คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ม. 119 (4)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทำลายหนังสือตักเตือน ถือเป็นการกระทำผิดวินัยร้ายแรง
เมื่อโจทก์กระทำผิดวินัยเกี่ยวกับการทำงาน จำเลย ผู้เป็นนายจ้างย่อมมีอำนาจออกหนังสือตักเตือนและมีอำนาจ นำหนังสือตักเตือนไปประกาศให้โจทก์และลูกจ้างอื่น ของจำเลยทราบได้ การที่โจทก์ไปฉีกทำลายประกาศหนังสือตักเตือน ของจำเลยโดยพลการ ทำให้ทรัพย์สินคือหนังสือตักเตือนของจำเลย ต้องสูญเสียหายและขาดประโยชน์ และอาจทำให้ลูกจ้างอื่น ของจำเลยเอาอย่าง ทำให้จำเลยไม่สามารถปกครองบังคับบัญชา ลูกจ้างได้ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการกระทำผิดวินัย อย่างร้ายแรง จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายเงิน ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างโดยมีเหตุอันสมควร แม้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยผิดพลาด ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาให้จ่ายค่าชดเชยและวันหยุดพักผ่อน
คำตักเตือนเป็นหนังสือตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4) นั้น จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างตักเตือนลูกจ้างที่ได้กระทำผิดฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างมิให้กระทำผิดเช่นว่านั้นซ้ำอีก หากกระทำจะต้องถูกลงโทษ
ตามใบเตือนของจำเลยระบุแต่เพียงว่า โจทก์กระทำผิดมาทำงานสายเป็นการกระทำที่ผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยเท่านั้น มิได้มีข้อความที่เป็นคำตักเตือนของนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างกระทำผิดเช่นนั้นซ้ำอีก และหากกระทำผิดอีกต้องถูกลงโทษ ใบเตือนของจำเลยจึงถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือตักเตือนตามกฎหมาย กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 45,47(4) เพราะเหตุที่โจทก์กระทำผิดซ้ำ
โจทก์กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยมาทำงานสายหลายครั้ง และหลังจากจำเลยมีใบเตือนแล้ว โจทก์ก็ยังคงมาสายอยู่เป็น ประจำอีกทั้งยังกระทำการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย เรื่องอื่น ๆ อีก การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควร ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ด้วย
ในวันพิจารณา โจทก์ได้แถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลแรงงานว่า ในการทำงานกับจำเลย โจทก์มาทำงานสายเป็นประจำและจำเลยได้มีหนังสือเตือนตามเอกสารท้ายคำให้การจริง อันเป็นการยอมรับว่าใบเตือน ดังกล่าวได้ออกโดยจำเลยแล้ว และศาลแรงงานก็ได้วินิจฉัยว่าโจทก์มา ทำงานสายเป็นประจำอันเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือนเป็นหนังสือ การที่ โจทก์อุทธรณ์โต้เถียงว่าใบเตือนดังกล่าวของจำเลยได้ออกโดยผู้มีอำนาจ หรือไม่ปรากฏ เป็นการออกใบเตือนโดยไม่ชอบ ย่อมเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง การพิสูจน์หนังสือเตือน และสิทธิในการได้รับค่าชดเชย
คำตักเตือนเป็นหนังสือตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4)ไม่ได้กำหนดแบบไว้ว่าจะต้องมีรูปแบบและข้อความเป็นอย่างไร แต่หนังสือตักเตือนนั้นจะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างตักเตือนลูกจ้างที่ได้กระทำผิดฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างมิให้กระทำผิดเช่นว่านั้นซ้ำอีก หากกระทำจะต้องถูกลงโทษ แต่ตามใบเตือนของจำเลยคงระบุแต่เพียงว่าโจทก์กระทำผิดมาทำงานสายเป็นการกระทำที่ผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยเท่านั้น มิได้มีข้อความที่เป็นคำตักเตือนของนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างกระทำผิดเช่นนั้นซ้ำอีกและหากกระทำผิดอีกต้องถูกลงโทษไว้ ใบเตือนของจำเลยจึงถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือตักเตือนตามกฎหมาย กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 45,47(4) เพราะเหตุที่โจทก์กระทำผิดซ้ำ โจทก์กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยมาทำงานสายหลายครั้งและหลังจากจำเลยมีใบเตือนแล้ว โจทก์ก็ยังคงมาสายอยู่เป็นประจำอีก ทั้งยังกระทำการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยเรื่องอื่น ๆ เช่นนี้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควร ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้และโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 ในวันพิจารณาโจทก์ได้แถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลแรงงานว่าในการทำงานกับจำเลยโจทก์มาทำงานสายเป็นประจำและจำเลยได้มีหนังสือเตือนตามเอกสารท้ายคำให้การจริง อันเป็นการยอมรับว่าใบเตือนดังกล่าวได้ออกโดยจำเลย ซึ่งศาลแรงงานก็ได้วินิจฉัยว่าโจทก์มาทำงานสายเป็นประจำอันเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือนเป็นหนังสือ ส. จึงบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์จริง ฉะนั้น ที่โจทก์อุทธรณ์โต้เถียงว่า ใบเตือนดังกล่าวของจำเลยจึงออกโดยผู้มีอำนาจหรือไม่ไม่ปรากฏ จึงเป็นการออกใบเตือนโดยไม่ชอบนั้นย่อมเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
of 9