คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 851

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 168 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7849/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน จำเลยต้องปฏิบัติตาม แม้ไม่ได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์
ประเด็นข้อพิพาทเกิดจากประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องของโจทก์ซึ่งจำเลยให้การโต้แย้ง แต่ประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องที่จำเลยมิได้ให้การโต้แย้งไว้หรือยอมรับก็ไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องนำสืบ ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะหยิบยกประเด็นแห่งคดีที่ไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทมาวินิจฉัยได้ และเมื่อเห็นว่าพิจารณาประเด็นแห่งคดีแล้วสามารถพิพากษาคดีได้ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นพิพาทข้อใดก็ได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.2 ข้อความว่า โจทก์และจำเลยพร้อมกันจะไปยังสำนักงานที่ดินจังหวัดลพบุรี ในวันที่ 16 กันยายน 2537 เวลา 10 นาฬิกา และตกลงกันว่าถ้าดำเนินการรังวัดตาม ส.ค.1 แล้ว ที่ดินโดยการครอบครองของโจทก์อยู่ใน ส.ค.1 จำนวนเท่าใด ก็ให้เป็นของโจทก์จำนวนเท่านั้น จำเลยให้การเกี่ยวกับเอกสารหมาย จ. 2 เพียงว่า เอกสารหมาย จ.2 ไม่ปรากฏข้อตกลงว่าให้ร่วมกันร้องขอออกโฉนดที่ดินแต่อย่างใด ถือว่าจำเลยมิได้โต้แย้งปฏิเสธว่ามิได้ทำบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.2 จึงฟังได้ว่าจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.2 จริง เมื่อบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.2 เป็นสัญญาซึ่งคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาท ซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน อันเป็นการประนีประนอมยอมความตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 850 ซึ่งได้มีหลักฐานเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีตามสัญญาได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 851 จำเลยย่อมต้องปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8744/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: สละสิทธิเรียกร้องและระงับข้อพิพาทสัญญาซื้อขาย
บันทึกฉบับพิพาทมีข้อความว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ได้รับต้นฉบับหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารคืนไปจากจำเลยเป็นการเรียบร้อยแล้ว และห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องอย่างใด ๆ ในทุก ๆ กรณี เอาจากจำเลยทั้งสิ้น โดยหุ้นส่วนผู้จัดการ/ผู้แทนตามกฎหมายของห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ลงชื่อพร้อมทั้งประทับตราโจทก์ไว้ บันทึกดังกล่าวทำขึ้นหลังจากจำเลยชำระเงินค่าซื้อขายแพขนานยนต์จำนวน 3 ลำ ให้แก่โจทก์โดยหักเงินค่าปรับตามสัญญาออกแล้วแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์โดยชัดแจ้งว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องเรื่องเงินค่าปรับและค่าเสียหายจากจำเลยในทุกกรณี อันมีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายแพขนานยนต์ซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 850, 851 และ 852ย่อมมีผลผูกพันโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8744/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้จะสละสิทธิเรียกร้องในอนาคต
บันทึกฉบับพิพาทมีข้อความว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ได้รับต้นฉบับหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารคืนไปจากจำเลยเป็นการเรียบร้อยแล้ว และห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องอย่างใด ๆ ในทุก ๆ กรณี เอาจากจำเลยทั้งสิ้น โดยหุ้นส่วนผู้จัดการผู้แทนตามกฎหมายของห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ลงชื่อพร้อมทั้งประทับตราโจทก์ไว้บันทึกดังกล่าวทำขึ้นหลังจากจำเลยชำระเงินค่าซื้อขายแพขนานยนต์จำนวน 3 ลำ ให้แก่โจทก์โดยหักเงินค่าปรับตามสัญญาออกแล้วแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์โดยชัดแจ้งว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องเรื่องเงินค่าปรับและค่าเสียหายจากจำเลยในทุกกรณี อันมีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายแพขนานยนต์ซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850,851, และ 852 ย่อมมีผลผูกพันโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7228/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, การนำสืบหลักฐานนอกคำให้การ, และสัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่สมบูรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดการงานศพแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 49,000 บาทและให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงินคนละ 240,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะค่าขาดไร้อุปการะเป็นว่า ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าขาด ไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงินคนละ 120,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ยกฟ้องทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกา สำหรับจำเลยที่ 2 กับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า เหตุเกิดจากความประมาทของผู้ตายเพียงฝ่ายเดียว หรือผู้ตายมีส่วนประมาทด้วย และโจทก์เรียกค่า ขาดไร้อุปการะสูงเกินจริง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีเป็นประเด็นพิพาทว่าได้มีการตกลงระงับข้อพิพาทกันแล้ว โดยอ้างข้อตกลงระหว่าง โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เป็นสำคัญเพียงฉบับเดียว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 นำสืบอ้าง ว่ามีการตกลงระงับข้อพิพาทกันตามสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับ คดีเพิ่มเติมในชั้นสืบพยานจำเลยจึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การ ทั้งเอกสารฉบับนี้ไม่ได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้ในบัญชีระบุพยาน ของจำเลยที่ 2 ด้วย จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์เป็นฝ่ายได้รับ ความเสียหายจากมูลละเมิด จึงเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฉะนั้น จำเลยทั้งสองจึงอยู่ในฐานะเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด แต่กลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2ไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวกรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 850,851 สัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ จึงเป็นสัญญาที่ไม่ชอบ จำเลยที่ 2 จะอ้างเอาสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7228/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกา, การนำสืบพยานนอกคำให้การ, และความไม่ชอบของสัญญาประนีประนอมยอมความ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดการงานศพแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 49,000 บาท และให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงินคนละ 240,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะค่าขาดไร้อุปการะเป็นว่า ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงินคนละ 120,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ยกฟ้องทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกา สำหรับจำเลยที่ 2 กับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000บาท ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่งจำเลยที่ 2 ฎีกาว่า เหตุเกิดจากความประมาทของผู้ตายเพียงฝ่ายเดียว หรือผู้ตายมีส่วนประมาทด้วย และโจทก์เรียกค่าขาดไร้อุปการะสูงเกินจริง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีเป็นประเด็นพิพาทว่า ได้มีการตกลงระงับข้อพิพาทกันแล้ว โดยอ้างข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสำคัญเพียงฉบับเดียว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2นำสืบอ้างว่ามีการตกลงระงับข้อพิพาทกันตามสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเพิ่มเติมในชั้นสืบพยานจำเลยจึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การ ทั้งเอกสารฉบับนี้ไม่ได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้ในบัญชีระบุพยานของจำเลยที่ 2 ด้วย จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตามป.วิ.พ.มาตรา 87
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์เป็นฝ่ายได้รับความเสียหายจากมูลละเมิด จึงเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฉะนั้น จำเลยทั้งสองจึงอยู่ในฐานะเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด แต่กลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และ ที่ 2ไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 850, 851 สัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ จึงเป็นสัญญาที่ไม่ชอบ จำเลยที่ 2 จะอ้างเอาสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7051/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญา, ความเสียหายจากการผิดสัญญาเช่า, และขอบเขตอำนาจศาลในการบังคับคดี
แม้ในสัญญาตกลงระงับข้อพิพาท ข้อ 1 ระบุว่า "...ผู้ให้สัญญา(จำเลย) ยินยอมให้ผู้รับสัญญา (โจทก์) ขนย้ายทรัพย์สินทั้งหมดออกไปจากห้องเช่าให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2531 โดยผู้ให้สัญญาได้ให้ค่าตอบแทนในการขนย้ายให้กับผู้รับสัญญาเป็นเงินจำนวน 400,000 บาท ในวันที่ทำสัญญานี้ โดยมอบให้จ.เป็นผู้เก็บรักษาไว้และจะมอบให้ผู้รับสัญญาเมื่อได้ส่งมอบห้องเช่าทั้งสามห้องคืนให้ผู้ให้สัญญาแล้ว" ก็ตาม แต่ในข้อ 5 ระบุว่า "คู่สัญญาตกลงดำเนินการตามข้อตกลงนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2531 หากพ้นกำหนดนี้ให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิก" แสดงว่าข้อตกลงเกี่ยวกับเวลาตามข้อ 1 ไม่ใช่ข้อตกลงเด็ดขาด คงเป็นข้อตกลงในหลักการเบื้องต้นเท่านั้น แต่ข้อตกลงในข้อ 5 เป็นข้อตกลงที่เด็ดขาดว่าคู่สัญญาจะดำเนินการตามข้อตกลงนี้ทั้งหมดให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2531หากพ้นกำหนดนี้จึงให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิก ดังนั้น โจทก์ย่อมนำสืบได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของสัญญาจากข้อ 1 จนถึงข้อ 5 แล้ว ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องและไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาตกลงระงับข้อพิพาท
โจทก์ประกอบกิจการค้าขายเฟอร์นิเจอร์ มุก ตุ๊กตาจีน และแจกันลายคราม การที่โจทก์ได้ติดต่อซื้อรถสามล้อเครื่องจำนวน 50 คัน จากบริษัทว.โดยได้วางเงินมัดจำไว้ 2,500,000 บาท ซึ่งเป็นกิจการที่ไม่อยู่ในกิจการค้าขายของโจทก์ แม้โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ไม่ได้รับอนุมัติวงเงินกู้จากธนาคารทำให้โจทก์ไม่สามารถชำระเงินให้ผู้ขายรถสามล้อเครื่องจนผู้ขายริบมัดจำและทำให้โจทก์ขาดรายได้จากการให้เช่ารถสามล้อเครื่องก็ตาม กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น และไม่ใช่ค่าเสียหายอันเกิดเแก่พฤติการณ์พิเศษที่จำเลยผู้ให้เช่าได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 222 จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในค่าเสียหายตามที่โจทก์อ้าง
แม้ตามฟ้องของโจทก์จะเรียกร้องมาเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ถูกริบมัดจำและขาดประโยชน์ที่จะได้จากการให้เช่ารถสามล้อเครื่อง ไม่ได้เรียกร้องเป็นค่าเสียหายฐานผิดสัญญาในความเสียหายที่ไม่ได้รับประโยชน์จากทรัพย์ที่ถูกยึดก็ตาม แต่เมื่อตามคำฟ้องโจทก์กล่าวด้วยว่าการกระทำดังกล่าวของจำเลยทั้งสองตามคำฟ้องทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินและตึกแถว กล่าวคือโจทก์ต้องสูญเสียความเชื่อถือจากธนาคารโดยไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารตามที่โจทก์ต้องการได้ ดังนี้พอถือได้ว่า โจทก์ได้เรียกค่าเสียหายจากจำเลยเพราะจำเลยทั้งสองยึดที่ดินและตึกแถวของโจทก์ ทำให้โจทก์ใช้ประโยชน์จากทรัพย์ดังกล่าวไม่ได้ ซึ่งค่าเสียหายนี้ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยใช้แก่โจทก์ตามที่เห็นสมควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 222
ส่วนที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันจัดการถอนการยึดทรัพย์ที่จำเลยนำยึดโดยให้จำเลยเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมในการถอนการยึดทรัพย์หากจำเลยไม่ยอมถอนการยึดให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยนั้นเมื่อการบังคับคดีดังกล่าวเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลในคดีเดิม ดังนี้โจทก์จึงไม่มีอำนาจขอในคดีนี้ให้บังคับจำเลยร่วมกันถอนการยึดทรัพย์ที่จำเลยนำยึดในคดีดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7051/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการยึดทรัพย์และการสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ ศาลพิจารณาตามหลักประมาทเล negligence และกำหนดค่าเสียหายตามสมควร
แม้ในสัญญาตกลงระงับข้อพิพาท ข้อ 1 ระบุว่า "...ผู้ให้สัญญา (จำเลย) ยินยอมให้ผู้รับสัญญา (โจทก์) ขนย้ายทรัพย์สินทั้งหมดออกไปจากห้องเช่าให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2531 โดยผู้ให้สัญญาได้ให้ค่าตอบแทนในการขนย้ายให้กับผู้รับสัญญาเป็นเงินจำนวน 400,000 บาท ในวันที่ทำสัญญานี้ โดยมอบให้ จ. เป็นผู้เก็บรักษาไว้และจะมอบให้ผู้รับสัญญาเมื่อได้ส่งมอบห้องเช่าทั้งสามห้องคืนให้ผู้ให้สัญญาแล้ว"ก็ตาม แต่ในข้อ 5 ระบุว่า "คู่สัญญาตกลงดำเนินการตามข้อตกลงนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2531 หากพ้นกำหนดนี้ให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิก" แสดงว่าข้อตกลงเกี่ยวกับเวลาตามข้อ 1 ไม่ใช่ข้อตกลงเด็ดขาด คงเป็นข้อตกลงในหลักการเบื้องต้นเท่านั้น แต่ข้อตกลงในข้อ 5 เป็นข้อตกลงที่เด็ดขาดว่าคู่สัญญาจะดำเนินการตามข้อตกลงนี้ทั้งหมดให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2531 หากพ้นกำหนดนี้จึงให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิก ดังนั้น โจทก์ย่อมนำสืบได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของสัญญาจากข้อ 1 จนถึงข้อ 5 แล้ว ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องและไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาตกลงระงับข้อพิพาท
โจทก์ประกอบกิจการค้าขายเฟอร์นิเจอร์ มุกตุ๊กตาจีนและแจกันลายคราม การที่โจทก์ได้ติดต่อซื้อรถสามล้อเครื่องจำนวน 50 คัน จากบริษัท ว. โดยได้วางเงินมัดจำไว้2,500,000 บาท ซึ่งเป็นกิจการที่ไม่อยู่ในกิจการค้าขายของโจทก์ แม้โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ไม่ได้รับอนุมัติวงเงินกู้จากธนาคารทำให้โจทก์ไม่สามารถชำระเงินให้ผู้ขายรถสามล้อเครื่องจนผู้ขายริบมัดจำและทำให้โจทก์ขาดรายได้จากการให้เช่ารถสามล้อเครื่องก็ตามกรณีถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น และไม่ใช่ค่าเสียหายอันเกิดแก่พฤติการณ์พิเศษที่จำเลยผู้ให้เช่าได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในค่าเสียหายตามที่โจทก์อ้าง
แม้ตามฟ้องของโจทก์จะเรียกร้องมาเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ถูกริบมัดจำและขาดประโยชน์ที่จะได้จากการให้เช่ารถสามล้อเครื่อง ไม่ได้เรียกร้องเป็นค่าเสียหายฐานผิดสัญญาในความเสียหายที่ไม่ได้รับประโยชน์จากทรัพย์ที่ถูกยึดก็ตาม แต่เมื่อตามคำฟ้องโจทก์กล่าวด้วยว่าการกระทำดังกล่าวของจำเลยทั้งสองตามคำฟ้องทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินและตึกแถว กล่าวคือโจทก์ต้องสูญเสียความเชื่อถือจากธนาคารโดยไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารตามที่โจทก์ต้องการได้ ดังนี้พอถือได้ว่า โจทก์ได้เรียกค่าเสียหายจากจำเลยเพราะจำเลยทั้งสองยึดที่ดินและตึกแถวของโจทก์ ทำให้โจทก์ใช้ประโยชน์จากทรัพย์ดังกล่าวไม่ได้ ซึ่งค่าเสียหายนี้ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยใช้แก่โจทก์ตามที่เห็นสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222
ส่วนที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันจัดการถอนการยึดทรัพย์ที่จำเลยนำยึดโดยให้จำเลยเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมในการถอนการยึดทรัพย์หากจำเลยไม่ยอมถอนการยึดให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยนั้นเมื่อการบังคับคดีดังกล่าวเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลในคดีเดิม ดังนี้โจทก์จึงไม่มีอำนาจขอในคดีนี้ให้บังคับจำเลยร่วมกันถอนการยึดทรัพย์ที่จำเลยนำยึดในคดีดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7051/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการยึดทรัพย์และการสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ ศาลกำหนดค่าเสียหายตามความเหมาะสม
แม้ในสัญญาตกลงระงับข้อพิพาท ข้อ 1 ระบุว่า "...ผู้ให้สัญญา (จำเลย) ยินยอมให้ผู้รับสัญญา (โจทก์) ขนย้ายทรัพย์สินทั้งหมดออกไปจากห้องเช่าให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2531 โดยผู้ให้สัญญาได้ให้ค่าตอบแทนในการขนย้ายให้กับผู้รับสัญญาเป็นเงินจำนวน 400,000 บาท ในวันที่ทำสัญญานี้ โดยมอบให้ จ. เป็นผู้เก็บรักษาไว้และจะมอบให้ผู้รับสัญญาเมื่อได้ส่งมอบห้องเช่าทั้งสามห้องคืนให้ผู้ให้สัญญาแล้ว"ก็ตาม แต่ในข้อ 5 ระบุว่า "คู่สัญญาตกลงดำเนินการตามข้อตกลงนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2531 หากพ้นกำหนดนี้ให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิก" แสดงว่าข้อตกลงเกี่ยวกับเวลาตามข้อ 1 ไม่ใช่ข้อตกลงเด็ดขาด คงเป็นข้อตกลงในหลักการเบื้องต้นเท่านั้น แต่ข้อตกลงในข้อ 5 เป็นข้อตกลงที่เด็ดขาดว่าคู่สัญญาจะดำเนินการตามข้อตกลงนี้ทั้งหมดให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2531 หากพ้นกำหนดนี้จึงให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิก ดังนั้น โจทก์ย่อมนำสืบได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของสัญญาจากข้อ 1 จนถึงข้อ 5 แล้ว ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องและไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาตกลงระงับข้อพิพาท
โจทก์ประกอบกิจการค้าขายเฟอร์นิเจอร์ มุกตุ๊กตาจีนและแจกันลายคราม การที่โจทก์ได้ติดต่อซื้อรถสามล้อเครื่องจำนวน 50 คัน จากบริษัท ว. โดยได้วางเงินมัดจำไว้2,500,000 บาท ซึ่งเป็นกิจการที่ไม่อยู่ในกิจการค้าขายของโจทก์ แม้โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ไม่ได้รับอนุมัติวงเงินกู้จากธนาคารทำให้โจทก์ไม่สามารถชำระเงินให้ผู้ขายรถสามล้อเครื่องจนผู้ขายริบมัดจำและทำให้โจทก์ขาดรายได้จากการให้เช่ารถสามล้อเครื่องก็ตามกรณีถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น และไม่ใช่ค่าเสียหายอันเกิดแก่พฤติการณ์พิเศษที่จำเลยผู้ให้เช่าได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในค่าเสียหายตามที่โจทก์อ้าง
แม้ตามฟ้องของโจทก์จะเรียกร้องมาเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ถูกริบมัดจำและขาดประโยชน์ที่จะได้จากการให้เช่ารถสามล้อเครื่อง ไม่ได้เรียกร้องเป็นค่าเสียหายฐานผิดสัญญาในความเสียหายที่ไม่ได้รับประโยชน์จากทรัพย์ที่ถูกยึดก็ตาม แต่เมื่อตามคำฟ้องโจทก์กล่าวด้วยว่าการกระทำดังกล่าวของจำเลยทั้งสองตามคำฟ้องทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินและตึกแถว กล่าวคือโจทก์ต้องสูญเสียความเชื่อถือจากธนาคารโดยไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารตามที่โจทก์ต้องการได้ ดังนี้พอถือได้ว่า โจทก์ได้เรียกค่าเสียหายจากจำเลยเพราะจำเลยทั้งสองยึดที่ดินและตึกแถวของโจทก์ ทำให้โจทก์ใช้ประโยชน์จากทรัพย์ดังกล่าวไม่ได้ ซึ่งค่าเสียหายนี้ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยใช้แก่โจทก์ตามที่เห็นสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222
ส่วนที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันจัดการถอนการยึดทรัพย์ที่จำเลยนำยึดโดยให้จำเลยเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมในการถอนการยึดทรัพย์หากจำเลยไม่ยอมถอนการยึดให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยนั้นเมื่อการบังคับคดีดังกล่าวเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลในคดีเดิม ดังนี้โจทก์จึงไม่มีอำนาจขอในคดีนี้ให้บังคับจำเลยร่วมกันถอนการยึดทรัพย์ที่จำเลยนำยึดในคดีดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3450/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความสมบูรณ์เมื่อทนายความใช้ดุลพินิจและลงลายมือชื่อแทนจำเลย ย่อมบังคับได้ตามกฎหมาย
ใบแต่งทนายความระบุให้ทนายความของจำเลยที่ 1 และที่ 5ทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนจำเลยที่ 1 และที่ 5 ได้ ดังนั้น ทนายความดังกล่าวจึงมีดุลพินิจเต็มที่ว่าข้อความที่จะตกลงกับโจทก์นั้นเหมาะสมหรือไม่ ถ้าเห็นว่าจะเสียเปรียบหรือไม่เหมาะสมก็มีอำนาจที่ไม่ยอมตกลงและต่อรองได้ คดีนี้ได้มีการเจรจาและเลื่อนคดีมาก่อนแล้ว ต่อมาจึงได้มาตกลงทำสัญญาประนีประนอมกันโดยฝ่ายจำเลยที่ 1 และที่ 5 มีทนายจำเลยที่ 1 และที่ 5 ลงลายมือชื่อแทนจำเลยที่ 1และที่ 5 แสดงว่าทนายจำเลยที่ 1 และที่ 5 ได้ใช้ดุลพินิจไตร่ตรองแล้วจึงตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ และสัญญาประนีประนอมยอมความได้ทำไว้โดยมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลงลายมือชื่อตัวแทนเป็นสำคัญ เมื่อทนายจำเลยที่ 1 และที่ 5 ลงลายมือชื่อแทนจำเลยที่ 1 และที่ 5 ซึ่งจะต้องรับผิดใช้เงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ สัญญาดังกล่าวจึงสมบูรณ์และฟ้องร้องบังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 850 และ 851ทั้งไม่ปรากฏว่าเมื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้ว โจทก์ประพฤติผิดสัญญาข้อใด และสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ก็ไม่ขัดต่อสิทธิของจำเลยอื่น ซึ่งมิได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย ส่วนจำเลยที่ 3 ก็เป็นผู้ที่ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความไว้ด้วยแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 จะขอยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 5ที่อ้างว่าเคยเจรจากับกรรมการบริหารของโจทก์ว่าจะลดดอกเบี้ยให้ แต่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความมาคิดดอกเบี้ย ทำนองว่าทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ตรงตามข้อตกลงหรือประนีประนอมยอมความ เป็นเพียงเหตุก่อนการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่เมื่อในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความฝ่ายจำเลยที่ 1 และที่ 5 ได้ยอมตกลงจ่ายดอกเบี้ยด้วย โดยมีโอกาสใช้ดุลพินิจเต็มที่แล้วจึงตกลงเช่นนี้ จำเลยที่ 1 และที่ 5 ไม่อาจขอยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความได้ และเมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลชั้นต้นก็ต้องพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1060/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอม, การจดทะเบียน, สัญญาประนีประนอม, การบังคับคดี, ความเสียหาย
โจทก์ทั้งสามใช้ทางภาระจำยอมได้เพียงบางส่วนเฉพาะส่วนที่เข้าออกที่ดิน อันเป็นที่ตั้งโรงงานของโจทก์ทั้งสามเป็นประตูกว้างประมาณ 9 เมตรสู่ที่ดินถนนภาระจำยอมของจำเลย ส่วนประตูเข้าออกในที่ดินของโจทก์ที่ 2 และที่ 3ฝั่งตรงข้ามโรงงานที่ติดกับที่ดินของจำเลยซึ่งเคยเว้นช่องเข้าออกไว้ประมาณ 9 เมตรเช่นกัน จำเลยได้ก่อกำแพงสูง 2 เมตรปิดกั้น โดยเว้นช่องทางเข้าออกไว้เพียง1 เมตร เท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้ยืนยันว่าไม่สามารถเข้าไปใช้ที่ดินของโจทก์ทั้งสามได้เพียงแต่ไม่สะดวกเท่านั้น ซึ่งจำเลยก็ได้เปิดทางเป็นถนนให้โจทก์ทั้งสามเข้าออกโรงงานของโจทก์ทั้งสามแล้ว และที่ดินฝั่งตรงข้ามโรงงานก็เป็นที่ว่าง แม้จำเลยจะก่อรั้วขึ้นมาดังกล่าว แต่ก็มิได้กีดขวางทางเข้าออกสู่ถนนพิพาทเพราะยังเหลือที่ว่างเปล่าอีกมากซึ่งโจทก์ทั้งสามสามารถเข้าออกสู่ถนนพิพาทได้ โจทก์ทั้งสามจึงไม่ได้รับความเสียหาย
คดีนี้จำเลยได้ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตนในอันที่จะจดทะเบียนภาระจำยอมให้โจทก์ทั้งสามตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ได้ทำไว้ โจทก์ทั้งสามย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนภาระจำยอมตามสัญญาประนีประนอม-ยอมความนั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 แต่เมื่อปรากฏว่าภายหลังโจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยแล้ว จำเลยได้จดทะเบียนโอนที่ดินซึ่งเป็นถนนพิพาทคดีนี้ให้แก่ ก.แล้ว จำเลยจึงมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงดังกล่าวอีกต่อไป และไม่อยู่ในฐานะจะไปจดทะเบียนภาระจำยอมให้โจทก์ทั้งสามตามคำขอท้ายฟ้องได้ต่อไป เพราะสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องที่จะบังคับให้จำเลยทำเช่นนั้นได้ การกระทำของจำเลยดังกล่าวแม้หากจะฟังว่าทำให้โจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหาย แต่โจทก์ทั้งสามมิได้ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายสำหรับกรณีนี้มาด้วย จึงไม่อาจวินิจฉัยให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ และชอบที่จะให้โจทก์ทั้งสามจะไปว่ากล่าวเป็นคดีใหม่
of 17