คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 851

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 168 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1280/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความในคดีความผิดส่วนตัว ทำให้สิทธิฟ้องระงับตามกฎหมาย
มูลกรณีในคดีอาญา โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่ง และโจทก์จำเลยได้ทำความตกลงกันไว้โดยชัดแจ้งตามหลักฐานเอกสารว่า ทั้งสองฝ่ายยินยอมจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญากันอีกต่อไป ดังนี้ เป็นการยอมความแก่กันแล้วในความผิดต่อส่วนตัว สิทธินำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในคดีอาญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1280/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความในคดีอาญา: ผลกระทบต่อสิทธิในการฟ้องร้อง
มูลกรณีในคดีอาญา โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่ง และโจทก์จำเลยได้ทำความตกลงกันไว้โดยชัดแจ้งตามหลักฐานเอกสารว่า ทั้งสองฝ่ายยินยอมจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญากันอีกต่อไป ดังนี้ เป็นการยอมความแก่กันแล้วในความผิดต่อส่วนตัว สิทธินำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39(2) โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในคดีอาญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: อำนาจฟ้องร่วม และผลผูกพันต่อเจ้าหนี้แต่ละราย
โจทก์หลายคนฟ้องจำเลยโดยอาศัยหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยทำให้โจทก์ในฉบับเดียวรวมกัน มิได้แยกการชำระหนี้ไว้ต่างหากจากกัน ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ว่าจำเลยยอมชำระเงินให้โจทก์ทุกคนรวม 6,664 บาท แม้มูลหนี้ เดิมของโจทก์แต่ละคนจะเป็นหนี้คนละราย คนละจำนวน ไม่ใช่เจ้าหนี้ร่วมก็ดี แต่โดยที่ผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ถือได้ว่า จำเลยได้ยอมรับว่า ได้เป็นหนี้โจทก์แต่ละคนแล้ว โจทก์ทุกคนจึงมีอำนาจเข้าชื่อร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในสำนวนเดียวกันได้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีว่า จำเลยยอมชำระหนี้ให้โจทก์ รวม 22 คน เป็นกรณีที่เกิดจากการที่โจทก์บางคนได้ร้องทุกข์กล่าวหาในคดีอาญาว่า จำเลยฉ้อโกง แม้โจทก์ที่ไปร้องทุกข์นั้นจะไม่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์คนอื่นให้ทำสัญญายอมนั้น ก็ตาม ในการดำเนินคดีแพ่งตามสัญญายอมนั้น โจทก์ไม่จำต้องอาศัยคำร้องทุกข์ในคดีอาญานั้นเลย เมื่อจำเลยทำหนังสือสัญญายอมไว้ว่า จำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามรายชื่อรวม 22 คน จำเลยก็ต้องรับผิดต่อบุคคลแล้วนั้น ตามสัญญานั้น แม้ว่าเจ้าหนี้บางคนจะมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญายอมดังกล่าว เจ้าหนี้บางคนเช่นว่านั้น ก็มีอำนาจฟ้องความตามสัญญานั้นได้ ไม่เกี่ยวกับว่าเจ้าหนี้ทั้ง 22 คน จะต้องมอบฉันทะให้ผู้หนึ่งผู้ใด ทำสัญญายอมดังกล่าว กับจำเลยด้วยหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องร่วมกันจากสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้เป็นหนี้รายบุคคล และการรับผิดจากสัญญาแม้ไม่ได้ลงชื่อ
โจทก์หลายคนฟ้องจำเลยโดยอาศัยหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยทำให้โจทก์ในฉบับเดียวรวมกัน มิได้แยกการชำระหนี้ไว้ต่างหากจากกัน ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นว่าจำเลยยอมชำระเงินให้โจทก์ทุกคนรวม 6,664 บาท แม้มูลหนี้เดิมของโจทก์แต่ละคนจะเป็นหนี้คนละราย คนละจำนวนไม่ใช่เจ้าหนี้ร่วมก็ดี แต่โดยที่ผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ถือได้ว่า จำเลยได้ยอมรับว่าได้เป็นหนี้โจทก์แต่ละคนแล้ว โจทก์ทุกคนจึงมีอำนาจเข้าชื่อร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในสำนวนเดียวกันได้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีว่า จำเลยยอมชำระหนี้ให้โจทก์รวม 22 คน เป็นกรณีที่เกิดจากการที่โจทก์บางคนได้ร้องทุกข์กล่าวหาในคดีอาญาว่า จำเลยฉ้อโกง แม้โจทก์ที่ไปร้องทุกข์นั้น จะไม่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์คนอื่นให้ทำสัญญายอมนั้นก็ตาม ในการดำเนินคดีแพ่งตามสัญญายอมนั้น โจทก์ไม่จำต้องอาศัยคำร้องทุกข์ในคดีอาญานั้นเลย เมื่อจำเลยทำหนังสือสัญญายอมไว้ว่า จำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามรายชื่อรวม 22 คน จำเลยก็ต้องรับผิดต่อบุคคลเหล่านั้นตามสัญญานั้น แม้ว่าเจ้าหนี้บางคนจะมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญายอมดังกล่าว เจ้าหนี้บางคนเช่นว่านั้น ก็มีอำนาจฟ้องความตามสัญญานั้นได้ ไม่เกี่ยวกับว่าเจ้าหนี้ทั้ง 22 คน จะต้องมอบฉันทะให้ผู้หนึ่งผู้ใดทำสัญญายอมดังกล่าว กับจำเลยด้วยหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงประนีประนอมและการฟ้องขับไล่: จำเลยโต้แย้งสิทธิในที่ดินภายหลังยอมรับข้อตกลงไม่ได้
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมกันที่อำเภอว่าจำเลยยอมออกจากที่พิพาท เมื่อจำเลยไม่ยอมออก โจทก์จึงฟ้องขับไล่
จำเลยจะเถียงว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณะ โจทก์มีกรรมสิทธิ์ไม่ได้ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมและการฟ้องขับไล่: จำเลยอ้างที่สาธารณะไม่ได้เมื่อเคยยอมคืนที่ดิน
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมกันที่อำเภอว่าจำเลยยอมออกจากที่พิพาท เมื่อจำเลยไม่ยอมออก โจทก์จึงฟ้องขับไล่ จำเลยจะเถียงว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณะ โจทก์มีกรรมสิทธิ์ไม่ได้ ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1655/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความยุติคดีอาญา: ผลผูกพันและอำนาจฟ้องของอัยการ
อัยการโจทก์และผู้เสียหายโจทก์ร่วมฟ้องจำเลยบุกรุกขอให้ลงโทษตาม ก.ม.อาญา ม.327
ปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาว่าจำเลยตกลงยอมขยับรั้วเข้ามาตามแนวที่ศาลชี้ ทนายโจทก์ร่วมและผู้รับมอบฉันทะจากผู้เสียหาย (โจทก์ร่วม) ให้ทำการประนีประนอมยอมความได้ ได้ยอมรับข้อตกลงนี้และแถลงว่าจะได้ถอนฟ้องให้เสร็จไป ดังนี้ถือว่าทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันเข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. ม.850,851,852
เมื่อจำเลยได้ปฏิบัติตามยอมแล้วคดีก็ระงับไปตาม ป.วิ.อาญา ม.39 (2) การที่โจทก์ร่วมว่าจะถอนฟ้องเมื่อจำเลยปฏิบัติแล้วนั้น ก็มีความหมายเพียงเพื่อให้ศาลจำหนายคดีเสร็จไปตามวิธีปฏิบัติของศาลทั้งจะถอนหรือไม่ถอนก็มีผลไม่ต่างกันและอัยการไม่มีสิทธิจะดำเนินคดีต่อไปได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1655/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับข้อพิพาทด้วยการประนีประนอมยอมความและการสิ้นสุดคดีอาญา
อัยการโจทก์และผู้เสียหายโจทก์ร่วมฟ้องว่าจำเลยบุกรุกขอให้ลงโทษตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 327
ปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาว่าจำเลยตกลงยอมขยับรั้วเข้ามาตามแนวที่ศาลชี้ ทนายโจทก์ร่วมและผู้รับมอบฉันทะจากผู้เสียหาย(โจทก์ร่วม)ให้ทำการประนีประนอมยอมความได้ ได้ยอมรับข้อตกลงนี้และแถลงว่าจะได้ถอนฟ้องให้เสร็จไป ดังนี้ถือว่าทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน เข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850,851,852
เมื่อจำเลยได้ปฏิบัติตามยอมแล้วคดีก็ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) การที่โจทก์ร่วมว่าจะถอนฟ้องเมื่อจำเลยปฏิบัติแล้วนั้น ก็มีความหมายเพียงเพื่อให้ศาลจำหน่ายคดีเสร็จไปตามวิธีปฏิบัติของศาล ทั้งจะถอนหรือไม่ถอนก็มีผลไม่ต่างกันและอัยการไม่มีสิทธิจะดำเนินคดีต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีมรดก 1 ปี และผลของการไม่ถือครองแทน
ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี
โจทก์ฟ้องเรียกมรดกโดยฐานเป็นทายาท บรรยายฟ้องว่าที่ไม่ฟ้องภายในกำหนดอายุความมรดก 1 ปี เพราะจำเลยมาสู่ขอบุตรสาวโจทก์ โจทก์ยินยอมและตกลงกันว่าเมื่อแต่งงานกันแล้วก็จะได้ใส่ชื่อจำเลยและบุตรสาวโจทก์ โจทก์ถือว่าจำเลยครอบครองมรดกแทนโจทก์และเป็นสัญญากองทุนในการสมรสชอบที่จะบังคับได้ พฤติการณ์เช่นนี้ไม่เป็นการครอบครองแทนและโจทก์มิได้ฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญา หากฟ้องขอแบ่งมรดก คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีมรดก 1 ปี และการครอบครองแทน/สัญญากองทุนสมรสที่ไม่ทำให้ขาดอายุความ
ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี
โจทก์ฟ้องเรียกมรดกโดยฐานเป็นทายาท บรรยายฟ้องว่าที่ไม่ฟ้องภายในกำหนดอายุความมรดก 1 ปี เพราะจำเลยมาสู่ขอบุตรสาวโจทก์ โจทก์ยินยอมและตกลงกันว่าเมื่อแต่งงานกันแล้วก็จะได้ใส่ชื่อจำเลยและบุตรสาวโจทก์ โจทก์ถือว่าจำเลยครอบครองมรดกแทนโจทก์และเป็นสัญญากองทุนในการสมรสชอบที่จะบังคับได้ พฤติการณ์เช่นนี้ไม่เป็นการครอบครองแทนและโจทก์มิได้ฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญา หากฟ้องขอแบ่งมรดก คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
of 17