คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 249 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3290/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้ vs. สัญญากู้ยืมเงิน: การตีความเพื่อการเสียภาษีอากร
ฎีกาของจำเลยที่ยกเหตุผลต่าง ๆ โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์มานั้น ถึงแม้เป็นฎีกาในข้อที่เป็นสาระแก่คดี แต่เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักน่าเชื่อถือดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลย ศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของรองประธานศาลฎีกาซึ่งประธานศาลฎีกามอบหมายมีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ไม่รับวินิจฉัยได้
จำเลยฎีกาข้อกฎหมายว่า เอกสารบันทึกข้อตกลงตามคำฟ้องมีข้อความว่าเป็นการกู้ยืมเงินและอยู่ในรูปสัญญา เมื่อมิได้ปิดอากรแสตมป์จึงรับฟังไม่ได้ตามประมวลรัษฎากรฯ นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง
ข้อความในบันทึกข้อตกลงที่ว่าผู้ให้สัญญายอมรับว่าได้เป็นหนี้ต่อผู้รับสัญญาจริงโดยระบุเท้าความให้เห็นว่าหนี้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีมูลหนี้มาจากการกู้ยืมเงิน จึงเป็นหนังสือรับสภาพหนี้มิใช่สัญญากู้ยืมเงินอันจะเป็นลักษณะแห่งตราสารซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1432/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำพิพากษาศาลอุทธรณ์: ผลกระทบต่อคดีที่ถึงที่สุดแล้ว และข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง
คดีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นอันยุติหรือถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไปแล้ว ตามคำฟ้องปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต่างใช้สิทธิฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์แต่ละคนได้รับ แม้ฟ้องรวมกันมาแต่หนี้ของโจทก์แต่ละคนสามารถแยกออกจากกันได้ หนี้ของโจทก์แต่ละคนจึงไม่ใช่หนี้ร่วมที่ไม่อาจแบ่งแยกจากกันได้ เมื่อโจทก์ที่ 1 อุทธรณ์เพียงผู้เดียวคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงไม่มีผลไปถึงคดีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งถึงที่สุดไปแล้ว กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเสียเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมทางข้อเท็จจริงและผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่จัดสรร
ตึกแถวของจำเลยอยู่บนที่ดินแปลงย่อยที่จัดจำหน่ายรวม 121 คูหา แบ่งแยกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 4858 ซึ่งมีทางเท้าและถนนผ่านตึกหน้าโครงการเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่าจะจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดินทางเท้าและถนนซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 4858 ต้องตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินที่จัดสรรทุกแปลงตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 1 และข้อ 30 โจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 4858 ภารจำยอมตกติดไปยังโจทก์ด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและไม่มีอำนาจห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องกับทางเท้า ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249วรรคสอง
โจทก์เจ้าของภารยทรัพย์ต้องรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตนกับต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์ของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387และมาตรา 1390 โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายจากจำเลยไม่ได้ ส่วนจำเลยเจ้าของสามยทรัพย์มีสิทธิใช้ทางเท้าบนที่ดินพิพาทและกันสาดปูนซึ่งมีสภาพติดกับตึกแถวมาแต่แรก แต่ไม่มีสิทธินำวัสดุผ้าใบกันฝนมาติดตั้งไว้หน้าตึกแถวในภายหลัง เพราะทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ตามมาตรา 1388

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมจากการจัดสรรที่ดิน: สิทธิการใช้ทาง และข้อจำกัดสิทธิเจ้าของที่ดิน
