พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4225/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดและเพิกถอนสิทธิบัตร: ผู้ถือหุ้น/กรรมการบริษัท ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง
ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 64 วรรคสอง กำหนดให้บุคคลผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการเท่านั้นที่สามารถฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ แต่ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันจงใจกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยมีหนังสือแจ้งมายังบริษัท ส. ห้ามจำหน่ายและให้จัดเก็บชิ้นส่วนสิ่งก่อสร้าง (ไม้บัว) โดยอ้างถึงการที่บริษัท ส. เป็นเจ้าของสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งออกไปโดยไม่ชอบดังกล่าว และยังดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง โจทก์ในฐานะรองประธานฝ่ายบริหารของบริษัท ส. ต้องได้รับผลกระทบต่อสิทธิเกี่ยวกับการวางแผนการตลาด การสั่งนำเข้าสินค้าแต่ไม่สามารถดำเนินการได้ ทำให้สูญเสียโอกาสในการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และโจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นต้องขาดประโยชน์ที่ควรได้รับ เห็นได้ว่าข้ออ้างตามคำฟ้องล้วนเป็นการอ้างถึงส่วนได้เสียของบริษัท ส. ซึ่งโจทก์เป็นผู้บริหารและผู้ถือหุ้นเท่านั้น โจทก์มิได้มีส่วนได้เสียโดยตรงจากสิทธิบัตรดังกล่าว แม้โจทก์จะถูกจำเลยทั้งสองดำเนินคดีอาญาที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง แต่ก็เนื่องมาจากเหตุที่โจทก์เป็นผู้บริหารบริษัท ดังนี้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 64 วรรคสองได้ เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องในส่วนนี้ กรณีจึงไม่จำต้องพิจารณาว่าฟ้องในส่วนนี้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ทป.121/2558 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางหรือไม่อีก
สำหรับคำฟ้องโจทก์ในส่วนที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์และขอให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือไม่นั้น ปรากฏว่าในคดีดังกล่าวบริษัท ส. ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำละเมิดต่อบริษัทดังกล่าวเป็นเหตุให้บริษัทดังกล่าวได้รับความเสียหาย ส่วนคดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แม้โจทก์ในคดีนี้จะเป็นกรรมการบริหารและผู้ถือหุ้นของบริษัท ส. แต่ก็เป็นคนละบุคคลกันกับบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหาก และแม้คดีนี้โจทก์จะอ้างว่าได้รับความเสียหายในฐานะผู้ถือหุ้นและในฐานะกรรมการบริหารของบริษัท ส. แต่ความเสียหายดังกล่าวก็เป็นความเสียหายในส่วนของโจทก์เอง มิใช่ความเสียหายของบริษัท ส. แต่อย่างใด ประเด็นแห่งคดีที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้วินิจฉัยและมีคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าว กับคำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับข้อหาละเมิดในคดีนี้จึงเป็นคนละประเด็นกัน และไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าวแล้วมีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง โดยยังมิได้ให้คู่ความทั้งสองฝ่ายได้สืบพยานหลักฐานให้สิ้นกระแสความเสียก่อนนั้น ถือได้ว่าเป็นกรณีที่ปรากฏเหตุที่ศาลดังกล่าวมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา กรณีมีเหตุอันสมควรที่ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลดังกล่าวสืบพยานหลักฐานของคู่ความให้สิ้นกระแสความ แล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
อนึ่ง การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่ามีเหตุผลเพียงพอที่ไม่ต้องไต่สวนคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งพอแปลได้ว่าเป็นคำสั่งให้งดสืบพยานแล้วจึงมีคำพิพากษานั้น ถือได้ว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดี อันมีผลเป็นการวินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดีแล้ว จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะคืนค่าขึ้นศาลแก่โจทก์ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางให้คืนค่าขึ้นศาลเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
สำหรับคำฟ้องโจทก์ในส่วนที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์และขอให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือไม่นั้น ปรากฏว่าในคดีดังกล่าวบริษัท ส. ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำละเมิดต่อบริษัทดังกล่าวเป็นเหตุให้บริษัทดังกล่าวได้รับความเสียหาย ส่วนคดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แม้โจทก์ในคดีนี้จะเป็นกรรมการบริหารและผู้ถือหุ้นของบริษัท ส. แต่ก็เป็นคนละบุคคลกันกับบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหาก และแม้คดีนี้โจทก์จะอ้างว่าได้รับความเสียหายในฐานะผู้ถือหุ้นและในฐานะกรรมการบริหารของบริษัท ส. แต่ความเสียหายดังกล่าวก็เป็นความเสียหายในส่วนของโจทก์เอง มิใช่ความเสียหายของบริษัท ส. แต่อย่างใด ประเด็นแห่งคดีที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้วินิจฉัยและมีคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าว กับคำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับข้อหาละเมิดในคดีนี้จึงเป็นคนละประเด็นกัน และไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าวแล้วมีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง โดยยังมิได้ให้คู่ความทั้งสองฝ่ายได้สืบพยานหลักฐานให้สิ้นกระแสความเสียก่อนนั้น ถือได้ว่าเป็นกรณีที่ปรากฏเหตุที่ศาลดังกล่าวมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา กรณีมีเหตุอันสมควรที่ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลดังกล่าวสืบพยานหลักฐานของคู่ความให้สิ้นกระแสความ แล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
อนึ่ง การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่ามีเหตุผลเพียงพอที่ไม่ต้องไต่สวนคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งพอแปลได้ว่าเป็นคำสั่งให้งดสืบพยานแล้วจึงมีคำพิพากษานั้น ถือได้ว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดี อันมีผลเป็นการวินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดีแล้ว จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะคืนค่าขึ้นศาลแก่โจทก์ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางให้คืนค่าขึ้นศาลเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง