คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 ม. 45

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 137 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7670/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสินค้าโดยใบโปรฟอร์มาอินวอยซ์ การลงชื่อในเอกสารถือเป็นการสนองรับซื้อ สัญญาผูกพันจำเลยในฐานะตัวแทน
การที่โจทก์ส่งใบโปรฟอร์มาอินวอยซ์ไปถึงจำเลยที่ 1 มีรายละเอียดของสินค้าราคาและวิธีการชำระหนี้ ย่อมเป็นคำเสนอขายสินค้าเสนอต่อจำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้จัดการอาวุโสฝ่ายจัดซื้อของจำเลยที่ 1 ลงชื่อในช่องผู้ซื้อในเอกสารดังกล่าวแล้วส่งคืนให้โจทก์ย่อมเป็นการแสดงเจตนาสนองรับซื้อแทนจำเลยที่ 1 สัญญาซื้อขายเม็ดพลาสติกรายนี้จึงเกิดขึ้นมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 ยอมรับรู้ให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการซื้อสินค้าจากโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า การค้าขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1มุ่งเอาการที่จำเลยที่ 1 เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้โจทก์ก่อนจึงจะถือว่าการซื้อขายสำเร็จไปแต่ละรายการ แต่จำเลยที่ 1 มิได้ยกความข้อนี้ขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยเกี่ยวกับค่าเสียหายทุกรายการไม่ชอบเพราะโจทก์ยังนำสืบถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ได้ดังที่กล่าวไว้ในคำฟ้อง จำเลยที่ 1 อ้างขึ้นลอย ๆ ว่า โจทก์นำสืบไม่ได้ โดยมิได้ยกเหตุผลใด ๆ มาประกอบข้ออ้างเลยว่า โจทก์นำสืบอย่างไรจึงถือว่านำสืบไม่ได้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7670/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอซื้อขายและสนองรับ การผูกพันตามสัญญาซื้อขาย และขอบเขตการวินิจฉัยของศาล
การที่โจทก์ส่งใบโปรฟอร์มาอินวอยซ์ไปถึงจำเลยที่ 1 มีรายละเอียดของสินค้าราคาและวิธีการชำระหนี้ ย่อมเป็นคำเสนอขายสินค้าเสนอต่อจำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้จัดการอาวุโสฝ่ายจัดซื้อของจำเลยที่ 1 ลงชื่อในช่องผู้ซื้อในเอกสารดังกล่าวแล้วส่งคืนให้โจทก์ ย่อมเป็นการแสดงเจตนาสนองรับซื้อแทนจำเลยที่ 1 สัญญาซื้อขายเม็ดพลาสติกรายนี้จึงเกิดขึ้นมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 ยอมรับรู้ให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการซื้อสินค้าจากโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า การค้าขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1มุ่งเอาการที่จำเลยที่ 1 เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้โจทก์ก่อนจึงจะถือว่าการซื้อขายสำเร็จไปแต่ละรายการ แต่จำเลยที่ 1 มิได้ยกความข้อนี้ขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยเกี่ยวกับค่าเสียหายทุกรายการไม่ชอบ เพราะโจทก์ยังนำสืบถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ได้ดังที่กล่าวไว้ในคำฟ้อง จำเลยที่ 1 อ้างขึ้นลอย ๆว่า โจทก์นำสืบไม่ได้ โดยมิได้ยกเหตุผลใด ๆ มาประกอบข้ออ้างเลยว่า โจทก์นำสืบอย่างไรจึงถือว่านำสืบไม่ได้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6793/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลตเตอร์ออฟเครดิต: ธนาคารมีหน้าที่จ่ายเงินตามเงื่อนไข แม้โจทก์มีข้อพิพาทกับผู้ขาย ศาลมิอาจอายัดการจ่ายเงิน
ธนาคารผู้ร้องไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 4 แต่การที่โจทก์จำเป็นต้องขอให้ผู้ร้องออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่จำเลยที่ 4ก็เพื่อให้ผู้ร้องที่เป็นธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นผู้มีความน่าเชื่อถือในฐานะการเงินเข้ารับภาระในการจ่ายเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตอันมีผลให้ผู้ขายคือจำเลยที่ 4 มั่นใจว่าจะได้รับเงินค่าสินค้าอย่างแน่นอน เมื่อได้ปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขในเลตเตอร์ออฟเครดิตกล่าวคือ เมื่อมีการเสนอเอกสารถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขในเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้ว ผู้ร้องก็มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้น หากผู้ร้องไม่ชำระเงินโดยปราศจากเหตุผลที่มีน้ำหนักเป็นที่ยอมรับได้ในวงการค้าระหว่างประเทศก็ย่อมก่อให้เกิดผลเสียต่อความน่าเชื่อถือในวงการค้าระหว่างประเทศของผู้ร้อง และมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการในการออกเลตเตอร์ออฟเครดิตของผู้ร้องและลูกค้าที่ขอให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อการชำระเงินค่าสินค้าแก่ผู้ขายสินค้าในต่างประเทศในภายหน้าด้วยเหตุนี้การที่ศาลจะออกคำสั่งอายัดห้ามผู้ร้องชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจึงต้องพิจารณาด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง
ตามคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่า จำเลยที่ 4 มีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี การที่โจทก์ขอให้ธนาคารผู้ร้องออกเลตเตอร์ออฟเครดิตก็เพื่อการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่จำเลยที่ 4ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีมาแต่แรกจึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 4ยักย้ายนำทรัพย์สินของตนจากประเทศไทย ไปยังประเทศสาธารณรัฐเกาหลี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5541/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงใหม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยให้การรับสารภาพว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ข้อเท็จจริงในคดีจึงต้องรับฟังเป็นยุติถึงการกระทำความผิดของจำเลยได้ตามที่โจทก์ฟ้อง จำเลยไม่อาจที่จะโต้แย้งเป็นอย่างอื่นได้ การที่จำเลยอุทธรณ์ขึ้นมาว่ามิได้มีเจตนากระทำผิด เป็นอุทธรณ์โต้แย้งข้อเท็จจริงที่รับฟังเป็นยุติไปแล้ว อันถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 และ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ต้องไม่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วไป แม้มีสัญญาให้คิดดอกเบี้ยสูงสุดได้
การที่โจทก์มิได้หักเงินฝากในบัญชีเงินฝากประจำตามสัญญาชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 นอกจากจะเป็นการไม่ใช้สิทธิของโจทก์ตามข้อตกลงในสัญญาแล้ว ยังเป็นการกระทำที่แสดงให้เห็นได้ว่า โจทก์ซึ่งประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ไม่คำนึงถึงประโยชน์ของลูกค้า แต่กลับมุ่งหวังประโยชน์ในดอกเบี้ยจากลูกค้าอันเป็นการเอาเปรียบลูกค้าโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ถือได้ว่าการที่โจทก์ไม่หักชำระหนี้ต้นเงินบางส่วนดังกล่าวแต่กลับมาฟ้องให้จำเลยชำระดอกเบี้ยจากต้นเงินที่ควรได้รับการชำระหนี้แล้วจำนวน 1,500,000 บาท นั้น เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ดังนี้ แม้โจทก์จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในส่วนต้นเงิน 1,500,000 บาท อยู่ แต่ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามรับผิดในส่วนเฉพาะดอกเบี้ยของต้นเงินจำนวนดังกล่าว เนื่องจากการคิดดอกเบี้ยส่วนนี้เป็นเหตุที่สืบเนื่องมาจากการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45
สัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 ระบุว่า ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้ตามรายละเอียดแนบท้ายในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 19 ต่อปี) นับแต่วันที่ธนาคารได้ชำระเงินค่าสินค้าแทน แสดงว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดดังกล่าวได้แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ ส่วนในกรณีที่มีการผิดนัดชำระหนี้มีข้อตกลงกันตามสัญญา ข้อ 7 ว่า ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราตามที่กำหนดในข้อ 4. นับแต่วันที่ผิดนัดจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น และยินยอมให้ธนาคารหักบัญชีเงินฝากทุกประเภทที่มีอยู่กับธนาคารเพื่อชำระหนี้ได้ทันที และเมื่อหักแล้วปรากฏยังเหลือหนี้ค้างชำระอยู่อีกเป็นจำนวนเท่าใด ยอมให้ธนาคารนำหนี้ที่เหลือค้างชำระดังกล่าวลงจ่ายในบัญชีเดินสะพัด และเป็นหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่ธนาคารพร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดดังกล่าวตามประเพณีการคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดของธนาคาร และหรือยินยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน นับแต่วันที่เป็นหนี้ตามบัญชีเดินสะพัด สัญญาข้อนี้แสดงว่าในกรณีจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้โจทก์เรียกเก็บได้ ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดในกรณีที่มิได้ผิดนัดตามสัญญา ข้อ 4. และหากอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปก็ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยตามอัตราสูงสุดที่เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวจำเลยที่ 1 ก่อนเท่านั้น เมื่อข้อสัญญาดังกล่าวให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดอัตราเดียวกับกรณีที่ไม่ผิดนัด ไม่ใช่ข้อสัญญาที่ให้สิทธิแก่โจทก์คิดดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยก่อนผิดนัด ดังนี้ ไม่ว่าจำเลยที่ 1 จะผิดนัดหรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราเดียวกัน สัญญาข้อ 7 ดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อสัญญากำหนดค่าเสียหายเพื่อการผิดนัดชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า อันจะถือเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลจะมีอำนาจลดลงตามสมควรได้ตามมาตรา 383
