พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือและการโต้แย้งสิทธิครอบครอง
ย.และส. รวมทั้งจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์มาก่อน จำเลยให้การเพียงว่า ที่ดินพิพาทเดิมเป็นของย.และส.ซึ่งได้บุกเบิกมาย.และส. ตายเมื่อ พ.ศ. 2527ก่อนตายได้ยกที่ดินพิพาทให้จำเลย จำเลยครอบครองตลอดมาและได้ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) โดยชอบ จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า ย.และส. หรือจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาท จึงอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 ไม่ได้ ดังนั้นศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยเองว่า จำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทเป็นการโต้แย้งสิทธิครอบครองของโจทก์หาได้ไม่ เพราะว่าเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ และไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4622/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแย้ง, สัญญาจ้างซ่อม, การปฏิบัติผิดสัญญา, การหักลดค่าจ้าง, ดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 คู่ความ มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถ ของตนให้บริบูรณ์ได้ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อน มีคำพิพากษา ทั้งตามมาตรา 66 ก็ได้ให้อำนาจศาลทำการสอบสวนและ มีอำนาจยกฟ้อง หรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างอื่นได้ ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม การที่จำเลย ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 18 ธันวาคม 2528 ว่าใบแต่งทนายความ ของจำเลยฉบับลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2527 มี ส. มีกรรมการ ของจำเลย ซึ่งมิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อร่วมกับ ธ.แต่งตั้งให้อ. เป็นทนายความโดย ส. เข้าใจผิดว่าตนมีอำนาจ จำเลยจึงยื่นใบแต่งทนายความใหม่ให้ถูกต้องนั้น คำร้องของจำเลยดังกล่าวเป็นการขอแก้ไขข้อบกพร่องเรื่อง ความสามารถ ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตตามคำร้อง ดังกล่าวก่อนมีคำพิพากษาจึงเป็นคำสั่งที่ชอบและมีผลย้อนหลัง ไปถึงวันที่สั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลย และปัญหาข้อนี้ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้โจทก์จะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้งแต่เมื่อโจทก์ได้หยิบยกขึ้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้เมื่อโจทก์ฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรวินิจฉัยให้ จำเลยฟ้องแย้งว่า จำเลยจ้างโจทก์ซ่อมแซมคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น โจทก์ไม่สามารถซ่อมให้ใช้การได้และแล้วเสร็จตามสัญญาจำเลยได้บอกกล่าวให้โจทก์ซ่อมให้ใช้การได้ แต่โจทก์เพิกเฉย ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงฟ้องแย้ง เรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ย่อมเห็นได้ว่าจำเลยฟ้องแย้ง เรียกค่าเสียหายจากโจทก์เพราะโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญา หาใช่ฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดเพื่อการชำรุดบกพร่อง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600 ซึ่งมีอายุความ1 ปี ไม่ ดังนั้นฟ้องแย้งของจำเลยจึงมีอายุความ 10 ปีตามมาตรา 164 ฟ้องแย้งของจำเลยย่อมไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4622/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขความสามารถของจำเลย และอายุความฟ้องแย้งจากการผิดสัญญา
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 56 คู่ความมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของตนให้บริบูรณ์ได้ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา ทั้งตามมาตรา 66 ก็ได้ให้อำนาจศาลทำการสอบสวนและมีอำนาจยกฟ้อง หรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม การที่จำเลยยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 18 ธันวาคม 2528 ว่าใบแต่งทนายความของจำเลยฉบับลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2527 มี ส.กรรมการของจำเลย ซึ่งมิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อร่วมกับ ธ.แต่งตั้งให้ อ.เป็นทนายความโดย ส.เข้าใจผิดว่าตนมีอำนาจ จำเลยจึงยื่นใบแต่งทนายความใหม่ให้ถูกต้องนั้น คำร้องของจำเลยดังกล่าวเป็นการขอแก้ไขข้อบกพร่องเรื่องความสามารถดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตตามคำร้องดังกล่าวก่อนมีคำพิพากษาจึงเป็นคำสั่งที่ชอบและมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่สั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลย และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้ง แต่เมื่อโจทก์ได้หยิบยกขึ้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็วินิจฉัยให้ เมื่อโจทก์ฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรวินิจฉัยให้
จำเลยฟ้องแย้งว่า จำเลยจ้างโจทก์ซ่อมแซมคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น โจทก์ไม่สามารถซ่อมให้ใช้การได้และแล้วเสร็จตามสัญญาจำเลยได้บอกกล่าวให้โจทก์ซ่อมให้ใช้การได้ แต่โจทก์เพิกเฉย ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ย่อมเห็นได้ว่าจำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เพราะโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญา หาใช่ฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดเพื่อการชำรุดบกร่อง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 600 ซึ่งมีอายุความ 1 ปีไม่ ดังนั้นฟ้องแย้งของจำเลยจึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 ฟ้องแย้งของจำเลยย่อมไม่ขาดอายุความ
