโจทก์ก็จะต้องคืนสิ่งของต่างๆ ที่จำเลยนำมาติดตั้งให้โจทก์แก่จำเลยแต่ได้ปรากฏว่าสิ่งของต่าง ๆ ที่จะต้องคืนให้แก่จำเลยนั้น โจทก์ได้นำไปใช้แล้วเป็นเวลาถึง 18 เดือน ทั้งจำเลยก็ได้ลงทุนลงแรงขุดเจาะน้ำบาดาลจนให้โจทก์มีน้ำใช้บริโภคได้ การคืนเงินของจำเลยแก่โจทก์จึงต้องหักจำนวนเงินค่าเสื่อมราคาสิ่งของเพื่อชดเชยให้กลับคืนสู่สภาพเดิม กับค่าการงานในการติดตั้งให้จำเลย
จำเลยทำสัญญารับจ้างเหมาโจทก์เจาะบ่อน้ำบาดาล เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อสัญญาที่ให้รับประกันปริมาณและคุณภาพน้ำให้ใช้บริโภคได้มีกำหนดเวลา 4 ปีนั้น เป็นเงื่อนไขที่สามารถปฏิบัติได้ หาเป็นการพ้นวิสัยไม่ การที่จำเลยไม่สามารถเจาะบ่อน้ำบาดาลให้โจทก์ใช้ได้ถึง 4 ปีตามสัญญา จึงไม่ใช่กรณีการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย
ตามสัญญาจ้างเหมา ข้อ 13 ถือว่ารายการแนบท้ายหมาย จ.5, จ.6 เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วย และในรายการแนบท้ายดังกล่าว ข้อ 6 (14) (15) ผู้รับจ้างคือจำเลย ก็ได้สัญญาให้โจทก์ได้ใช้น้ำในประมาณตามที่กำหนด และรับรองให้โจทก์ได้ใช้น้ำบริโภคได้เป็นกำหนดเวลา 4 ปีนับแต่วันที่คณะกรรมการของโจทก์รับมอบงานงวดสุดท้ายและในรายการแนบท้าย ข้อ 6 (16) ก็ได้ระบุว่า ถ้าหากการดำเนินการของผู้รับจ้างได้ผลเป็นที่พอใจของผู้ว่าจ้างตามข้อ (14)และ (15) ผู้ว่าจ้างจะถือว่าผู้รับจ้างได้กระทำการให้ผู้ว่าจ้างถูกต้องเรียบร้อยเสร็จบริบูรณ์แล้ว ฉะนั้น เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่สามารถจะให้โจทก์ได้ใช้น้ำจนครบกำหนด 4 ปี โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 5 ได้ เพราะในสัญญาข้อนี้ได้ระบุไว้ว่า 'ฯลฯ หรือผู้รับจ้างทำผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดก็ดี ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญานี้ได้ ฯลฯ' ซึ่งข้อความนี้หาได้จำกัดเฉพาะสัญญาข้อ 5 ก. ข. ค. ไม่
โจทก์จ้างจำเลยขุดบ่อน้ำบาดาล จำเลยรับประกันปริมาณและคุณภาพน้ำให้ใช้บริโภคได้มีกำหนด 4 ปี เมื่อโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 การให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยจะต้องคืนเงินค่าจ้างเหมาที่ได้รับไปแล้วแก่โจทก์ ส่วนโจทก์ก็จะต้องคืนสิ่งของต่างๆ ที่จำเลยนำมาติดตั้งให้โจทก์แก่จำเลยแต่ได้ปรากฏว่าสิ่งของต่าง ๆ ที่จะต้องคืนให้แก่จำเลยนั้น โจทก์ได้นำไปใช้แล้วเป็นเวลาถึง 18 เดือน ทั้งจำเลยก็ได้ลงทุนลงแรงขุดเจาะน้ำบาดาลจนให้โจทก์มีน้ำใช้บริโภคได้ การคืนเงินของจำเลยแก่โจทก์จึงต้องหักจำนวนเงินค่าเสื่อมราคาสิ่งของเพื่อชดเชยให้กลับคืนสู่สภาพเดิม กับค่าการงานในการติดตั้งให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเหมาเจาะบ่อน้ำบาดาล: การรับประกันคุณภาพน้ำและการบอกเลิกสัญญาเมื่อไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้
ข้อสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยนั้น. จะต้องเป็นข้อสัญญาที่ผู้ให้สัญญาไม่มีทางปฏิบัติได้เลย.
