คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 214

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 67 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2574/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีร่วมกัน การยึดทรัพย์สินลูกหนี้ร่วม และสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งว่าหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้บังคับคดีกับจำเลยที่ 4 มีผลให้เจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 4 ได้ จำเลยที่ 4 ย่อมได้รับผลกระทบจากคำสั่งของศาลชั้นต้นด้วย จำเลยที่ 4 จึงมีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ หากไม่ชำระให้บังคับจำนองนำที่ดินของจำเลยที่ 1 ออกขายทอดตลาด หากได้เงินไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้จนครบ จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดที่จะต้องชำระหนี้ทั้งหมดแก่โจทก์ เมื่อโจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 ได้เงินไม่เพียงพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ย่อมสามารถบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 214

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2574/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีร่วมกันของลูกหนี้หลายคน ศาลมีอำนาจบังคับคดีจากทรัพย์สินของลูกหนี้ทุกรายได้
โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่เห็นว่าตามหมายบังคับคดีโจทก์ไม่สามารถยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 หลังการขายทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 ขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการยึดทรัพย์บังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า หมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้มีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายในการบังคับคดีกับจำเลยทั้งสี่ มิใช่เฉพาะกับจำเลยที่ 1 คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมมีผลให้เจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 4 ได้ จำเลยที่ 4 ย่อมได้รับผลกระทบจากคำสั่งของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 4 จึงมีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดที่จะต้องชำระหนี้ทั้งหมดแก่โจทก์ เมื่อโจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 ได้เงินไม่เพียงพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ย่อมสามารถบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 214 เมื่อโจทก์ยื่นคำขอว่า ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินจำเลยไม่ชำระหนี้ ขอให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยเพื่อบังคับตามคำพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้บังคับคดียึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา โดยให้มีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายในการบังคับคดีกับจำเลยทั้งสี่มิใช่เฉพาะกับจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 932/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้บังคับคดีจากทรัพย์สินอื่น แม้มีจำนองเฉพาะบางแปลง
การจำนองเป็นสัญญาเอาทรัพย์สินตราไว้เป็นการประกันหนี้โดยมีหนี้ประธานและจำนองอันเป็นอุปกรณ์ของหนี้นั้น ซึ่งอาจแยกออกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ เจ้าหนี้จึงชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องอย่างหนี้สามัญ คือ บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินทั่วไปของลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 หรือจะบังคับจำนอง คือ ใช้บุริมสิทธิ์บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองตามมาตรา 728 ก็ได้ ทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับว่าในกรณีซึ่งเป็นหนี้จำนองแล้ว ผู้เป็นเจ้าหนี้จะฟ้องร้องบังคับลูกหนี้อย่างหนี้สามัญตามมาตรา 214 ไม่ได้ เป็นแต่เพียงกฎหมายบังคับว่า ในกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิบังคับจำนองสิทธิของโจทก์ย่อมตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 733 เท่านั้น ประกอบกับมาตรา 733 มิได้บังคับว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับจำนองได้แต่ทางเดียว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินได้ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่น ๆ ของจำเลยรวมทั้งทรัพย์ที่จำนองได้ มิใช่โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้แต่เฉพาะที่ดินที่จดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้เงินกู้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2489/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้จำนองและเจ้าหนี้สามัญ การบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองและทรัพย์สินอื่น
