คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 851

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 168 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2127/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นผลระงับสิทธิเรียกร้องเดิม โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกคืนการให้
ภายหลังจากโจทก์ยกที่ดินให้แก่จำเลยแล้ว ต่อมาโจทก์จำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับที่ดินและทรัพย์สินที่โจทก์ยกให้แก่จำเลยดังกล่าวรวมทั้งที่ดินพิพาทต่อหน้า พ.ผู้ใหญ่บ้านมีใจความว่า ที่ดินและทรัพย์สินที่ยกให้แก่จำเลยและเป็นชื่อของจำเลยแล้วนั้น ที่ดินที่เป็นที่สำหรับเพาะปลูก 1 แปลง จำเลยยอมยกให้ศ.และค. ส่วนที่ดินสำหรับอยู่อาศัยและสำหรับเพราะปลูกอีกอย่างละแปลงรวม2 แปลง จำเลยยอมโอนคืนให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ยอมยกยุ้งข้าว1 หลังให้แก่จำเลย ซึ่งบันทึกดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาที่โจทก์และจำเลยตกลงระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นเกี่ยวกับที่ดินและทรัพย์สินที่โจทก์ยกให้แก่จำเลยดังกล่าวนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 850,851 การเรียกร้องที่โจทก์จำเลยได้ ยอมสละนั้นจึงระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน ตามมาตรา 852 โจทก์จำเลยจึงไม่มีความผูกพันต่อกันตามสัญญาให้ที่โจทก์ยกที่ดินและทรัพย์สินรวมทั้งที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยอีกต่อไป เมื่อไม่มีการให้ที่จะเรียกถอนคืนการให้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกถอนคืนการให้ที่ดินพิพาทดังกล่าวจากจำเลย และเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบมาตรา 246,247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2127/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ระงับสิทธิเรียกร้องเดิม, สิทธิใหม่ตามสัญญา, ไม่มีอำนาจถอนคืนการให้
ภายหลังจากโจทก์ยกที่ดินให้แก่จำเลยแล้ว ต่อมาโจทก์จำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับที่ดินและทรัพย์สินที่โจทก์ยกให้แก่จำเลยดังกล่าวรวมทั้งที่ดินพิพาทต่อหน้า พ.ผู้ใหญ่บ้านมีใจความว่า ที่ดินและทรัพย์สินที่ยกให้แก่จำเลยและเป็นชื่อของจำเลยแล้วนั้น ที่ดินที่เป็นที่สำหรับเพาะปลูก 1 แปลง จำเลยยอมยกให้ศ.และ ค. ส่วนที่ดินสำหรับอยู่อาศัยและสำหรับเพาะปลูกอีกอย่างละแปลงรวม2 แปลง จำเลยยอมโอนคืนให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ยอมยกยุ้งข้าว 1 หลังให้แก่จำเลย ซึ่งบันทึกดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาที่โจทก์และจำเลยตกลงระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นเกี่ยวกับที่ดินและทรัพย์สินที่โจทก์ยกให้แก่จำเลยดังกล่าวนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 850, 851 การเรียกร้องที่โจทก์จำเลยได้ยอมสละนั้นจึงระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน ตามมาตรา 852 โจทก์จำเลยจึงไม่มีความผูกพันต่อกันตามสัญญาให้ที่โจทก์ยกที่ดินและทรัพย์สินรวมทั้งที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยอีกต่อไป เมื่อไม่มีการให้ที่จะเรียกถอนคืนการให้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกถอนคืนการให้ที่ดินพิพาทดังกล่าวจากจำเลย และเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพัน-ข้อยกเว้น & การรับช่วงสิทธิ
พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับจำเลยและ ว. ฐานขับรถยนต์โดยประมาท และบันทึกข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายที่จำเลยและ ว. ตกลงกันว่าต่างคนต่างซ่อมรถเองไว้ในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันโดยการสละสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่จะพึงมีต่อกัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและเป็นผลให้มูลละเมิดซึ่งมีอยู่ระงับสิ้นไป
เจ้าของรถที่ ว. ขับยินยอมให้ ว. แสดงออกว่าเป็นตัวแทนในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ เจ้าของรถนั้นจึงต้องผูกพันและรับเอาผลของการที่ ว. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยมาเป็นของตน จะอ้างว่าการตั้งว. เป็นตัวแทนไม่ได้ทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 798 ไม่ได้
หลังจาก ว. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยแล้วเจ้าของรถที่ ว. ขับกับจำเลยไปตกลงกันใหม่ในเรื่องค่าเสียหายต่อหน้าพนักงานสอบสวนว่า คู่กรณีขอไปทำความตกลงกันเอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าของรถที่ ว. ขับนำไปเป็นหลักฐานแสดงต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยเพื่อให้โจทก์รับผิดตามสัญญาประกันภัย ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับแก่จำเลยและเจ้าของรถที่ ว. ขับและไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำไว้ก่อนแล้ว
เมื่อมูลหนี้อันเกิดจากการละเมิดระงับไปโดยสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว แม้โจทก์ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เจ้าของรถที่เอาประกันภัยไปก็ไม่อาจเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6854/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่มีราคาพิพาทต่ำกว่าเกณฑ์ และสัญญาประนีประนอมยอมความ
ที่พิพาทมีราคา 30,000 บาท คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะยื่นฎีกา ฎีกาจำเลยทุกข้อล้วนแล้วเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นกล่าวอ้างทั้งสิ้น จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่จำเลยได้ชำระเงินตามเช็คที่จำเลยได้สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้งวดแรกตามข้อตกลงในหนังสือรับสภาพหนี้จนครบถ้วน โดยมิได้ยกเหตุแห่งการถูกหลอกลวงให้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ขึ้นมาต่อสู้ย่อมแสดงให้เห็นว่าโจทก์ที่ 1 มิได้หลอกลวงให้จำเลยทำเอกสารดังกล่าวแต่อย่างใด ข้อกล่าวอ้างและการนำสืบของจำเลยที่ว่าถูกหลอกลวงให้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ จึงเป็นการกล่าวอ้างและนำสืบลอย ๆ ไม่มีน้ำหนักรับฟังได้ เมื่อโจทก์ที่ 1 และจำเลยทำหนังสือมีข้อความว่าจำเลยยอมรับว่าได้เป็นหนี้โจทก์ที่ 1 จริงและตกลงชำระหนี้ดังกล่าวเป็นงวด ๆ จนครบ หากผิดนัดให้ฟ้องร้องบังคับคดีได้ทันทีข้อตกลงดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 851 แล้ว จำเลยมิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์ที่ 1 นำดอกเบี้ยจำนวนใดที่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดมารวมไว้ในจำนวนหนี้ในหนังสือรับสภาพหนี้ ศาลจะฟังว่าดอกเบี้ยที่มีรวมอยู่เป็นโมฆะซึ่งจำเลยไม่ต้องรับผิดในส่วนที่เป็นดอกเบี้ยต่อโจทก์ที่ 1 ไม่ได้ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ให้โจทก์ที่ 1ตามหนังสือรับสภาพหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5544/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินและการสันนิษฐานเรื่องส่วนแบ่งเมื่อสารบัญจดทะเบียนไม่ได้ระบุ
โจทก์และจำเลยทั้งหกทำบันทึกข้อตกลงขอรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต่อเจ้าพนักงานที่ดินโดยโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4แบ่งแยกที่ดินออกไป และโจทก์ยอมรับส่วนที่เหลือจากการแบ่งแยกโดยยอมรับว่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการแบ่งแยกเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์ จำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 6 เช่นนี้ การรังวัดแบ่งแยกที่ดินย่อมผูกพันโจทก์ โจทก์ จำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 6 ย่อมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินส่วนที่เหลือ เมื่อสารบัญจดทะเบียนมิได้ระบุเนื้อที่ดินส่วนของโจทก์ไว้เป็นพิเศษ จึงต้องสันนิษฐานว่าโจทก์ จำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 6 มีส่วนคนละเท่ากัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4289/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การถอนผู้จัดการมรดกและการตั้งผู้จัดการมรดกใหม่
สัญญาประนีประนอมยอมความจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 851ซึ่งรวมถึงการต่อสู้คดีด้วย เมื่อจำเลยสู้ว่ามีสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือจึงรับฟังไม่ได้ ไม่ว่าจะมีการปฏิบัติตามสัญญาแล้วหรือไม่ก็ตาม การที่จำเลยโอนทรัพย์มรดกเป็นของตน เป็นการละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ และมีพฤติการณ์แสดงว่าจะจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายไปในทางที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทายาทของผู้ตายเป็นเหตุสมควรจะถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 และเมื่อโจทก์เป็นบุคคลไม่ต้องห้ามเป็นผู้จัดการมรดกตามกฎหมาย ก็สมควรตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแทนจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4289/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกโดยผู้จัดการที่ละเลยหน้าที่และโอนทรัพย์สินโดยมิชอบ ทายาทมีสิทธิขอถอนผู้จัดการและแบ่งมรดก
จำเลยอ้างว่ามีสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือจึงรับฟังตามข้อต่อสู้ไม่ได้ เพราะ ป.พ.พ. มาตรา 851หมายความรวมถึงการต่อสู้คดีด้วยไม่ว่าจะมีการปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้วหรือไม่ก็ตาม จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้โอนมรดกเป็นของตนเอง เป็นการละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ และมีพฤติการณ์แสดงว่าจะจัดการมรดกไปในทางที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทายาท อันมีเหตุที่จะถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการตามมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 โจทก์ในฐานะทายาทจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิฟ้องขอให้ถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5455/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่ผู้แทนทำแทนผู้เยาว์โดยไม่ขออนุญาตศาล มีผลผูกพันผู้เยาว์หรือไม่
สัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมทำแทนจำเลยที่ 3 ผู้เยาว์ในศาล โดยมิได้ขออนุญาตจากศาลตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 ก่อน แต่เป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจอนุญาตให้ผู้แทนโดยชอบธรรมทำแทนผู้เยาว์และศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาตามยอมมีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ผู้เยาว์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5455/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความผู้เยาว์: ผลผูกพันตามคำพิพากษาตามยอม แม้มิได้ขออนุญาตศาล
สัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมทำแทนจำเลยที่ 3 ผู้เยาว์ในศาล โดยมิได้ขออนุญาตจากศาลตามป.พ.พ. มาตรา 1574 ก่อน แต่เป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจอนุญาตให้ผู้แทนโดยชอบธรรมทำแทนผู้เยาว์และศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาตามยอมมีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ผู้เยาว์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 600/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงระงับข้อพิพาทจากการทำละเมิดและหนี้เงินจากแชร์ ไม่เป็นหนังสือ ไม่อาจบังคับได้, สิทธิคิดดอกเบี้ย
การที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นนายวงแชร์ตกลงกับจำเลยที่ 1 และ น. ให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกวงเปียแชร์นำเงินไปชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการที่โจทก์ที่ 2 ทำละเมิดต่อ น. โดยโจทก์ทั้งสองรับจะเป็นผู้ส่งเงินแชร์วงดังกล่าว และแชร์วงอื่นอีกแทนจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกวงด้วยนั้น ข้อตกลงเช่นนี้เป็นการระงับข้อพิพาทเกี่ยวกันค่าเสียหายที่โจทก์ที่ 2 ทำละเมิดต่อ น. เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมื่อชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด กรณีย่อมไม่อาจบังคับตามข้อตกลงดังกล่าวได้ หนี้เงินแชร์อันเกิดจากการที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นนายวงแชร์ได้ออกแทนจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกวงไปนั้นเป็นหนี้เงิน โจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด.
of 17