คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 249 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11043/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ฟ้องแย้งไม่ชัดเจน ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายจากละเมิด
จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความค่าเสียหายที่เกิดแก่รถบรรทุกของจำเลยที่ 2 จากการกระทำละเมิดของโจทก์เท่านั้น จำเลยที่ 1 มิได้ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนความเสียหายในส่วนของจำเลยที่ 1 จากโจทก์ด้วย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองแล้วมีการยื่นฟ้องอุทธรณ์ โดยระบุชื่อผู้อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 มิได้ระบุชื่อ จำเลยที่ 2 ว่าเป็นผู้อุทธรณ์ แต่เมื่อพิเคราะห์อุทธรณ์ฉบับดังกล่าวทั้งฉบับ จะใช้คำว่า จำเลย โดยมิได้ใช้คำว่า จำเลยที่ 1 และเนื้อหาก็เป็นการโต้แย้งประเด็นที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นเรื่องฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ขาดอายุความ และประเด็นว่า โจทก์เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อจึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลยที่ 2 ตามฟ้องแย้งเท่านั้นมิได้มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ทั้งอุทธรณ์ฉบับดังกล่าว ทนายจำเลยทั้งสองก็เป็นผู้ลงชื่อในช่องผู้อุทธรณ์ และเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 มาครบถ้วนแล้ว จึงถือได้ว่า อุทธรณ์ฉบับดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 มิใช่อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าว โดยเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อสำนวนขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกา โดยโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างนำพยานเข้าสืบในประเด็นข้อนี้จนเสร็จสิ้นกระแสความแล้ว แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยปัญหาของกฎหมายแล้ว เพื่อมิให้คดีต้องล่าช้า ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยในประเด็นตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยเสียก่อน
โจทก์มิได้ยกเหตุว่าฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ขาดอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ขาดอายุความจึงเป็นการไม่ชอบ
ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองเป็นการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายของจำเลยที่ 2 จากการกระทำละเมิดของพนักงานโจทก์เท่านั้น จำเลยที่ 1 มิได้เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของจำเลยที่ 1 จากโจทก์ด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 มาด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 โดยเห็นว่าฟ้องแย้งขาดอายุความซึ่งไม่ถูกต้องมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10455-10462/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจฟ้องคดีของวัดต้องมีเอกสารถูกต้องตามกฎหมายและปิดอากรแสตมป์ มิฉะนั้นการมอบอำนาจนั้นไม่ชอบ
ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายที่จะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และที่ 10 จะไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้มาในศาลล่าง แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 - และที่ 10 จึงยกขึ้นในชั้นฎีกาได้ การที่โจทก์ซึ่งเป็นวัดผู้ที่มีหน้าที่กระทำการแทนคือเจ้าอาวาส หากเจ้าอาวาสไม่กระทำด้วยตนเอง ต้องการให้บุคคลอื่นกระทำแทน รวมถึงการฟ้องคดีก็ต้องทำเป็นหนังสือมอบอำนาจและต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร เมื่อการมอบอำนาจระหว่างเจ้าอาวาสของโจทก์ที่ตั้งให้ ส. ดำเนินคดีแทนโดยไม่ปิดอากรแสตมป์ การมอบอำนาจจึงไม่ชอบ ส. จึงไม่มีอำนาจมอบอำนาจช่วงให้ จ. เป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7316/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลแจ้งเจ้าหนี้เมื่อลูกหนี้วางเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษา เงินจึงไม่ตกเป็นของแผ่นดินหากยังไม่ได้แจ้ง
เมื่อมีการวางเงินที่ศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องดำเนินการให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบว่ามีเงินที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษานำมาวางที่ศาลเพื่อให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามารับไป เมื่อมีการดำเนินการแจ้งให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบแล้ว หากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่มารับเงินไปภายในห้าปีนับแต่วันที่วางเงิน เงินค้างจ่ายจำนวนดังกล่าวจึงตกเป็นของแผ่นดิน แต่คดีนี้หลังจากจำเลยที่ 3 นำเงินจำนวนดังกล่าวมาวางต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งหรือดำเนินการใด ๆ เพื่อให้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบว่ามีเงินที่จำเลยที่ 3 นำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา เงินที่นำมาวางดังกล่าวจึงยังไม่เป็นเงินที่ค้างจ่ายอยู่ที่ศาลชั้นต้นที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกเอาเสียภายในห้าปีตามมาตรา 323 เงินดังกล่าวจึงยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน และเมื่อโจทก์ทั้งสามได้เรียกเอาแล้ว ศาลชั้นต้นจึงต้องจ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสาม ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3706-3718/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกฟ้องและประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ถูกต้อง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเพื่อให้เป็นธรรม
ข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะหรือไม่นั้นเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานนอกข้อต่อสู้ในคำให้การและนอกประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบหรือมีกฎหมายบังคับให้ต้องแสดง ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยไม่ได้เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 ที่ศาลล่างนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา แม้คดีนี้จะขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาเฉพาะในส่วนฟ้องแย้ง และคดีตามฟ้องเดิมของโจทก์จะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่การที่ศาลล่างวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานนอกข้อต่อสู้ในคำให้การและนอกประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้อันเป็นประเด็นข้อสำคัญในคดีตามฟ้องเดิม ซึ่งมีผลทำให้การวินิจฉัยคดีในส่วนฟ้องแย้งที่ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง จึงเป็นกรณีที่ศาลล่างมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่จะมุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม และเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะไม่ได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาแต่เมื่อความปรากฏแก่ศาลฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องในส่วนของฟ้องเดิมและฟ้องแย้งเสียทั้งหมดแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247 เพราะข้อเท็จจริงตามฟ้องเดิมและฟ้องแย้งเป็นเรื่องเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และขอบเขตความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย
แม้ตามคำฟ้องจะเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 ซึ่งข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัย และผู้ทำละเมิดเกี่ยวข้องกับผู้เอาประกันภัยอย่างไร อันจะทำให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องร่วมรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนถือเป็นสาระสำคัญในเรื่องการบรรยายฟ้องก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าในชั้นยื่นคำให้การ จำเลยที่ 3 ให้การรับว่าได้รับประกันภัยรถยนต์หมายเลขทะเบียน 8 ว-3766 กรุงเทพมหานคร ไว้จริง เพียงแต่ปฏิเสธว่าความเสียหายไม่ได้เกิดจากรถยนต์คันที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยไว้รวมถึงการอ้างเหตุสุดวิสัย ตามคำให้การของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวยังระบุด้วยว่าจำเลยที่ 3 จะเสนอกรมธรรม์ประกันภัยในชั้นพิจารณา แสดงว่าจำเลยที่ 3 ครอบครองกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์หมายเลขทะเบียน 8 ว-3766 กรุงเทพมหานคร ไว้ เมื่อจำเลยที่ 3 ได้รับสำเนาคำฟ้องจากโจทก์ จำเลยที่ 3 จึงสามารถนำกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาตรวจสอบ และสามารถทราบได้ทันทีว่าคดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดในความเสียหายที่นาย ก. ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวก่อขึ้น กรณีจึงหาทำให้จำเลยที่ 3 หลงข้อต่อสู้ไม่ ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เคลือบคลุม
ข้อที่ว่านาย ก. ขับรถยนต์ในขณะอยู่ภายใต้ฤทธิ์สุรายาเมาถึงขนาดไม่สามารถควบคุมรถยนต์ได้หรือไม่ จำเลยที่ 3 มีภาระการพิสูจน์ ทางนำสืบของจำเลยที่ 3 มีเพียงผลการตรวจเลือดนาย ก. ว่า ตรวจพบแอลกอฮอล์ในเลือด 0.183 กรัมเปอร์เซ็นต์ และมีนาย อ. ผู้จัดการศูนย์ปฏิบัติการสินไหมทดแทนของจำเลยที่ 3 เบิกความสนับสนุนว่า ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ใหม่ กรมการประกันภัยกำหนดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดที่จะไม่ต้องรับผิดไว้จำนวน 0.150 กรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่งตามข้อเท็จจริงดังกล่าวยังไม่เพียงพอที่จะให้รับฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุนาย ก. อยู่ภายใต้ฤทธิ์สุรายาเมาถึงขนาดไม่สามารถควบคุมรถยนต์คันที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัย จำเลยที่ 3 จึงหาอาจยกข้อดังกล่าวขึ้นปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ได้ไม่
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ภายหลังเกิดเหตุบริษัท ก. ซึ่งรับประกันภัยความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทางด่วนขั้นที่ 2 ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์จำนวน 464,893 บาท และต่อมาบริษัทดังกล่าวได้ใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 3 โดยมีการตั้งอนุญาโตตุลาการและร้องขอต่อศาลให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการซึ่งจำเลยที่ 3 ได้ชำระให้แก่บริษัทดังกล่าวไปตามคำพิพากษาในคดีอนุญาโตตุลาการแล้วจำนวน 691,190 บาท โดยเป็นต้นเงินจำนวน 499,958 บาท จำเลยที่ 3 ซึ่งรับประกันภัยในความเสียหายต่อทรัพย์สินต่อหนึ่งครั้งเป็นเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท จึงยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์ในต้นเงินเพียง 500,042 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดเท่านั้น ปัญหาข้อนี้จำเลยที่ 3 ย่อมไม่อาจให้การต่อสู้ในคำให้การได้เนื่องจากศาลชั้นต้นในคดีที่ขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีคำพิพากษาในคดีดังกล่าวก่อนที่จะอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีนี้ แต่ปัญหาเรื่องที่คำพิพากษาสองสำนวนในเหตุละเมิดครั้งเดียวกันจะบังคับให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 3 มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1147/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม, อำนาจฟ้อง, ดอกเบี้ย, ค่าธรรมเนียม, เบี้ยปรับ: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นฟ้องไม่ชัดเจน และดอกเบี้ย/ค่าธรรมเนียมไม่ชอบ
การที่ฟ้องจะเคลือบคลุมหรือเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง จะต้องพิจารณาจากคำฟ้องทั้งฉบับ ซึ่งตามคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงอำนาจฟ้องไว้โดยชัดแจ้งแล้ว ส่วนการที่โจทก์ส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยขาดไป 1 หน้านั้น หาทำให้คำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายกลายเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุมแต่อย่างใดเมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำฟ้องมีหน้าไม่ครบถ้วนควรที่จำเลยจะติดต่อขอรับจากศาลหรือขอคัดถ่ายเอกสารจากศาลได้ แต่จำเลยหาได้กระทำไม่ พฤติการณ์ในการต่อสู้คดีของจำเลยจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่สุจริต
การประกอบธุรกิจของโจทก์ที่เป็นธนาคารพาณิชย์อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้กู้ยืมเงินโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตอบแทนจากผู้กู้ซึ่งการเรียกดอกเบี้ยจะต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ซึ่งกำหนดให้โจทก์สามารถเรียกดอกเบี้ยได้จะต้องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แล้วส่งสำเนาประกาศไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงจะมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ ดังนั้น การที่โจทก์คิดค่าธรรมเนียมในการกู้ยืมเงินจากจำเลยอัตราร้อยละ 0.5 ของวงเงินกู้หรือ 1,500 บาท โดยหักจากต้นเงินที่จะจ่ายให้แก่จำเลย จึงเป็นการไม่ชอบ นอกจากนี้ตามประกาศอัตราดอกเบี้ยของโจทก์มิได้มีข้อกำหนดให้เรียกเบี้ยปรับในกรณีชำระล่าช้า การที่โจทก์เรียกเบี้ยปรับในการชำระเงินล่าช้าครั้งละ 500 บาท จึงไม่ชอบเช่นกัน แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ในข้อนี้แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7221/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินยังไม่จดทะเบียน สิทธิยังไม่โอน การครอบครองเป็นเพียงการครอบครองแทนเจ้าของเดิม
คดีนี้โจทก์เบิกความว่า เมื่อทำสัญญาซื้อขายแล้ว อ. ได้ส่งมอบที่ดินกับบ้านพิพาทที่โจทก์ครอบครองอยู่ก่อนแล้วตามสัญญาเช่าให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์และโจทก์ก็ได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าการซื้อขายระหว่างโจทก์กับ อ. มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์และ อ. ทำขึ้นแก่กันโดยกำหนดข้อตกลงให้คู่สัญญาไปจดทะเบียนโอนแก่กันหลังจากทำสัญญาซื้อขาย 5 ปีเศษ ดังนี้ สัญญาซื้อขายที่ทำกันจึงเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขาย และตราบใดที่ยังไม่มีการจดทะเบียนโอน สิทธิครอบครองก็ยังไม่โอนไปยังโจทก์ผู้จะซื้อ และตราบใดที่ยังไม่มีการจดทะเบียนโอน สิทธิครอบครองก็ยังไม่โอนไปยังโจทก์ผู้จะซื้อ แม้จะมีการส่งมอบการครอบครองแต่ อ. ผู้จะขายก็ยังไม่มีเจตนาสละการครอบครอง การครอบครองของโจทก์เป็นเพียงการครอบครองแทน อ. ผู้จะขายเท่านั้น โจทก์ไม่อาจอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นอ้างศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย
เมื่อฟังว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินและบ้านพิพาทไม่ประสงค์ให้โจทก์อยู่และให้โจทก์ออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท การที่โจทก์ยังคงอยู่จึงเป็นการละเมิดทำให้จำเลยเสียหาย โจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5658/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวม-สินสมรส: เพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินเฉพาะส่วนเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม
แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นอ้างว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยสุจริตหรือไม่มาในศาลล่างทั้งสอง แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะเป็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
การพิสูจน์สิทธิความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม จำต้องพิเคราะห์ถึงข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานต่างๆ ที่คู่ความนำสืบต่อศาล เพื่อแสดงถึงสิทธิและการได้มาของโจทก์ว่ามีลำดับความเป็นมาอย่างไร ลำพังบันทึกการแบ่งที่ดินพิพาทซึ่งระบุว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินที่โจทก์กับจำเลยที่ 2 ร่วมกันซื้อมาเพียงฉบับเดียวไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงเพื่อที่จะยืนยันว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เท่านั้น และมิใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ไม่อยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 94 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานมานำสืบพิสูจน์ได้ว่าที่ดินพิพาทโจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมอย่างไร ทั้งโจทก์ก็มิได้ตั้งรูปคดีอ้างสิทธิความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยที่ 2 โดยอาศัยข้อความจากบันทึกดังกล่าวแต่ประการใด
จำเลยที่ 2 ตั้งบริษัท ล. และจำเลยที่ 2 อยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์ในบริเวณที่ตั้งของบริษัทดังกล่าวมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทจนมีบุตรด้วยกันถึงเก้าคนและโจทก์ได้ร่วมช่วยเหลือกิจการของบริษัท ล. แม้โจทก์เป็นภริยานอกสมรสก็ต้องถือว่าที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงเป็นทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน การที่จำเลยที่ 2 มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่เพียงผู้เดียวก็เป็นการกระทำแทนโจทก์เท่านั้น ดังนี้ โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาททั้งสี่แปลง
เมื่อที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงที่จำเลยที่ 2 ได้มาเป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ โจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงครึ่งหนึ่ง ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นของจำเลยที่ 2 และเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาททั้งหมดแก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์เจ้าของกรรมสิทธิ์อีกคนหนึ่งมิได้รู้เห็นยินยอม นิติกรรมการโอนที่ดินดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์รวมในส่วนของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนที่โจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ครึ่งหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5658/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทที่เป็นกรรมสิทธิ์รวม และประเด็นการใช้สิทธิฟ้องคดีโดยสุจริต
แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ยกปัญหาว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยสุจริตหรือไม่ขึ้นอ้างในศาลล่างทั้งสอง แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์กับจำเลยที่ 2 คนละครึ่ง การที่จำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันที่ดินพิพาทในส่วนของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนที่โจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ครึ่งหนึ่งได้
ที่จำเลยทั้งสองอ้างข้อเท็จจริงตามหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัท ล. มาท้ายฎีกานั้น จำเลยทั้งสองเพิ่งกล่าวอ้างขึ้นในชั้นฎีกา เป็นการนำพยานเอกสารเข้าสู่สำนวนความโดยไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 และโจทก์ไม่มีโอกาสซักค้านเกี่ยวกับเอกสารนี้ ข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำยอมโดยการใช้ต่อเนื่อง และการรับโอนสิทธิพร้อมที่ดิน
โจทก์เป็นบุตรของ ท. เมื่อ ท. ถึงแก่กรรม ทรัพย์มรดกของ ท. ย่อมตกทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 ดังนั้น ที่ดินโฉนดเลขที่ 18488 ซึ่งมี ท. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมตกทอดเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ แม้โฉนดที่ดินดังกล่าวยังไม่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อในโฉนดที่ดินจาก ท. มาเป็นชื่อโจทก์ก็ตามโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้
ที่ดินของโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นที่ดินแปลงเดียวกันมาก่อนโดยมีชื่อ ท. บิดาโจทก์ และ ป. บิดาของจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ตามโฉนดเลขที่ 18488 ต่อมาในปี 2529 ได้มีการแบ่งแยกที่ดินเป็นโฉนดเลขที่ 17055 มีชื่อ ป. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ส่วน ท. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 18488 ในส่วนที่เหลือเมื่อแบ่งแยกที่ดินกันแล้วทำให้ที่ดินแปลงของ ท. ไม่มีทางออกสู่สาธารณะ ป. ยินยอมให้ ท. ใช้ทางพิพาทเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ ท. จึงใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะตั้งแต่ปี 2529 และ ท. ถึงแก่กรรม ดังนั้น ท. จึงใช้ทางพิพาทมานานเกินกว่า 10 ปีแล้ว โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ห้ามปรามหรือขัดขวางทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 18488 และเมื่อ ท. ตายที่ดินโฉนดเลขที่ 18488 จึกตกเป็นกรรมสิทธิ์โจทก์ โจทก์จึงรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่และโจทก์ก็ได้ใช้ทางพิพาทตลอดมา ดังนั้น ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 18488
of 18