ล. ก่อสร้างตึกแถวหรืออาคารพาณิชย์ ลงบนที่ดินแปลงย่อยซึ่งแบ่งจากที่ดินแปลงใหญ่รวม 121 คูหา เรียงติดต่อกัน การที่ อ. จัดจำหน่ายที่ดินพร้อมตึกแถวตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป โดยมีทางเท้าและถนนผ่านหน้าตึก โครงการ ชี้ให้เห็นว่าเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่าจะจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะจึงถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดิน ดังนั้น ทางเท้าที่ดินพิพาทของโจทก์ ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของจำเลยโดยผลของกฎหมายตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ปัญหานี้ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะ มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลย จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการวินิจฉัยประเด็นครอบครองที่ดินต่อเนื่องจากคดีอาญา และการเป็นเจ้าของส่วนควบ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาในข้อหาร่วมกันบุกรุกเข้าไปปลูกบ้านในที่ดินพิพาท และทำให้เสียทรัพย์โดยตัดฟันต้นสนของโจทก์ที่ปลูกอยู่ในที่ดินดังกล่าวซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทและพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสอง คดีถึงที่สุดแล้ว ส่วนคดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทโดยตรงเป็นประเด็นเดียวกันว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ ในการพิพากษาคดีนี้จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ไม่อาจฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง ดังนั้นเมื่อฟังว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาท ต้นสนที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทย่อมเป็นส่วนควบของที่ดิน โจทก์ย่อมเป็นเจ้าของต้นสนด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองร่วมกันตัดฟันต้นสนของโจทก์เสียหาย จึงต้องร่วมกันใช้ค่าเสียหายให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7141/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตในคดีแพ่ง
พ. มิได้เป็นผู้รับมอบอำนาจช่วงให้ดำเนินคดีแทนโจทก์ แต่ พ. ได้แต่งทนายความให้ดำเนินคดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นเรื่องโจทก์ดำเนินคดีผิดพลาดในเรื่องผู้มีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ โดยความบกพร่องของโจทก์เอง โจทก์จะมาฎีกาโต้แย้งว่าการกระทำผิดกระบวนพิจารณาของตนเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน และขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้โจทก์ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่แก้ไขข้อผิดพลาดของตนเอง ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3294/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของเจ้าของรวม: เจ้าของรวมคนหนึ่งมีสิทธิฟ้องเจ้าของรวมอื่นได้หากมีการขัดขวางสิทธิ
ปัญหาว่าเจ้าของรวมคนอื่น ๆ จะฟ้องขับไล่เจ้าของรวมคนหนึ่งได้หรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง จึงเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ปัญหาข้อนี้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง การที่เจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิขัดต่อสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น เจ้าของรวมคนอื่น ๆ ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1360 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9519/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 กรณีข้อเท็จจริงใหม่ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง
ปัญหาที่โจทก์จะยกขึ้นฎีกาเพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง มีได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น
ฎีกาโจทก์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก แม้โจทก์จะอ้างว่าไม่สามารถยกปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ ก็ไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นในชั้นฎีกาได้ตามมาตรา 249 วรรคสอง ข้อเท็จจริงต้องฟังตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243 (2) ประกอบ มาตรา 247 จึงไม่มีเหตุที่จะต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7115/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องทางการค้า: การซื้อขายสินค้าเพื่อกิจการของลูกหนี้มีอายุความ 5 ปี
