คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 249 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2301/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของภริยา: ไม่จำกัดเฉพาะคดีสินสมรส การวินิจฉัยหนี้เป็นสินสมรสเกินคำให้การ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1477 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดี หญิงมีสามีฟ้องคดีต้องได้รับอนุญาตจากสามีก็เฉพาะแต่การฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสคงให้การต่อสู้เพียงว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามี ไม่มีอำนาจฟ้อง กรณีจึงไม่มีประเด็นข้อโต้เถียงว่าทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องเป็นสินสมรสหรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าหนี้ตามฟ้องเป็นสินสมรสจึงเป็นเรื่องนอกเหนือคำให้การของจำเลย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ต้องฟังว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากสามีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1995/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินจากการแบ่งสินสมรส: ศาลพิพากษาตามประเด็นผู้ร้องอ้างสิทธิในทรัพย์สิน
คดีร้องขัดทรัพย์ศาลชั้นต้นสั่งว่าโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยจึงมีอยู่ตามคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งอ้างว่าทรัพย์ที่ถูกยึดเป็นของผู้ร้องโดยได้มาจากการแบ่งปันสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 เมื่อหย่ากัน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทรัพย์สินที่ยึดเป็นของผู้ร้องหรือไม่จึงชอบแล้ว เมื่อคดีมีประเด็นพิพาทเพียงข้อเดียวว่า ทรัพย์สินที่ยึดเป็นของผู้ร้องหรือไม่เท่านั้น ปัญหาตามฎีกาของโจทก์ที่ว่า แม้โจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องด้วย แต่ผู้ร้องก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2เพราะเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 2 มิได้ทำเฉพาะตัว หากแต่เป็นการกระทำที่เกี่ยวข้องกับกิจการอันจำเป็นในครอบครัวเกี่ยวกับสินสมรสและเป็นหนี้เกิดจากการงานที่จำเลยที่ 2 กับผู้ร้องทำด้วยกันในฐานะที่เป็นสามี ภริยากัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1490 โจทก์จึงมีสิทธินำยึดทรัพย์รายนี้มาชำระหนี้ได้นั้นจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำร้อง อีกทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกาในประเด็นข้อนี้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: ผลกระทบต่อสัญญากู้ และการบังคับคดี
ปัญหาที่ว่าสัญญากู้ซึ่งมีดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดรวมเป็นเงินต้นด้วยเป็นโมฆะหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงยกขึ้นมาในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง การที่โจทก์นำดอกเบี้ยล่วงหน้าที่คิดจากจำเลยในอัตราเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 654 ไปรวมเป็นต้นเงินที่กู้ยืมตามสัญญากู้เฉพาะดอกเบี้ยที่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นโมฆะ แต่หนี้เงินต้นและข้อตกลงให้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน ยังคงสมบูรณ์ สัญญากู้ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ และในส่วนที่สมบูรณ์โจทก์ย่อมนำมาใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมฟ้องร้องบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1524/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากข้อเท็จจริงเกินกรอบและมิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น-อุทธรณ์
การโต้เถียงเรื่องวันเวลาในการเข้าแย่งการครอบครองที่พิพาทว่าเมื่อใดเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง คดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ อันอาจให้เช่าได้ในขณะที่ยื่นคำฟ้องเดือนละไม่เกิน 10,000 บาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง ปัญหาข้อกฎหมายซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจำเลยสามารถยกปัญหาข้อกฎหมายนั้นขึ้นอุทธรณ์ได้ แต่จำเลยหาได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในอุทธรณ์ของจำเลยไม่ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3488/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการร้องสอดในคดีล้มละลาย: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นการเป็นคู่ความก่อนเวลาอันควร
โจทก์ฟ้องขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด และพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยขอเข้าเป็นคู่ความในฐานะผู้คัดค้าน ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นสั่งว่าเป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาจึงไม่รับผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ในชั้นพิจารณาคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าว ไม่มีประเด็นแห่งคดีที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยชี้ขาดว่าผู้ร้องจะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้ดังที่ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์ไว้หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้องโดยอ้างเหตุว่าเพราะผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกไม่อาจร้องสอดเข้ามาในคดี มีผลเท่ากับว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีที่ว่าผู้ร้องจะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้หรือไม่ แล้วนำข้อวินิจฉัยชี้ขาดดังกล่าวมาเป็นเหตุยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้อง จึงเป็นการไม่ชอบ และคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ถึงที่สุด ทั้งนี้ตามนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 236 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2168/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้สลักหลังเช็คต้องรับผิดในฐานะผู้ประกันอาวัล แม้เช็คไม่สมบูรณ์ และโจทก์เป็นผู้ทรงโดยชอบ
จำเลยที่ 2 สลักหลังเช็คพิพาทแล้วนำมาแลกเงินสดจาก ส.ต่อมาเมื่อ ส.นำเช็คพิพาทมาแลกเงินสดจากโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบ เมื่อโจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงินไม่ได้ จำเลยที่ 2ผู้สลักหลังเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือจึงต้องรับผิดใช้เงินนั้นแก่โจทก์ในฐานะเป็นผู้ประกันอาวัลสำหรับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 วรรคแรก,921,940,967 และมาตรา 989 แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คเพราะมิใช่เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2ลงลายมือชื่อในฐานะเป็นผู้ประกันอาวัลสำหรับผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทซึ่งมีผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายไว้แล้ว จำเลยที่ 2ก็ต้องรับผิดตามเนื้อความที่ระบุไว้ในเช็คพิพาทนั้น หาใช่เช็คพิพาทไม่สมบูรณ์ไม่ จำเลยที่ 2 มิได้ยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นในคำให้การ ศาลชั้นต้นจึงมิได้กำหนดประเด็นพิพาทข้อนี้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น แม้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้เช่าและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: หนี้ขาดอายุความไม่อาจนำมาขอรับชำระได้
ปัญหาที่ว่ามูลหนี้ซึ่งเจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้ขาดอายุความจึงนำมาขอรับชำระหนี้ไม่ได้นั้น แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหาว่าหนี้ใดเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 จำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าส่งมอบคลังสินค้าที่เช่าให้เจ้าหนี้ผู้เช่ามีพื้นที่น้อยไปกว่าที่จำเลยที่ 1 มีคำเสนอให้เช่าและตามสัญญาเช่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิรับค่าเช่าจากเจ้าหนี้ได้ตามส่วนพื้นที่ที่ให้เช่าตามความเป็นจริงเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 549 ประกอบมาตรา 466ส่วนค่าเช่าที่รับไว้เกินโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้รู้ในขณะชำระว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระในส่วนที่เกิน จึงเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบเจ้าหนี้มีสิทธินำคดีไปฟ้องเรียกคืนในฐานเป็นลาภมิควรได้ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาที่เจ้าหนี้รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน เมื่อปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้ทวงถามให้จำเลยที่ 1 คืนค่าเช่าดังกล่าวเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2528 ก็แสดงว่าเจ้าหนี้ได้รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนนับแต่วันนั้นแล้ว เมื่อเจ้าหนี้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 28 กันยายน 2530 จึงเป็นการล่วงเลยระยะเวลา 1 ปี คดีขาดอายุความต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 419 แล้วเจ้าหนี้ไม่อาจนำมูลหนี้ดังกล่าวมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีใหม่, การขาดนัดพิจารณา, และข้อพิพาทเรื่องการซื้อขายฝากไม้ชิงชัน
ปัญหาว่าคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยต้องห้ามตามกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์เพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรวินิจฉัยให้ การยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205(3) เป็นกรณีที่ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีฝ่ายเดียว การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205(3) จำเลยเคยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ครั้งหนึ่งแล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง เพราะคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่มีข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง เมื่อจำเลยยื่นคำร้องใหม่โดยทำให้ถูกต้องภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับให้จำเลย ศาลชั้นต้นชอบที่จะรับไว้พิจารณา เดิมจำเลยมี ส. เป็นทนายความ ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 2 กรกฎาคม 2530 เวลา 9.00 น. แต่ตามวันเวลาดังกล่าวส.มีกิจธุระซึ่งส. เพิ่งทราบในคืนวันที่ 1 กรกฎาคม 2530ส. จึงแจ้งให้ ก. ทนายความสำนักงานเดียวกันทราบเมื่อวันที่2 กรกฎาคม 2530 เวลา 7.30 น. ขอให้ ก. ว่าความแทนและได้แจ้งให้จำเลยทราบ จำเลยแต่งตั้ง ก. เป็นทนายความ แต่ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ก. ต้องว่าความในคดีอื่นซึ่งนัดไว้ก่อนแล้ว ก.จึงให้จำเลยไปรอที่บริเวณประชาสัมพันธ์ของศาลชั้นต้น ส่วน ก.ไปว่าความคดีอื่นก่อน จำเลยไม่ทราบว่าประชาสัมพันธ์ของศาลได้ประกาศเรียกคู่ความแล้ว จึงไม่ได้แถลงให้ศาลทราบ เมื่อ ก.ว่าความคดีอื่นเสร็จแล้วได้ไปที่ห้องพิจารณา ปรากฏว่าศาลชั้นต้นพิจารณาคดีเสร็จแล้ว ดังนี้ จำเลยและทนายได้ไปศาลก่อนศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณา แต่เหตุที่ไม่เข้าไปในห้องพิจารณาคดีเพราะจำเลยไม่ทราบว่าได้มีการประกาศเรียกคู่ความแล้ว ส่วนทนายจำเลยก็ต้องว่าความคดีอื่นก่อน จำเลยจึงไม่จงใจขาดนัดพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3539/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกา: ประเด็นใหม่ที่มิได้ยกขึ้นสู่การต่อสู้ในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ แม้เป็นเรื่องความสงบเรียบร้อย
ปัญหาว่า ฟ้องโจทก์และทางนำสืบของโจทก์ขาดสาระสำคัญตามมาตรา 34 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 กล่าวคือมิได้บรรยายฟ้องและนำสืบว่าโจทก์ได้ส่งหนังสือบอกเลิกการเช่าต่อจำเลย และได้ส่งสำเนาหนังสือดังกล่าวต่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลมติของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลที่ให้เลิกการเช่านาโดยยกเว้นไม่ปฏิบัติตามมาตรา 34 วรรคแรก แห่งกฎหมายดังกล่าวเป็นโมฆะเพราะขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนนั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก แม้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแย้งจำกัดเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม และการเรียกร้องค่าเสียหายจากกระบวนการชั่วคราวก่อนพิพากษาต้องฟ้องเป็นคดีต่างหาก
ฎีกาของโจทก์ที่ว่าฟ้องแย้งเป็นฟ้องซ้ำกับคดีอื่นเป็นฎีกาข้อที่โจทก์มิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้งจึงไม่มีประเด็นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบมาตรา 246, และ 247 ฎีกาของโจทก์ที่ว่าฟ้องแย้งไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมแม้โจทก์จะมิได้ให้การแก้ฟ้องแย้งในข้อดังกล่าวไว้ แต่ข้อฎีกานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคสอง ปัญหาว่าที่พิพาทโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิครอบครอง โจทก์และจำเลยยังโต้เถียงกันอยู่ในขณะจำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายที่ขาดกำไรสุทธิจากการทำเหมืองแร่ในที่พิพาท ทั้งสิทธิทำเหมืองแร่ในที่พิพาทของจำเลยก็ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของทางราชการจำเลยยังไม่มีสิทธิโดยสมบูรณ์ที่จะเข้าทำเหมืองแร่ในที่พิพาทการที่โจทก์ไปร้องคัดค้านการขอออกประทานบัตรของจำเลย ฟ้องคดีนี้และนำสำเนาคำฟ้องไปยื่นร้องคัดค้านต่อกรมทรัพยากรธรณีจึงยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยซึ่งยังไม่มีอยู่ในขณะฟ้องแย้งฟ้องแย้งดังกล่าวเป็นฟ้องที่มิชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 จำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งในส่วนนี้ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่แก้ไขขอให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทตามที่จำเลยที่ 2 ได้รับประทานบัตรห้ามมิให้โจทก์และบริวารเข้าเกี่ยวข้อง ให้โจทก์รื้อถอนเรือนแถวที่พักของคนงาน และทำให้ที่ดินมีสภาพเหมือนเดิมและให้โจทก์ทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยวันละ 15,000 บาท นับแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน2521 เป็นต้นไป จนกว่าจำเลยทั้งสองจะได้เข้าทำเหมืองแร่ตามประทานบัตรนั้น แม้โจทก์ที่ 1 จะมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 ปรากฏว่าจำเลยที่ 2ได้รับประทานบัตรทำเหมืองแร่ในที่พิพาทตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน2521 จำเลยขอแก้ไขฟ้องแย้งและได้รับอนุญาตจากศาลเมื่อวันที่13 ธันวาคม 2521 ซึ่งเป็นภายหลังจากที่จำเลยที่ 2 ได้รับประทานบัตรดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิในที่พิพาทในขณะที่ขอแก้ไขฟ้องแย้งการที่โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองเข้าเกี่ยวข้องรบกวนสิทธิครอบครองของโจทก์ในที่พิพาทจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยแล้ว ทั้งการที่จำเลยแก้ไขฟ้องแย้งดังกล่าวถือได้ว่าเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม จำเลยจึงมีอำนาจฟ้องแย้งในส่วนดังกล่าว แต่ที่จำเลยขอให้โจทก์ทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยวันละ15,000 บาท นั้น ปรากฏว่า มูลหนี้ตามฟ้องแย้งของจำเลยเกิดจากกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่เรียกว่าวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา อันเป็นกรณีที่เกิดขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมาย คือ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งต่างหากจากคำฟ้องเดิม ฟ้องแย้งของจำเลยเรียกค่าเสียหายดังกล่าวจากโจทก์จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ชอบที่จะฟ้องโจทก์เป็นคดีต่างหากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม
of 18