พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเรื่องการอ้างโมฆะนิติกรรม, ดอกเบี้ยในสัญญา, และผลผูกพันสัญญาแม้ปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้อง
ปัญหาที่ว่า นิติกรรมเป็นโมฆะหรือไม่ จำเลยที่ 4 ได้ยกต่อสู้ไว้ในคำให้การ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ยกขึ้นวินิจฉัย จำเลยที่ 4 ก็ยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 4 ระบุว่า "จำเลยที่ 4 ยินยอมคืนเงินดาวน์ จำนวน 3,500,000 บาท ให้แก่โจทก์พร้อมกับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2533 เป็นต้นไป ข้อความในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ถือได้ว่าเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่ง มีลักษณะเห็นการกำหนดเบี้ยปรับ เมื่อโจทก์เรียกมาสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจกำหนดให้ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
เมื่อจำเลยที่ 4 ให้การรับว่า จำเลยที่ 5 ตกลงทำบันทึกกับโจทก์จริง โจทก์จึงไม่ต้องอ้างบันทึกข้อตกลงเป็นพยานหลักฐานอีก เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 4 ยอมรับแล้ว ดังนั้น แม้บันทึกข้อตกลงจะปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้อง ก็รับฟังได้ว่าบันทึกข้อตกลงผูกพันจำเลยที่ 4
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 4 ระบุว่า "จำเลยที่ 4 ยินยอมคืนเงินดาวน์ จำนวน 3,500,000 บาท ให้แก่โจทก์พร้อมกับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2533 เป็นต้นไป ข้อความในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ถือได้ว่าเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่ง มีลักษณะเห็นการกำหนดเบี้ยปรับ เมื่อโจทก์เรียกมาสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจกำหนดให้ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
เมื่อจำเลยที่ 4 ให้การรับว่า จำเลยที่ 5 ตกลงทำบันทึกกับโจทก์จริง โจทก์จึงไม่ต้องอ้างบันทึกข้อตกลงเป็นพยานหลักฐานอีก เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 4 ยอมรับแล้ว ดังนั้น แม้บันทึกข้อตกลงจะปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้อง ก็รับฟังได้ว่าบันทึกข้อตกลงผูกพันจำเลยที่ 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะภาพนิติกรรม, การบังคับตามสัญญา, การคิดดอกเบี้ย, และผลของการยอมรับสัญญา
ปัญหาที่ว่านิติกรรมเป็นโมฆะหรือไม่จำเลยที่4ได้ยกต่อสู้ไว้ในคำให้การแม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ยกขึ้นวินิจฉัยจำเลยที่4ก็ยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคสองเพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่4ระบุว่า"จำเลยที่4ยินยอมคืนเงินดาวน์จำนวน3,500,000บาทให้แก่โจทก์พร้อมกับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ15ต่อปีนับแต่วันที่9พฤศจิกายน2533เป็นต้นไปข้อความในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยถือได้ว่าเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งมีลักษณะเห็นการกำหนดเบี้ยปรับเมื่อโจทก์เรียกมาสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจกำหนดให้ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ เมื่อจำเลยที่4ให้การรับว่าจำเลยที่5ตกลงทำบันทึกกับโจทก์จริงโจทก์จึงไม่ต้องอ้างบันทึกข้อตกลงเป็นพยานหลักฐานอีกเพราะเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่4ยอมรับแล้วดังนั้นแม้บันทึกข้อตกลงจะปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้องก็รับฟังได้ว่าบันทึกข้อตกลงผูกพันจำเลยที่4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7057/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดิน: คำวินิจฉัย คชก.ต้องถึงที่สุดก่อนฟ้องบังคับคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยที่3ที่4ขาดนัดพิจารณาและให้สืบพยานโจทก์ทั้งสองไปฝ่ายเดียวซึ่งทำให้จำเลยที่3ที่4ไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานเข้ามาสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา205วรรคหนึ่งศาลจะวินิจฉัยให้คู่ความฝ่ายที่มาศาลจะชนะคดีได้ต่อเมื่อข้ออ้างของคู่ความฝ่ายนั้นมีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับตามคำวินิจฉัยอันถึงที่สุดของคชก.ตำบลตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา58วรรคหนึ่งจำเลยที่3ที่4ให้การต่อสู้ว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวจำเลยที่3ที่4ไม่ต้องปฏิบัติตามเพราะอยู่ระหว่างการพิจารณาของคชก.จังหวัดเท่ากับต่อสู้ว่าคำวินิจฉัยคชก.ตำบลยังไม่ถึงที่สุดซึ่งตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา57วรรคสองประกอบมาตรา56วรรคสองคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลที่อุทธรณ์ต่อคชก.จังหวัดเช่นนี้จะถึงที่สุดต่อเมื่อคชก.จังหวัดวินิจฉัยแล้วและคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดมิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดแต่จะต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัยโจทก์จึงมีภาระพิสูจน์ว่าคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลถึงที่สุดแล้วซึ่งข้อที่ว่าโจทก์ทั้งสองนำสืบได้หรือไม่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่าจำเลยที่3ที่4ทำหนังสืออุทธรณ์ต่อคชก.จังหวัดแต่คชก.จังหวัดประชุมแล้วมีมติเห็นว่าผู้อุทธรณ์ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านคชก.ตำบลและเห็นควรพิจารณาอุทธรณ์รายอื่นต่อไปจึงไม่อาจฟังได้ว่าคชก.จังหวัดได้วินิจฉัยไปในทางหนึ่งทางใดและแจ้งให้แก่ผู้อุทธรณ์ทราบเพื่อผู้อุทธรณ์จะได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลถ้าไม่พอใจคำวินิจฉัยดังกล่าวตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา57วรรคหนึ่งโจทก์ทั้งสองจึงนำสืบไม่ได้ว่าคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลถึงที่สุดแล้วโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับตามคำวินิจฉัยดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา58วรรคหนึ่งแม้จำเลยที่3ที่4ไม่ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องโดยชัดแจ้งแต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยที่3ที่4ย่อมฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7057/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำวินิจฉัย คชก. ไม่ถึงที่สุด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับตามคำวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยที่ 3 ที่ 4 ขาดนัดพิจารณาและให้สืบพยานโจทก์ทั้งสองไปฝ่ายเดียว ซึ่งทำให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานเข้ามาสืบ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 205 วรรคหนึ่ง ศาลจะวินิจฉัยให้คู่ความฝ่ายที่มาศาลชนะคดีได้ต่อเมื่อข้ออ้างของคู่ความฝ่ายนั้นมีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับตามคำวินิจฉัยอันถึงที่สุดของ คชก.ตำบล ตามพ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ฯ มาตรา 58 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 3ที่ 4 ให้การต่อสู้ว่า คำวินิจฉัยดังกล่าวจำเลยที่ 3 ที่ 4 ไม่ต้องปฏิบัติตามเพราะอยู่ระหว่างการพิจารณาของ คชก.จังหวัด เท่ากับต่อสู้ว่าคำวินิจฉัย คชก.ตำบลยังไม่ถึงที่สุด ซึ่งตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ฯ มาตรา 57 วรรคสองประกอบมาตรา 56 วรรคสอง คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลที่อุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัดเช่นนี้จะถึงที่สุดต่อเมื่อ คชก.จังหวัดวินิจฉัยแล้ว และคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด แต่จะต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัย โจทก์จึงมีภาระพิสูจน์ว่าคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลถึงที่สุดแล้ว ซึ่งข้อที่ว่าโจทก์ทั้งสองนำสืบได้หรือไม่ ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียว เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่า จำเลยที่ 3ที่ 4 ทำหนังสืออุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัด แต่ คชก.จังหวัดประชุมแล้วมีมติเห็นว่าผู้อุทธรณ์ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่าน คชก.ตำบล และเห็นควรพิจารณาอุทธรณ์รายอื่นต่อไปจึงไม่อาจฟังได้ว่า คชก.จังหวัดได้วินิจฉัยไปในทางหนึ่งทางใดและแจ้งให้แก่ผู้อุทธรณ์ทราบ เพื่อผู้อุทธรณ์จะได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาล ถ้าไม่พอใจคำวินิจฉัยดังกล่าว ตามพ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ฯ มาตรา 57 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองจึงนำสืบไม่ได้ว่า คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลถึงที่สุดแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับตามคำวินิจฉัยดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ฯมาตรา 58 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ไม่ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องโดยชัดแจ้ง แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 3 ที่ 4 ย่อมฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6548/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีฟ้องค่าเสียหายจากงานชำรุด: การฟ้องซ้อน การหมดอายุความรับผิด และการคิดค่าเสียหาย
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าความเสียหายของทางพิพาทเกิดจากการแก้ไขแบบแปลนของโจทก์เองจากการใช้หินคลุกมาเป็นกรวดคลุกแทนนั้น ประเด็นข้อนี้จำเลยทั้งสองมิได้กล่าวแก้ไว้ในคำให้การ ดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ เมื่อโจทก์ตรวจพบความเสียหายครั้งแรกวันที่ 16 มีนาคม 2527โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 2 ให้ไปซ่อมแซมเมื่อวันที่12 เมษายน 2527 และจำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือแล้วหลังจากนั้นโจทก์ยังมีหนังสือถึงจำเลยที่ 2ให้ไปซ่อมแซมอีกหลายครั้ง ตามหนังสือลงวันที่ 7 ธันวาคม 2527วันที่ 31 มีนาคม 2529 และวันที่ 22 ตุลาคม 2530 ดังนี้โจทก์เป็นหน่วยราชการอยู่ในกรุงเทพมหานคร ส่วนทางพิพาทอยู่ที่จังหวัดนราธิวาส การที่โจทก์แจ้งความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 หลังจากเจ้าหน้าที่ของโจทก์ทราบความเสียหายครั้งแรกประมาณ 27 วัน จึงเป็นเวลาอันสมควรแล้วยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนบกพร่องในความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะไม่รีบแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ ส่วนการแก้ไขเพื่อบรรเทาความเสียหายนั้น ทางจังหวัดนราธิวาสเคยเข้าไปซ่อมทางโดยนำดินลูกรังไปลง และเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ซ่อมแซมทางพิพาทโจทก์ก็ได้ว่าจ้างเอกสารรายอื่นซ่อมแซมแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่รับแก่ไขเพื่อบรรเทาความเสียหาย สัญญาจ้างเหมาข้อ 6 วรรคหนึ่งและวรรคสอง มีความว่าเมื่องานแล้วเสร็จเรียบร้อยและผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานจากผู้รับจ้างหรือจากผู้รับจ้างคนใหม่ในกรณีผู้รับจ้างผิดสัญญาและผู้ว่าจ้างใช้สิทธิเลิกสัญญาตามข้อ 5ถ้ามีเหตุชำรุดเสียหายเกิดขึ้นแก่งานจ้างนี้ภายในกำหนด1 ปี นับแต่วันที่ได้รับมอบงานโดยให้นับวันที่ได้รับมอบงานเป็นวันเริ่มต้น ซึ่งเหตุชำรุดเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องผู้รับจ้าง จะเป็นโดยทำไว้ไม่เรียบร้อยหรือใช้สิ่งของที่ไม่ดี หรือทำไม่ถูกต้องตามหลักวิชาก็ตามผู้รับจ้างต้องรีบแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยภายในระยะเวลาที่ผู้ว่าจ้างจะกำหนด โดยไม่คิดเอาค่าสิ่งของค่าแรงงาน หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดจากผู้ว่าจ้างอีกถ้าผู้รับจ้างบิดพลิ้ว ไม่แก้ไขซ่อมแซมภายในกำหนด 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง โดยให้นับวันที่ได้รับแจ้งเป็นวันเริ่มต้น หรือถ้าผู้รับจ้างแก้ไขซ่อมแซมไม่แล้วเสร็จเรียบร้อยภายในวันที่ผู้ว่าจ้างกำหนดผู้ว่าจ้างมีสิทธิจ้างผู้อื่นให้ทำงานจ้างนั้นแทนผู้รับจ้างได้ถ้างานที่จ้างเกิดการชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจากระยะเวลาที่กำหนดข้างต้น ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ด้วย ดังนั้น จึงมีผลบังคับว่าตามสัญญาจ้างเหมาข้อ 6 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชอบต่อความชำรุดเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทางพิพาทภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับมอบงาน ถ้าเหตุชำรุดเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องของจำเลยที่ 1 และตามสัญญาจ้างเหมา ข้อ 6 วรรคสอง หมายความว่า นอกจากทางพิพาทเกิดการชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจาก 1 ปีตามวรรคหนึ่งแล้วจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดต่อความชำรุดบกพร่องที่ปรากฏขึ้นภายใน 5 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600 เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งมอบงานวันที่ 20 เมษายน 2526 เจ้าหน้าที่ของโจทก์ตรวจพบความชำรุดบกพร่องวันที่ 25 กรกฎาคม 2528 และวันที่ 1 เมษายน 2530 ซึ่งอยู่ภายในกำหนด 5 ปี ดังนี้ความเสียหายตามฟ้องเกิดขึ้นเมื่อยังไม่พ้นระยะเวลาความรับผิดของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจ้างเหมาจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิด โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองทั้งสองสำนวนให้รับผิดชอบในความชำรุดบกพร่องด้วยมูลเหตุเดียวกัน แม้จะเป็นความเสียหายคนละจุดไม่ซ้ำซ้อนกันแต่ก็อยู่ในทางพิพาทนั่นเอง ขณะโจทก์ฟ้องสำนวนแรกเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2531โจทก์พบความเสียหายในสำนวนหลังแล้ว สิทธิหรือมูลฟ้องของโจทก์จึงมีอยู่แล้วขณะฟ้องสำนวนแรก ศาลชั้นต้นชี้สองสถานสำนวนแรกวันที่ 1 เมษายน 2531 โจทก์จึงชอบที่จะแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติมจำนวนทุนทรัพย์ในสำนวนแรกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การที่โจทก์ฟ้องสำนวนหลังจึงเป็นการฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6548/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับเหมาตามสัญญาจ้างเหมาและการฟ้องซ้ำในคดีแพ่ง
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าความเสียหายของทางพิพาทเกิดจากการแก้ไขแบบแปลนของโจทก์เองจากการใช้หินคลุกมาเป็นกรวดคลุกแทนนั้น ประเด็นข้อนี้จำเลยทั้งสองมิได้กล่าวแก้ไว้ในคำให้การ ดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
เมื่อโจทก์ตรวจพบความเสียหายครั้งแรกวันที่ 16 มีนาคม 2527โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 2 ให้ไปซ่อมแซมเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2527 และจำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือแล้ว หลังจากนั้นโจทก์ยังมีหนังสือถึงจำเลยที่ 2 ให้ไปซ่อมแซมอีกหลายครั้ง ตามหนังสือลงวันที่ 7 ธันวาคม 2527 วันที่ 31 มีนาคม 2529 และวันที่22 ตุลาคม 2530 ดังนี้ โจทก์เป็นหน่วยราชการอยู่ในกรุงเทพมหานคร ส่วนทางพิพาทอยู่ที่จังหวัดนราธิวาส การที่โจทก์แจ้งความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 หลังจากเจ้าหน้าที่ของโจทก์ทราบความเสียหายครั้งแรกประมาณ 27 วัน จึงเป็นเวลาอันสมควรแล้วยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนบกพร่องในความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะไม่รีบแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ ส่วนการแก้ไขเพื่อบรรเทาความเสียหายนั้น ทางจังหวัดนราธิวาสเคยเข้าไปซ่อมทางโดยนำดินลูกรังไปลง และเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ซ่อมแซมทางพิพาทโจทก์ก็ได้ว่าจ้างเอกชนรายอื่นซ่อมแซมแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่รีบแก้ไขเพื่อบรรเทาความเสียหาย
สัญญาจ้างเหมาข้อ 6 วรรคหนึ่งและวรรคสอง มีความว่าเมื่องานแล้วเสร็จเรียบร้อยและผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานจากผู้รับจ้างหรือจากผู้รับจ้างคนใหม่ในกรณีผู้รับจ้างผิดสัญญาและผู้ว่าจ้างใช้สิทธิเลิกสัญญาตามข้อ 5 ถ้ามีเหตุชำรุดเสียหายเกิดขึ้นแก่งานจ้างนี้ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับมอบงานโดยให้นับวันที่ได้รับมอบงานเป็นวันเริ่มต้น ซึ่งเหตุชำรุดเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องผู้รับจ้าง จะเป็นโดยทำไว้ไม่เรียบร้อยหรือใช้สิ่งของที่ไม่ดี หรือทำไม่ถูกต้องตามหลักวิชาก็ตาม ผู้รับจ้างต้องรีบแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยภายในระยะเวลาที่ผู้ว่าจ้างจะกำหนด โดยไม่คิดเอาค่าสิ่งของ ค่าแรงงาน หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดจากผู้ว่าจ้างอีก ถ้าผู้รับจ้างบิดพลิ้ว ไม่แก้ไขซ่อมแซมภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง โดยให้นับวันที่ได้รับแจ้งเป็นวันเริ่มต้น หรือถ้าผู้รับจ้างแก้ไขซ่อมแซมไม่แล้วเสร็จเรียบร้อยภายในวันที่ผู้ว่าจ้างกำหนด ผู้ว่าจ้างมีสิทธิจ้างผู้อื่นให้ทำงานจ้างนั้นแทนผู้รับจ้างได้ ถ้างานที่จ้างเกิดการชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจากระยะเวลาที่กำหนดข้างต้น ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.ด้วย ดังนั้น จึงมีผลบังคับว่า ตามสัญญาจ้างเหมาข้อ 6 วรรคหนึ่งจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชอบต่อความชำรุดเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทางพิพาทภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับมอบงาน ถ้าเหตุชำรุดเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องของจำเลยที่ 1 และตามสัญญาจ้างเหมา ข้อ 6 วรรคสอง หมายความว่า นอกจากทางพิพาทเกิดการชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจาก 1 ปี ตามวรรคหนึ่งแล้วจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดต่อความชำรุดบกพร่องที่ปรากฏขึ้นภายใน 5 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 600 เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งมอบงานวันที่ 20 เมษายน 2526เจ้าหน้าที่ของโจทก์ตรวจพบความชำรุดบกพร่องวันที่ 25 กรกฎาคม 2528 และวันที่ 1 เมษายน 2530 ซึ่งอยู่ภายในกำหนด 5 ปี ดังนี้ความเสียหายตามฟ้องเกิดขึ้นเมื่อยังไม่พ้นระยะเวลาความรับผิดของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจ้างเหมาจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองทั้งสองสำนวนให้รับผิดชอบในความชำรุดบกพร่องด้วยมูลเหตุเดียวกัน แม้จะเป็นความเสียหายคนละจุดไม่ซ้ำซ้อนกันแต่ก็อยู่ในทางพิพาทนั่นเอง ขณะโจทก์ฟ้องสำนวนแรกเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2531โจทก์พบความเสียหายในสำนวนหลังแล้ว สิทธิหรือมูลฟ้องของโจทก์จึงมีอยู่แล้วขณะฟ้องสำนวนแรก ศาลชั้นต้นชี้สองสถานสำนวนแรกวันที่ 1 เมษายน 2531โจทก์จึงชอบที่จะขอแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติมจำนวนทุนทรัพย์ในสำนวนแรกได้ ตามป.วิ.พ.มาตรา 180 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การที่โจทก์ฟ้องสำนวนหลังจึงเป็นการฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1)
เมื่อโจทก์ตรวจพบความเสียหายครั้งแรกวันที่ 16 มีนาคม 2527โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 2 ให้ไปซ่อมแซมเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2527 และจำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือแล้ว หลังจากนั้นโจทก์ยังมีหนังสือถึงจำเลยที่ 2 ให้ไปซ่อมแซมอีกหลายครั้ง ตามหนังสือลงวันที่ 7 ธันวาคม 2527 วันที่ 31 มีนาคม 2529 และวันที่22 ตุลาคม 2530 ดังนี้ โจทก์เป็นหน่วยราชการอยู่ในกรุงเทพมหานคร ส่วนทางพิพาทอยู่ที่จังหวัดนราธิวาส การที่โจทก์แจ้งความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 หลังจากเจ้าหน้าที่ของโจทก์ทราบความเสียหายครั้งแรกประมาณ 27 วัน จึงเป็นเวลาอันสมควรแล้วยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนบกพร่องในความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะไม่รีบแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ ส่วนการแก้ไขเพื่อบรรเทาความเสียหายนั้น ทางจังหวัดนราธิวาสเคยเข้าไปซ่อมทางโดยนำดินลูกรังไปลง และเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ซ่อมแซมทางพิพาทโจทก์ก็ได้ว่าจ้างเอกชนรายอื่นซ่อมแซมแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่รีบแก้ไขเพื่อบรรเทาความเสียหาย
สัญญาจ้างเหมาข้อ 6 วรรคหนึ่งและวรรคสอง มีความว่าเมื่องานแล้วเสร็จเรียบร้อยและผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานจากผู้รับจ้างหรือจากผู้รับจ้างคนใหม่ในกรณีผู้รับจ้างผิดสัญญาและผู้ว่าจ้างใช้สิทธิเลิกสัญญาตามข้อ 5 ถ้ามีเหตุชำรุดเสียหายเกิดขึ้นแก่งานจ้างนี้ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับมอบงานโดยให้นับวันที่ได้รับมอบงานเป็นวันเริ่มต้น ซึ่งเหตุชำรุดเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องผู้รับจ้าง จะเป็นโดยทำไว้ไม่เรียบร้อยหรือใช้สิ่งของที่ไม่ดี หรือทำไม่ถูกต้องตามหลักวิชาก็ตาม ผู้รับจ้างต้องรีบแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยภายในระยะเวลาที่ผู้ว่าจ้างจะกำหนด โดยไม่คิดเอาค่าสิ่งของ ค่าแรงงาน หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดจากผู้ว่าจ้างอีก ถ้าผู้รับจ้างบิดพลิ้ว ไม่แก้ไขซ่อมแซมภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง โดยให้นับวันที่ได้รับแจ้งเป็นวันเริ่มต้น หรือถ้าผู้รับจ้างแก้ไขซ่อมแซมไม่แล้วเสร็จเรียบร้อยภายในวันที่ผู้ว่าจ้างกำหนด ผู้ว่าจ้างมีสิทธิจ้างผู้อื่นให้ทำงานจ้างนั้นแทนผู้รับจ้างได้ ถ้างานที่จ้างเกิดการชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจากระยะเวลาที่กำหนดข้างต้น ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.ด้วย ดังนั้น จึงมีผลบังคับว่า ตามสัญญาจ้างเหมาข้อ 6 วรรคหนึ่งจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชอบต่อความชำรุดเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทางพิพาทภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับมอบงาน ถ้าเหตุชำรุดเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องของจำเลยที่ 1 และตามสัญญาจ้างเหมา ข้อ 6 วรรคสอง หมายความว่า นอกจากทางพิพาทเกิดการชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจาก 1 ปี ตามวรรคหนึ่งแล้วจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดต่อความชำรุดบกพร่องที่ปรากฏขึ้นภายใน 5 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 600 เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งมอบงานวันที่ 20 เมษายน 2526เจ้าหน้าที่ของโจทก์ตรวจพบความชำรุดบกพร่องวันที่ 25 กรกฎาคม 2528 และวันที่ 1 เมษายน 2530 ซึ่งอยู่ภายในกำหนด 5 ปี ดังนี้ความเสียหายตามฟ้องเกิดขึ้นเมื่อยังไม่พ้นระยะเวลาความรับผิดของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจ้างเหมาจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองทั้งสองสำนวนให้รับผิดชอบในความชำรุดบกพร่องด้วยมูลเหตุเดียวกัน แม้จะเป็นความเสียหายคนละจุดไม่ซ้ำซ้อนกันแต่ก็อยู่ในทางพิพาทนั่นเอง ขณะโจทก์ฟ้องสำนวนแรกเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2531โจทก์พบความเสียหายในสำนวนหลังแล้ว สิทธิหรือมูลฟ้องของโจทก์จึงมีอยู่แล้วขณะฟ้องสำนวนแรก ศาลชั้นต้นชี้สองสถานสำนวนแรกวันที่ 1 เมษายน 2531โจทก์จึงชอบที่จะขอแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติมจำนวนทุนทรัพย์ในสำนวนแรกได้ ตามป.วิ.พ.มาตรา 180 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การที่โจทก์ฟ้องสำนวนหลังจึงเป็นการฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5797/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและการรับผิดในฐานะตัวแทน ผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน และผลของการทำสัญญาซื้อขาย
ที่จำเลยฎีกาว่า การตั้งตัวแทนซื้อขายที่ดินต้องทำเป็นหนังสือแต่โจทก์จำเลยมิได้ทำเป็นหนังสือต่อกันจึงไม่สมบูรณ์นั้น เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยมิได้ยกขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง คดีที่โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทแทนโจทก์ จำเลยในฐานะตัวแทนของโจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอกแล้วรับเงินค่าที่ดินไปเป็นประโยชน์ส่วนตน ขอให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินแก่โจทก์จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยมิได้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแทนโจทก์นั้นเป็นเรื่องที่โจทก์จำเลยโต้เถียงกันโดยเฉพาะว่าจำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์โดยจำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแทนโจทก์หรือไม่ กรณีไม่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาซื้อขายที่ดินโดยอาศัยสัญญาตัวแทนเป็นมูลฟ้อง ดังนั้น การที่โจทก์ตั้งจำเลยเป็นตัวแทนขายที่ดินพิพาทโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5797/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งตัวแทนซื้อขายที่ดินโดยไม่ทำเป็นหนังสือ และสิทธิในการยกข้อต่อสู้ในชั้นฎีกา
ที่จำเลยฎีกาว่า การตั้งตัวแทนซื้อขายที่ดินต้องทำเป็นหนังสือแต่โจทก์จำเลยมิได้ทำเป็นหนังสือต่อกันจึงไม่สมบูรณ์นั้น เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง
คดีที่โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทแทนโจทก์ จำเลยในฐานะตัวแทนของโจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอกแล้วรับเงินค่าที่ดินไปเป็นประโยชน์ส่วนตน ขอให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินแก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยมิได้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแทนโจทก์นั้นเป็นเรื่องที่โจทก์จำเลยโต้เถียงกันโดยเฉพาะว่าจำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์โดยจำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแทนโจทก์หรือไม่ กรณีไม่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาซื้อขายที่ดินโดยอาศัยสัญญาตัวแทนเป็นมูลฟ้อง ดังนั้น การที่โจทก์ตั้งจำเลยเป็นตัวแทนขายที่ดินพิพาทโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ จึงไม่ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 798 วรรคหนึ่ง
คดีที่โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทแทนโจทก์ จำเลยในฐานะตัวแทนของโจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอกแล้วรับเงินค่าที่ดินไปเป็นประโยชน์ส่วนตน ขอให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินแก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยมิได้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแทนโจทก์นั้นเป็นเรื่องที่โจทก์จำเลยโต้เถียงกันโดยเฉพาะว่าจำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์โดยจำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแทนโจทก์หรือไม่ กรณีไม่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาซื้อขายที่ดินโดยอาศัยสัญญาตัวแทนเป็นมูลฟ้อง ดังนั้น การที่โจทก์ตั้งจำเลยเป็นตัวแทนขายที่ดินพิพาทโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ จึงไม่ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 798 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3821/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์, หนังสือมอบอำนาจ, ความสมบูรณ์ของเอกสาร, และการปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ไม่ชัดแจ้ง
การมอบอำนาจให้ ก.ฟ้องคดีของโจทก์นั้น เมื่อโจทก์แต่ฝ่ายเดียวได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้มอบอำนาจให้กระทำกิจการติดตามทวงถามหนี้สินตลอดจนดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสามแทนโจทก์แล้ว แม้ ก.ไม่ได้ลงชื่อเป็นผู้รับ-มอบอำนาจด้วย เพียงแต่มาเบิกความยืนยันว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจก็ตามหนังสือมอบอำนาจย่อมสมบูรณ์และมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ก.จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์
ปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์มิได้ปิดอากรแสตมป์จึงไม่สมบูรณ์ ก.ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์นั้น เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสามมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จำเลยทั้งสามก็ยกขึ้นฎีกาได้
หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในต่างประเทศ มีการรับรองโดยโนตารี ปับลิก และหัวหน้าฝ่ายกงสุล-เมืองจากาตาร์ ประเทศอินโดนีเซียรับรองอีกชั้นหนึ่งว่า ได้มีการจัดทำเอกสารขึ้นอย่างแท้จริง หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวถือว่าถูกต้องตามกฎหมายประเทศดังกล่าวแล้ว ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร จึงเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมาย ก.มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลโดยจดทะเบียนในประเทศอินโดนีเซีย มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการด้านประมง จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนในประเทศอินโดนีเซียและมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการขอออกใบอนุญาตในการทำการประมงภายในขอบข่ายงานการดำเนินการของบริษัทโจทก์กับเรือประมงต่างด้าว เพื่อการประมงในเขตน่านน้ำของประเทศอินโดนีเซีย (อีซีแซด) ตามกฎหมายหรือไม่ จำเลยทั้งสามไม่ทราบและไม่ยอมรับว่าโจทก์สามารถที่จะทำได้ คำให้การของจำเลยทั้งสามดังกล่าวจึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง เพราะมิได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ ตามป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบถึงหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลของโจทก์อีก
ปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์มิได้ปิดอากรแสตมป์จึงไม่สมบูรณ์ ก.ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์นั้น เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสามมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จำเลยทั้งสามก็ยกขึ้นฎีกาได้
หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในต่างประเทศ มีการรับรองโดยโนตารี ปับลิก และหัวหน้าฝ่ายกงสุล-เมืองจากาตาร์ ประเทศอินโดนีเซียรับรองอีกชั้นหนึ่งว่า ได้มีการจัดทำเอกสารขึ้นอย่างแท้จริง หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวถือว่าถูกต้องตามกฎหมายประเทศดังกล่าวแล้ว ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร จึงเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมาย ก.มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลโดยจดทะเบียนในประเทศอินโดนีเซีย มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการด้านประมง จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนในประเทศอินโดนีเซียและมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการขอออกใบอนุญาตในการทำการประมงภายในขอบข่ายงานการดำเนินการของบริษัทโจทก์กับเรือประมงต่างด้าว เพื่อการประมงในเขตน่านน้ำของประเทศอินโดนีเซีย (อีซีแซด) ตามกฎหมายหรือไม่ จำเลยทั้งสามไม่ทราบและไม่ยอมรับว่าโจทก์สามารถที่จะทำได้ คำให้การของจำเลยทั้งสามดังกล่าวจึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง เพราะมิได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ ตามป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบถึงหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลของโจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3821/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดี, อำนาจฟ้อง, นิติบุคคลต่างประเทศ, อากรแสตมป์, คำให้การไม่ชัดแจ้ง
การมอบอำนาจให้ก.ฟ้องคดีของโจทก์นั้นเมื่อโจทก์แต่ฝ่ายเดียวได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้มอบอำนาจให้กระทำกิจการติดตามทวงถามหนี้สินตลอดจนดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสามแทนโจทก์แล้วแม้ก.ไม่ได้ลงชื่อเป็นผู้รับมอบอำนาจด้วยเพียงแต่มาเบิกความยืนยันว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจก็ตามหนังสือมอบอำนาจย่อมสมบูรณ์และมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายก.จึงมีอำนาจฟ้องคดีของโจทก์ ปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์มิได้ปิดอากรแสตมป์จึงไม่สมบูรณ์ก.ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์นั้นเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสามมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจำเลยทั้งสามก็ยกขึ้นฎีกาได้ หนังสือมอบอำนาจที่ทำขึ้นในต่างประเทศมีการรับรองโดยโนตารีปับลิก และหัวหน้าฝ่ายกงศุล-เมืองจากาตาร์ประเทศอินโดนีเซียรับรองอีกชั้นหนึ่งว่าได้มีการจัดทำเอกสารขึ้นอย่างแท้จริงหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวถือว่าถูกต้องตามกฎหมายประเภทดังกล่าวแล้วไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรจึงเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมายก.มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลโดยจดทะเบียนในประเทศอินโดนีเซีย มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการด้านประมงจำเลยทั้งสามให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนในประเทศอินโดนีเซียและมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการขอออกใบอนุญาตในการทำการประมงภายในขอบข่ายงานการดำเนินการของบริษัทโจทก์กับเรือประมงต่างด้าวเพื่อการประมงในเขตน่านน้ำของประเทศอินโดนีเซีย(อีซีแซด) ตามกฎหมายหรือไม่จำเลยทั้งสามไม่ทราบและไม่ยอมรับว่าโจทก์สามารถที่จะทำได้คำให้การของจำเลยทั้งสามดังกล่าวจึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งเพราะมิได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทข้อเท็จจริงจึงต้องฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายโดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบถึงหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลของโจทก์อีก