พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13581/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนระเบียบของนายจ้าง แม้ไม่มีข้อบังคับเป็นลายลักษณ์อักษร ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ประกอบกิจการขนส่งทางบก ไม่มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกำหนดให้การดื่มสุราในขณะลูกจ้างรอเวลาขับรถบรรทุกไปส่งสินค้าให้ลูกค้าเป็นความผิด แต่มีระเบียบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรว่าเมื่อพนักงานขับรถบรรทุกไปรับสินค้าจากลูกค้าแล้วนำรถมาจอดไว้ในบริเวณที่ทำการของโจทก์จังหวัดชลบุรี ห้ามพนักงานขับรถดังกล่าวดื่มสุรา เป็นการออกระเบียบเพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานขับรถบรรทุกที่รอเวลาขับรถบรรทุกสินค้าไปส่งสินค้าให้ลูกค้ามีอาการเมาสุราจากการดื่มสุราและอาจยังมีอาการเมาต่อเนื่องไปจนถึงเวลาต้องปฏิบัติหน้าที่ขับรถไปส่งสินค้าให้ลูกค้า การขับรถในขณะเมาสุราเป็นความผิดต่อกฎหมายซึ่งมีโทษทางอาญา อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายอันจะทำให้โจทก์เสียหาย และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกด้วยระเบียบของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม
ว. เป็นลูกจ้างของโจทก์ตำแหน่งพนักงานขับรถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ ว. เมาสุราในเวลาประมาณ 20 นาฬิกา ขณะที่รอให้ถึงเวลา 2 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้นเพื่อขับรถบรรทุกสินค้าจากที่ทำการโจทก์จังหวัดชลบุรีไปส่งให้ลูกค้าที่จังหวัดปทุมธานี แม้ ว. สามารถไปส่งสินค้าให้ลูกค้าและขับรถมาจอดที่สำนักงานโจทก์จังหวัดชลบุรีโดยปลอดภัย ก็ต้องถือว่า ว. ฝ่าฝืนระเบียบอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรง โจทก์เลิกจ้าง ว. ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4)
ว. เป็นลูกจ้างของโจทก์ตำแหน่งพนักงานขับรถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ ว. เมาสุราในเวลาประมาณ 20 นาฬิกา ขณะที่รอให้ถึงเวลา 2 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้นเพื่อขับรถบรรทุกสินค้าจากที่ทำการโจทก์จังหวัดชลบุรีไปส่งให้ลูกค้าที่จังหวัดปทุมธานี แม้ ว. สามารถไปส่งสินค้าให้ลูกค้าและขับรถมาจอดที่สำนักงานโจทก์จังหวัดชลบุรีโดยปลอดภัย ก็ต้องถือว่า ว. ฝ่าฝืนระเบียบอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรง โจทก์เลิกจ้าง ว. ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8824/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อนายจ้างเคยเตือนเรื่องความผิดนั้นแล้ว และเหตุเลิกจ้างไม่ร้ายแรง
เมื่อนายจ้างลงโทษลูกจ้างในการกระทำความผิดเรื่องนั้นไปแล้ว ไม่สามารถนำมากล่าวอ้างว่าลูกจ้างทำผิดซ้ำคำเตือนในเรื่องเดิมได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 978/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากทำร้ายผู้บังคับบัญชาถือเป็นเหตุร้ายแรง และการพักงานเพื่อสอบสวนต้องไม่ตัดค่าจ้าง
การพักงานที่เป็นโทษทางวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยต้องเป็นการพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้าง การที่จำเลยพักงานโจทก์ 7 วัน และหักค่าจ้างโจทก์ไว้ร้อยละ 50 โดยให้เหตุผลว่าเพื่อรอการสอบสวนหาข้อเท็จจริงการกระทำผิดของโจทก์จึงไม่ใช่การลงโทษทางวินัย
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุว่าพนักงานต้องไม่ทำการทะเลาะวิวาทหรือใช้กำลังประทุษร้ายซึ่งกันและกันในบริเวณบริษัท เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่าโจทก์ทำร้ายร่างกาย พ. ผู้บังคับบัญชาของโจทก์ในขณะปฏิบัติงานตามหน้าที่โดยชกที่ใบหน้า ปาก และศีรษะ แสดงว่าโจทก์ไม่มีความยำเกรงต่อผู้บังคับบัญชา ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุว่าพนักงานต้องไม่ทำการทะเลาะวิวาทหรือใช้กำลังประทุษร้ายซึ่งกันและกันในบริเวณบริษัท เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่าโจทก์ทำร้ายร่างกาย พ. ผู้บังคับบัญชาของโจทก์ในขณะปฏิบัติงานตามหน้าที่โดยชกที่ใบหน้า ปาก และศีรษะ แสดงว่าโจทก์ไม่มีความยำเกรงต่อผู้บังคับบัญชา ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13894/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างพิจารณาความร้ายแรงของการฝ่าฝืนระเบียบได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องระบุรายละเอียดในข้อบังคับ
ป.พ.พ. มาตรา 583 และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4) หาได้บัญญัติว่าการกระทำหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ลูกจ้างฝ่าฝืนต้องระบุว่าความผิดกรณีร้ายแรงเป็นอย่างไร คงบัญญัติเพียงว่าหากมีการกระทำผิดอย่างร้ายแรงหรือฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง นายจ้างไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าว่าจะเลิกจ้างหรือตักเตือนเป็นหนังสือ ดังนั้นแม้ระเบียบข้อบังคับในการปฏิบัติงานของจำเลยที่ 1 ไม่ระบุว่าการกระทำของโจทก์เป็นความผิดกรณีที่ร้ายแรง จำเลยที่ 1 ก็ยังมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยพิจารณาจากพฤติการณ์ในการฝ่าฝืนระเบียบได้เองว่ากรณีใดเป็นกรณีร้ายแรง ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงแต่ละกรณีว่าการฝ่าฝืนมีผลให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง ลูกจ้างอื่น สถานที่ทำงาน ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนมากน้อยเพียงใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13806/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทำร้ายร่างกายเพื่อนร่วมงาน: ศาลพิจารณาความร้ายแรงของเหตุการณ์และข้อบังคับบริษัท
แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุว่าการทำร้ายหรือพยายามทำร้ายร่างกายผู้อื่นในบริเวณบริษัทเป็นการกระทำผิดวินัยกรณีร้ายแรง แต่จะเป็นความผิดวินัยร้ายแรงหรือไม่ ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นประกอบด้วย การที่โจทก์ใช้กำลังทำร้ายเพื่อนร่วมงานในห้องพนักงานเวลา 5.30 นาฬิกา อันเป็นเวลาก่อนการทำงานตามปกติ เมื่อมีผู้เข้าห้ามปรามก็เลิกรากันไป ไม่เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงของจำเลย การกระทำของโจทก์จึงเป็นเพียงการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ไม่ร้ายแรง เมื่อจำเลยไม่เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือมาก่อน จำเลยจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้ แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 182-184/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาเหตุร้ายแรง การขาดงานและการยื่นใบลาช้าอาจไม่ถึงขั้นเลิกจ้างได้
การกระทำผิดของลูกจ้างจะเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่นั้น ต้องพิเคราะห์ถึงปัจจัยต่าง ๆ ประกอบกันหลายประการ อาทิเช่น ตำแหน่งหน้าที่การงานของลูกจ้าง ลักษณะและพฤติการณ์การกระทำผิดของลูกจ้าง ตลอดจนผลเสียหายที่เกิดจากการกระทำผิดว่ามีมากน้อยเพียงใด ผู้คัดค้านที่ 2 มิได้มีตำแหน่งที่สำคัญในบริษัทผู้ร้อง ผู้คัดค้านที่ 2 ไม่ได้มาทำงานในวันที่ 18 ธันวาคม 2547 และยื่นลากิจกรรมสหภาพในวันที่ 20 ธันวาคม 2547 ผู้บังคับบัญชาระดับสูงไม่อนุมัติ เนื่องจากผู้คัดค้านที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การยื่นใบลากิจกรรมสหภาพที่ให้ยื่นใบลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 วัน และถือว่าผู้คัดค้านที่ 2 ขาดงานในวันดังกล่าว การกระทำของผู้คัดค้านที่ 2 ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย หรือฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11613/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: การกระทำผิดร้ายแรงต้องมีเจตนาและผลกระทบต่อบริษัท และต้องมีการตักเตือนเป็นหนังสือ
แม้ ส. จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของโจทก์เพื่อการส่วนตัวแจกจ่ายไปยังเพื่อนร่วมงานเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับของโจทก์และรูปถ่ายที่จัดส่งไปเป็นภาพโป๊ลามกอนาจารซึ่งไม่เหมาะสม แต่เมื่อผู้รับก็ทราบว่าผู้ที่ส่งมาคือ ส. กระทำในนามส่วนตัว มิใช่กระทำในนามบริษัทโจทก์ ความเสื่อมเสียโดยตรงก็น่าจะตกแก่ ส. เอง ไม่เกิดผลกระทบต่อโจทก์มากนัก พฤติการณ์แห่งการกระทำของ ส. จึงยังไม่ถึงกับเป็นกรณีร้ายแรง โจทก์จะเลิกจ้าง ส. โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว ทั้งยังถือไม่ได้ว่า ส. ตั้งใจก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จึงไม่เป็นการจงใจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันจะทำให้โจทก์เลิกจ้าง ส. ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยอีกเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1839/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานเล่นการพนันในบริษัท ถือเป็นการกระทำผิดวินัยร้ายแรง ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์กับเพื่อนพนักงานรวม 7 คน ร่วมกันเล่นการพนันในบริเวณบริษัทจำเลยผู้เป็นนายจ้าง เป็นการกระทำฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานของจำเลยที่กำหนดว่าพนักงานต้องประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี ไม่ประพฤติตนไปในทางนำความเสื่อมเสียมาสู่ตนและหมู่คณะ ต้องไม่กระทำการผิดกฎหมายที่มีโทษทางอาญาโดยเจตนาถึงแม้ว่าจะไม่ถูกดำเนินคดีก็ตาม ต้องไม่เล่นการพนันขันต่อทุกชนิด การฝ่าฝืนมีโทษทางวินัยโดยการไล่ออก การเล่นการพนันนอกจากเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาญาแล้ว ยังเป็นบ่อเกิดอาชญากรรม เป็นชนวนให้เกิดการวิวาทบาดหมางในหมู่ลูกจ้างด้วยกัน ทำลายความสามัคคีของหมู่คณะ ทั้งยังทำให้ผลงานของลูกจ้างลดน้อยลง และอาจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายทางชื่อเสียง ไม่ว่าจะเป็นการกระทำผิดครั้งแรกและโจทก์สำนึกผิดหรือไม่ก็ตาม การกระทำของโจทก์มิใช่เป็นเพียงการกระทำผิดวินัยที่ทำให้เสียหายด้านชื่อเสียงต่อจำเลยเพียงอย่างเดียวอันจะลงโทษด้วยการตักเตือนเท่านั้น แต่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานของจำเลยกรณีร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4) เป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12820/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างเปิดบริษัทแข่งและใช้ทรัพยากรนายจ้างเป็นการทุจริต นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 เปิดบริษัทนำเข้าและส่งออกเสื้อผ้ากีฬาและใช้อุปกรณ์ เครื่องมือและพนักงานของจำเลยที่ 3 บางส่วนทำงานส่วนตัวของโจทก์ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยที่ 3 จึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 119 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7773-7776/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายหอพักของพนักงาน: ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง หากข้อตกลงไม่ได้ระบุสถานที่เฉพาะ และการฝ่าฝืนคำสั่งย้ายถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับทำงาน
ตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ระบุไว้แต่เพียงว่าให้จำเลยจัดหอพักให้แก่พนักงานที่อยู่ต่างจังหวัด มิได้ระบุไว้ว่าต้องจัดให้พักเฉพาะที่หอพักจุด 8 เท่านั้น แม้หอพักจุด 10 จะเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นอยู่ แต่ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงในเรื่องความสะดวกสบายเท่านั้นโดยข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมิได้ระบุรายละเอียดไว้ จึงมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง
เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระบุเรื่องสวัสดิการหอพักไว้ ดังนั้นการจัดให้มีหอพักจึงเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน การฝ่าฝืนคำสั่งเกี่ยวกับหอพักจึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระบุเรื่องสวัสดิการหอพักไว้ ดังนั้นการจัดให้มีหอพักจึงเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน การฝ่าฝืนคำสั่งเกี่ยวกับหอพักจึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน