พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4001/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาจ้างและการไม่มีสิทธิได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเนื่องจากทุจริตต่อหน้าที่
การแสดงเจตนาเลิกสัญญาของโจทก์มีผลแล้วนับแต่วันยื่นหนังสือลาออกต่อจำเลยที่ 1 การอนุมัติให้ลาออกเป็นขั้นตอนและระเบียบปฏิบัติภายในของจำเลยที่ 1 ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงการแสดงเจตนาเลิกสัญญาของโจทก์ แต่การที่สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่สิ้นสมาชิกภาพจะได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์จากเงินสมทบจะต้องเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของกองทุน ซึ่งตามข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสินเพิ่มพูน ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ข้อ 7.7 ระบุว่า "ในกรณีต่อไปนี้สมาชิกไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์จากเงินสมทบ... ทุจริตต่อหน้าที่.." เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังเป็นยุติได้ความว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่ ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์จากเงินสมทบจากจำเลยที่ 2 ตามระเบียบข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสินเพิ่มพูน ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ข้อ 7.7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13145/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนการลาออก การจ่ายค่าคอมมิสชันเกิน และดอกเบี้ย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลแรงงานเท่านั้นเป็นผู้ซักถามพยานของฝ่ายโจทก์หรือของฝ่ายจำเลย หรือพยานที่ศาลแรงงานเรียกมาเอง โจทก์หรือจำเลยไม่มีสิทธิซักถามเว้นแต่ศาลแรงงานจะอนุญาตเท่านั้น และการถามพยานที่ฝ่ายตนอ้างหรืออีกฝ่ายหนึ่งอ้างให้เป็นซักถามทั้งสิ้น การซักถามพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างจึงไม่เป็นการถามค้านไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 117 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ที่บัญญัติให้ฝ่ายที่อ้างพยานซักถามพยานที่ตนอ้างก่อนแล้วจึงให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งถามค้านพยานนั้น และเป็นสิทธิของคู่ความทั้งสองฝ่ายที่จะซักถามและถามค้านพยานได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน และไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 89 วรรคหนึ่ง (2) ที่บัญญัติให้ถามค้านพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างมาและนำพยานนั้นเข้าสืบก่อนถึงข้อความที่ตนจะนำสืบภายหลังมาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการซักถามพยานในศาลแรงงานได้
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสอง ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 386 วรรคสอง ลูกจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างได้โดยแสดงเจตนาแก่นายจ้างและไม่อาจถอนหรือยกเลิกเจตนานั้นได้หมายถึงกรณีที่ลูกจ้างแสดงเจตนาเลิกสัญญาจ้างเพียงฝ่ายเดียวแล้วลูกจ้างขอถอนหรือยกเลิกเจตนาเลิกสัญญาจ้างเท่านั้น ไม่รวมถึงการตกลงหรือยินยอมพร้อมใจของนายจ้างและลูกจ้างในการถอนหรือยกเลิกการแสดงเจตนาของลูกจ้างที่ขอเลิกสัญญาจ้างด้วย เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างและจำเลยผู้เป็นนายจ้างตกลงยกเลิกและยินยอมให้โจทก์ถอนการแสดงเจตนาลาออกของโจทก์ จึงทำให้การลาออกของโจทก์ถูกถอนไปแล้ว
การชำระหนี้ตามอำเภอใจตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 หมายถึงการชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่ต้องชำระ การที่จำเลยชำระค่าคอมมิสชันให้โจทก์เกินจำนวนที่โจทก์มีสิทธิได้รับโดยผิดหลง ไม่แม่นยำในหลักการ หรือเกิดจากการคำนวณผิด ไม่ใช่การชำระหนี้ตามอำเภอใจ
โจทก์รับเงินค่าคอมมิสชันในเดือนสุดท้ายเท่ากับที่เคยรับ เชื่อได้ว่าโจทก์รับไว้โดยสุจริตโดยเชื่อว่ามีสิทธิรับไว้ได้ โจทก์จึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่ได้รับ แต่เมื่อโจทก์ทราบว่าจะต้องคืนเงินดังกล่าวเมื่อถูกจำเลยฟ้องแย้งแล้ว ถือว่าโจทก์ตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันฟ้องแย้ง
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสอง ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 386 วรรคสอง ลูกจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างได้โดยแสดงเจตนาแก่นายจ้างและไม่อาจถอนหรือยกเลิกเจตนานั้นได้หมายถึงกรณีที่ลูกจ้างแสดงเจตนาเลิกสัญญาจ้างเพียงฝ่ายเดียวแล้วลูกจ้างขอถอนหรือยกเลิกเจตนาเลิกสัญญาจ้างเท่านั้น ไม่รวมถึงการตกลงหรือยินยอมพร้อมใจของนายจ้างและลูกจ้างในการถอนหรือยกเลิกการแสดงเจตนาของลูกจ้างที่ขอเลิกสัญญาจ้างด้วย เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างและจำเลยผู้เป็นนายจ้างตกลงยกเลิกและยินยอมให้โจทก์ถอนการแสดงเจตนาลาออกของโจทก์ จึงทำให้การลาออกของโจทก์ถูกถอนไปแล้ว
การชำระหนี้ตามอำเภอใจตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 หมายถึงการชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่ต้องชำระ การที่จำเลยชำระค่าคอมมิสชันให้โจทก์เกินจำนวนที่โจทก์มีสิทธิได้รับโดยผิดหลง ไม่แม่นยำในหลักการ หรือเกิดจากการคำนวณผิด ไม่ใช่การชำระหนี้ตามอำเภอใจ
โจทก์รับเงินค่าคอมมิสชันในเดือนสุดท้ายเท่ากับที่เคยรับ เชื่อได้ว่าโจทก์รับไว้โดยสุจริตโดยเชื่อว่ามีสิทธิรับไว้ได้ โจทก์จึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่ได้รับ แต่เมื่อโจทก์ทราบว่าจะต้องคืนเงินดังกล่าวเมื่อถูกจำเลยฟ้องแย้งแล้ว ถือว่าโจทก์ตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4756/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกมีผลเลิกสัญญาจ้างทันที แม้จำเลยมีมติยุบสายงานพร้อมกัน การยุบสายงานไม่ใช่การเลิกจ้าง
วันที่ 10 พฤศจิกายน 2548 โจทก์ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นพนักงานของจำเลยระบุให้มีผลเป็นการพ้นสภาพพนักงานในวันที่ 1 ธันวาคม 2548 เป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลย เจตนาเลิกสัญญาของโจทก์มีผลแล้วนับแต่วันยื่นหนังสือลาออกต่อจำเลยและจะถอนไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 วรรคสอง การอนุมัติให้ลาออกเป็นขั้นตอนและระเบียบปฏิบัติภายในของจำเลย ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงการแสดงเจตนาเลิกสัญญาของโจทก์ สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์จำเลยสิ้นสุดลงในวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ตามหนังสือลาออกของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาลาออกมีผลทันที แม้ถอนทีหลัง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ลูกจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาจ้างได้ด้วยการลาออกจากงานและหลังจากลูกจ้างแสดงเจตนาลาออกจากงานแก่นายจ้างแล้วลูกจ้างหามีสิทธิถอนเจตนานั้นได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 วรรคสอง เมื่อจำเลย ยื่นหนังสือขอลาออกจากงานต่อโจทก์ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540โดยระบุให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2540 ถือว่าการแสดงเจตนาลาออกจากงานของจำเลยมีผลตามกฎหมายแล้วนับแต่วันยื่นหนังสือขอลาออกแม้ต่อมาวันที่21 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยได้ยื่นหนังสืออีกฉบับหนึ่งต่อโจทก์ขอยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานดังกล่าว ก็หามีผลเป็นการยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานไม่หนังสือขอลาออกจากงาน ของจำเลยยังคงมีผลต่อไป ทั้งโจทก์มีระเบียบว่าด้วยพนักงาน และลูกจ้างที่กำหนดว่า พนักงานหรือลูกจ้างผู้ใดประสงค์ จะลาออกจากงาน ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชา โดยตรงของตนเพื่อเสนอตามลำดับจนถึงคณะกรรมการดำเนินการ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาอนุญาตแล้วจึงให้ถือว่า ออกจากงาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างที่มีผลใช้บังคับ แก่โจทก์และจำเลยได้ ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการดำเนินการ ของสหกรณ์โจทก์พิจารณาอนุมัติหนังสือขอลาออกจากงานของจำเลย ในการประชุมวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2540 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่ หนังสือขอลาออกมีผล การลาออกจากงานของจำเลยจึงมีผล ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2540 เป็นต้นไป การที่จำเลยต้องออก จากงานหาใช่เพราะถูกโจทก์เลิกจ้างไม่ โจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่จำเลย แต่การที่โจทก์จ่าย ค่าชดเชยให้แก่จำเลยเนื่องจากจำเลยออกจากงานอันถือเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ โจทก์จึงหามีสิทธิเรียกค่าชดเชยคืนจากจำเลยไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407