พบผลลัพธ์ทั้งหมด 137 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10546/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์ – พยานหลักฐานไม่เพียงพอ – จำเลยปฏิเสธ – ศาลยกฟ้อง
เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบพยานหลักฐานพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้ครบองค์ประกอบของความผิดฐานดังกล่าวและให้มีน้ำหนักและเหตุผลรับฟังได้โดยปราศจากเหตุอันควรสงสัยว่าจำเลยได้กระทำความผิดดังที่โจทก์ฟ้องจริง จึงจะลงโทษจำเลยสำหรับความผิดดังกล่าวได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์รูปการ์ตูนหุ่นยนต์ดีเซ็ปติคอนส์ รูปหุ่นยนต์บัมเบิลบี รูปหุ่นยนต์ออฟติมัส ไพรม และรูปหุ่นยนต์ทรานฟอร์มเมอร์สของผู้เสียหาย โดยจำเลยนำเอากล่องบรรจุสินค้าของเล่นหุ่นยนต์ที่มีรูปหุ่นยนต์ดีเซ็ปติคอนส์จำนวน 24 ชิ้น กล่องบรรจุสินค้าของเล่นหุ่นยนต์ที่มีรูปหุ่นยนต์บัมเบิลบีจำนวน 132 ชิ้น กล่องบรรจุสินค้าของเล่นหุ่นยนต์และของเล่นหุ่นยนต์ที่มีรูปหุ่นยนต์ออฟติมัส ไพรม จำนวน 14 ชิ้น และกล่องบรรจุสินค้าของเล่นหุ่นยนต์ที่มีรูปหุ่นยนต์ทรานฟอร์มเมอร์ส จำนวน 5,330 ชิ้น ของกลางซึ่งมีผู้ทำซ้ำและดัดแปลงขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกขาย เสนอขาย และมีไว้เพื่อขายแก่บุคคลทั่วไป อันเป็นการกระทำเพื่อแสวงหากำไรในทางการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าสินค้าที่มีรูปการ์ตูนหุ่นยนต์ดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) ดังนี้ โจทก์จึงต้องนำสืบพยานหลักฐานพิสูจน์ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) ให้มีน้ำหนักและเหตุผลรับฟังได้โดยปราศจากเหตุอันควรสงสัยรวม 5 ประการ ได้แก่ ประการที่ 1 ข้อเท็จจริงที่ว่ากล่องบรรจุสินค้าของเล่นหุ่นยนต์ของกลางจำนวน 24 ชิ้น มีรูปหุ่นยนต์ดีเซ็ปติคอนส์ จำนวน 132 ชิ้น มีรูปหุ่นยนต์บัมเบิลบี จำนวน 14 ชิ้น มีรูปหุ่นยนต์ออฟติมัส ไพรม และจำนวน 5,330 ชิ้น มีรูปหุ่นยนต์ทรานฟอร์มเมอร์สซึ่งมีผู้ทำซ้ำและดัดแปลงขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ประการที่ 2 ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าสินค้าที่มีรูปหุ่นยนต์ดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ประการที่ 3 ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยได้ขาย เสนอขาย และมีไว้เพื่อขายแก่บุคคลทั่วไปซึ่งสินค้าของเล่นหุ่นยนต์ที่บรรจุอยู่ในกล่องของกลางดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย ประการที่ 4 ข้อเท็จจริงที่ว่าการกระทำของจำเลยในประการที่ 3 เป็นการกระทำโดยมีเจตนาเพื่อหากำไร และประการที่ 5 ข้อเท็จจริงที่ว่าการกระทำของจำเลยในประการที่ 3 และที่ 4 เป็นการกระทำโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อการค้า
โจทก์มี ม. ผู้รับมอบอำนาจช่วงผู้เสียหายมาเบิกความลอย ๆ เพียงว่า ม. พบว่ามีสินค้าที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์ของผู้เสียหาย โดยไม่ปรากฏจากคำเบิกความของ ม. ว่ารูปการ์ตูนหุ่นยนต์ที่ปรากฏอยู่บนกล่องสินค้าของกลางเป็นงานที่ทำซ้ำและดัดแปลงขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายเพราะเหตุใด รูปการ์ตูนดังกล่าวแตกต่างจากรูปการ์ตูนอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายอย่างไร ม. เคยเห็นรูปการ์ตูนอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายหรือไม่ก็ไม่ปรากฏ ทั้งไม่ปรากฏว่า ม. ได้นำวัตถุพยานของกลางไปตรวจสอบกับรูปการ์ตูนซึ่งเป็นงานศิลปกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายว่ารูปการ์ตูนบนกล่องสินค้าของกลางได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในรูปการ์ตูนของผู้เสียหายด้วยการทำซ้ำหรือดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายอย่างไร นอกจากนี้ ม. พยานโจทก์เป็นเพียงพนักงานบริษัท ว. ซึ่งประกอบกิจการดูแลการละเมิดลิขสิทธิ์ให้แก่ผู้เสียหาย ทั้งโจทก์ก็ไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบให้เห็นว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าวัตถุพยานของกลางมีงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมรูปการ์ตูนของผู้เสียหาย พยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวยังไม่มีน้ำหนักและเหตุผลให้รับฟังได้โดยปราศจากเหตุอันควรสงสัยว่า กล่องสินค้าวัตถุพยานของกลาง มีรูปการ์ตูนที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมรูปการ์ตูนของผู้เสียหายอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) ที่โจทก์ฟ้อง
ส่วนที่พยานโจทก์เบิกความว่า เมื่อมีการจับกุมจำเลย จำเลยให้การรับสารภาพว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายตามบันทึกการตรวจค้นจับกุมนั้น ถ้อยคำของจำเลยผู้ถูกจับตามบันทึกการตรวจค้นจับกุมดังกล่าวเป็นถ้อยคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิด จึงต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานและไม่อาจนำมารับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ว่า จำเลยได้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) ดังที่โจทก์ฟ้อง ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และ ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์รูปการ์ตูนหุ่นยนต์ดีเซ็ปติคอนส์ รูปหุ่นยนต์บัมเบิลบี รูปหุ่นยนต์ออฟติมัส ไพรม และรูปหุ่นยนต์ทรานฟอร์มเมอร์สของผู้เสียหาย โดยจำเลยนำเอากล่องบรรจุสินค้าของเล่นหุ่นยนต์ที่มีรูปหุ่นยนต์ดีเซ็ปติคอนส์จำนวน 24 ชิ้น กล่องบรรจุสินค้าของเล่นหุ่นยนต์ที่มีรูปหุ่นยนต์บัมเบิลบีจำนวน 132 ชิ้น กล่องบรรจุสินค้าของเล่นหุ่นยนต์และของเล่นหุ่นยนต์ที่มีรูปหุ่นยนต์ออฟติมัส ไพรม จำนวน 14 ชิ้น และกล่องบรรจุสินค้าของเล่นหุ่นยนต์ที่มีรูปหุ่นยนต์ทรานฟอร์มเมอร์ส จำนวน 5,330 ชิ้น ของกลางซึ่งมีผู้ทำซ้ำและดัดแปลงขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกขาย เสนอขาย และมีไว้เพื่อขายแก่บุคคลทั่วไป อันเป็นการกระทำเพื่อแสวงหากำไรในทางการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าสินค้าที่มีรูปการ์ตูนหุ่นยนต์ดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) ดังนี้ โจทก์จึงต้องนำสืบพยานหลักฐานพิสูจน์ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) ให้มีน้ำหนักและเหตุผลรับฟังได้โดยปราศจากเหตุอันควรสงสัยรวม 5 ประการ ได้แก่ ประการที่ 1 ข้อเท็จจริงที่ว่ากล่องบรรจุสินค้าของเล่นหุ่นยนต์ของกลางจำนวน 24 ชิ้น มีรูปหุ่นยนต์ดีเซ็ปติคอนส์ จำนวน 132 ชิ้น มีรูปหุ่นยนต์บัมเบิลบี จำนวน 14 ชิ้น มีรูปหุ่นยนต์ออฟติมัส ไพรม และจำนวน 5,330 ชิ้น มีรูปหุ่นยนต์ทรานฟอร์มเมอร์สซึ่งมีผู้ทำซ้ำและดัดแปลงขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ประการที่ 2 ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าสินค้าที่มีรูปหุ่นยนต์ดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ประการที่ 3 ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยได้ขาย เสนอขาย และมีไว้เพื่อขายแก่บุคคลทั่วไปซึ่งสินค้าของเล่นหุ่นยนต์ที่บรรจุอยู่ในกล่องของกลางดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย ประการที่ 4 ข้อเท็จจริงที่ว่าการกระทำของจำเลยในประการที่ 3 เป็นการกระทำโดยมีเจตนาเพื่อหากำไร และประการที่ 5 ข้อเท็จจริงที่ว่าการกระทำของจำเลยในประการที่ 3 และที่ 4 เป็นการกระทำโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อการค้า
โจทก์มี ม. ผู้รับมอบอำนาจช่วงผู้เสียหายมาเบิกความลอย ๆ เพียงว่า ม. พบว่ามีสินค้าที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์ของผู้เสียหาย โดยไม่ปรากฏจากคำเบิกความของ ม. ว่ารูปการ์ตูนหุ่นยนต์ที่ปรากฏอยู่บนกล่องสินค้าของกลางเป็นงานที่ทำซ้ำและดัดแปลงขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายเพราะเหตุใด รูปการ์ตูนดังกล่าวแตกต่างจากรูปการ์ตูนอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายอย่างไร ม. เคยเห็นรูปการ์ตูนอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายหรือไม่ก็ไม่ปรากฏ ทั้งไม่ปรากฏว่า ม. ได้นำวัตถุพยานของกลางไปตรวจสอบกับรูปการ์ตูนซึ่งเป็นงานศิลปกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายว่ารูปการ์ตูนบนกล่องสินค้าของกลางได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในรูปการ์ตูนของผู้เสียหายด้วยการทำซ้ำหรือดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายอย่างไร นอกจากนี้ ม. พยานโจทก์เป็นเพียงพนักงานบริษัท ว. ซึ่งประกอบกิจการดูแลการละเมิดลิขสิทธิ์ให้แก่ผู้เสียหาย ทั้งโจทก์ก็ไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบให้เห็นว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าวัตถุพยานของกลางมีงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมรูปการ์ตูนของผู้เสียหาย พยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวยังไม่มีน้ำหนักและเหตุผลให้รับฟังได้โดยปราศจากเหตุอันควรสงสัยว่า กล่องสินค้าวัตถุพยานของกลาง มีรูปการ์ตูนที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมรูปการ์ตูนของผู้เสียหายอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) ที่โจทก์ฟ้อง
ส่วนที่พยานโจทก์เบิกความว่า เมื่อมีการจับกุมจำเลย จำเลยให้การรับสารภาพว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายตามบันทึกการตรวจค้นจับกุมนั้น ถ้อยคำของจำเลยผู้ถูกจับตามบันทึกการตรวจค้นจับกุมดังกล่าวเป็นถ้อยคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิด จึงต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานและไม่อาจนำมารับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ว่า จำเลยได้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) ดังที่โจทก์ฟ้อง ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และ ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9597/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีละเมิดลิขสิทธิ์และการจำหน่ายภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจ พิจารณาองค์ประกอบความผิดและคำบรรยายฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอให้ริบแผ่นปกซีดีภาพยนตร์ด้วย เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ได้วินิจฉัยคำขอของโจทก์ในส่วนนี้ จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9)
แม้จำเลยให้การรับสารภาพ แต่การริบของกลางตามฟ้องได้นั้น จะต้องได้ความชัดแจ้งตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยได้ใช้หรือมีของกลางนั้นไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75 และ ป.อ. มาตรา 33 (1) เมื่อการกระทำความผิดของจำเลยทุกข้อหาตามฟ้องล้วนแล้วแต่เป็นแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ทั้งสิ้น ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องระบุชื่อเรียกแผ่นดีวีดีภาพยนตร์แตกต่างจากชื่อเรียกปกซีดีภาพยนตร์ของกลางอย่างชัดเจน แผ่นดีวีดีภาพยนตร์และแผ่นซีดีภาพยนตร์เป็นแผ่นต่างชนิดซึ่งเป็นคนละประเภทกัน อีกทั้งโจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 3 ว่า ...และยึดได้แผ่นปกซีดีภาพยนตร์ รวม 4 เล่ม ที่จำเลยใช้ในการเสนอจำหน่ายแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นของกลาง โดยไม่ปรากฏว่าปกซีดีภาพยนตร์ดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงงานสร้างสรรค์อันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายทั้งหกปรากฏให้เห็นว่าเป็นการขาย เสนอขาย และมีไว้เพื่อขายแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ตามฟ้องรวมอยู่ในหน้าปกดังกล่าวด้วย คำบรรยายฟ้องโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่าแผ่นปกซีดีภาพยนตร์ รวม 4 เล่ม ของกลาง เป็นทรัพย์ที่ได้ใช้ในการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้เสียหายทั้งหกโดยตรงที่ให้ริบเสียทั้งสิ้นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75 หรือเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด อันพึงริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ภาพยนตร์ที่จะนำออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายในราชอาณาจักร ต้องผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์" แต่การกระทำที่จะถือว่าเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 25 วรรคหนึ่ง นั้น ผู้กระทำความผิดจะต้องมีหน้าที่นำภาพยนตร์ที่จะนำออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายในราชอาณาจักรไปผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องใน ข้อ 2 (ข) เพียงว่า จำเลยจำหน่ายแผ่นดีวีดีภาพยนตร์... โดยไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์และไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายเท่านั้น แต่ไม่ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ต้องนำภาพยนตร์ที่จะนำออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายในราชอาณาจักรไปผ่านการตรวจพิจารณาอย่างไร การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายฟ้องย่อมไม่อาจเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง ซึ่งจะเป็นความผิดตามมาตรา 78 ได้ ฟ้องของโจทก์ในข้อหาความผิดดังกล่าว จึงเป็นฟ้องที่มิได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 78 ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวได้ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
แม้จำเลยให้การรับสารภาพ แต่การริบของกลางตามฟ้องได้นั้น จะต้องได้ความชัดแจ้งตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยได้ใช้หรือมีของกลางนั้นไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75 และ ป.อ. มาตรา 33 (1) เมื่อการกระทำความผิดของจำเลยทุกข้อหาตามฟ้องล้วนแล้วแต่เป็นแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ทั้งสิ้น ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องระบุชื่อเรียกแผ่นดีวีดีภาพยนตร์แตกต่างจากชื่อเรียกปกซีดีภาพยนตร์ของกลางอย่างชัดเจน แผ่นดีวีดีภาพยนตร์และแผ่นซีดีภาพยนตร์เป็นแผ่นต่างชนิดซึ่งเป็นคนละประเภทกัน อีกทั้งโจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 3 ว่า ...และยึดได้แผ่นปกซีดีภาพยนตร์ รวม 4 เล่ม ที่จำเลยใช้ในการเสนอจำหน่ายแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นของกลาง โดยไม่ปรากฏว่าปกซีดีภาพยนตร์ดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงงานสร้างสรรค์อันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายทั้งหกปรากฏให้เห็นว่าเป็นการขาย เสนอขาย และมีไว้เพื่อขายแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ตามฟ้องรวมอยู่ในหน้าปกดังกล่าวด้วย คำบรรยายฟ้องโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่าแผ่นปกซีดีภาพยนตร์ รวม 4 เล่ม ของกลาง เป็นทรัพย์ที่ได้ใช้ในการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้เสียหายทั้งหกโดยตรงที่ให้ริบเสียทั้งสิ้นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75 หรือเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด อันพึงริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ภาพยนตร์ที่จะนำออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายในราชอาณาจักร ต้องผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์" แต่การกระทำที่จะถือว่าเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 25 วรรคหนึ่ง นั้น ผู้กระทำความผิดจะต้องมีหน้าที่นำภาพยนตร์ที่จะนำออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายในราชอาณาจักรไปผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องใน ข้อ 2 (ข) เพียงว่า จำเลยจำหน่ายแผ่นดีวีดีภาพยนตร์... โดยไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์และไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายเท่านั้น แต่ไม่ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ต้องนำภาพยนตร์ที่จะนำออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายในราชอาณาจักรไปผ่านการตรวจพิจารณาอย่างไร การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายฟ้องย่อมไม่อาจเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง ซึ่งจะเป็นความผิดตามมาตรา 78 ได้ ฟ้องของโจทก์ในข้อหาความผิดดังกล่าว จึงเป็นฟ้องที่มิได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 78 ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวได้ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2124/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าและการจำกัดความรับผิดตามสัญญาขนส่ง รวมถึงการรับช่วงสิทธิจากสัญญาประกันภัย
การฟ้องบังคับคดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 867 วรรคหนึ่ง หมายถึงกรณีผู้เอาประกันภัยฟ้องบังคับผู้รับประกันภัยให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ตามที่ระบุไว้ในสัญญา หรือกรณีที่ผู้รับประกันภัยฟ้องบังคับเอาเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัย คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยฟ้องจำเลยทั้งสามผู้ขนส่งให้ร่วมกันรับผิดเนื่องจากสินค้าของผู้เอาประกันภัยเสียหายระหว่างการขนส่งของจำเลยและโจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยแล้วเข้ารับช่วงสิทธิฟ้องร้องจำเลยทั้งสามโดยอาศัยอำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 ได้ กรณีมิใช่เป็นการฟ้องบังคับคดีตามสัญญาประกันภัยดังกล่าวอันจะตกอยู่ภายใต้บังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 867 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ชนะการประมูลในการขนส่งสินค้าให้แก่ผู้เอาประกันภัยโดยจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ไว้ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อ 1 กิโลกรัม เมื่อสินค้าหนัก 528.40 กิโลกรัม จำเลยที่ 1 จึงจำกัดความรับผิดไว้เพียงจำนวน 528.40 ดอลลาร์สิงคโปร์ ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 นั้น เมื่อปรากฏว่าใบรับขนของทางอากาศที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ออกจำกัดจำนวนความรับผิดไว้ 20 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องจำกัดความผิดไว้ตามที่ระบุไว้รวมเป็นเงิน 10,568 ดอลลาร์สหรัฐ และเมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดจากการขนส่งดังกล่าว จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ ความรับผิดของจำเลยทั้งสามนี้เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 3 ได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1)
จำเลยที่ 1 ชนะการประมูลในการขนส่งสินค้าให้แก่ผู้เอาประกันภัยโดยจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ไว้ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อ 1 กิโลกรัม เมื่อสินค้าหนัก 528.40 กิโลกรัม จำเลยที่ 1 จึงจำกัดความรับผิดไว้เพียงจำนวน 528.40 ดอลลาร์สิงคโปร์ ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 นั้น เมื่อปรากฏว่าใบรับขนของทางอากาศที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ออกจำกัดจำนวนความรับผิดไว้ 20 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องจำกัดความผิดไว้ตามที่ระบุไว้รวมเป็นเงิน 10,568 ดอลลาร์สหรัฐ และเมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดจากการขนส่งดังกล่าว จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ ความรับผิดของจำเลยทั้งสามนี้เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 3 ได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19339-19344/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์: การเพิกถอนสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มิได้เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่
แม้จำเลยจะมีพยานบุคคลเพียงปากเดียว แต่ไม่ปรากฏว่าเมื่อมีการประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตร โจทก์ทั้งหกยื่นคำคัดค้านต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าตนมีสิทธิรับสิทธิบัตรดีกว่าจำเลยหรือคำขอรับสิทธิบัตรของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้งไม่มีข้อเท็จจริงว่าขั้นตอนในการออกสิทธิบัตรของพนักงานเจ้าหน้าที่มีความบกพร่อง จึงต้องถือว่าจำเลยเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ทั้งหกฟ้องคดีนี้โดยกล่าวอ้างว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ โจทก์ทั้งหกจึงมีหน้าที่พิสูจน์ว่าแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามมาตรา 57 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522
ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมตกเป็นพับแล้ว ก็ไม่อาจพิพากษากำหนดให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าทนายความให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง คำพิพากษาในส่วนนี้จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 161 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมตกเป็นพับแล้ว ก็ไม่อาจพิพากษากำหนดให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าทนายความให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง คำพิพากษาในส่วนนี้จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 161 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18330/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรกรรมวิธีการสร้างสารกฤษณา: การพิจารณาขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้นและการไม่สมบูรณ์ของสิทธิบัตร
คำสั่งรับฟ้องแย้งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อโจทก์ไม่ได้โต้แย้งคำสั่งไว้จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย
สิทธิบัตรของโจทก์เป็นสิทธิบัตรกรรมวิธีการกระตุ้นให้สร้างสารกฤษณา โดยการสร้างลักษณะรอยแผลบนต้นกฤษณาเป็นการกระทำเพื่อกระตุ้นเอาผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นสารที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติของต้นไม้มาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์โดยเห็นได้จากสาระสำคัญตามข้อถือสิทธิของสิทธิบัตรที่มุ่งเน้นวิธีการควบคุมปริมาณการหลั่งของสารกฤษณาได้มากกว่าธรรมชาติจากกรรมวิธีการสร้างรอยแผลดังที่ระบุไว้ในข้อถือสิทธิ การพิจารณาออกสิทธิบัตรกรรมวิธีที่คิดค้นขึ้นอันเป็นผลให้ได้มาซึ่งผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากธรรมชาติอย่างเช่นสิทธิบัตรของโจทก์ต้องให้ความสำคัญกับเทคนิคพิเศษเฉพาะด้านของการประดิษฐ์ในแต่ละรายที่ทำให้เกิดผลผลิตดังกล่าวว่า กรรมวิธีนั้นเป็นที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับการคิดค้นกรรมวิธีเพื่อให้ได้มาซึ่งสารกฤษณาหรือไม่ โดยกรรมวิธีนั้นมิใช่เพียงกระบวนการที่ไม่มีเทคนิคพิเศษเพื่อให้ได้มาซึ่งสารกฤษณาดังกล่าว หากกรรมวิธีนั้นมิได้เกิดขึ้นจากการกระทำหรือการแทรกแซงของผู้ประดิษฐ์จนถึงขั้นที่ถือได้ว่าเป็นการคิดค้นหรือคิดทำขึ้นอันเป็นผลให้ได้มาซึ่งกรรมวิธีใหม่ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 กรรมวิธีนั้นก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรของโจทก์เป็นกรรมวิธีที่เป็นประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับการคิดค้นกรรมวิธีในการสร้างสารกฤษณาอันถือไม่ได้ว่าเป็นกรรมวิธีที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น การออกสิทธิบัตรดังกล่าวย่อมเป็นการออกที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522
อนึ่ง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า สิทธิบัตรของโจทก์ไม่สมบูรณ์ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 แต่ไม่มีคำพิพากษาให้เพิกถอนสิทธิบัตรเนื่องจากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้มีคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ ทป.82/2553 ให้เพิกถอนสิทธิบัตรของโจทก์แล้วนั้น ไม่ถูกต้อง แม้จำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
สิทธิบัตรของโจทก์เป็นสิทธิบัตรกรรมวิธีการกระตุ้นให้สร้างสารกฤษณา โดยการสร้างลักษณะรอยแผลบนต้นกฤษณาเป็นการกระทำเพื่อกระตุ้นเอาผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นสารที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติของต้นไม้มาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์โดยเห็นได้จากสาระสำคัญตามข้อถือสิทธิของสิทธิบัตรที่มุ่งเน้นวิธีการควบคุมปริมาณการหลั่งของสารกฤษณาได้มากกว่าธรรมชาติจากกรรมวิธีการสร้างรอยแผลดังที่ระบุไว้ในข้อถือสิทธิ การพิจารณาออกสิทธิบัตรกรรมวิธีที่คิดค้นขึ้นอันเป็นผลให้ได้มาซึ่งผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากธรรมชาติอย่างเช่นสิทธิบัตรของโจทก์ต้องให้ความสำคัญกับเทคนิคพิเศษเฉพาะด้านของการประดิษฐ์ในแต่ละรายที่ทำให้เกิดผลผลิตดังกล่าวว่า กรรมวิธีนั้นเป็นที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับการคิดค้นกรรมวิธีเพื่อให้ได้มาซึ่งสารกฤษณาหรือไม่ โดยกรรมวิธีนั้นมิใช่เพียงกระบวนการที่ไม่มีเทคนิคพิเศษเพื่อให้ได้มาซึ่งสารกฤษณาดังกล่าว หากกรรมวิธีนั้นมิได้เกิดขึ้นจากการกระทำหรือการแทรกแซงของผู้ประดิษฐ์จนถึงขั้นที่ถือได้ว่าเป็นการคิดค้นหรือคิดทำขึ้นอันเป็นผลให้ได้มาซึ่งกรรมวิธีใหม่ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 กรรมวิธีนั้นก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรของโจทก์เป็นกรรมวิธีที่เป็นประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับการคิดค้นกรรมวิธีในการสร้างสารกฤษณาอันถือไม่ได้ว่าเป็นกรรมวิธีที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น การออกสิทธิบัตรดังกล่าวย่อมเป็นการออกที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522
อนึ่ง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า สิทธิบัตรของโจทก์ไม่สมบูรณ์ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 แต่ไม่มีคำพิพากษาให้เพิกถอนสิทธิบัตรเนื่องจากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้มีคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ ทป.82/2553 ให้เพิกถอนสิทธิบัตรของโจทก์แล้วนั้น ไม่ถูกต้อง แม้จำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16563/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอาญาขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแม้ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัย
สำหรับในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 และมาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 การพิจารณาว่าคำฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ จึงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเท่าที่โจทก์บรรยายไว้แล้วในคำฟ้องเท่านั้น โดยเทียบเคียงบทบัญญัติตามมาตราในกฎหมายที่โจทก์มีคำขอให้ลงโทษจำเลยว่า โจทก์บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดที่บัญญัติไว้ในมาตราเหล่านั้นครบถ้วนหรือไม่ เพราะปัญหาว่าคำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ไม่ใช่ปัญหาข้อเท็จจริง จึงไม่ต้องพิจารณาว่าในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโจทก์ได้นำสืบข้อเท็จจริงว่าอย่างไร ครบองค์ประกอบของความผิดนั้นหรือไม่ เพราะคำฟ้องต้องชอบด้วยกฎหมายที่ศาลจะรับไว้พิจารณาพิพากษาต่อไปได้เสียก่อน การที่โจทก์จะอุทธรณ์จึงต้องอุทธรณ์เพื่อโต้แย้งคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางว่า เมื่อพิจารณาจากการบรรยายฟ้องแล้ว โจทก์เห็นว่าคำบรรยายฟ้องนั้นชอบด้วยกฎหมายในส่วนนี้แล้วอย่างไร คำวินิจฉัยของศาลขัดหรือคลาดเคลื่อนกับที่โจทก์บรรยายฟ้องไว้อย่างไร เพื่อให้เห็นได้ว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร เมื่อโจทก์เพียงแต่อุทธรณ์โดยยกเอาข้อเท็จจริงตามคำเบิกความชั้นไต่สวนมูลฟ้องของพยานโจทก์มากล่าวอ้างว่าได้เบิกความไว้ว่าอย่างไรแล้วสรุปว่าคำบรรยายฟ้องของโจทก์แจ้งชัดแล้ว จึงไม่ใช่การอุทธรณ์ในข้อกฎหมายเพื่อโต้แย้งข้อวินิจฉัยในคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์
ข้อมูลที่จะเป็นความลับทางการค้าตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3 ต้องเป็นข้อมูลการค้า แต่ตามฟ้องโจทก์ก็มิได้ระบุว่าข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้งโรงไฟฟ้า สถานที่ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แผนผังของโรงไฟฟ้าและข้อมูลอื่น ๆ ที่โจทก์ศึกษาเป็นข้อมูลการค้า โจทก์มิได้ระบุในฟ้องว่าข้อมูลในการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้พลังงานลมเป็นต้นกำลังเกี่ยวกับเรื่องใดที่โจทก์ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ควบคุมความลับทางการค้าเก็บไว้เป็นความลับ แม้โจทก์จะไม่ต้องระบุถึงรายละเอียดของข้อมูลที่เก็บเป็นความลับนั้น โจทก์ก็ต้องระบุในฟ้องว่าเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดและใช้มาตรการใดที่เหมาะสมเพื่อรักษาข้อมูลนั้นไว้เป็นความลับ แต่โจทก์หาได้ระบุถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ในฟ้องไม่ ทั้งโจทก์มิได้ระบุในฟ้องว่าข้อมูลที่โจทก์เก็บเป็นความลับเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เนื่องจากการเป็นความลับอย่างไร รวมทั้งการกระทำที่จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 33 โจทก์ก็ต้องระบุในฟ้องว่า จำเลยทั้งห้าเปิดเผยความลับทางการค้าของโจทก์เรื่องใดให้เป็นที่ล่วงรู้โดยทั่วไปในประการที่ทำให้ความลับทางการค้านั้นสิ้นสภาพการเป็นความลับทางการค้าโดยเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้รับความเสียหายในการประกอบธุรกิจด้วยการโฆษณาด้วยเอกสาร การกระจายเสียง หรือการแพร่ภาพ หรือการเปิดเผยด้วยวิธีอื่นใด แต่โจทก์หาได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 33 ดังกล่าวไม่ นอกจากนี้โจทก์ก็มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 ว่า จำเลยทั้งห้าได้เปิดเผยข้อเท็จจริงใดเกี่ยวกับกิจการของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ควบคุมความลับทางการค้าอันเป็นข้อเท็จจริงที่ตามปกติวิสัยจะพึงสงวนไว้ไม่เปิดเผย ซึ่งจำเลยทั้งห้าได้มาหรือล่วงรู้เนื่องจากการปฏิบัติการใดตามพระราชบัญญัตินี้ โจทก์คงบรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยทั้งห้าร่วมกันเปิดเผย เอาไป หรือใช้ซึ่งความลับทางการค้าในเอกสารประกอบคำร้องขอเสนอขายไฟฟ้าในโครงการหาดกังหัน 1 หาดกังหัน 2 และหาดกังหัน 3 ของโจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์อันมีลักษณะขัดต่อแนวทางปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ที่สุจริตต่อกัน ทั้งนี้จำเลยทั้งห้ามีเหตุอันควรจะได้รู้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำขัดต่อแนวทางเช่นว่านั้นโดยนำไปทำเป็นเอกสารประกอบของคำร้องขอเสนอขายไฟฟ้าแก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยของจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยที่ 2 เคยเป็นกรรมการและกรรมการบริหารของโจทก์และจำเลยที่ 4 เคยเป็นผู้บริหารระดับสูงของโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 4 จึงทราบข้อมูลอันเป็นความลับทางการค้าทั้งหมดตามคำร้องขอเสนอขายไฟฟ้าและเอกสารประกอบในคำร้องขอเสนอขายไฟฟ้าในโครงการหาดกังหัน 2 ของโจทก์เป็นอย่างดีและสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ก็ตาม แต่ก็เป็นการบรรยายฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 2 และที่ 4 ละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าของโจทก์ในทางแพ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 เท่านั้น มิใช่การบรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 33 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าแต่อย่างใด ดังนี้ ที่โจทก์บรรยายฟ้องมาดังกล่าวจึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ขาดข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 33 และมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 คำฟ้องของโจทก์ในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 33 และมาตรา 35 จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ไว้ แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
ข้อมูลที่จะเป็นความลับทางการค้าตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3 ต้องเป็นข้อมูลการค้า แต่ตามฟ้องโจทก์ก็มิได้ระบุว่าข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้งโรงไฟฟ้า สถานที่ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แผนผังของโรงไฟฟ้าและข้อมูลอื่น ๆ ที่โจทก์ศึกษาเป็นข้อมูลการค้า โจทก์มิได้ระบุในฟ้องว่าข้อมูลในการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้พลังงานลมเป็นต้นกำลังเกี่ยวกับเรื่องใดที่โจทก์ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ควบคุมความลับทางการค้าเก็บไว้เป็นความลับ แม้โจทก์จะไม่ต้องระบุถึงรายละเอียดของข้อมูลที่เก็บเป็นความลับนั้น โจทก์ก็ต้องระบุในฟ้องว่าเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดและใช้มาตรการใดที่เหมาะสมเพื่อรักษาข้อมูลนั้นไว้เป็นความลับ แต่โจทก์หาได้ระบุถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ในฟ้องไม่ ทั้งโจทก์มิได้ระบุในฟ้องว่าข้อมูลที่โจทก์เก็บเป็นความลับเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เนื่องจากการเป็นความลับอย่างไร รวมทั้งการกระทำที่จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 33 โจทก์ก็ต้องระบุในฟ้องว่า จำเลยทั้งห้าเปิดเผยความลับทางการค้าของโจทก์เรื่องใดให้เป็นที่ล่วงรู้โดยทั่วไปในประการที่ทำให้ความลับทางการค้านั้นสิ้นสภาพการเป็นความลับทางการค้าโดยเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้รับความเสียหายในการประกอบธุรกิจด้วยการโฆษณาด้วยเอกสาร การกระจายเสียง หรือการแพร่ภาพ หรือการเปิดเผยด้วยวิธีอื่นใด แต่โจทก์หาได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 33 ดังกล่าวไม่ นอกจากนี้โจทก์ก็มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 ว่า จำเลยทั้งห้าได้เปิดเผยข้อเท็จจริงใดเกี่ยวกับกิจการของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ควบคุมความลับทางการค้าอันเป็นข้อเท็จจริงที่ตามปกติวิสัยจะพึงสงวนไว้ไม่เปิดเผย ซึ่งจำเลยทั้งห้าได้มาหรือล่วงรู้เนื่องจากการปฏิบัติการใดตามพระราชบัญญัตินี้ โจทก์คงบรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยทั้งห้าร่วมกันเปิดเผย เอาไป หรือใช้ซึ่งความลับทางการค้าในเอกสารประกอบคำร้องขอเสนอขายไฟฟ้าในโครงการหาดกังหัน 1 หาดกังหัน 2 และหาดกังหัน 3 ของโจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์อันมีลักษณะขัดต่อแนวทางปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ที่สุจริตต่อกัน ทั้งนี้จำเลยทั้งห้ามีเหตุอันควรจะได้รู้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำขัดต่อแนวทางเช่นว่านั้นโดยนำไปทำเป็นเอกสารประกอบของคำร้องขอเสนอขายไฟฟ้าแก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยของจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยที่ 2 เคยเป็นกรรมการและกรรมการบริหารของโจทก์และจำเลยที่ 4 เคยเป็นผู้บริหารระดับสูงของโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 4 จึงทราบข้อมูลอันเป็นความลับทางการค้าทั้งหมดตามคำร้องขอเสนอขายไฟฟ้าและเอกสารประกอบในคำร้องขอเสนอขายไฟฟ้าในโครงการหาดกังหัน 2 ของโจทก์เป็นอย่างดีและสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ก็ตาม แต่ก็เป็นการบรรยายฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 2 และที่ 4 ละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าของโจทก์ในทางแพ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 เท่านั้น มิใช่การบรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 33 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าแต่อย่างใด ดังนี้ ที่โจทก์บรรยายฟ้องมาดังกล่าวจึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ขาดข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 33 และมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 คำฟ้องของโจทก์ในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 33 และมาตรา 35 จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ไว้ แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16562/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องความผิดตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า ต้องระบุรายละเอียดองค์ประกอบความผิดและข้อมูลสนับสนุนครบถ้วน มิฉะนั้นเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบ
สำหรับในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 และมาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 การพิจารณาว่าคำฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ จึงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเท่าที่โจทก์บรรยายไว้แล้วในคำฟ้องเท่านั้น โดยเทียบเคียงบทบัญญัติตามมาตราในกฎหมายที่โจทก์มีคำขอ ให้ลงโทษจำเลยว่า โจทก์บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดที่บัญญัติไว้ในมาตราเหล่านั้นครบถ้วนหรือไม่ เพราะปัญหาว่าคำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ไม่ใช่ปัญหาข้อเท็จจริง จึงไม่ต้องพิจารณาว่าในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงว่าอย่างไร ครบองค์ประกอบของความผิดนั้นหรือไม่ เพราะคำฟ้องต้องชอบด้วยกฎหมายที่ศาลจะรับไว้พิจารณาต่อไปได้เสียก่อน การที่โจทก์จะอุทธรณ์จึงต้องอุทธรณ์เพื่อโต้แย้งคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางว่า เมื่อพิจารณาจากการบรรยายฟ้องแล้ว โจทก์เห็นว่าคำบรรยายฟ้องนั้นชอบด้วยกฎหมายในส่วนนี้แล้วอย่างไร คำวินิจฉัยของศาลขัดหรือคลาดเคลื่อนกับที่โจทก์บรรยายฟ้องไว้อย่างไร เพื่อให้เห็นได้ว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร เมื่อโจทก์เพียงแต่อุทธรณ์โดยยกเอาข้อเท็จจริงตามคำเบิกความชั้นไต่สวนมูลฟ้องของพยานโจทก์มากล่าวอ้างว่าได้เบิกความไว้ว่าอย่างไร แล้วสรุปว่าคำบรรยายฟ้องของโจทก์แจ้งชัดแล้ว จึงไม่ใช่การอุทธรณ์ในข้อกฎหมายเพื่อโต้แย้งข้อวินิจฉัยในคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ข้อมูลที่จะเป็นความลับทางการค้าตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3 ต้องเป็นข้อมูลการค้า แต่ฟ้องโจทก์มิได้ระบุว่าข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้งโรงไฟฟ้า สถานที่ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แผนผังของโรงไฟฟ้าและข้อมูลอื่น ๆ ที่โจทก์ศึกษาเป็นข้อมูลการค้าและข้อมูลในการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้พลังงานลมเป็นต้นกำลังเกี่ยวกับเรื่องใดที่โจทก์ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ควบคุมความลับทางการค้าเก็บไว้เป็นความลับ แม้โจทก์จะไม่ต้องระบุถึงรายละเอียดของข้อมูลที่เก็บเป็นความลับนั้น โจทก์ก็ต้องระบุในฟ้องว่าเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดและใช้มาตรการใดที่เหมาะสมเพื่อรักษาข้อมูลนั้นไว้เป็นความลับ ทั้งมิได้ระบุในฟ้องว่าข้อมูลที่โจทก์เก็บเป็นความลับเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เนื่องจากการเป็นความลับอย่างไร ทั้งการกระทำที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ มาตรา 33 ต้องระบุในฟ้องว่า จำเลยทั้งสามเปิดเผยความลับทางการค้าของโจทก์เรื่องใดให้เป็นที่ล่วงรู้โดยทั่วไปในประการที่ทำให้ความลับทางการค้านั้นสิ้นสภาพการเป็นความลับทางการค้าโดยเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้รับความเสียหายในการประกอบธุรกิจด้วยการโฆษณาด้วยเอกสาร การกระจายเสียง หรือการแพร่ภาพ หรือการเปิดเผยด้วยวิธีอื่นใด นอกจากนี้โจทก์ก็มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริง อันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ ว่า จำเลยทั้งสามได้เปิดเผยข้อเท็จจริงใดเกี่ยวกับกิจการของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ควบคุมความลับทางการค้าอันเป็นข้อเท็จจริงที่ตามปกติวิสัยจะพึงสงวนไว้ไม่เปิดเผย ซึ่งจำเลยทั้งสามได้มาหรือล่วงรู้เนื่องจากการปฏิบัติการใดตามพระราชบัญญัตินี้ โจทก์คงบรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันเปิดเผย เอาไปหรือใช้ซึ่งความลับทางการค้าในเอกสารประกอบคำร้องขอเสนอขายไฟฟ้าในโครงการหาดกังหัน 3 ของโจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์อันมีลักษณะขัดต่อแนวทางปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ที่สุจริตต่อกัน ทั้งนี้จำเลยทั้งสามมีเหตุอันควรจะได้รู้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำขัดต่อแนวทางเช่นว่านั้นโดยนำไปทำเป็นเอกสารประกอบของคำร้องขอเสนอขายไฟฟ้าแก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้ออ้างว่า จำเลยทั้งสามละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าของโจทก์ในทางแพ่งเท่านั้น ที่โจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งสามกระทำการที่มีลักษณะขัดต่อแนวทางปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ที่สุจริตต่อกันอันเป็นการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าในทางแพ่งดังกล่าว ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามได้ปฏิบัติผิดสัญญาใดต่อโจทก์หรือจำเลยทั้งสามกระทำละเมิดหรือกระทำในประการที่เป็นการจูงใจผู้ใดให้ละเมิดความลับอันเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจต่อกัน จำเลยทั้งสามได้ติดสินบนผู้ใด หรือจำเลยทั้งสามได้ข่มขู่ผู้ใด ฉ้อโกงผู้ใด ลักทรัพย์ของผู้ใด รับของโจรของผู้ใด หรือจำเลยทั้งสามกระทำการจารกรรมหรือใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นใดตามความหมายของ "การกระทำที่มีลักษณะเป็นการขัดต่อแนวทางปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ที่สุจริตต่อกัน" ตามบทบัญญัติมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ ดังนี้ เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 33 และมาตรา 35 คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดในข้อหาดังกล่าวจึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
ข้อมูลที่จะเป็นความลับทางการค้าตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3 ต้องเป็นข้อมูลการค้า แต่ฟ้องโจทก์มิได้ระบุว่าข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้งโรงไฟฟ้า สถานที่ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แผนผังของโรงไฟฟ้าและข้อมูลอื่น ๆ ที่โจทก์ศึกษาเป็นข้อมูลการค้าและข้อมูลในการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้พลังงานลมเป็นต้นกำลังเกี่ยวกับเรื่องใดที่โจทก์ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ควบคุมความลับทางการค้าเก็บไว้เป็นความลับ แม้โจทก์จะไม่ต้องระบุถึงรายละเอียดของข้อมูลที่เก็บเป็นความลับนั้น โจทก์ก็ต้องระบุในฟ้องว่าเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดและใช้มาตรการใดที่เหมาะสมเพื่อรักษาข้อมูลนั้นไว้เป็นความลับ ทั้งมิได้ระบุในฟ้องว่าข้อมูลที่โจทก์เก็บเป็นความลับเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เนื่องจากการเป็นความลับอย่างไร ทั้งการกระทำที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ มาตรา 33 ต้องระบุในฟ้องว่า จำเลยทั้งสามเปิดเผยความลับทางการค้าของโจทก์เรื่องใดให้เป็นที่ล่วงรู้โดยทั่วไปในประการที่ทำให้ความลับทางการค้านั้นสิ้นสภาพการเป็นความลับทางการค้าโดยเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้รับความเสียหายในการประกอบธุรกิจด้วยการโฆษณาด้วยเอกสาร การกระจายเสียง หรือการแพร่ภาพ หรือการเปิดเผยด้วยวิธีอื่นใด นอกจากนี้โจทก์ก็มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริง อันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ ว่า จำเลยทั้งสามได้เปิดเผยข้อเท็จจริงใดเกี่ยวกับกิจการของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ควบคุมความลับทางการค้าอันเป็นข้อเท็จจริงที่ตามปกติวิสัยจะพึงสงวนไว้ไม่เปิดเผย ซึ่งจำเลยทั้งสามได้มาหรือล่วงรู้เนื่องจากการปฏิบัติการใดตามพระราชบัญญัตินี้ โจทก์คงบรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันเปิดเผย เอาไปหรือใช้ซึ่งความลับทางการค้าในเอกสารประกอบคำร้องขอเสนอขายไฟฟ้าในโครงการหาดกังหัน 3 ของโจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์อันมีลักษณะขัดต่อแนวทางปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ที่สุจริตต่อกัน ทั้งนี้จำเลยทั้งสามมีเหตุอันควรจะได้รู้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำขัดต่อแนวทางเช่นว่านั้นโดยนำไปทำเป็นเอกสารประกอบของคำร้องขอเสนอขายไฟฟ้าแก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้ออ้างว่า จำเลยทั้งสามละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าของโจทก์ในทางแพ่งเท่านั้น ที่โจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งสามกระทำการที่มีลักษณะขัดต่อแนวทางปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ที่สุจริตต่อกันอันเป็นการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าในทางแพ่งดังกล่าว ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามได้ปฏิบัติผิดสัญญาใดต่อโจทก์หรือจำเลยทั้งสามกระทำละเมิดหรือกระทำในประการที่เป็นการจูงใจผู้ใดให้ละเมิดความลับอันเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจต่อกัน จำเลยทั้งสามได้ติดสินบนผู้ใด หรือจำเลยทั้งสามได้ข่มขู่ผู้ใด ฉ้อโกงผู้ใด ลักทรัพย์ของผู้ใด รับของโจรของผู้ใด หรือจำเลยทั้งสามกระทำการจารกรรมหรือใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นใดตามความหมายของ "การกระทำที่มีลักษณะเป็นการขัดต่อแนวทางปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ที่สุจริตต่อกัน" ตามบทบัญญัติมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ ดังนี้ เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 33 และมาตรา 35 คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดในข้อหาดังกล่าวจึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6989/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องบรรยายองค์ประกอบความผิดครบถ้วนตามกฎหมาย และพิสูจน์การกระทำความผิดของจำเลย
คำฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับที่โจทก์อ้างว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น ปรากฏตามสำเนาสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเป็นผู้ดำเนินการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในสิทธิทำซ้ำและเผยแพร่ต่อสาธารณชน เอกสารท้ายฟ้อง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องว่า ป. เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรม สิ่งบันทึกเสียง และโสตทัศนวัสดุเท่านั้น มิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่อย่างใด โจทก์ในฐานะผู้ได้รับมอบอำนาจจาก ป. ให้ฟ้องคดีนี้ตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเอกสารท้ายฟ้อง ข้อ 7 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ส่วนที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมและงานสิ่งบันทึกเสียงนั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่า "จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมคำร้องและทำนอง งานสิ่งบันทึกเสียงของ ป. โดยนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้บริการขับร้องเพลงคาราโอเกะแก่บุคคลทั่วไปชนิดห้องส่วนตัวและให้พนักงานมาบริการโดยคิดค่าบริการห้องร้องเพลงเป็นรายชั่วโมง ภายในห้องคาราโอเกะมีจอโทรทัศน์ ไมโครโฟน ลำโพง เครื่องขยายเสียง ชุดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ซึ่งบรรจุข้อมูลเพลงที่พ่วงติดกันพร้อมใช้งานอยู่ โดยใช้รีโมตคอนโทรลในการเลือกเปิดเพลง ตัวแทนของโจทก์เข้าไปใช้บริการขับร้องเพลง จึงพบว่าในสมุดเลือกเพลงมีผลงานเพลงของ ป. อยู่จำนวนมาก มีรายชื่อเพลงชู้ เพลงตำนานรักสะท้านโลกา เพลงรอยจูบบนฝ่าเท้า และผลงานต่าง ๆ ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของ ป. อีกหลายเพลงซึ่งเป็นงานเพลงอันมีลิขสิทธิ์ของ ป. ประกอบไว้ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งมีเครื่องอ่านข้อมูลทำการแปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณภาพแบบเนื้อร้อง ทำนอง และเสียงออกทางจอภาพและลำโพง และต่อมาตัวแทนของโจทก์กดเลือกเพลง ก็ปรากฏมีภาพงานเพลง คำร้อง ทำนอง ภาพมิวสิกประกอบเพลงชู้ เพลงตำนานรักสะท้านโลกา และเพลงรอยจูบบนฝ่าเท้า ซึ่งเป็นงานเพลงอันมีลิขสิทธิ์ของ ป. โดยคิดค่าบริการห้องร้องเพลงเป็นรายชั่วโมง อันเป็นการกระทำเพื่อผลประโยชน์ในทางการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก ป. และโจทก์" เห็นว่า การบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าได้มีการบันทึกงานดนตรีกรรมและบันทึกเสียงเพลงอันมีลิขสิทธิ์ทั้งสามเพลงของ ป. ไว้โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของ ป. และได้เผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้าอันเป็นความผิดตามมาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มิใช่ความผิดตามมาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (2) และ 28 (2) ซึ่งตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวบัญญัติว่า "ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้ (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน" เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานที่จำเลยนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของ ป. อันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตมาด้วยก็ตาม แต่ตามบทกฎหมายมาตราดังกล่าวมิได้มีองค์ประกอบของความผิดว่าผู้กระทำความผิดจะต้องกระทำโดยมีเจตนาทุจริตด้วย ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงมิได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าวพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่มีมูลที่จะลงโทษจำเลยในความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15078/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องขนส่งต่อเนื่อง: ผลกระทบต่อลูกหนี้ร่วมเมื่อมีการยกอายุความโดยจำเลยร่วม
ผู้ขายติดต่อจำเลยที่ 2 ผ่านจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนประกอบกิจการในประเทศไทยของจำเลยที่ 2 ให้ขนส่งสินค้าไปยังเมือง Kotka ประเทศฟินแลนด์ โดยจำเลยที่ 1 ออกและลงชื่อในใบตราส่งฉบับแรกให้ ซึ่งใบตราส่งดังกล่าวระบุไว้ด้านขวาของหัวกระดาษว่า Combined Transport Bill of Lading อันเป็นใบตราส่งที่ใช้กับการขนส่งหลายรูปแบบ ระบุสถานที่รับสินค้าและสถานที่บรรทุกลงเรือคือ กรุงเทพมหานคร สถานที่ขนถ่ายขึ้นจากเรือคือ เมืองโกเทนเบิร์ก ประเทศสวีเดน และสถานที่ส่งมอบสินค้าคือเมือง Kotka ประเทศฟินแลนด์ และได้ความว่าต้องขนส่งด้วยรถบรรทุกจากเมืองโกเทนเบิร์กเพื่อไปยังสถานที่ส่งมอบสินค้าดังกล่าว การขนส่งสินค้าดังกล่าวเป็นการขนส่งทางเรือและทางบกต่อเนื่องกันจนถึงปลายทางอันเป็นการทำสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบตาม พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 7 และมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แล้ว เมื่อสัญญาขนส่งสินค้าระหว่างผู้ขายกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ แม้ใบตราส่งฉบับหลัง จะเป็นใบตราส่งสำหรับการขนส่งสินค้าทางทะเลก็เป็นเรื่องนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่มีผลกระทบถึงสัญญาขนส่งสินค้าระหว่างผู้ขายกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่อย่างใด
การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบเป็นเพียงวิธีการควบคุมการประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบให้เป็นไป โดยมีประสิทธิภาพเท่านั้น การที่ไม่พบชื่อจำเลยทั้งสี่เป็นผู้ขึ้นทะเบียนไว้ หาได้มีผลตามกฎหมายที่จะต้องถือว่าจำเลยทั้งสี่เป็นผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลดังที่โจทก์อุทธรณ์แต่อย่างใด คดีนี้จึงมีอายุความฟ้องร้อง 9 เดือน นับแต่วันที่ได้ส่งมอบของหรือควรจะส่งมอบของตามนัย พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 38 วรรคแรก ประกอบมาตรา 37
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ใช้บริการของจำเลยที่ 3 เป็นผู้ปฏิบัติตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำกับผู้ขาย และความเสียหายของสินค้าพิพาทเกิดจากการวางสินค้าไว้ในที่เปิดโล่งขณะที่เกิดฝนตกหนักในระหว่างการขนส่งช่วงใดช่วงหนึ่งก่อนที่ผู้ขนส่งทางบกได้รับมอบสินค้าบรรทุกขึ้นรถที่เมืองโกเทนเบิร์ก เมื่อมีเพียงจำเลยที่ 3 เท่านั้นที่เป็นผู้ขนส่งในช่วงทางเรือจากกรุงเทพมหานครไปยังเมืองโกเทนเบิร์ก จึงฟังได้ว่าสินค้าพิพาทเสียหายในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 อย่างลูกหนี้ร่วมต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 301 ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมการที่จำเลยที่ 3 ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความ 9 เดือน ตาม พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 38 วรรคแรก ขึ้นต่อสู้ในคำให้การจะมีผลถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ร่วมคนอื่นด้วยหรือไม่นั้น เห็นว่า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/29 ฝ่ายลูกหนี้จะต้องยกเรื่องอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้เมื่อถูกฝ่ายเจ้าหนี้ดำเนินคดีฟ้องร้องให้ชำระหนี้ ศาลจึงจะยกฟ้องในเหตุนี้ได้ แต่การยกอายุความขึ้นต่อสู้ของลูกหนี้นั้น แม้ตามปกติลูกหนี้ผู้นั้นซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีจะต้องยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ด้วยตนเองจึงจะถือว่ามีผลตามบทกฎหมายดังกล่าว แต่ในการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล เมื่อลูกหนี้หลายคนถูกฟ้องร้องให้รับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในลักษณะที่ลูกหนี้หลายคนเป็นลูกหนี้ร่วมและเป็นจำเลยร่วมกันนั้น ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) บัญญัติว่าในกรณีที่ลูกหนี้ร่วมหลายคนซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมให้ชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความขึ้นต่อสู้จะมีผลเท่ากับว่าลูกหนี้ร่วมคนอื่นยกอายุความขึ้นต่อสู้ด้วย และเป็นกรณีที่ถือได้ว่าลูกหนี้ร่วมคนอื่นยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/29 ดังกล่าวข้างต้นแล้ว การที่จำเลยที่ 3 ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงมีผลเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมยกอายุความขึ้นต่อสู้ด้วย แม้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะขาดนัดยื่นคำให้การก็ตาม
การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบเป็นเพียงวิธีการควบคุมการประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบให้เป็นไป โดยมีประสิทธิภาพเท่านั้น การที่ไม่พบชื่อจำเลยทั้งสี่เป็นผู้ขึ้นทะเบียนไว้ หาได้มีผลตามกฎหมายที่จะต้องถือว่าจำเลยทั้งสี่เป็นผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลดังที่โจทก์อุทธรณ์แต่อย่างใด คดีนี้จึงมีอายุความฟ้องร้อง 9 เดือน นับแต่วันที่ได้ส่งมอบของหรือควรจะส่งมอบของตามนัย พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 38 วรรคแรก ประกอบมาตรา 37
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ใช้บริการของจำเลยที่ 3 เป็นผู้ปฏิบัติตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำกับผู้ขาย และความเสียหายของสินค้าพิพาทเกิดจากการวางสินค้าไว้ในที่เปิดโล่งขณะที่เกิดฝนตกหนักในระหว่างการขนส่งช่วงใดช่วงหนึ่งก่อนที่ผู้ขนส่งทางบกได้รับมอบสินค้าบรรทุกขึ้นรถที่เมืองโกเทนเบิร์ก เมื่อมีเพียงจำเลยที่ 3 เท่านั้นที่เป็นผู้ขนส่งในช่วงทางเรือจากกรุงเทพมหานครไปยังเมืองโกเทนเบิร์ก จึงฟังได้ว่าสินค้าพิพาทเสียหายในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 อย่างลูกหนี้ร่วมต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 301 ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมการที่จำเลยที่ 3 ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความ 9 เดือน ตาม พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 38 วรรคแรก ขึ้นต่อสู้ในคำให้การจะมีผลถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ร่วมคนอื่นด้วยหรือไม่นั้น เห็นว่า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/29 ฝ่ายลูกหนี้จะต้องยกเรื่องอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้เมื่อถูกฝ่ายเจ้าหนี้ดำเนินคดีฟ้องร้องให้ชำระหนี้ ศาลจึงจะยกฟ้องในเหตุนี้ได้ แต่การยกอายุความขึ้นต่อสู้ของลูกหนี้นั้น แม้ตามปกติลูกหนี้ผู้นั้นซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีจะต้องยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ด้วยตนเองจึงจะถือว่ามีผลตามบทกฎหมายดังกล่าว แต่ในการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล เมื่อลูกหนี้หลายคนถูกฟ้องร้องให้รับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในลักษณะที่ลูกหนี้หลายคนเป็นลูกหนี้ร่วมและเป็นจำเลยร่วมกันนั้น ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) บัญญัติว่าในกรณีที่ลูกหนี้ร่วมหลายคนซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมให้ชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความขึ้นต่อสู้จะมีผลเท่ากับว่าลูกหนี้ร่วมคนอื่นยกอายุความขึ้นต่อสู้ด้วย และเป็นกรณีที่ถือได้ว่าลูกหนี้ร่วมคนอื่นยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/29 ดังกล่าวข้างต้นแล้ว การที่จำเลยที่ 3 ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงมีผลเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมยกอายุความขึ้นต่อสู้ด้วย แม้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะขาดนัดยื่นคำให้การก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5916-5917/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: สัญญาและผลผูกพัน, การคัดค้านการจดทะเบียน, ศาลแก้ไขคำพิพากษา
ที่ผู้ร้องสอดโต้แย้งโจทก์เกี่ยวกับสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นกรณีมีปัญหาตีความข้อความในสัญญา และตามอุทธรณ์ของผู้ร้องสอดก็ไม่ปรากฏว่ามีความจำเป็นที่ผู้ร้องสอดต้องนำสืบพยานหลักฐานในข้อเท็จจริงใด เมื่อข้อความในสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความชัดเจนเพียงพอที่จะวินิจฉัยตีความข้อสัญญาได้ ย่อมไม่จำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานอีกต่อไป ส่วนในปัญหาว่าเครื่องหมายบริการคำว่า "METALEX" ของโจทก์กับเครื่องหมายบริการคำว่า "METALTECH" ของผู้ร้องสอดคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของบริการหรือไม่ ตามรูปคดีและลักษณะของเครื่องหมายบริการดังกล่าวก็สามารถวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับความคล้ายกันหรือไม่ได้แล้วโดยไม่จำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานอีกต่อไปเช่นกัน ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางย่อมมีอำนาจสั่งงดสืบพยานได้โดยชอบตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสอง และ 104 วรรคหนึ่ง
ข้อความในสัญญายุติข้อพิพาท ข้อ 2 (b) ไม่มีข้อความเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ และในส่วนข้อความเกี่ยวกับการใช้คำว่า "METALTECH" ของผู้ร้องสอดที่ตกลงกันเปลี่ยนไปใช้ชื่ออื่นที่คล้ายกับคำว่า "METALEX" น้อยลง ล้วนเป็นข้อตกลงในเรื่องการกระทำหรืองดเว้นกระทำการซึ่งแตกต่างจากการแสดงเจตนาสละประเด็นข้อพิพาท จึงไม่อาจแปลข้อความสัญญายุติข้อพิพาทถึงขนาดว่าโจทก์และผู้ร้องสอดตกลงสละประเด็นเกี่ยวกับข้อพิพาทในการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายบริการ ของโจทก์และเครื่องหมายบริการ "METALTECH" ของผู้ร้องสอดมีการใช้คำในส่วนภาคสำคัญคล้ายกัน ประกอบกับโจทก์ยังเป็นผู้มีสิทธิห้ามผู้ร้องสอดใช้เครื่องหมายบริการตามสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความ และการที่ผู้ร้องสอดได้จดทะเบียนเครื่องหมายบริการที่ใช้คำว่า METALTECH ก็เพื่อให้เป็นผู้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายบริการนี้สำหรับบริการประเภทเดียวกับโจทก์ตามที่ผู้ร้องสอดได้จดทะเบียนไว้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 44 ซึ่งการใช้เครื่องหมายบริการคำว่า METALTECH เช่นนี้ย่อมเป็นการปฏิบัติผิดสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวต่อโจทก์ โจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิในเครื่องหมายบริการดีกว่าผู้ร้องสอด จึงมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอดได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 67 และแม้โจทก์จะไม่ได้ฟ้องผู้ร้องสอดเป็นจำเลยในคดีนี้โดยตรง แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ก็บรรยายถึงข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องสอดได้ทำสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่มีผลให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิดีกว่าและมีสิทธิห้ามผู้ร้องสอด ทั้งมีคำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอดด้วย และเมื่อผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นคู่ความโดยอ้างว่าผู้ร้องสอดเป็นเจ้าของเครื่องหมายบริการคำว่า METALTECH ที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้รับจดทะเบียนให้แล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ก็เพื่อให้มีการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิในเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอด จึงร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อให้ได้รับความรับรองและคุ้มครองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) อันเป็นกรณีที่ผู้ร้องสอดขอเข้าเป็นคู่ความด้วยการร้องสอดโดยสมัครใจเองเพื่อยังให้ผู้ร้องสอดได้รับความรับรองและคุ้มครองอันมีผลให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) และมาตรา 58 วรรคหนึ่ง ถือเสมือนหนึ่งว่าคดีในส่วนระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอดนี้เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องเพื่อร้องขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 67 ซึ่งเมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายบริการดีกว่าผู้ร้องสอด ก็ชอบที่ศาลจะพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการคำว่า "METALTECH" ของผู้ร้องสอดได้
ในชั้นพิจารณาคำคัดค้านของโจทก์โดยนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและการพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์โดยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าย่อมเป็นผู้ทำหน้าที่พิจารณาและวินิจฉัยปัญหาข้อโต้แย้งระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอดว่าใครเป็นผู้มีสิทธิดีกว่า ซึ่งย่อมต้องนำข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในการที่โจทก์กับผู้ร้องสอดทำสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความกันนั้นมาใช้ประกอบการพิจารณาวินิจฉัยถึงสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาดังกล่าวที่มีผลผูกพันคู่สัญญาและแสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิดีกว่า มิใช่จะถือเพียงว่าสัญญาดังกล่าวรวมทั้งคำพิพากษาตามยอมนั้นไม่มีผลผูกพันนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
ส่วนที่โจทก์ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเนื่องจากนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยคำคัดค้านการขอจดทะเบียนของผู้ร้องสอดไม่ถูกต้อง การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 อันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้อง ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ข้อความในสัญญายุติข้อพิพาท ข้อ 2 (b) ไม่มีข้อความเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ และในส่วนข้อความเกี่ยวกับการใช้คำว่า "METALTECH" ของผู้ร้องสอดที่ตกลงกันเปลี่ยนไปใช้ชื่ออื่นที่คล้ายกับคำว่า "METALEX" น้อยลง ล้วนเป็นข้อตกลงในเรื่องการกระทำหรืองดเว้นกระทำการซึ่งแตกต่างจากการแสดงเจตนาสละประเด็นข้อพิพาท จึงไม่อาจแปลข้อความสัญญายุติข้อพิพาทถึงขนาดว่าโจทก์และผู้ร้องสอดตกลงสละประเด็นเกี่ยวกับข้อพิพาทในการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายบริการ ของโจทก์และเครื่องหมายบริการ "METALTECH" ของผู้ร้องสอดมีการใช้คำในส่วนภาคสำคัญคล้ายกัน ประกอบกับโจทก์ยังเป็นผู้มีสิทธิห้ามผู้ร้องสอดใช้เครื่องหมายบริการตามสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความ และการที่ผู้ร้องสอดได้จดทะเบียนเครื่องหมายบริการที่ใช้คำว่า METALTECH ก็เพื่อให้เป็นผู้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายบริการนี้สำหรับบริการประเภทเดียวกับโจทก์ตามที่ผู้ร้องสอดได้จดทะเบียนไว้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 44 ซึ่งการใช้เครื่องหมายบริการคำว่า METALTECH เช่นนี้ย่อมเป็นการปฏิบัติผิดสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวต่อโจทก์ โจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิในเครื่องหมายบริการดีกว่าผู้ร้องสอด จึงมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอดได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 67 และแม้โจทก์จะไม่ได้ฟ้องผู้ร้องสอดเป็นจำเลยในคดีนี้โดยตรง แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ก็บรรยายถึงข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องสอดได้ทำสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่มีผลให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิดีกว่าและมีสิทธิห้ามผู้ร้องสอด ทั้งมีคำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอดด้วย และเมื่อผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นคู่ความโดยอ้างว่าผู้ร้องสอดเป็นเจ้าของเครื่องหมายบริการคำว่า METALTECH ที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้รับจดทะเบียนให้แล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ก็เพื่อให้มีการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิในเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอด จึงร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อให้ได้รับความรับรองและคุ้มครองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) อันเป็นกรณีที่ผู้ร้องสอดขอเข้าเป็นคู่ความด้วยการร้องสอดโดยสมัครใจเองเพื่อยังให้ผู้ร้องสอดได้รับความรับรองและคุ้มครองอันมีผลให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) และมาตรา 58 วรรคหนึ่ง ถือเสมือนหนึ่งว่าคดีในส่วนระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอดนี้เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องเพื่อร้องขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 67 ซึ่งเมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายบริการดีกว่าผู้ร้องสอด ก็ชอบที่ศาลจะพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการคำว่า "METALTECH" ของผู้ร้องสอดได้
ในชั้นพิจารณาคำคัดค้านของโจทก์โดยนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและการพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์โดยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าย่อมเป็นผู้ทำหน้าที่พิจารณาและวินิจฉัยปัญหาข้อโต้แย้งระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอดว่าใครเป็นผู้มีสิทธิดีกว่า ซึ่งย่อมต้องนำข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในการที่โจทก์กับผู้ร้องสอดทำสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความกันนั้นมาใช้ประกอบการพิจารณาวินิจฉัยถึงสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาดังกล่าวที่มีผลผูกพันคู่สัญญาและแสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิดีกว่า มิใช่จะถือเพียงว่าสัญญาดังกล่าวรวมทั้งคำพิพากษาตามยอมนั้นไม่มีผลผูกพันนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
ส่วนที่โจทก์ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเนื่องจากนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยคำคัดค้านการขอจดทะเบียนของผู้ร้องสอดไม่ถูกต้อง การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 อันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้อง ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)