โจทก์เป็นบริษัทจำกัด ประกอบกิจการซื้อ ขาย สั่งเข้ามา และส่งออกไป รวมทั้งการซื้อขายในประเทศซึ่ง สินค้าทุกชนิด ซึ่งรวมทั้งเคมีภัณฑ์ทุกชนิด ส่วนจำเลยเป็นบริษัทจำกัด ประกอบกิจการจัดตั้งโรงงานผลิตสี น้ำมันวานิช แลคเกอร์ หมึกพิมพ์ทุกชนิด และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์ที่กล่าวมาแล้ว ทุกชนิดเพื่อจำหน่ายและเพื่อขายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ การที่จำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์ครั้งละมาก ๆ และเป็นเงินจำนวนมากแสดงว่าจำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์ไปเพื่อผลิตสี น้ำมันวานิช แลคเกอร์ หมึกพิมพ์ และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อจำหน่ายและเพื่อขาย มิใช้ซื้อไปเพื่อใช้เป็นการเฉพาะภายในบริษัทจำเลย กรณีย่อมตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้ายที่ว่าเว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมมีกำหนด 5 ปี มิใช่ 2 ปี
ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ซึ่งเป็นการแปลกฎหมายคลาดเคลื่อน จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้ยกปัญหานี้ขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6798/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งจ่ายเช็ค, ความรับผิดส่วนบุคคลกรรมการ, และการกู้ยืมเงินเพื่อหาเสียงเลือกตั้ง
แม้บริษัทจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโดยปรากฏข้อความในรายการเอกสารทะเบียนว่า ป. ผู้ตายเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ป. กับกรรมการอื่นอีก 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันประทับตราของบริษัท จำเลยที่ 1 ลงชื่อผูกพันจำเลยที่ 1 ได้ แต่จำเลยที่ 1 เปิดบัญชีกระแสรายวันกับธนาคารตามเช็ค โดยให้ตัวอย่างลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเฉพาะกรรมการอื่น 4 คน โดยไม่ปรากฏตัวอย่างลายมือชื่อของ ป. ด้วย ป. จึงไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คแทนจำเลยที่ 1 การที่ ป. ร่วมลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทโดยไม่มีอำนาจสั่งจ่ายแทนจำเลยที่ 1 และมิได้ระบุว่ากระทำการแทนจำเลยที่ 1 แล้วนำเช็คพิพาทไปแลกกับเช็คซึ่ง ป. สั่งจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ส่วนตัว ป. จึงต้องร่วมรับผิดตามเช็คพิพาท เป็นการส่วนตัว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900
ป.วิ.พ. มาตรา 97 บัญญัติว่า คู่ความฝ่ายหนึ่งจะอ้างคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพยานของตนหรือจะอ้างตนเอง เป็นพยานก็ได้ การที่โจทก์อ้างจำเลยที่ 2 เบิกความเป็นพยานโจทก์ จึงไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
การที่โจทก์ละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทให้ธนาคารใช้เงินภายในกำหนดเวลา 1 เดือน หรือ 3 เดือน นับแต่วันออกเช็ค ตาม ป.พ.พ. มาตรา 990 วรรคหนึ่ง คงมีผลเพียงทำให้โจทก์สิ้นสิทธิไล่เบี้ยแก่ผู้สลักหลัง และเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายเพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการละเลยไม่ยื่นเช็คนั้น
ความเสียหายเพราะการละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทในการกำหนดตามมาตรา 990 วรรคหนึ่ง เป็นหน้าที่ผู้สั่งจ่ายจะต้องพิสูจน์เพื่อให้พ้นความรับผิด
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 4 ที่ว่า โจทก์ให้ ป. ยืมเงิน 4,500,000 บาท ไปใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการสนับสนุนให้มีการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 มาตรา 15 ที่บัญญัติว่า ผู้สมัครแต่ละคนจะใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งหมดเกิน 1,000,000 บาท ไม่ได้ การกู้ยืมเงินตามเช็คพิพาทจึงตกเป็นโมฆะ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จำเลยที่ 4 ก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา 249 วรรคสอง
โจทก์ให้ ป. ยืมเงิน 4,500,000 บาท ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2539 เป็นการยืมเงินก่อนประกาศ พ.ร.ฎ. ให้มี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประมาณ 6 เดือน และเช็คตามเอกสารหมาย จ.5 ซึ่ง ป. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ก็มีกำหนดสั่งจ่ายในวันที่ 17 เมษายน 2539 ก่อนประกาศ พ.ร.ฎ. ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึง 5 เดือนเศษ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ให้ ป. ยืมเงินเพื่อสนับสนุนให้มีการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 ที่แก้ไขแล้ว การออกเช็คพิพาทแลกกับเช็คตามเอกสารหมาย จ.5 จึงไม่ตกเป็นโมฆะ
of 18