จำเลยฟ้องแย้งว่า จำเลยจ้างโจทก์ซ่อมแซมคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น โจทก์ไม่สามารถซ่อมให้ใช้การได้และแล้วเสร็จตามสัญญาจำเลยได้บอกกล่าวให้โจทก์ซ่อมให้ใช้การได้ แต่โจทก์เพิกเฉย ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ย่อมเห็นได้ว่าจำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เพราะโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญา หาใช่ฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดเพื่อการชำรุดบกร่อง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 600 ซึ่งมีอายุความ 1 ปีไม่ ดังนั้นฟ้องแย้งของจำเลยจึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 ฟ้องแย้งของจำเลยย่อมไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย: การชำระหนี้ตามสิทธิและปัญหาความสงบเรียบร้อย
กฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายพิเศษมีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ให้ได้รับชำระหนี้หรือได้รับส่วนแบ่งอย่างเป็นธรรม ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เกินกว่าที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมิได้โต้แย้งมาก่อน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ย่อมยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง ประกอบด้วยพ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 153.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เรื่องการชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ให้เป็นไปตามหนี้ที่จำเลยต้องรับผิด เพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้ตามกฎหมาย
กฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายพิเศษมีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ให้ได้รับชำระหนี้หรือได้รับส่วนแบ่งอย่างเป็นธรรม ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้มากไป กว่าที่จำเลยต้องรับผิดนั้น เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมิได้โต้แย้งมาก่อนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสองประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5963/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินจากคำพิพากษาและมรดก: ไม่ต้องจดทะเบียนมรดกก่อนแบ่งแยกได้
สิทธิในที่ดินที่โจทก์ทั้งสองได้มาในฐานะเป็นผู้ชนะคดีตามคำพิพากษาอันถึงที่สุด และข้อตกลงในชั้นบังคับคดีระหว่างโจทก์ทั้งสองกับผู้แพ้คดีนั้นเป็นการได้สิทธิโดยผลของคำพิพากษา จึงแตกต่างกับสิทธิในที่ดินที่โจทก์ทั้งสองได้มาโดยทางมรดกในฐานะที่เป็นทายาท ซึ่งถือว่าโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของที่ดินแทนที่เจ้ามรดก แม้การได้สิทธิในที่ดินดังกล่าวตามคำพิพากษาโจทก์ทั้งสองจะอ้างว่าเป็นทายาทของเจ้ามรดกก็หาใช่การได้มาซึ่ง สิทธิในที่ดินโดยทางมรดกโดยทั่วไปอันจะต้องดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามลำดับขั้นตอนตาม ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 81 ประกอบด้วยกฎกระทรวงฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 และระเบียบของกรมที่ดินว่าด้วยการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก พ.ศ. 2516 ให้เสร็จสิ้นเสียชั้นหนึ่งก่อนไม่ โจทก์ทั้งสองชอบที่จะขอจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมได้ทันที
แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็เห็นสมควรไม่หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ได้
แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็เห็นสมควรไม่หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5963/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินจากการบังคับคดีและมรดก: การจดทะเบียนสิทธิและการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์
สิทธิในที่ดินที่โจทก์ทั้งสองได้มาในฐานะเป็นผู้ชนะคดีตามคำพิพากษาอันถึงที่สุด และข้อตกลงในชั้นบังคับคดีระหว่างโจทก์ทั้งสองกับผู้แพ้คดีนั้นเป็นการได้สิทธิโดยผลของคำพิพากษา จึงแตกต่างกับสิทธิในที่ดินที่โจทก์ทั้งสองได้มาโดยทางมรดกในฐานะที่เป็นทายาท ซึ่งถือว่าโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของที่ดินแทนที่เจ้ามรดก แม้การได้สิทธิในที่ดินดังกล่าวตามคำพิพากษาโจทก์ทั้งสองจะอ้างว่าเป็นทายาทของเจ้ามรดกก็หาใช่การได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินโดยทางมรดกโดยทั่วไปอันจะต้องดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามลำดับขั้นตอนตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 81 ประกอบด้วยกฎกระทรวงฉบับที่ 24(พ.ศ. 2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 และระเบียบของกรมที่ดินว่าด้วยการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก พ.ศ. 2516 ให้เสร็จสิ้นเสียชั้นหนึ่งก่อนไม่ โจทก์ทั้งสองชอบที่จะขอจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมได้ทันที แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็เห็นสมควรไม่หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5358/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมวินิจฉัยประเด็นแล้ว การฟ้องคดีใหม่ในประเด็นเดียวกันย่อมเป็นฟ้องซ้ำ
ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำแม้คู่ความไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์และโจทก์ไม่ได้ฎีกาปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเอง
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกให้แก่จำเลยคดีนี้จำนวน 2 ไร่ 2 งาน คดีถึงที่สุด ปัญหาที่ว่าจำเลยมีสิทธิได้รับแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนวนเนื้อที่เท่าใดจึงเป็นประเด็นแห่งคดีในคดีก่อน ในชั้นบังคับคดีของคดีก่อนโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนยื่นคำคัดค้านขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขหมายบังคับคดีและมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเฉลี่ยลดเนื้อที่ลงตามส่วนเพราะเนื้อที่ดินมรดกขาดไป 239 ตารางวาศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อนอุทธรณ์คำสั่ง ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้การที่โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นบังคับคดีในคดีก่อนแล้ว กลับนำคดีมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้โดยมีประเด็นแห่งคดีว่า จำเลยมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งกรรมสิทธิ์ จำนวน 2 ไร่ 2 งานเต็มตามคำพิพากษาในคดีก่อนหรือไม่ ซึ่งเป็นการฟ้องซ้ำกับคดีก่อนของศาลชั้นต้นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกให้แก่จำเลยคดีนี้จำนวน 2 ไร่ 2 งาน คดีถึงที่สุด ปัญหาที่ว่าจำเลยมีสิทธิได้รับแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนวนเนื้อที่เท่าใดจึงเป็นประเด็นแห่งคดีในคดีก่อน ในชั้นบังคับคดีของคดีก่อนโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนยื่นคำคัดค้านขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขหมายบังคับคดีและมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเฉลี่ยลดเนื้อที่ลงตามส่วนเพราะเนื้อที่ดินมรดกขาดไป 239 ตารางวาศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อนอุทธรณ์คำสั่ง ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้การที่โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นบังคับคดีในคดีก่อนแล้ว กลับนำคดีมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้โดยมีประเด็นแห่งคดีว่า จำเลยมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งกรรมสิทธิ์ จำนวน 2 ไร่ 2 งานเต็มตามคำพิพากษาในคดีก่อนหรือไม่ ซึ่งเป็นการฟ้องซ้ำกับคดีก่อนของศาลชั้นต้นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5358/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมวินิจฉัยแล้ว การฟ้องคดีใหม่ประเด็นเดิมถือเป็นการฟ้องซ้ำตามกฎหมาย
ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำแม้คู่ความไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์และโจทก์ไม่ได้ฎีกาปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเอง ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกให้แก่จำเลยคดีนี้จำนวน 2 ไร่ 2 งาน คดีถึงที่สุด ปัญหาที่ว่าจำเลยมีสิทธิได้รับแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนวนเนื้อที่เท่าใดจึงเป็นประเด็นแห่งคดีในคดีก่อน ในชั้นบังคับคดีของคดีก่อนโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนยื่นคำคัดค้านขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขหมายบังคับคดีและมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเฉลี่ยลดเนื้อที่ลงตามส่วนเพราะเนื้อที่ดินมรดกขาดไป 239 ตารางวาศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อนอุทธรณ์คำสั่ง ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้การที่โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นบังคับคดีในคดีก่อนแล้ว กลับนำคดีมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้โดยมีประเด็นแห่งคดีว่า จำเลยมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งกรรมสิทธิ์ จำนวน 2 ไร่ 2 งานเต็มตามคำพิพากษาในคดีก่อนหรือไม่ ซึ่งเป็นการฟ้องซ้ำกับคดีก่อนของศาลชั้นต้นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4814/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, ตัวการตัวแทน, ความรับผิดทางละเมิด: โจทก์ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรงจึงมีอำนาจฟ้องได้
จำเลยที่ 1 ขับรถของจำเลยที่ 2 โดยมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเมาสุรานั่งไปด้วย ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ขับรถอันเป็นกิจการของจำเลยที่ 2แทนจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็น ตัวการ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของและผู้ครอบครองรถในขณะเกิดเหตุ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ให้ จำเลย ที่ 2 รับผิดในฐานะตัวการด้วย ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ไม่ใช่เจ้าของรถจักรยานยนต์ที่เสียหาย จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิดข้อนี้แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์มิใช่เจ้าของรถคันเกิดเหตุ แต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ไม่ใช่เจ้าของรถจักรยานยนต์ที่เสียหาย จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิดข้อนี้แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์มิใช่เจ้าของรถคันเกิดเหตุ แต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยได้