พบผลลัพธ์ทั้งหมด 137 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5658/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาบริการ - การคำนวณหนี้ต่างสกุล - ดอกเบี้ย - การใช้สิทธิไม่สุจริต
ตามสัญญาที่โจทก์นำมาฟ้อง โจทก์และจำเลยตกลงชำระหนี้แก่กันเป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์เท่านั้น แต่จำเลยจะส่งใช้เป็นเงินไทยได้ก็โดยคิดตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 ดังนั้น การที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นเงินไทยและศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์เป็นเงินไทยอาจมีผลให้จำเลยต้องชำระหรือโจทก์ได้รับชำระหนี้เกินกว่าจำนวนหนี้เงินดอลลาร์สิงคโปร์ตามที่โจทก์บรรยายฟ้อง หากว่าอัตราแลกเปลี่ยนในวันใช้เงินจริง 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ เท่ากับเงินไทยจำนวนน้อยกว่า 23.93 บาท ซึ่งจะเป็นผลให้เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง จึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 และ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4225/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดและเพิกถอนสิทธิบัตร: ผู้ถือหุ้น/กรรมการบริษัท ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง
ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 64 วรรคสอง กำหนดให้บุคคลผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการเท่านั้นที่สามารถฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ แต่ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันจงใจกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยมีหนังสือแจ้งมายังบริษัท ส. ห้ามจำหน่ายและให้จัดเก็บชิ้นส่วนสิ่งก่อสร้าง (ไม้บัว) โดยอ้างถึงการที่บริษัท ส. เป็นเจ้าของสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งออกไปโดยไม่ชอบดังกล่าว และยังดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง โจทก์ในฐานะรองประธานฝ่ายบริหารของบริษัท ส. ต้องได้รับผลกระทบต่อสิทธิเกี่ยวกับการวางแผนการตลาด การสั่งนำเข้าสินค้าแต่ไม่สามารถดำเนินการได้ ทำให้สูญเสียโอกาสในการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และโจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นต้องขาดประโยชน์ที่ควรได้รับ เห็นได้ว่าข้ออ้างตามคำฟ้องล้วนเป็นการอ้างถึงส่วนได้เสียของบริษัท ส. ซึ่งโจทก์เป็นผู้บริหารและผู้ถือหุ้นเท่านั้น โจทก์มิได้มีส่วนได้เสียโดยตรงจากสิทธิบัตรดังกล่าว แม้โจทก์จะถูกจำเลยทั้งสองดำเนินคดีอาญาที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง แต่ก็เนื่องมาจากเหตุที่โจทก์เป็นผู้บริหารบริษัท ดังนี้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 64 วรรคสองได้ เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องในส่วนนี้ กรณีจึงไม่จำต้องพิจารณาว่าฟ้องในส่วนนี้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ทป.121/2558 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางหรือไม่อีก
สำหรับคำฟ้องโจทก์ในส่วนที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์และขอให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือไม่นั้น ปรากฏว่าในคดีดังกล่าวบริษัท ส. ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำละเมิดต่อบริษัทดังกล่าวเป็นเหตุให้บริษัทดังกล่าวได้รับความเสียหาย ส่วนคดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แม้โจทก์ในคดีนี้จะเป็นกรรมการบริหารและผู้ถือหุ้นของบริษัท ส. แต่ก็เป็นคนละบุคคลกันกับบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหาก และแม้คดีนี้โจทก์จะอ้างว่าได้รับความเสียหายในฐานะผู้ถือหุ้นและในฐานะกรรมการบริหารของบริษัท ส. แต่ความเสียหายดังกล่าวก็เป็นความเสียหายในส่วนของโจทก์เอง มิใช่ความเสียหายของบริษัท ส. แต่อย่างใด ประเด็นแห่งคดีที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้วินิจฉัยและมีคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าว กับคำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับข้อหาละเมิดในคดีนี้จึงเป็นคนละประเด็นกัน และไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าวแล้วมีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง โดยยังมิได้ให้คู่ความทั้งสองฝ่ายได้สืบพยานหลักฐานให้สิ้นกระแสความเสียก่อนนั้น ถือได้ว่าเป็นกรณีที่ปรากฏเหตุที่ศาลดังกล่าวมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา กรณีมีเหตุอันสมควรที่ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลดังกล่าวสืบพยานหลักฐานของคู่ความให้สิ้นกระแสความ แล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
อนึ่ง การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่ามีเหตุผลเพียงพอที่ไม่ต้องไต่สวนคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งพอแปลได้ว่าเป็นคำสั่งให้งดสืบพยานแล้วจึงมีคำพิพากษานั้น ถือได้ว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดี อันมีผลเป็นการวินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดีแล้ว จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะคืนค่าขึ้นศาลแก่โจทก์ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางให้คืนค่าขึ้นศาลเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
สำหรับคำฟ้องโจทก์ในส่วนที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์และขอให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือไม่นั้น ปรากฏว่าในคดีดังกล่าวบริษัท ส. ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำละเมิดต่อบริษัทดังกล่าวเป็นเหตุให้บริษัทดังกล่าวได้รับความเสียหาย ส่วนคดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แม้โจทก์ในคดีนี้จะเป็นกรรมการบริหารและผู้ถือหุ้นของบริษัท ส. แต่ก็เป็นคนละบุคคลกันกับบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหาก และแม้คดีนี้โจทก์จะอ้างว่าได้รับความเสียหายในฐานะผู้ถือหุ้นและในฐานะกรรมการบริหารของบริษัท ส. แต่ความเสียหายดังกล่าวก็เป็นความเสียหายในส่วนของโจทก์เอง มิใช่ความเสียหายของบริษัท ส. แต่อย่างใด ประเด็นแห่งคดีที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้วินิจฉัยและมีคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าว กับคำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับข้อหาละเมิดในคดีนี้จึงเป็นคนละประเด็นกัน และไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าวแล้วมีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง โดยยังมิได้ให้คู่ความทั้งสองฝ่ายได้สืบพยานหลักฐานให้สิ้นกระแสความเสียก่อนนั้น ถือได้ว่าเป็นกรณีที่ปรากฏเหตุที่ศาลดังกล่าวมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา กรณีมีเหตุอันสมควรที่ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลดังกล่าวสืบพยานหลักฐานของคู่ความให้สิ้นกระแสความ แล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
อนึ่ง การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่ามีเหตุผลเพียงพอที่ไม่ต้องไต่สวนคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งพอแปลได้ว่าเป็นคำสั่งให้งดสืบพยานแล้วจึงมีคำพิพากษานั้น ถือได้ว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดี อันมีผลเป็นการวินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดีแล้ว จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะคืนค่าขึ้นศาลแก่โจทก์ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางให้คืนค่าขึ้นศาลเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6140/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้รับขนส่ง กรณีสินค้าเสียหายจากน้ำ: การพิสูจน์เหตุแห่งความเสียหายและการปฏิบัติตามบทบัญญัติกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับขนส่งสินค้าทางทะเลตามสัญญาเช่าเรือ (Charterparty) ที่ทำกับผู้ขาย และจำเลยที่ 1 ได้ออกใบตราส่ง สิทธิและหน้าที่ระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้รับตราส่งจึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ทั้งนี้ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว และถือว่าสินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 เริ่มตั้งแต่เมื่อจำเลยที่ 1 รับสินค้าไว้จากผู้ส่งของจนถึงเวลาที่จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบสินค้าแก่จำเลยที่ 4 ผู้ประกอบการโรงพักสินค้าตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39 ประกอบมาตรา 40 (3) ซึ่งเมื่อรับสินค้าที่ท่าเรือต้นทางจำเลยที่ 1 ออกใบตราส่งโดยมิได้บันทึกสภาพแห่งของเท่าที่เห็นได้จากภายนอกไว้ในใบตราส่งจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 รับสินค้าที่มีสภาพภายนอกเรียบร้อยไว้เพื่อการขนส่ง ตามมาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว และเมื่อเรือมาถึงท่าเรือของจำเลยที่ 4 ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2553 มีการขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือตั้งแต่วันที่ 22 ถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2553 มีการบันทึกไว้ที่มุมล่างขวาของ "Time Sheet" ว่าสินค้าได้รับการขนถ่ายขึ้นจากเรือตามสภาพที่บรรทุกลงเรือโดยไม่มีการสำรวจความเสียหายของสินค้าหรือมีการบอกกล่าวเป็นหนังสือจากผู้รับตราส่งถึงจำเลยที่ 1 ว่า สินค้าที่ขนส่งได้รับความเสียหายภายในเวลาตามที่บัญญัติในมาตรา 49 (1) และ (2) จึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบสินค้าตามสภาพที่ระบุไว้ในใบตราส่งและโจทก์มีภาระการพิสูจน์ว่าเหตุที่สินค้าที่ขนส่งได้รับความเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 เป็นผู้รับขนส่งสินค้าทางถนนจากท่าเรือของจำเลยที่ 4 ไปยังโรงงานของบริษัท พ. ที่จังหวัดสมุทรปราการ จึงเป็นผู้ขนส่งและผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด สิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. ว่าด้วยรับขนของ จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายของสินค้า หากเหตุแห่งความเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 616 และ 618 อย่างไรก็ตาม ป.พ.พ. มาตรา 623 บัญญัติว่า "ความรับผิดของผู้ขนส่งย่อมสุดสิ้นลงในเมื่อผู้รับตราส่งได้รับเอาของไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อน และได้ใช้ค่าระวางพาหนะกับทั้งอุปกรณ์เสร็จแล้ว แต่ความที่กล่าวนี้ท่านมิให้ใช้บังคับในกรณีที่ของสูญหายหรือบุบสลายเห็นไม่ได้แต่สภาพภายนอกแห่งของนั้น หากว่าได้บอกกล่าวความสูญหายหรือบุบสลายแก่ผู้ขนส่งภายในแปดวันนับแต่วันส่งมอบ อนึ่ง บทบัญญัติทั้งหลายนี้ท่านมิให้ใช้บังคับในกรณีที่มีการทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงอันจะปรับเอาเป็นความผิดของผู้ขนส่งได้" และแม้จำเลยที่ 5 จะให้การถึงเหตุที่ความรับผิดของผู้ขนส่งสิ้นสุดลงดังกล่าวเพียงคนเดียว แต่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 อาจต้องรับผิดร่วมกันเป็นกรณีมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ กระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 5 ให้การไว้ เมื่อมิได้ทำให้เสื่อมเสียสิทธิของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมถือว่าการที่จำเลยที่ 5 ให้การนั้นเป็นกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 5 ได้ทำแทนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 และมาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) เมื่อสภาพความเสียหายของสินค้าไม่สามารถเห็นได้จากสภาพภายนอกเช่นนี้ ผู้รับตราส่งจะต้องบอกกล่าวเรื่องความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ภายในแปดวันนับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 แล้วแต่กรณีส่งมอบสินค้า มิฉะนั้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ย่อมสิ้นสุดลง ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 4 ส่งมอบสินค้าแก่จำเลยที่ 5 ระหว่างวันที่ 28, 29 และ 31 พฤษภาคม 2553 ตามลำดับ และจำเลยที่ 5 ส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับตราส่งที่โรงงานของบริษัท พ. เมื่อวันที่ 28, 29 และ 31 พฤษภาคม 2553 ตามลำดับ ระยะเวลา 8 วัน ที่ผู้รับตราส่งจะต้องบอกกล่าวแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ในเรื่องความเสียหายของสินค้าจึงสิ้นสุดลงในวันที่ 5, 6 และ 8 มิถุนายน 2553 ตามลำดับ เมื่อผู้รับตราส่งไม่ได้บอกกล่าวภายในกำหนดเวลาเช่นว่านั้น จึงต้องถือว่าความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ได้สิ้นสุดลงแล้วตามบทกฎหมายดังกล่าว ทั้งคดีไม่มีประเด็นเรื่องการทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ดังนั้นจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ไม่ว่าความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งจะเนื่องจากเหตุที่เกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้านั้นอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 หรือไม่
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 เป็นผู้รับขนส่งสินค้าทางถนนจากท่าเรือของจำเลยที่ 4 ไปยังโรงงานของบริษัท พ. ที่จังหวัดสมุทรปราการ จึงเป็นผู้ขนส่งและผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด สิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. ว่าด้วยรับขนของ จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายของสินค้า หากเหตุแห่งความเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 616 และ 618 อย่างไรก็ตาม ป.พ.พ. มาตรา 623 บัญญัติว่า "ความรับผิดของผู้ขนส่งย่อมสุดสิ้นลงในเมื่อผู้รับตราส่งได้รับเอาของไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อน และได้ใช้ค่าระวางพาหนะกับทั้งอุปกรณ์เสร็จแล้ว แต่ความที่กล่าวนี้ท่านมิให้ใช้บังคับในกรณีที่ของสูญหายหรือบุบสลายเห็นไม่ได้แต่สภาพภายนอกแห่งของนั้น หากว่าได้บอกกล่าวความสูญหายหรือบุบสลายแก่ผู้ขนส่งภายในแปดวันนับแต่วันส่งมอบ อนึ่ง บทบัญญัติทั้งหลายนี้ท่านมิให้ใช้บังคับในกรณีที่มีการทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงอันจะปรับเอาเป็นความผิดของผู้ขนส่งได้" และแม้จำเลยที่ 5 จะให้การถึงเหตุที่ความรับผิดของผู้ขนส่งสิ้นสุดลงดังกล่าวเพียงคนเดียว แต่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 อาจต้องรับผิดร่วมกันเป็นกรณีมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ กระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 5 ให้การไว้ เมื่อมิได้ทำให้เสื่อมเสียสิทธิของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมถือว่าการที่จำเลยที่ 5 ให้การนั้นเป็นกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 5 ได้ทำแทนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 และมาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) เมื่อสภาพความเสียหายของสินค้าไม่สามารถเห็นได้จากสภาพภายนอกเช่นนี้ ผู้รับตราส่งจะต้องบอกกล่าวเรื่องความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ภายในแปดวันนับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 แล้วแต่กรณีส่งมอบสินค้า มิฉะนั้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ย่อมสิ้นสุดลง ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 4 ส่งมอบสินค้าแก่จำเลยที่ 5 ระหว่างวันที่ 28, 29 และ 31 พฤษภาคม 2553 ตามลำดับ และจำเลยที่ 5 ส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับตราส่งที่โรงงานของบริษัท พ. เมื่อวันที่ 28, 29 และ 31 พฤษภาคม 2553 ตามลำดับ ระยะเวลา 8 วัน ที่ผู้รับตราส่งจะต้องบอกกล่าวแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ในเรื่องความเสียหายของสินค้าจึงสิ้นสุดลงในวันที่ 5, 6 และ 8 มิถุนายน 2553 ตามลำดับ เมื่อผู้รับตราส่งไม่ได้บอกกล่าวภายในกำหนดเวลาเช่นว่านั้น จึงต้องถือว่าความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ได้สิ้นสุดลงแล้วตามบทกฎหมายดังกล่าว ทั้งคดีไม่มีประเด็นเรื่องการทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ดังนั้นจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ไม่ว่าความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งจะเนื่องจากเหตุที่เกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้านั้นอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5342/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีลิขสิทธิ์และภาพยนตร์ลามก ศาลแก้คำพิพากษา ยกฟ้องข้อหาภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจ และริบของกลาง
ความผิดฐานมีแผ่นวีดิทัศน์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ไว้ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่าย ตามอุทธรณ์ของโจทก์กับความผิดฐานมีแผ่นภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ไว้ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่าย ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาลงโทษไปแล้วนั้น เป็นการกระทำกรรมเดียวกันอันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท จึงเป็นความผิดที่เกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งการพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดทั้งสองฐานนี้หรือไม่จึงต้องพิจารณาพิพากษาไปพร้อมกัน ดังนั้น แม้ว่าโจทก์และจำเลยมิได้อุทธรณ์ในความผิดฐานมีแผ่นภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ไว้ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่าย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็เห็นควรวินิจฉัยความผิดฐานมีแผ่นภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ไว้ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายไปพร้อมกับความผิดฐานมีแผ่นวีดิทัศน์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ไว้ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายตามอุทธรณ์ของโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีแผ่นภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ไว้ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 78 ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง และความผิดฐานมีแผ่นวีดิทัศน์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ไว้ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 81 ประกอบมาตรา 47 วรรคหนึ่ง แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้พิพากษาลงโทษจำเลยหรือยกฟ้องในข้อหาความผิดฐานมีแผ่นวีดิทัศน์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ไว้ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่าย แม้จะแปลความหมายตอนท้ายของคำพิพากษาที่ระบุว่า "คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก" ได้ว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องในข้อหาความผิดฐานนี้ด้วย แต่คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงต้องระบุถึงเหตุผลในการพิพากษายกฟ้องในข้อหาความผิดฐานดังกล่าวด้วย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 186 (6) (8) การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ได้พิพากษาให้ครบถ้วนตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยไม่ต้องย้อนสำนวนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 และมาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1)
การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานมีแผ่นภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ไว้ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่าย ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 78 ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง และความผิดฐานมีแผ่นวีดิทัศน์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ไว้ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่าย ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 81 ประกอบมาตรา 47 วรรคหนึ่ง ผู้กระทำความผิดต้องมีหน้าที่นำภาพยนตร์และวีดิทัศน์ที่จะนำออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายในราชอาณาจักรไปผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ก่อน แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ดังกล่าว คงบรรยายแต่เพียงว่า จำเลยมีแผ่นวีซีดีและดีวีดีภาพยนตร์และวีดิทัศน์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ต้องนำภาพยนตร์และวีดิทัศน์ดังกล่าวไปผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายฟ้องย่อมไม่อาจเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 25 วรรคหนึ่ง และมาตรา 47 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 อันจะเป็นความผิดตามมาตรา 78 และมาตรา 81 ได้ ฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานมีแผ่นภาพยนตร์และแผ่นวีดิทัศน์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ไว้ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายเป็นฟ้องที่มิได้บรรยายข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 78 ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง และมาตรา 81 ประกอบมาตรา 47 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษในความผิดทั้งสองฐานนี้ได้
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 2 (1) ว่า จำเลยเพื่อประสงค์แห่งการค้าได้บังอาจมีแผ่นวีซีดีและดีวีดีอันเป็นภาพยนตร์ แถบบันทึกเสียง และภาพอันลามกที่แสดงการร่วมประเวณีระหว่างชายกับหญิงในลักษณะยั่วยุกามารมณ์จำนวน 30 แผ่น ไว้ในครอบครองของจำเลยเพื่อจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และบรรยายฟ้องข้อ 3 ว่า เจ้าพนักงานยึดได้แผ่นวีซีดีและดีวีดีอันเป็นภาพยนตร์ แถบบันทึกเสียง และภาพอันลามกจำนวน 30 แผ่น อันมีไว้เป็นความผิดเป็นของกลาง ขอให้ลงโทษตามกฎหมายกับขอให้ริบของกลางดังกล่าว แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาในส่วนคำขอให้ริบของกลางดังกล่าวว่า คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก โดยไม่ได้ให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเกี่ยวกับการริบของกลาง จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 186 (6) (9) เมื่อคดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จำเลยมีแผ่นวีซีดีและดีวีดีภาพยนตร์อันลามกจำนวน 30 แผ่น ไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดอันควรริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
ความผิดฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งแผ่นวีซีดีและดีวีดีภาพยนตร์ลามกตาม ป.อ. มาตรา 287 (1) มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาปรับจำเลย 2,000 บาท อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า โทษปรับในข้อหาความผิดฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งแผ่นวีซีดีและดีวีดีภาพยนตร์ลามกที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางกำหนดมานั้นสูงเกินไป จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 39 (4) (เดิม) ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีแผ่นภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ไว้ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 78 ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง และความผิดฐานมีแผ่นวีดิทัศน์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ไว้ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 81 ประกอบมาตรา 47 วรรคหนึ่ง แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้พิพากษาลงโทษจำเลยหรือยกฟ้องในข้อหาความผิดฐานมีแผ่นวีดิทัศน์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ไว้ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่าย แม้จะแปลความหมายตอนท้ายของคำพิพากษาที่ระบุว่า "คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก" ได้ว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องในข้อหาความผิดฐานนี้ด้วย แต่คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงต้องระบุถึงเหตุผลในการพิพากษายกฟ้องในข้อหาความผิดฐานดังกล่าวด้วย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 186 (6) (8) การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ได้พิพากษาให้ครบถ้วนตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยไม่ต้องย้อนสำนวนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 และมาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1)
การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานมีแผ่นภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ไว้ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่าย ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 78 ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง และความผิดฐานมีแผ่นวีดิทัศน์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ไว้ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่าย ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 81 ประกอบมาตรา 47 วรรคหนึ่ง ผู้กระทำความผิดต้องมีหน้าที่นำภาพยนตร์และวีดิทัศน์ที่จะนำออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายในราชอาณาจักรไปผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ก่อน แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ดังกล่าว คงบรรยายแต่เพียงว่า จำเลยมีแผ่นวีซีดีและดีวีดีภาพยนตร์และวีดิทัศน์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ต้องนำภาพยนตร์และวีดิทัศน์ดังกล่าวไปผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายฟ้องย่อมไม่อาจเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 25 วรรคหนึ่ง และมาตรา 47 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 อันจะเป็นความผิดตามมาตรา 78 และมาตรา 81 ได้ ฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานมีแผ่นภาพยนตร์และแผ่นวีดิทัศน์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ไว้ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายเป็นฟ้องที่มิได้บรรยายข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 78 ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง และมาตรา 81 ประกอบมาตรา 47 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษในความผิดทั้งสองฐานนี้ได้
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 2 (1) ว่า จำเลยเพื่อประสงค์แห่งการค้าได้บังอาจมีแผ่นวีซีดีและดีวีดีอันเป็นภาพยนตร์ แถบบันทึกเสียง และภาพอันลามกที่แสดงการร่วมประเวณีระหว่างชายกับหญิงในลักษณะยั่วยุกามารมณ์จำนวน 30 แผ่น ไว้ในครอบครองของจำเลยเพื่อจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และบรรยายฟ้องข้อ 3 ว่า เจ้าพนักงานยึดได้แผ่นวีซีดีและดีวีดีอันเป็นภาพยนตร์ แถบบันทึกเสียง และภาพอันลามกจำนวน 30 แผ่น อันมีไว้เป็นความผิดเป็นของกลาง ขอให้ลงโทษตามกฎหมายกับขอให้ริบของกลางดังกล่าว แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาในส่วนคำขอให้ริบของกลางดังกล่าวว่า คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก โดยไม่ได้ให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเกี่ยวกับการริบของกลาง จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 186 (6) (9) เมื่อคดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จำเลยมีแผ่นวีซีดีและดีวีดีภาพยนตร์อันลามกจำนวน 30 แผ่น ไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดอันควรริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
ความผิดฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งแผ่นวีซีดีและดีวีดีภาพยนตร์ลามกตาม ป.อ. มาตรา 287 (1) มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาปรับจำเลย 2,000 บาท อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า โทษปรับในข้อหาความผิดฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งแผ่นวีซีดีและดีวีดีภาพยนตร์ลามกที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางกำหนดมานั้นสูงเกินไป จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 39 (4) (เดิม) ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2765/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนค้าต่าง บริหารจัดการเรือ สัญญาจ้างสำรวจเรือ ผู้รับจ้างมีหน้าที่รับผิดชอบค่าบริการ
ตามคำฟ้องเป็นการกล่าวอ้างให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าการงานที่โจทก์ได้ทำไปแล้วในฐานะที่จำเลยเป็นคู่สัญญากับโจทก์ ส่วนที่โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้รับจ้างบริหารจัดการเรือ อ. จากเจ้าของเรือทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ดำเนินการสำรวจและจัดชั้นเรือ (Classification) รวมทั้งออกหนังสือรับรองและทำรายงานการตรวจสภาพเรือ อ. นั้น เป็นการบรรยายให้เห็นถึงมูลเหตุและสถานะของจำเลยที่เข้าทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์ และเพื่อให้การนำเรือที่จำเลยเป็นผู้บริหารจัดการออกให้บริการในน่านน้ำไทยได้ จำเลยจึงจำเป็นต้องนำเรือดังกล่าวไปตรวจสภาพและขอรับการจัดชั้นเรือพร้อมทั้งขอรับใบรับรองสถานภาพเรือจากหน่วยงานหรือองค์กรที่มีความชำนาญและมีหน้าที่โดยตรงซึ่งก็คือโจทก์นั่นเอง หาใช่โจทก์ฟ้องตั้งข้อหาให้จำเลยรับผิดในฐานะตัวแทนซึ่งเข้าทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 ไม่ ส่วนจำเลยให้การเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เพราะจำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์แทนเจ้าของเรือซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายประเทศมาเลเซียและโจทก์ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว อันเป็นการปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น โดยอ้างเหตุว่าจำเลยมิใช่คู่สัญญากับโจทก์ แต่จำเลยทำสัญญากับโจทก์แทนตัวการซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ตรวจเรือแทนตัวการหรือไม่ และจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าการงานที่โจทก์ทำไปแล้วหลังจากจำเลยเลิกสัญญาหรือไม่ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยในฐานะตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เพียงใด จึงเป็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทผิดไปจากข้ออ้างและข้อเถียง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคหนึ่ง
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทมีความมุ่งหมายเพื่อให้คู่ความแพ้ชนะคดีกันในเนื้อหาแห่งคดีตามกฎหมายสารบัญญัติ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทเป็นไปโดยถูกต้องหรือไม่จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ในปัญหานี้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงให้เพิกถอนการกำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแล้วพิจารณาพิพากษาคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 และมาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 27 มาตรา 246 และ 142 (5)
จำเลยเป็นผู้รับจ้างบริหารจัดการเรือ อ. (Ship Management Agent) แทนเจ้าของเรือ (Shipowner) โดยจำเลยมีวัตถุประสงค์ในการให้บริการบริหารจัดการเรือแก่เจ้าของเรือเพื่อนำออกให้บริการรับขนส่ง และเมื่อเจ้าของเรือประสงค์จะนำเรือออกให้บริการรับขนส่งระหว่างประเทศ จำเลยจึงย่อมต้องทราบและปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ หลักเกณฑ์ และระเบียบว่าด้วยการนำเรือออกให้บริการระหว่างประเทศ ซึ่งการสำรวจจัดชั้นเรือเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของเรือ เครื่องยนต์ อุปกรณ์ของเรือ และระวางบรรทุกก็เพื่อให้เรือสามารถจดทะเบียนได้ใบอนุญาตใช้เรือและนำเรือออกให้บริการได้ พฤติการณ์และลักษณะการให้บริการของจำเลยแก่เจ้าของเรือในกิจการที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์นาวีและอำนาจหน้าที่ของจำเลยในฐานะผู้บริหารจัดการเรือ อ. แทนเจ้าของเรือรวมทั้งการว่าจ้างโจทก์ดังกล่าวจึงทำให้การบริการของจำเลยมีลักษณะเป็นตัวแทนค้าต่างตาม ป.พ.พ. มาตรา 833 ทั้งนี้ ไม่ว่าโจทก์จะรู้หรือไม่ว่าเจ้าของเรือซึ่งเป็นตัวการคือใคร โดยทั้งเจ้าของเรือและจำเลยต่างก็มีผลประโยชน์ที่จะได้จากการใช้เรือในเชิงพาณิชย์ กล่าวคือ หากจำเลยบริหารจัดการเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพเจ้าของเรือก็จะได้ผลกำไรจากการดำเนินการนั้น ส่วนจำเลยก็จะได้ผลประโยชน์เป็นบำเหน็จตอบแทนจากเจ้าของเรือ โดยเฉพาะเมื่อมีความจำเป็นต้องปรับปรุง ซ่อมแซมเรือ อ. จำเลยในฐานะผู้บริหารจัดการเรือซึ่งได้รับมอบหมายเรือไว้จากเจ้าของเรือย่อมต้องมีหน้าที่ดูแลรักษาเรือให้อยู่ในสภาพเหมาะสมแก่การใช้งานดังที่ ป.พ.พ. มาตรา 842 บัญญัติไว้ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการฝากทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามควรแก่เรื่อง จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนค้าต่างจึงย่อมเป็นผู้ต้องผูกพันต่อโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทมีความมุ่งหมายเพื่อให้คู่ความแพ้ชนะคดีกันในเนื้อหาแห่งคดีตามกฎหมายสารบัญญัติ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทเป็นไปโดยถูกต้องหรือไม่จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ในปัญหานี้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงให้เพิกถอนการกำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแล้วพิจารณาพิพากษาคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 และมาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 27 มาตรา 246 และ 142 (5)
จำเลยเป็นผู้รับจ้างบริหารจัดการเรือ อ. (Ship Management Agent) แทนเจ้าของเรือ (Shipowner) โดยจำเลยมีวัตถุประสงค์ในการให้บริการบริหารจัดการเรือแก่เจ้าของเรือเพื่อนำออกให้บริการรับขนส่ง และเมื่อเจ้าของเรือประสงค์จะนำเรือออกให้บริการรับขนส่งระหว่างประเทศ จำเลยจึงย่อมต้องทราบและปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ หลักเกณฑ์ และระเบียบว่าด้วยการนำเรือออกให้บริการระหว่างประเทศ ซึ่งการสำรวจจัดชั้นเรือเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของเรือ เครื่องยนต์ อุปกรณ์ของเรือ และระวางบรรทุกก็เพื่อให้เรือสามารถจดทะเบียนได้ใบอนุญาตใช้เรือและนำเรือออกให้บริการได้ พฤติการณ์และลักษณะการให้บริการของจำเลยแก่เจ้าของเรือในกิจการที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์นาวีและอำนาจหน้าที่ของจำเลยในฐานะผู้บริหารจัดการเรือ อ. แทนเจ้าของเรือรวมทั้งการว่าจ้างโจทก์ดังกล่าวจึงทำให้การบริการของจำเลยมีลักษณะเป็นตัวแทนค้าต่างตาม ป.พ.พ. มาตรา 833 ทั้งนี้ ไม่ว่าโจทก์จะรู้หรือไม่ว่าเจ้าของเรือซึ่งเป็นตัวการคือใคร โดยทั้งเจ้าของเรือและจำเลยต่างก็มีผลประโยชน์ที่จะได้จากการใช้เรือในเชิงพาณิชย์ กล่าวคือ หากจำเลยบริหารจัดการเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพเจ้าของเรือก็จะได้ผลกำไรจากการดำเนินการนั้น ส่วนจำเลยก็จะได้ผลประโยชน์เป็นบำเหน็จตอบแทนจากเจ้าของเรือ โดยเฉพาะเมื่อมีความจำเป็นต้องปรับปรุง ซ่อมแซมเรือ อ. จำเลยในฐานะผู้บริหารจัดการเรือซึ่งได้รับมอบหมายเรือไว้จากเจ้าของเรือย่อมต้องมีหน้าที่ดูแลรักษาเรือให้อยู่ในสภาพเหมาะสมแก่การใช้งานดังที่ ป.พ.พ. มาตรา 842 บัญญัติไว้ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการฝากทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามควรแก่เรื่อง จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนค้าต่างจึงย่อมเป็นผู้ต้องผูกพันต่อโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2461/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีความลับทางการค้าต้องระบุวิธีการเปิดเผยข้อมูลให้ชัดเจน มิฉะนั้นถือว่าฟ้องไม่ครบองค์ประกอบ
องค์ประกอบของความผิดข้อหนึ่งที่โจทก์ต้องบรรยายมาในคำฟ้องตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 คือ การเปิดเผยความลับทางการค้าของผู้อื่นให้เป็นที่ล่วงรู้โดยทั่วไปซึ่งหมายถึงการเปิดเผยข้อมูลให้สาธารณชนได้ล่วงรู้ในลักษณะที่มีผลทำให้ข้อมูลนั้นเสียสภาพหรือคุณสมบัติการเป็นความลับ ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันนำเอาข้อมูลอันเป็นความลับทางการค้าของผู้เสียหายไปเปิดเผยให้กับบุคคลผู้มีชื่ออันเป็นบุคคลทั่วไปล่วงรู้ถึงข้อมูลอันเป็นความลับทางการค้าของผู้เสียหายโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เสียหาย และจำเลยทั้งสามมีเจตนากลั่นแกล้ง อันเป็นเหตุให้ข้อมูลซึ่งเป็นความลับทางการค้าของผู้เสียหายสิ้นสภาพความเป็นความลับทางการค้า ทำให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหายในการประกอบธุรกิจ โดยมิได้บรรยายฟ้องระบุวิธีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวนั้นว่าเป็นการโฆษณาด้วยเอกสาร กระจายเสียง หรือการแพร่ภาพหรือเปิดเผยด้วยวิธีอื่นใด จึงไม่ใช่การยืนยันข้อเท็จจริงว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการเปิดเผยความลับทางการค้าของผู้อื่นให้เป็นที่ล่วงรู้โดยทั่วไปในประการที่ทำให้ความลับทางการค้านั้นสิ้นสภาพการเป็นความลับทางการค้าดังกล่าว แต่เป็นการยืนยันเพียงว่าเป็นการเปิดเผยแก่บุคคลหนึ่งที่เป็นบุคคลทั่วไป จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ไม่ครบองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ มาตรา 33 ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนที่ติดบนหีบห่อสินค้า ไม่ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272(1) แต่ศาลต้องพิพากษาให้ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องสำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) ว่า ผู้เสียหายที่ 1 ประกอบอาชีพขายสินค้าต่าง ๆ รวมทั้งผ้าหมึกใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์และหมึกที่บรรจุในคาร์ทริดจ์สำหรับใช้กับเครื่องพิมพ์ ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า โดยนำออกจำหน่ายในฐานะเจ้าของสินค้าในเครื่องหมายการค้าดังกล่าว และผู้เสียหายที่ 1 ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสำหรับใช้กับสินค้าจำพวก 16 รายการสินค้า ผ้าหมึกใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ และสำหรับสินค้าจำพวก 2 รายการสินค้า หมึกที่บรรจุในคาร์ทริดจ์สำหรับใช้กับเครื่องพิมพ์ ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว จำเลยทั้งสองได้บังอาจร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าคำว่า ของผู้เสียหายที่ 1 ดังกล่าว แล้วนำไปทำให้ปรากฏบนผลิตภัณฑ์ ภาชนะบรรจุ หีบห่อ ฉลาก และสติกเกอร์ของผลิตภัณฑ์สินค้าที่ทำปลอม โดยนำตลับคาร์ทริดจ์เปล่ามาถอดออกแล้วเติมผงหมึกปลอมลงไปในตลับหมึก จากนั้นประกอบเข้าที่เดิมพร้อมใส่ลูกกลิ้งหมึกพิมพ์ลงไปแล้วนำมาบรรจุใส่ถุงปิดกระดาษที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า ปลอม และนำสติกเกอร์ที่ชื่อ รูป รอยประดิษฐ์คำว่า มาติดลงบนหีบห่อที่ใช้บรรจุสินค้า เป็นการเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์มาใช้ให้ปรากฏบนสินค้าเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของผู้เสียหายที่ 1 ตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเห็นได้ว่าชื่อ รูป รอยประดิษฐ์คำว่า ที่โจทก์อ้างก็คือเครื่องหมายเดียวกับเครื่องหมายการค้าคำว่า ที่ผู้เสียหายที่ 1 ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร การที่จำเลยทั้งสองนำตลับคาร์ทริดจ์เปล่ามาถอดออกแล้วเติมผงหมึกปลอมลงไปในตลับหมึกพร้อมใส่ลูกกลิ้งหมึกพิมพ์ลงไปแล้วนำมาบรรจุใส่ถุงปิดกระดาษที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า ของผู้เสียหายที่ 1 และนำสติกเกอร์ที่มีชื่อ รูป รอยประดิษฐ์คำว่า มาติดลงบนหีบห่อที่ใช้บรรจุสินค้าตลับหมึกคาร์ทริดจ์นั้นถือเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า ของผู้เสียหายที่ 1 กับสินค้าตลับหมึกคาร์ทริดจ์ตัวพิมพ์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า อันเป็นความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 เพราะการใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบุคคลอื่นกับสินค้าปลอมอาจเป็นการใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับตัวสินค้าหรือหีบห่อบรรจุสินค้านั้นก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดสินค้าว่าโดยสภาพของสินค้าสามารถติดเครื่องหมายการค้าที่ตัวสินค้าได้หรือไม่ สำหรับสินค้าหมึกคาร์ทริดจ์ในคดีนี้เห็นได้โดยสภาพของสินค้าว่าไม่อาจติดเครื่องหมายการค้าที่สินค้าหมึกได้แต่ต้องติดเครื่องหมายการค้าที่หีบห่อบรรจุสินค้าหมึกคาร์ทริดจ์เท่านั้น การที่จำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า ของผู้เสียหายที่ 1 โดยปิดที่ถุงกระดาษบรรจุตลับหมึกและนำสติกเกอร์ที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า ปลอมไปติดบนหีบห่อที่บรรจุสินค้าตลับหมึกคาร์ทริดจ์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายที่ 1 อันเป็นความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวย่อมไม่อาจเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) อีก ส่วนการเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ที่เป็นเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นมาใช้โดยทำให้ปรากฏที่หีบห่อบรรจุสินค้าโดยมีเจตนาเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของผู้อื่นอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) นั้นต้องเป็นการเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ที่เป็นเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนในราชอาณาจักรมาใช้เท่านั้น
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) แต่ไม่ได้พิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 186 (8) จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ซึ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) แต่ไม่ได้พิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 186 (8) จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ซึ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13585/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความทางอาญาที่ไม่สมบูรณ์และการระงับคดีทรัพย์สินทางปัญญา ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณา
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาและจำเลยยื่นอุทธรณ์แล้ว การพิจารณาว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปหรือไม่และต้องจำหน่ายคดีในส่วนดังกล่าวหรือไม่จึงเป็นอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ การที่ศาลดังกล่าวมีคำสั่งว่าผู้เสียหายกับจำเลยเป็นการยอมความกันโดยชอบ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 ระงับ และจำหน่ายคดีส่วนดังกล่าวออกจากสารบบความ จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศชอบที่จะมีคำสั่งในส่วนดังกล่าวเสียใหม่
ตามรายงานสรุปผลการไกล่เกลี่ยของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จำเลยแถลงขอชำระเงินบรรเทาค่าเสียหาย ฝ่ายผู้เสียหายแถลงตกลงรับเงินดังกล่าว แต่ในส่วนของคดีขอให้เป็นดุลพินิจของศาลโดยไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความในทางอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการยอมความทางอาญาโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 จึงไม่ระงับตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
ตามรายงานสรุปผลการไกล่เกลี่ยของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จำเลยแถลงขอชำระเงินบรรเทาค่าเสียหาย ฝ่ายผู้เสียหายแถลงตกลงรับเงินดังกล่าว แต่ในส่วนของคดีขอให้เป็นดุลพินิจของศาลโดยไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความในทางอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการยอมความทางอาญาโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 จึงไม่ระงับตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13584/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียน vs. ป.อ.272: ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าเฉพาะบทบัญญัติ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
การเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ที่เป็นเครื่องหมายการค้า ของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักรสำหรับสินค้าที่จำพวกที่ 9 รายการสินค้า ตลับคาร์ทริดจ์ตัวพิมพ์ (สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์) มาใช้โดยทำให้ปรากฏที่ซองถุงลมกันกระแทกสำหรับบรรจุตลับคาร์ทริดจ์ตัวพิมพ์ (สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์) ถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักรของผู้เสียหายกับสินค้าตลับคาร์ทริดจ์ตัวพิมพ์ (สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์) ของจำเลยทั้งสอง โดยมีเจตนาเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าสินค้าที่อยู่ในซองถุงลมกันกระแทกดังกล่าวเป็นสินค้าของผู้เสียหาย โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักรตามที่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 บัญญัติไว้เป็นความผิดโดยเฉพาะแล้ว ดังนี้ การเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ที่เป็นเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นมาใช้โดยทำให้ปรากฏที่หีบห่อบรรจุสินค้าเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของผู้อื่นอันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) นั้นต้องเป็นการเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ที่เป็นเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนในราชอาณาจักรมาใช้เท่านั้น เพราะหากเป็นเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร การกระทำดังกล่าวจะเป็นความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าดังที่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 ได้บัญญัติไว้เป็นบทเฉพาะอยู่แล้ว บทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 272 (1) จึงมีวัตถุประสงค์ให้ความคุ้มครองแก่ชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความที่เป็นเครื่องหมายการค้าเฉพาะที่เป็นเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน เมื่อเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักร การเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ที่เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของผู้เสียหายมาใช้โดยทำให้ปรากฏที่หีบห่อเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของผู้เสียหายจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงไม่อาจเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) ได้อีก แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้องก็ตาม ไม่ใช่เรื่องการกระทำกรรมเดียวอันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90 ปัญหานี้แม้โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) ได้
ป.อ. มาตรา 29 บัญญัติว่า "ผู้ใดต้องโทษปรับและไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลพิพากษา ผู้นั้นจะต้องถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ หรือมิฉะนั้นจะต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ..." คำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่พิพากษาว่า หากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระค่าปรับให้กักขังแทนค่าปรับตาม ป.อ. มาตรา 30 โดยไม่ได้ระบุให้บังคับตาม ป.อ. มาตรา 29 และ 30 เป็นการบังคับให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าปรับโดยไม่ได้ยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 มาชดใช้ค่าปรับก่อนแล้วให้กักขังจำเลยที่ 2 แทนค่าปรับทันที ซึ่งเป็นการพิพากษาบังคับให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าปรับที่ไม่ชอบด้วย ป.อ. มาตรา 29
ป.อ. มาตรา 29 บัญญัติว่า "ผู้ใดต้องโทษปรับและไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลพิพากษา ผู้นั้นจะต้องถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ หรือมิฉะนั้นจะต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ..." คำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่พิพากษาว่า หากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระค่าปรับให้กักขังแทนค่าปรับตาม ป.อ. มาตรา 30 โดยไม่ได้ระบุให้บังคับตาม ป.อ. มาตรา 29 และ 30 เป็นการบังคับให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าปรับโดยไม่ได้ยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 มาชดใช้ค่าปรับก่อนแล้วให้กักขังจำเลยที่ 2 แทนค่าปรับทันที ซึ่งเป็นการพิพากษาบังคับให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าปรับที่ไม่ชอบด้วย ป.อ. มาตรา 29
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13583/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทำให้ความผิดฐานละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเปลี่ยนจาก ป.อ. มาตรา 272 เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
ความผิดฐานเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้หุ้มห่อแจ้งความ รายการแสดงราคา จดหมายเกี่ยวกับการค้าหรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่นนั้น แม้รูป Seiken ตามเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายจะเป็นรูป รอยประดิษฐ์ที่ใช้ในการประกอบการค้าของผู้เสียหายด้วยก็ตาม แต่เมื่อผู้เสียหายได้นำรูป รอยประดิษฐ์ดังกล่าวไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจนมีสภาพเป็นเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ในราชอาณาจักร อันมีผลทำให้ได้รับความคุ้มครองอย่างเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนที่หากผู้อื่นปลอมเครื่องหมายการค้าจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) อีก ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้า ร่วมกันมีสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมไว้เพื่อจำหน่าย และร่วมกันเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้หุ้มห่อแจ้งความ รายการแสดงราคา จดหมายเกี่ยวกับการค้าหรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่น จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ดังฟ้องโจทก์ว่า จำเลยทั้งสองมีเจตนากระทำความผิดดังที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองจะมาอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นอีกมิได้เพราะขัดกับคำรับสารภาพของจำเลยทั้งสอง และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้า ร่วมกันมีสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมไว้เพื่อจำหน่าย และร่วมกันเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้หุ้มห่อแจ้งความ รายการแสดงราคา จดหมายเกี่ยวกับการค้าหรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่น จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ดังฟ้องโจทก์ว่า จำเลยทั้งสองมีเจตนากระทำความผิดดังที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองจะมาอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นอีกมิได้เพราะขัดกับคำรับสารภาพของจำเลยทั้งสอง และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้