จำเลยกู้เงินไปจากโจทก์โดยจำนองทรัพย์สินของตนเป็นประกันการชำระหนี้ สัญญาจำนองมีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองว่า ถ้าโจทก์บังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ เงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใด จำเลยยอมรับผิดใช้เงินที่ยังขาดจำนวนนั้นให้แก่โจทก์จนครบถ้วน โจทก์จึงเป็นทั้งเจ้าหนี้สามัญผู้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินทั่วไปของลูกหนี้และเป็นเจ้าหนี้จำนองผู้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญโดยมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นที่ไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำนองด้วย เมื่อโจทก์ฟ้องโดยใช้สิทธิทั้งสองประการดังกล่าวและมีคำขอท้ายฟ้องว่า ถ้าจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินของจำเลยและทรัพย์สินที่จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินสุทธิมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วน อันเป็นการฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องเต็มตามสิทธิที่โจทก์มีอยู่ ซึ่งแม้ศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีเต็มตามคำขอท้ายฟ้อง แต่การบังคับคดีโจทก์ก็ยังต้องอยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 284 ที่ห้ามมิให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ตามคำพิพากษาและค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ชำระหรือชำระไม่ครบถ้วนให้ยึดทรัพย์สินที่จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาใช้หนี้โจทก์ หากไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาใช้หนี้โจทก์จนครบถ้วน ซึ่งมีผลเป็นการกำหนดขั้นตอนในการบังคับชำระหนี้โดยให้โจทก์ต้องบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อน เมื่อไม่พอจึงจะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของจำเลย อันเป็นการพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิในการบังคับชำระหนี้น้อยกว่าสิทธิที่มีอยู่ ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องมาแล้ว จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2659/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้, การโอนกิจการธนาคาร, สิทธิบังคับหลักประกัน, การตายของลูกหนี้
การโอนกิจการระหว่างโจทก์กับธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) เป็นการโอนตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 ซึ่งบทบัญญัติมาตรา 5 ได้บัญญัติให้เพิ่มข้อความเป็นมาตรา 38 เบญจ โดยในวรรค 4 กล่าวถึงการควบกิจการหรือโอนกิจการธนาคารว่าให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมและภาษีอากรต่าง ๆ เมื่อกฎหมายไม่ได้ระบุว่ายกเว้นอากรประเภทใด จึงต้องแปลว่าเป็นการยกเว้นอากรทุกประเภท ดังนั้นเมื่อโจทก์รับโอนกิจการของธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) โดยอาศัยตามพระราชกำหนดฉบับดังกล่าวหนังสือสัญญาการโอนสินทรัพย์และหนี้สินระหว่างสองธนาคาร จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยซึ่งเป็นทายาทผู้ตายชำระหนี้ บอกกล่าวบังคับจำนองและบอกเลิกสัญญากู้เงินที่ผู้ตายทำไว้มิใช่กรณีที่หนี้เงินกู้ที่ผู้ตายจะต้องรับผิดต่อโจทก์ระงับสิ้นไปการจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์จึงยังไม่ระงับ
โจทก์รับโอนกิจการจากธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) มาเป็นของโจทก์ โจทก์จึงต้องรับโอนทั้งสิทธิและหน้าที่ของธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) เมื่อธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) เจ้าหนี้รู้ถึงการตายของลูกหนี้ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม2539 จึงต้องถือว่าโจทก์ได้รู้แล้วด้วย โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 28 มีนาคม 2543 จึงเกินกำหนด 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความและเป็นเหตุให้หนี้อุปกรณ์คือผู้ค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 ได้ทำไว้ต่อโจทก์หลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วย แต่สัญญากู้เงินมีการจำนองเป็นประกันไว้ด้วย ดังนี้ แม้หนี้สินตามสัญญากู้เงินอันเป็นหนี้ประธานจะขาดอายุความ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ด้วยการรับโอนสิทธิมาจากเจ้าหนี้เดิมย่อมใช้สิทธิบังคับเอาจากทรัพย์สินที่จำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม ประกอบมาตรา 193/27 และคงบังคับได้แต่เฉพาะทรัพย์สินที่จำนองเท่านั้นหาอาจบังคับถึงทรัพย์สินอื่นของผู้ตายได้ด้วยไม่ แม้สัญญาจำนองจะมีข้อความระบุให้เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้มาชำระหนี้ได้ในกรณีที่ทรัพย์สินที่จำนองไม่พอชำระหนี้ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9465/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับจำนำและการใช้สิทธิโดยสุจริต กรณีจำนำหุ้นเป็นประกันหนี้
