พบผลลัพธ์ทั้งหมด 67 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหนี้มรดก: ทายาทผู้รับมรดกมีหน้าที่ชำระหนี้ของกองมรดก แม้จะมีการยกทรัพย์สินให้ก่อนเสียชีวิต
พ.บิดาจำเลยเป็นหนี้กู้ยืมโจทก์ เมื่อ พ.ตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทจะต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ แต่ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกของ พ. ที่ตกทอดได้แก่จำเลย
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดใช้หนี้ดังกล่าว ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดว่า จำเลยเป็นผู้รับมรดกที่นาของ พ.ที่นำมาเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินโจทก์ ให้จำเลยใช้หนี้กู้ยืมแก่โจทก์ตามฟ้องจำเลยจึงเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษามีหน้าที่ต้องชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมขอให้บังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้จำเลยจะอ้างว่ายึดทรัพย์สินของจำเลยไม่ได้ก็แต่ในกรณีที่จำเลยไม่ได้เป็นผู้ที่ได้รับมรดกของ พ.เท่านั้น ดังนั้น แม้ พ.จะยกที่พิพาทอีก 2 แปลง ให้จำเลยก่อนตาย ซึ่งทำให้ไม่เป็นทรัพย์สินในกองมรดกของ พ.ก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธินำยึดที่พิพาทเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้ จำเลยและผู้ร้องที่ 2 ซึ่งเป็นสามีภรรยาและเป็นเจ้าของร่วมกันในที่พิพาทไม่อาจขอให้ปล่อยที่พิพาทได้
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดใช้หนี้ดังกล่าว ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดว่า จำเลยเป็นผู้รับมรดกที่นาของ พ.ที่นำมาเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินโจทก์ ให้จำเลยใช้หนี้กู้ยืมแก่โจทก์ตามฟ้องจำเลยจึงเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษามีหน้าที่ต้องชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมขอให้บังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้จำเลยจะอ้างว่ายึดทรัพย์สินของจำเลยไม่ได้ก็แต่ในกรณีที่จำเลยไม่ได้เป็นผู้ที่ได้รับมรดกของ พ.เท่านั้น ดังนั้น แม้ พ.จะยกที่พิพาทอีก 2 แปลง ให้จำเลยก่อนตาย ซึ่งทำให้ไม่เป็นทรัพย์สินในกองมรดกของ พ.ก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธินำยึดที่พิพาทเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้ จำเลยและผู้ร้องที่ 2 ซึ่งเป็นสามีภรรยาและเป็นเจ้าของร่วมกันในที่พิพาทไม่อาจขอให้ปล่อยที่พิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหนี้มรดก: เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์ที่ทายาทได้รับเป็นมรดกเพื่อชำระหนี้
พ.บิดาจำเลยเป็นหนี้กู้ยืมโจทก์เมื่อพ.ตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทจะต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ แต่ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกของ พ. ที่ตกทอดได้แก่จำเลย โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดใช้หนี้ดังกล่าว ศาลพิพากษาคดี ถึงที่สุดว่า จำเลยเป็นผู้รับมรดกที่นาของ พ. ที่นำมาเป็นหลักประกัน การกู้ยืมเงินโจทก์ ให้จำเลยใช้หนี้กู้ยืมแก่โจทก์ตามฟ้อง จำเลย จึงเป็น ลูกหนี้ตามคำพิพากษามีหน้าที่ต้องชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อ จำเลย ไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมขอให้บังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดี ยึดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้จำเลย จะ อ้างว่า ยึดทรัพย์สินของจำเลยไม่ได้ก็แต่ในกรณีที่จำเลยไม่ได้เป็น ผู้ที่ได้รับมรดกของ พ.เท่านั้นดังนั้นแม้พ. จะยกที่พิพาทอีก 2 แปลง ให้จำเลยก่อนตาย ซึ่งทำให้ไม่เป็นทรัพย์สินในกองมรดก ของ พ.ก็ตามโจทก์ก็มีสิทธินำยึดที่พิพาทเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ ได้จำเลยและผู้ร้องที่ 2 ซึ่งเป็นสามีภรรยาและเป็นเจ้าของ ร่วมกัน ในที่พิพาทไม่อาจขอให้ปล่อยที่พิพาทได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับคดีจำนอง: บังคับได้เฉพาะทรัพย์จำนอง แม้ขายทอดตลาดแล้วยังขาดหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยนำที่ดินมีโฉนดมาจำนองไว้กับโจทก์จำเลยรับเงินไปครบถ้วนในวันทำสัญญาจำนอง ต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยกู้เงินอีกต่อไป โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้และบังคับจำนอง และคำขอบังคับท้ายฟ้องโจทก์ขอว่า หากจำเลยไม่ชำระเงินให้ยึดที่ดินที่จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ แสดงว่าโจทก์ฟ้องบังคับจำนองประสงค์จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์จำนองเท่านั้น โจทก์นำสืบพยานหลักฐานว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยถือหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมด้วย เมื่อสัญญาดังกล่าวไม่มีข้อความว่าหากโจทก์บังคับชำระหนี้เอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ ก็ให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นได้ด้วย ดังนี้ เมื่อโจทก์บังคับคดีเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ได้เงินน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันตามคำพิพากษา โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับคดีจำนอง: การบังคับคดีเอาจากทรัพย์จำนองเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยนำที่ดินมีโฉนดมาจำนองไว้กับโจทก์จำเลยรับเงินไปครบถ้วนในวันทำสัญญาจำนอง ต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยกู้เงินอีกต่อไป โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้และบังคับจำนอง และคำขอบังคับท้ายฟ้อง โจทก์ขอว่า หากจำเลยไม่ชำระเงินให้ยึดที่ดินที่จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์แสดงว่าโจทก์ฟ้องบังคับจำนองประสงค์จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์จำนองเท่านั้น โจทก์นำสืบพยานหลักฐานว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยถือหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมด้วย เมื่อสัญญาดังกล่าวไม่มีข้อความว่าหากโจทก์บังคับชำระหนี้เอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ ก็ให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นได้ด้วย ดังนี้ เมื่อโจทก์บังคับคดีเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ได้เงินน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันตามคำพิพากษา โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้อีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3262/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินทั่วไปหรือทรัพย์จำนองก็ได้ แม้ฟ้องในมูลหนี้เงินกู้ ไม่ใช่บังคับจำนอง
การกู้เงินที่มีจำนองเป็นประกัน เจ้าหนี้อาจใช้สิทธิเรียกร้องอย่างหนี้สามัญโดยบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินทั่วไปของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 214 หรือจะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์ที่นำมาจำนองอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้การจำนองไม่ห้ามเจ้าหนี้ผู้รับจำนองต้องผูกพันที่จะบังคับชำระหนี้เอาเฉพาะทรัพย์สินที่จำนองแต่ทางเดียว
โจทก์ฟ้องจำเลยโดยอาศัยมูลหนี้เดิมคือหนี้ตามสัญญากู้มิได้ฟ้องบังคับโดยอาศัยสัญญาจำนอง ฉะนั้น บทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 ที่ว่าถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดได้เงินสุทธิน้อยกว่าจำนวนที่ค้างชำระกันอยู่ ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินที่ขาด จึงนำมาใช้บังคับเกี่ยวกับคดีนี้ไม่ได้
โจทก์ฟ้องจำเลยโดยอาศัยมูลหนี้เดิมคือหนี้ตามสัญญากู้มิได้ฟ้องบังคับโดยอาศัยสัญญาจำนอง ฉะนั้น บทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 ที่ว่าถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดได้เงินสุทธิน้อยกว่าจำนวนที่ค้างชำระกันอยู่ ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินที่ขาด จึงนำมาใช้บังคับเกี่ยวกับคดีนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2044/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ประธาน-หนี้อุปกรณ์: สิทธิโจทก์เลือกฟ้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญากู้หรือจำนองก็ได้