แม้จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2535 โดยธนาคารพาณิชย์ประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วไปสูงสุดได้และโจทก์ขอคิดดอกเบี้ยมาในอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้แล้วก็ตาม แต่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทก่อนที่จะมีหลักเกณฑ์ใหม่ออกมาใช้บังคับ และตามสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 7. กำหนดให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยกรณีจำเลยที่ 1 ผิดนัดในอัตราสูงสุดได้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่คิดก่อนผิดนัด ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 ผิดนัดโจทก์ก็ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราที่สูงไปกว่าที่โจทก์มีสิทธิเรียกก่อนจำเลยที่ 1 ผิดนัดได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในระหว่างผิดนัดชำระหนี้ได้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่คิดได้จากลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น ซึ่งได้แก่อัตราดอกเบี้ยทั่วไปสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดเป็นกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้ตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 14 (2) ซึ่งโจทก์ต้องปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนจะเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญาตามมาตรา 44 ดังนี้ ปัญหาว่าธนาคารโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกค้าถูกต้องตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยหรือไม่ ย่อมเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องไม่มีคู่ความอุทธรณ์ขึ้นมา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ตามคำให้การจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าการที่โจทก์นำเงินไปหักชำระหนี้ล่าช้า เป็นเหตุให้จำเลยเสียหายที่จะต้องนำค่าเสียหายมาหักหนี้แต่อย่างใด จึงไม่มีประเด็นให้ต้องวินิจฉัย นอกจากนี้ แม้โจทก์จะนำเงินนั้นไปหักชำระหนี้ทันทีก็หักชำระหนี้ได้เฉพาะดอกเบี้ย การหักชำระหนี้ล่าช้าไม่ใช่กรณีที่ทำให้ต้นเงินที่โจทก์ใช้เป็นฐานในการคิดดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงไป การกระทำของโจทก์จึงมิใช่การเอาเปรียบจำเลยทั้งสาม อันจะถือว่าเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตที่จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนี้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวและพิพากษาให้หักค่าเสียหายออกจากหนี้ 150,000 บาท จึงไม่ชอบเพราะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น แม้โจทก์จะอ้างว่า ส. และจำเลยที่ 3 นำสิทธิในเงินฝากประจำมาประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และทำสัญญายอมให้โจทก์หักหรือถอนเงินฝากเข้าชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ทันทีก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ใช้สิทธิหักชำระหนี้ แล้วกลับมาขอให้พิพากษาให้โจทก์มีสิทธิหักชำระหนี้จากเงินฝากดังกล่าว ซึ่งจะมีผลถึง ส. ที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องมาในคดีนี้ด้วย จึงบังคับตามคำขอของโจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1034/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องแย้งหลังศาลไม่รับฟ้อง: ไม่อนุญาตแก้ไขหากศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องแล้ว
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาแล้ว จึงไม่มีฟ้องแย้งที่จะให้จำเลยแก้ไขได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1034/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่รับฟ้องแย้ง: สิ้นสุดสิทธิแก้ไขฟ้อง
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาแล้ว จึงไม่มีฟ้องแย้งที่จะให้จำเลยแก้ไขได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1034/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องแย้งหลังศาลไม่รับฟ้อง: เมื่อศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งแล้ว จำเลยไม่สามารถแก้ไขฟ้องแย้งได้อีก
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาแล้ว จึงไม่มีฟ้องแย้งที่จะให้จำเลยแก้ไขได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้เกี่ยวกับการถอนคำร้องทุกข์คดีละเมิดลิขสิทธิ์และการพิพากษาคดีความผิด พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทป
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31 และ 70 วรรคสอง เป็นความผิดอันยอมความได้ ตามมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ ผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์สำหรับข้อหาความผิดดังกล่าวแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับข้อความความผิดนั้นย่อมระงับไป ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ต้องจำหน่ายคดีสำหรับข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ดังกล่าว เสียจากสารบบความ
ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้วินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีสำหรับข้อหาความผิดดังกล่าวจนเสร็จสิ้นพร้อมกับได้ส่งคำพิพากษาศาลฎีกาไปให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเพื่ออ่านให้คู่ความฟังแล้ว จึงเห็นสมควรไม่อนุญาตให้จำเลยถอนอุทธรณ์
ข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 มาตรา 6 และ 34 โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้บังอาจประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวิดีโอเทปภาพยนตร์ซึ่งบันทึกภาพและเสียงภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ อันเป็นเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน การบรรยายฟ้องคำว่า "วิดีโอเทปภาพยนตร์" ดังกล่าว เป็นการบรรยายถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำของจำเลยที่โจทก์อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ซึ่งโจทก์ก็ได้บรรยายในคำฟ้องนั้นแล้วว่าวิดีโอเทปภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นเทปหรือวัสดุโทรทัศน์อันเป็นข้อกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่มีข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดครบถ้วนแล้ว มาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายด้วยประการใด ๆ ซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้ประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในรูปของค่าธรรมเนียมสมาชิกหรือด้วยวิธีการอื่นใด เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นอกจากกรณีที่ได้รับยกเว้นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง?" ผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องรับโทษตามมาตรา 34 เห็นได้ชัดว่ากฎหมายมีเจตนารมณ์ที่จะบัญญัติเป็นความผิดโดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้ประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในรูปของค่าธรรมเนียมสมาชิกหรือด้วยวิธีการอื่นใด แต่ผู้ประกอบกิจการนั้นประกอบกิจการไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนก่อน จำเลยมีอายุเพียง 20 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด จำเลยไม่สามารถลงทุนมีร้านประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวิดีโอเทปอันเป็นกิจการที่ต้องใช้เงินมากตามฟ้องได้ จำเลยเป็นเพียงลูกจ้างและมารับจ้างทำงานในร้านโฮมวีดีโอที่กรุงเทพมหานคร มิได้เป็นเจ้าของร้านโฮมวีดีโอหรือเป็นเจ้าของกิจการร้านดังกล่าวหรือเป็นผู้ประกอบกิจการร้านนั้น จำเลยเป็นเพียงผู้นำภาพยนตร์วิดีโอเทปซึ่งตนรู้อยู่ว่ามีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ของผู้เสียหายออกให้เช่า เสนอให้เช่าแก่บุคคลทั่วไปเท่านั้น จำเลยมิใช่ผู้ประกอบกิจการให้เช่าเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ที่ต้องไปขออนุญาตจากนายทะเบียนในการประกอบกิจการดังกล่าวก่อน ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้อง ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6991/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอในคดีละเมิดเครื่องหมายการค้า ศาลฎีกาแก้ไขโทษให้ถูกต้องตามฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลียนเครื่องหมายการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮ.ผู้เสียหาย ที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าซอสหอยนางรมที่จำเลยผลิตขึ้นโดยติดเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายดังกล่าว ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา109, 110 และ ป.อ. มาตรา 90 แสดงว่า โจทก์บรรยายฟ้องยืนยันว่าการกระทำความผิดของจำเลยดังกล่าวจำเลยมีเจตนาเดียวคือเจตนามีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่ติดเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายอันเป็นความผิดกรรมเดียวกัน โจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่างกรรมกันโดยจำเลยมีเจตนาต่างกันไม่ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่า การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกันและให้เรียงกระทงลงโทษจำเลยมาเป็น 2 กระทง จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา192 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 26 แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย และแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา195 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ พ.ศ. 2539มาตรา 45 เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534มาตรา 109 และมาตรา 110 (1) ประกอบด้วยมาตรา 109 อันเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ.มาตรา 90 ความผิดทั้งสองบทดังกล่าวมีระวางโทษเท่ากัน จึงให้ลงโทษจำเลยฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบุคคลอื่น ตามมาตรา 110 (1) ประกอบด้วยมาตรา 109
of 14