การจำนำมิได้ผูกพันผู้รับจำนำให้ต้องบังคับจำนำเฉพาะแต่ทางเดียว ผู้รับจำนำอาจใช้สิทธิบังคับผู้จำนำอย่างหนี้สามัญโดยสละบุริมสิทธิที่ผู้รับจำนำมีเหนือทรัพย์สินที่จำนำก็ย่อมทำได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ในสัญญากู้เงินกำหนดว่า หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นไม่ว่างวดใดงวดหนึ่ง จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากยอดเงินต้นที่ค้างชำระอยู่ทั้งหมดในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับการกู้ยืมเงินที่โจทก์ได้มีประกาศตามนัยแห่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นได้ ข้อสัญญาดังกล่าวถือได้ว่าเป็น การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในลักษณะเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงได้ตามที่เห็นสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เช็คและการคิดดอกเบี้ย: ผลกระทบต่อคดีอาญา
หนี้ที่จำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นเป็นมูลหนี้ตามสัญญาซื้อขาย นอกจากโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้แล้ว ยังได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่งขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระเงินตามจำนวนในเช็คพิพาทซึ่งเป็นมูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายพร้อมดอกเบี้ยจากการผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจนถึงวันที่จำเลยทั้งสองชำระเงินเสร็จแก่โจทก์ ดังนั้นในกรณีที่จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินตามมูลหนี้สัญญาซื้อขายเพื่อให้หนี้ที่จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินสิ้นผลผูกพันไปนั้น จำเลยที่ 2 จะต้องชำระเงินตามจำนวนเงินในเช็คพิพาทซึ่งเป็นมูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายพร้อมกับต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทอันถือได้ว่าจำเลยทั้งสองผิดนัดชำระหนี้เงินตามสัญญาซื้อขายจนถึงวันที่จำเลยที่ 2ชำระเงินแก่โจทก์ครบถ้วนสิ้นเชิง ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่งและมาตรา 214 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 นำเงินตามจำนวนในเช็คพิพาทมาวางต่อศาลชั้นต้นในคดีนี้เพื่อชำระหนี้เงินตามเช็ค โดยมิได้ชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามนัยที่ได้วินิจฉัยไว้ หนี้เงินตามสัญญาซื้อขายที่จำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นจึงยังไม่ได้รับการชำระครบถ้วนสิ้นเชิง จึงไม่มีผลให้หนี้ดังกล่าวสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแต่อย่างใด ฉะนั้นจึงถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.พ.มาตรา 39 (3) ยังไม่ได้ แต่เมื่อปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาในคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระดอกเบี้ยของเช็คพิพาทตามคำพิพากษา โดยจำเลยทั้งสองได้นำเงินค่าดอกเบี้ยไปวางต่อศาล และโจทก์ได้รับชำระไปแล้ว หนี้ที่จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คพิพาทดังกล่าวเพื่อใช้เงินจึงสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเลิกกัน และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เช็คและการระงับคดีอาญา การชำระหนี้ต้องครบถ้วนรวมดอกเบี้ยจึงจะระงับความผิดได้
หนี้ที่จำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นเป็นมูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายนอกจากโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้แล้วยังได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่งขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระเงินตามจำนวนในเช็คพิพาทซึ่งเป็นมูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายพร้อมดอกเบี้ยจากการผิดนัดในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจนถึงวันที่จำเลยทั้งสองชำระเงินเสร็จแก่โจทก์ดังนั้นในกรณีที่จำเลยที่2ยอมชำระเงินตามมูลหนี้สัญญาซื้อขายเพื่อให้หนี้ที่จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินสิ้นผลผูกพันไปนั้นจำเลยที่2จะต้องชำระเงินตามจำนวนเงินในเช็คพิพาทซึ่งเป็นมูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายพร้อมกับต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทอันถือได้ว่าจำเลยทั้งสองผิดนัดชำระหนี้เงินตามสัญญาซื้อขายจนถึงวันที่จำเลยที่2ชำระเงินแก่โจทก์ครบถ้วนสิ้นเชิงตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคหนึ่งและมาตรา214ดังนั้นการที่จำเลยที่2นำเงินตามจำนวนในเช็คพิพาทมาวางต่อศาลชั้นต้นในคดีนี้เพื่อชำระหนี้เงินตามเช็คโดยมิได้ชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามนัยที่ได้วินิจฉัยไว้หนี้เงินตามสัญญาซื้อขายที่จำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นจึงยังไม่ได้รับการชำระครบถ้วนสิ้นเชิงจึงไม่มีผลให้หนี้ดังกล่าวสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแต่อย่างใดฉะนั้นจึงถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534มาตรา7สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา39(3)ยังไม่ได้แต่เมื่อปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาในคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระดอกเบี้ยของเช็คพิพาทตามคำพิพากษาโดยจำเลยทั้งสองได้นำเงินค่าดอกเบี้ยไปวางต่อศาลและโจทก์ได้รับชำระไปแล้วหนี้ที่จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คพิพาทดังกล่าวเพื่อใช้เงินจึงสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดคดีจึงเลิกกันและสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เช็คต้องครบดอกเบี้ยตามสัญญาซื้อขายก่อนคดีเลิกตาม พ.ร.บ. เช็ค
หนี้ที่จำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินเป็นมูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายที่จำเลยทั้งสองซื้อถั่วลิสงเคลือบไปจากโจทก์โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาและฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่งให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระเงินตามจำนวนในเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ยจากการผิดนัดในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีด้วยดังนั้นการชำระเงินเพื่อให้หนี้ที่จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินทั้งสิ้นผลผูกพันไปนั้นจะต้องชำระเงินตามจำนวนเงินในเช็คพิพาทซึ่งเป็นมูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายพร้อมกับต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทจนถึงวันที่ชำระเงินแก่โจทก์ครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคหนึ่งและมาตรา214การที่จำเลยที่2นำเงินตามจำนวนในเช็คพิพาทมาวางต่อศาลชั้นต้นในคดีนี้เพื่อชำระหนี้เงินตามเช็คโดยมิได้ชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์หนี้เงินตามสัญญาซื้อขายจึงยังไม่ได้รับการชำระครบถ้วนไม่มีผลให้หนี้ดังกล่าวสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดจะถือว่าคดีเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา7และทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(3)ยังไม่ได้แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยทั้งสองได้ชำระดอกเบี้ยของเช็คพิพาทโดยนำไปวางต่อศาลชั้นต้นและโจทก์ได้รับชำระไปแล้วหนี้ที่จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คพิพาทจึงสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดคดีจึงเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา7สิทธินำคดีอาญามาฟ้องตามเช็คพิพาทย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7547/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมรับผิด: เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินลูกหนี้ร่วมได้ แม้บังคับชำระจากทรัพย์สินจำนองไม่ครบ
คำฟ้องโจทก์ระบุว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1ที่ 4 และที่ 5 อย่างลูกหนี้ร่วม โดยจำเลยที่ 3 ไม่ได้นำทรัพย์สินไปจำนอง ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 4และที่ 5 ดังนี้คำฟ้องและคำพิพากษาที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3เป็นเพียงคำฟ้องและคำพิพากษาในมูลหนี้สามัญมิได้เกี่ยวกับการบังคับจำนอง เมื่อโจทก์ไม่สามารถบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินจำนองของจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ได้ครบถ้วน โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้สามัญของจำเลยที่ 3 ก็ชอบจะบังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาโดยยึดที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 3 ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1ที่ 4 และที่ 5 ได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและไม่มีบทบัญญัติใดที่บัญญัติให้สิทธิของโจทก์ที่จะบังคับชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5ตามคำพิพากษาระงับสิ้นลง จำเลยที่ 3 ไม่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนการยึดที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 3
of 7