คำให้การของจำเลยปรากฏชัดว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้กับโจทก์ไว้ในฐานะเป็นหนี้ประธาน ส่วนสัญญาจำนองได้ทำไว้เพียงเพื่อประกันหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ หนี้จำนองจึงเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้จำเลยตามสัญญาจำนอง เมื่อจำเลยรับว่าโจทก์ได้จ่ายเงินให้จำเลยรับไปภายหลังวันทำสัญญากู้เพียง 1 วัน ก็ต้องถือว่าจำเลยได้รับเงินจากโจทก์ไปตามสัญญากู้ สัญญากู้ดังกล่าวจึงบริบูรณ์ตามกฎหมาย
เมื่อหนี้ตามสัญญากู้เป็นหนี้ประธาน และหนี้ตามสัญญาจำนองเป็นหนี้อุปกรณ์หนี้ทั้งสองประเภทจึงอาจแยกเป็นส่วนออกต่างหากจากกันได้ โดยอำนาจแห่งมูลหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเลือกฟ้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญากู้หรือตามสัญญาจำนองก็ได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 มิได้บังคับว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับจำนองได้แต่ทางเดียว
เมื่อหนี้ตามสัญญากู้เป็นหนี้ประธาน และหนี้ตามสัญญาจำนองเป็นหนี้อุปกรณ์หนี้ทั้งสองประเภทจึงอาจแยกเป็นส่วนออกต่างหากจากกันได้ โดยอำนาจแห่งมูลหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเลือกฟ้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญากู้หรือตามสัญญาจำนองก็ได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 มิได้บังคับว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับจำนองได้แต่ทางเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2044/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ประธาน-หนี้อุปกรณ์: โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับชำระหนี้ได้ทั้งสัญญากู้และจำนอง
คำให้การของจำเลยปรากฏชัดว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้กับโจทก์ไว้ในฐานะเป็นหนี้ประธาน ส่วนสัญญาจำนองได้ทำไว้เพียงเพื่อประกันหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ หนี้จำนองจึงเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้จำเลยตามสัญญาจำนองเมื่อจำเลยรับว่าโจทก์ได้จ่ายเงินให้จำเลยรับไปภายหลังวันทำสัญญากู้เพียง 1 วัน ก็ต้องถือว่าจำเลยได้รับเงินจากโจทก์ไปตามสัญญากู้ สัญญากู้ดังกล่าวจึงบริบูรณ์ตามกฎหมาย
เมื่อหนี้ตามสัญญากู้เป็นหนี้ประธาน และหนี้ตามสัญญาจำนองเป็นหนี้อุปกรณ์หนี้ทั้งสองประเภทจึงอาจแยกเป็นส่วนออกต่างหากจากกันได้ โดยอำนาจแห่งมูลหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเลือกฟ้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญากู้หรือตามสัญญาจำนองก็ได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733มิได้บังคับว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับจำนองได้แต่ทางเดียว
เมื่อหนี้ตามสัญญากู้เป็นหนี้ประธาน และหนี้ตามสัญญาจำนองเป็นหนี้อุปกรณ์หนี้ทั้งสองประเภทจึงอาจแยกเป็นส่วนออกต่างหากจากกันได้ โดยอำนาจแห่งมูลหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเลือกฟ้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญากู้หรือตามสัญญาจำนองก็ได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733มิได้บังคับว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับจำนองได้แต่ทางเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2195/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าหนี้บุริมสิทธิในการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ แม้บังคับชำระจากทรัพย์สินที่จดจำนองแล้วยังไม่พอ
จำเลยซื้อที่ดินของโจทก์ แต่ยังมิได้ชำระราคาที่ดินทั้งหมดในวันจดทะเบียนโอนที่ดินที่ซื้อขายกันโจทก์จำเลยได้จดทะเบียนราคาที่ดินส่วนที่ยังค้างชำระเป็นหนี้บุริมสิทธิเหนือที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ค่าที่ดินที่จำเลยยังค้างชำระ อันทำให้โจทก์มีบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เหนือที่ดินนั้น เพื่อเอาชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ซึ่งหากได้ไม่พอชำระหนี้ โจทก์ก็มีสิทธิจะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยจนสิ้นเชิงได้ หามีบทบัญญัติอื่นใดที่จะตัดทอนอำนาจของโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ไม่ แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 289 จะได้บัญญัติว่า'ว่าถึงผลแห่งบุริมสิทธินอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 281ถึง 288 นี้แล้ว ท่านให้นำบทบัญญัติทั้งหลายแห่งลักษณะจำนองมาใช้บังคับด้วยตามแต่กรณี' ก็ตาม ก็มีความหมายแต่เพียงว่าให้นำมาใช้เท่าที่ไม่ขัดต่อบทในลักษณะบุริมสิทธิ ซึ่งให้สิทธิแก่โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะเอาชำระหนี้จากอสังหาริมทรัพย์นั้นก่อนเจ้าหนี้อื่นเท่านั้น เหตุดังกล่าวจึงนำบทบัญญัติมาตรา 733 มาใช้บังคับแก่คดีไม่ได้ ดังนั้น หากยึดที่ดินที่จดทะเบียนบุริมสิทธิขายทอดตลาดยังไม่พอชำระหนี้มาตรา273,276 ห้ามเพียงมิให้โจทก์บังคับบุริมสิทธิเอาแก่ทรัพย์สินอย่างอื่นนอกจากที่ดินที่จดทะเบียนบุริมสิทธิตามฟ้องเท่านั้น แต่มิได้ห้ามโจทก์ในอันที่จะยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยมาชำระหนี้จนกว่าจะครบอย่างเจ้าหนี้สามัญศาลย่อมพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิยึดทรัพย์สินอื่นมาชำระหนี้จนกว่าจะครบได้(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2523)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2195/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าหนี้บุริมสิทธิในการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ แม้มีการจดทะเบียนบุริมสิทธิไว้แล้ว
จำเลยซื้อที่ดินของโจทก์ แต่ยังมิได้ชำระราคาที่ดินทั้งหมดในวันจดทะเบียนโอนที่ดินที่ซื้อขายกัน โจทก์จำเลยได้จดทะเบียนราคาที่ดินส่วนที่ยังค้างชำระเป็นหนี้บุริมสิทธิเหนือที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ค่าที่ดินที่จำเลยยังค้างชำระ อันทำให้โจทก์มีบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เหนือที่ดินนั้น เพื่อเอาชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นๆ ซึ่งหากได้ไม่พอชำระหนี้ โจทก์ก็มีสิทธิจะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยจนสิ้นเชิงได้ หามีบทบัญญัติอื่นใดที่จะตัดทอนอำนาจของโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ไม่ แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 289 จะได้บัญญัติว่า "ว่าถึงผลแห่งบุริมสิทธินอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 281 ถึง 288 นี้แล้วท่านให้นำบทบัญญัติทั้งหลายแห่งลักษณะจำนองมาใช้บังคับด้วยตามแต่กรณี" ก็ตาม ก็มีความหมายแต่เพียงว่าให้นำมาใช้เท่าที่ไม่ขัดกับต่อบทในลักษณะบุริมสิทธิ ซึ่งให้สิทธิแก่โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะเอาชำระหนี้จากอสังหาริมทรัพย์นั้นก่อนเจ้าหนี้อื่นเท่านั้น เหตุดังกล่าวจึงนำบทบัญญัติมาตรา 733 มาใช้บังคับแก่คดีไม่ได้ ดังนั้น หากยึดที่ดินที่จดทะเบียนบุริมสิทธิขายทอดตลาดยังไม่พอชำระหนี้ มาตรา 273, 276 ห้ามเพียงมิให้โจทก์บังคับบุริมสิทธิเอาแก่ทรัพย์สินอย่างอื่นนอกจากที่ดินที่จดทะเบียนบุริมสิทธิตามฟ้องเท่านั้นแต่มิได้ห้ามโจทก์ในอันที่จะยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยมาชำระหนี้จนกว่าจะครบอย่างเจ้าหนี้สามัญ ศาลย่อมพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิยึดทรัพย์สินอื่นมาชำระหนี้จนกว่าจะครบได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2523)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2003/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองแยกจากหนี้ได้ เจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องได้ทั้งทางหนี้สามัญและบังคับจำนอง ไม่ถือเป็นการหลีกเลี่ยงกฎหมาย
การจำนองเป็นสัญญาเอาทรัพย์สินตราไว้เป็นการประกันหนี้ โดยหนี้ที่จะพึงต้องชำระแก่กันอันเป็นหนี้ประธาน และจำนองอันเป็นหนี้อุปกรณ์ของหนี้นั้น ซึ่งอาจแยกหนี้ที่จะต้องชำระแก่กัน และการจำนองออกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ เจ้าหนี้จึงชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องอย่างหนี้สามัญ หรือจะบังคับจำนองอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนย่อมทำได้ ไม่เป็นการหลีกเลี่ยงกฎหมายเรื่องจำนองหรือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต