คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 851

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 168 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1189-1193/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ และการทำสัญญาแทนผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล
สัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นจึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ ดังนั้น การตั้งตัวแทนเพื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 วรรคสองจึงจะมีผลผูกพันตัวการ
บิดาของผู้เยาว์ถูกทำละเมิดถึงแก่ความตาย ผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรต้องเสียค่าทำศพไป จึงมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิด ถือว่าผู้เยาว์ได้มาซึ่งทรัพย์สินอย่างหนึ่ง หากมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องทำสัญญาแทนผู้เยาว์ผู้ใช้อำนาจปกครองก็จะต้องขออนุญาตศาลก่อน เพราะเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของเด็ก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การเสนอ-สนองที่ไม่สมบูรณ์และการไกล่เกลี่ยที่ไม่ผูกพัน
ประธานอนุกรรมการช่วยเหลือชาวนาชาวไร่เรียกจำเลยทั้งสองมาฝ่ายเดียว ไกล่เกลี่ยให้ขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองว่าถ้าโจทก์จะซื้อจำเป็นต้องขายในราคา 40 ,000 บาท จึงได้ทำบันทึกไว้ ต่อมาอีกสามวันประธานอนุกรรมการฯได้เรียกโจทก์ฝ่ายเดียวมาไกล่เกลี่ย โจทก์ตกลงซื้อที่พิพาทในราคา 40 ,000 บาท จึงได้ทำบันทึกไว้อีก บันทึกดังกล่าวทำขึ้นคนละคราว ผู้บันทึกได้ทำบันทึกในฐานะเป็นประธานอนุกรรมการฯ ไม่ใช่เป็นคู่สัญญาในฐานะตัวแทนของโจทก์หรือจำเลย ข้อตกลงตามบันทึกเอกสารฉบับแรก มิใช่คำเสนอต่อโจทก์ ข้อตกลงตามบันทึกเอกสารฉบับหลังมิใช่คำสนอง หากเป็นเพียงคำเสนอ เมื่อจำเลยไม่ยอมขาย คำเสนอของโจทก์ก็ไม่มีการสนองรับ จึงยังไม่เกิดสัญญาขึ้นอันจะบังคับเอาแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การเสนอ-สนองที่ไม่สมบูรณ์ และบทบาทเจ้าหน้าที่ไกล่เกลี่ย
ประธานอนุกรรมการช่วยเหลือชาวนาชาวไร่เรียกจำเลยทั้งสองมาฝ่ายเดียวไกล่เกลี่ยให้ขายที่พิพาทให้แก่โจทก์จำเลยทั้งสองว่าถ้าโจทก์จะซื้อจำเป็นต้องขายในราคา 40,000 บาท จึงได้ทำบันทึกไว้ ต่อมาอีกสามวันประธานอนุกรรมการฯ ได้เรียกโจทก์ฝ่ายเดียวมาไกล่เกลี่ยโจทก์ตกลงซื้อที่พิพาทในราคา 40,000 บาท จึงได้ทำบันทึกไว้อีกบันทึกดังกล่าวทำขึ้นคนละคราว ผู้บันทึกได้ทำบันทึกในฐานะเป็นประธานอนุกรรมการฯ ไม่ใช่เป็นคู่สัญญาในฐานะตัวแทนของโจทก์หรือจำเลย ข้อตกลงตามบันทึกเอกสารฉบับแรกมิใช่คำเสนอต่อโจทก์ข้อตกลงตามบันทึกเอกสารฉบับหลังมิใช่คำสนอง หากเป็นเพียงคำเสนอเมื่อจำเลยไม่ยอมขาย คำเสนอของโจทก์ก็ไม่มีการสนองรับ จึงยังไม่เกิดสัญญาขึ้นอันจะบังคับเอาแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินโดยไม่แจ้งการซื้อขาย และหน้าที่การนำสืบของผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนโจทก์ทั้งแปลงจำเลยให้การว่าจำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวแทนโจทก์เพียงครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งเป็นของจำเลย เมื่อจำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินดังกล่าว ย่อมต้องด้วยข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 โจทก์จึงต้องมีหน้าที่นำสืบก่อน
ที่จำเลยให้การว่า โจทก์จำเลยตกลงแบ่งที่ดินตามโฉนดกันคนละครึ่งโดยให้ทิศเหนือเป็นของจำเลย ทิศใต้เป็นของโจทก์นั้นแม้ข้อตกลงนี้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือแต่เมื่อโจทก์นำสืบมิได้ตามที่กล่าวอ้างคดีก็จะต้องฟังว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์และจำเลยคนละครึ่งตามที่จำเลยยอมรับดังนั้น จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่า จำเลยจะมีสิทธินำสืบถึงข้อตกลงแบ่งที่ดินดังกล่าวได้หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน - สิทธิครอบครอง - การแบ่งแยกที่ดิน - หลักฐานการซื้อขาย - การนำสืบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนโจทก์ทั้งแปลง จำเลยให้การว่าจำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวแทนโจทก์เพียงครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งเป็นของจำเลย เมื่อจำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินดังกล่าว ย่อมต้องด้วยข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 โจทก์จึงต้องมีหน้าที่นำสืบก่อน
ที่จำเลยให้การว่า โจทก์จำเลยตกลงแบ่งที่ดินตามโฉนดกันคนละครึ่งโดยให้ทิศเหนือเป็นของจำเลย ทิศใต้เป็นของโจทก์นั้น แม้ข้อตกลงนี้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่เมื่อโจทก์นำสืบมิได้ตามที่กล่าวอ้าง คดีก็จะต้องฟังว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์และจำเลยคนละครึ่งตามที่จำเลยยอมรับ ดังนั้น จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่า จำเลยจะมีสิทธินำสืบถึงข้อตกลงแบ่งที่ดินดังกล่าวได้หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 195/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีลายมือชื่อครบถ้วน หากขาดลายมือชื่อของคู่กรณี คำพิพากษาตามสัญญาดังกล่าวก็ไม่ชอบ
สัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 851 เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับได้ทั่วไป ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นสัญญาที่ทำกันเองหรือทำต่อหน้าศาล เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำต่อหน้าศาลในคดีนี้ฝ่ายที่ต้องรับผิดไม่ได้ลงชื่อไว้ ย่อมเป็นสัญญาที่ไม่ชอบคำพิพากษาของศาลชั้นต้นตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่ชอบย่อมเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การมอบอำนาจไม่ชอบทำให้สัญญาไม่มีผลผูกพัน
การทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 851 บัญญัติว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนให้ไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย
ตัวการมอบอำนาจโดยมิได้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือให้ตัวแทนไปตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้ในชั้นพิจารณาตัวการจะได้มาเบิกความว่าให้สัตยาบันรับรองการทำสัญญาดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าตัวการปฏิเสธความรับผิดตลอดมา จึงถือไม่ได้ว่าตัวการได้ให้สัตยาบันสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว
จำเลยที่ 1 ขับรถชนรถของโจทก์โดยประมาท จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างได้มอบอำนาจ โดยมิได้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือให้จำเลยที่ 3 ไปเจรจาตกลงค่าเสียหายกับโจทก์และบันทึกไว้ตามเอกสารหมาย จ.3 แล้วมาเบิกความต่อศาลว่าให้สัตยาบันรับรองการทำสัญญา แม้จะฟังว่าเอกสารดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความแต่การมอบอำนาจไม่ชอบ และตามพฤติการณ์ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ให้สัตยาบัน ย่อมไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความมีผล ความรับผิดในมูลละเมิดของจำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างยังไม่ระงับสิ้นไป โจทก์จึงยังมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมต้องมีพยานลงชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือครบถ้วนจึงมีผลบังคับใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีพยานลงชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือสองคนคู่สัญญาคนหนึ่งมาลงลายพิมพ์นิ้วมือให้ในภายหลังซึ่งพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือที่ได้ลงชื่อเป็นพยานไว้ก่อนไม่รู้เห็นด้วย จึงเป็นลายพิมพ์นิ้วมือที่ไม่มีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคน สัญญาประนีประนอมดังกล่าวไม่เป็นหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 851 ประกอบด้วย มาตรา 9 วรรค 3 จะใช้ฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้แม้เรื่องนี้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมา แต่ก็เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้ เมื่อเห็นสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2293/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีเจ้าของร่วมแบ่งแยกที่ดินก่อนจำเลยซื้อฝาก และจำเลยรู้เห็นยินยอมการแบ่งแยก
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของรวมกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินร่วมกับเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่ง โจทก์ได้ครอบครองที่ดินนั้นเป็นส่วนสัดอยู่ก่อนจำเลยรับซื้อฝากที่ดินจากเจ้าของรวมคนนั้น เมื่อโจทก์กับเจ้าของรวมได้รังวัดเพื่อแบ่งแยกโฉนดไปตามส่วนที่โจทก์ครอบครอง จำเลยก็รู้เห็นยินยอมด้วย ต่อมาจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่รับซื้อฝาก ขอให้บังคับจำเลยแบ่งแยกโฉนดตามที่เจ้าพนักงานรังวัดแบ่งแยกไว้ ดังนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามข้อผูกพันที่จำเลยได้รู้และมีอยู่ก่อนจำเลยรับซื้อฝากที่ดิน หาใช่เรื่องฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาหรือตามเรื่องประนีประนอมยอมความไม่ กรณีเช่นนี้แม้มิได้มีหนังสือระหว่างโจทก์จำเลย โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องได้
การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่าย แล้วพิพากษาคดีไปโดยข้อกฎหมาย เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามมาตรา 227 แม้คู่ความจะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งงดสืบพยานไว้ ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีเงื่อนไข สัญญาต่างตอบแทน การชำระหนี้เป็นเงื่อนไขก่อนบังคับตามสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาแบ่งที่ดินมรดกโดยจำเลยยอมแบ่งให้โจทก์เพื่อไม่ต้องเป็นความกัน ดังนี้ เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ใช่สัญญายกให้โดยเสน่หา
ข้อความในสัญญามีว่าโจทก์จะต้องแบ่งครึ่งหนึ่งของที่ดินที่ได้รับให้แก่บุตรโจทก์ด้วยแล้วลงลายมือชื่อโจทก์ จำเลย พยาน และผู้เขียน แต่โจทก์จำเลยยังตกลงกันอีกด้วยว่า บุตรของโจทก์จะต้องเสียเงิน 2,000 บาทให้แก่จำเลย จำเลยจึงจะโอนที่ดินให้และบอกให้ผู้เขียนสัญญาเขียนข้อตกลงนี้ลงในสัญญาในขณะนั้นเองผู้เขียนจึงเขียนข้อตกลงนี้ไว้ใต้ลายมือชื่อที่ได้ลงกันไว้นั้น แล้วผู้เขียนลงลายมือชื่อกำกับข้อความตอนท้ายนี้ไว้คนเดียว ดังนี้ ก็ต้องถือว่าข้อความตอนท้ายนี้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประนีประนอมยอมความ และสัญญานี้มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนด้วย ตราบใดที่ฝ่ายโจทก์ยังไม่ได้ปฏิบัติการชำระหนี้.โดยให้เงินแก่จำเลย 2,000 บาทโจทก์ก็จะฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ยังไม่ได้
of 17