จำเลยทำสัญญารับจ้างเหมาโจทก์เจาะบ่อน้ำบาดาล เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อสัญญาที่ให้รับประกันปริมาณและคุณภาพน้ำให้ใช้บริโภคได้มีกำหนดเวลา 4 ปีนั้น. เป็นเงื่อนไขที่สามารถปฏิบัติได้. หาเป็นการพ้นวิสัยไม่. การที่จำเลยไม่สามารถเจาะบ่อน้ำบาดาลให้โจทก์ใช้ได้ถึง 4 ปีตามสัญญา. จึงไม่ใช่กรณีการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย.
ตามสัญญาจ้างเหมา ข้อ 13 ถือว่ารายการแนบท้ายหมายจ.5, จ.6 เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วย และในรายการแนบท้ายดังกล่าว ข้อ 6(14)(15). ผู้รับจ้างคือจำเลย ก็ได้สัญญาให้โจทก์ได้ใช้น้ำในประมาณตามที่กำหนด. และรับรองให้โจทก์ได้ใช้น้ำบริโภคได้เป็นกำหนดเวลา 4 ปีนับแต่วันที่คณะกรรมการของโจทก์รับมอบงานงวดสุดท้าย.และในรายการแนบท้าย ข้อ 6(16) ก็ได้ระบุว่า ถ้าหากการดำเนินการของผู้รับจ้างได้ผลเป็นที่พอใจของผู้ว่าจ้างตามข้อ (14)และ (15). ผู้ว่าจ้างจะถือว่าผู้รับจ้างได้กระทำการให้ผู้ว่าจ้างถูกต้องเรียบร้อยเสร็จบริบูรณ์แล้ว. ฉะนั้น เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา.ไม่สามารถจะให้โจทก์ได้ใช้น้ำจนครบกำหนด 4 ปี. โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 5 ได้. เพราะในสัญญาข้อนี้ได้ระบุไว้ว่า 'ฯลฯหรือผู้รับจ้างทำผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดก็ดี ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญานี้ได้ ฯลฯ'. ซึ่งข้อความนี้หาได้จำกัดเฉพาะสัญญาข้อ 5 ก. ข. ค. ไม่.
โจทก์จ้างจำเลยขุดบ่อน้ำบาดาล จำเลยรับประกันปริมาณและคุณภาพน้ำให้ใช้บริโภคได้มีกำหนด 4 ปี. เมื่อโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391. การให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยจะต้องคืนเงินค่าจ้างเหมาที่ได้รับไปแล้วแก่โจทก์. ส่วนโจทก์ก็จะต้องคืนสิ่งของต่างๆ ที่จำเลยนำมาติดตั้งให้โจทก์แก่จำเลย.แต่ได้ปรากฏว่าสิ่งของต่างๆ ที่จะต้องคืนให้แก่จำเลยนั้น โจทก์ได้นำไปใช้แล้วเป็นเวลาถึง 18 เดือน. ทั้งจำเลยก็ได้ลงทุนลงแรงขุดเจาะน้ำบาดาลจนให้โจทก์มีน้ำใช้บริโภคได้. การคืนเงินของจำเลยแก่โจทก์.จึงต้องหักจำนวนเงินค่าเสื่อมราคาสิ่งของเพื่อชดเชยให้กลับคืนสู่สภาพเดิม กับค่าการงานในการติดตั้งให้จำเลย.
จำเลยทำสัญญารับจ้างเหมาโจทก์เจาะบ่อน้ำบาดาล เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อสัญญาที่ให้รับประกันปริมาณและคุณภาพน้ำให้ใช้บริโภคได้มีกำหนดเวลา 4 ปีนั้น. เป็นเงื่อนไขที่สามารถปฏิบัติได้. หาเป็นการพ้นวิสัยไม่. การที่จำเลยไม่สามารถเจาะบ่อน้ำบาดาลให้โจทก์ใช้ได้ถึง 4 ปีตามสัญญา. จึงไม่ใช่กรณีการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย.
ตามสัญญาจ้างเหมา ข้อ 13 ถือว่ารายการแนบท้ายหมายจ.5, จ.6 เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วย และในรายการแนบท้ายดังกล่าว ข้อ 6(14)(15). ผู้รับจ้างคือจำเลย ก็ได้สัญญาให้โจทก์ได้ใช้น้ำในประมาณตามที่กำหนด. และรับรองให้โจทก์ได้ใช้น้ำบริโภคได้เป็นกำหนดเวลา 4 ปีนับแต่วันที่คณะกรรมการของโจทก์รับมอบงานงวดสุดท้าย.และในรายการแนบท้าย ข้อ 6(16) ก็ได้ระบุว่า ถ้าหากการดำเนินการของผู้รับจ้างได้ผลเป็นที่พอใจของผู้ว่าจ้างตามข้อ (14)และ (15). ผู้ว่าจ้างจะถือว่าผู้รับจ้างได้กระทำการให้ผู้ว่าจ้างถูกต้องเรียบร้อยเสร็จบริบูรณ์แล้ว. ฉะนั้น เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา.ไม่สามารถจะให้โจทก์ได้ใช้น้ำจนครบกำหนด 4 ปี. โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 5 ได้. เพราะในสัญญาข้อนี้ได้ระบุไว้ว่า 'ฯลฯหรือผู้รับจ้างทำผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดก็ดี ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญานี้ได้ ฯลฯ'. ซึ่งข้อความนี้หาได้จำกัดเฉพาะสัญญาข้อ 5 ก. ข. ค. ไม่.
โจทก์จ้างจำเลยขุดบ่อน้ำบาดาล จำเลยรับประกันปริมาณและคุณภาพน้ำให้ใช้บริโภคได้มีกำหนด 4 ปี. เมื่อโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391. การให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยจะต้องคืนเงินค่าจ้างเหมาที่ได้รับไปแล้วแก่โจทก์. ส่วนโจทก์ก็จะต้องคืนสิ่งของต่างๆ ที่จำเลยนำมาติดตั้งให้โจทก์แก่จำเลย.แต่ได้ปรากฏว่าสิ่งของต่างๆ ที่จะต้องคืนให้แก่จำเลยนั้น โจทก์ได้นำไปใช้แล้วเป็นเวลาถึง 18 เดือน. ทั้งจำเลยก็ได้ลงทุนลงแรงขุดเจาะน้ำบาดาลจนให้โจทก์มีน้ำใช้บริโภคได้. การคืนเงินของจำเลยแก่โจทก์.จึงต้องหักจำนวนเงินค่าเสื่อมราคาสิ่งของเพื่อชดเชยให้กลับคืนสู่สภาพเดิม กับค่าการงานในการติดตั้งให้จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝาก-ขายขาด: สิทธิไถ่ถอนยังคงมีผล, ค่าธรรมเนียมเอกสาร, ผู้ร้องสอด
ทำสัญญาขายฝากที่ดินกันโดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ต่อมาได้ตกลงกันขายขาดที่ดินแปลงนั้นแก่ผู้รับซื้อฝาก โดยทำสัญญากันเอง ดังนี้สัญญาขายขาดฉบับหลังนี้ไม่เกิดผลเป็นสัญญาซื้อขายที่ชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้น ผู้ขายฝากยังมีสิทธิไถ่ถอนการขายฝากรายนี้ได้ภายในกำหนดเวลาไถ่ถอนตามสัญญาขายฝากอยู่ และผู้ที่รับโอนสิทธิจากผู้ขายฝาก ก็ย่อมมีสิทธิไถ่ถอนการขายฝากรายนี้ได้เช่นเดียวกัน
คู่ความอ้างเอกสารในสำนวนของศาลเป็นพยาน ไม่ต้องเรียกเอกสารมาจากที่อื่น เมื่อปรากฏว่าผู้อ้างยังไม่ได้เสียค่าอ้าง ศาลก็ชอบที่จะเรียกให้ผู้อ้างชำระค่าธรรมเนียมการอ้างเอกสารนั้นเสียก่อนที่จะพิพากษาคดี ต่อผู้อ้างขัดขืนไม่ชำระตามคำสั่ง ศาลจึงควรไม่รับฟังเป็นพยาน
ในคดีที่มีผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่ 3 สู้คดีกับโจทก์จำเลยนั้น แม้ในศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้ผู้ร้องสอดและโจทก์แพ้คดีจำเลย โจทก์ไม่อุทธรณ์คงอุทธรณ์เฉพาะผู้ร้องสอดเท่านั้น ก็ตาม ก็ต้องถือว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับเฉพาะที่เกี่ยวถึงสิทธิของผู้ร้องสอดด้วย ยังหายุติไม่
คู่ความอ้างเอกสารในสำนวนของศาลเป็นพยาน ไม่ต้องเรียกเอกสารมาจากที่อื่น เมื่อปรากฏว่าผู้อ้างยังไม่ได้เสียค่าอ้าง ศาลก็ชอบที่จะเรียกให้ผู้อ้างชำระค่าธรรมเนียมการอ้างเอกสารนั้นเสียก่อนที่จะพิพากษาคดี ต่อผู้อ้างขัดขืนไม่ชำระตามคำสั่ง ศาลจึงควรไม่รับฟังเป็นพยาน
ในคดีที่มีผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่ 3 สู้คดีกับโจทก์จำเลยนั้น แม้ในศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้ผู้ร้องสอดและโจทก์แพ้คดีจำเลย โจทก์ไม่อุทธรณ์คงอุทธรณ์เฉพาะผู้ร้องสอดเท่านั้น ก็ตาม ก็ต้องถือว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับเฉพาะที่เกี่ยวถึงสิทธิของผู้ร้องสอดด้วย ยังหายุติไม่